อัตราค่าจ้าง วุฒิ ป. ว ส 2565

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

(1) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างติดตั้งยิปซัม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบห้าบาท

(2) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสี่สิบห้าบาท

(3) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(4) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างสีอาคาร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(5) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และระดับ2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(6) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาทและระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(7) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท

(8) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบห้าบาท

(9) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบห้าบาท

(10) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ(หัตถบำบัด) ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(11) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ประกอบขนมอบ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ สี่ร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท

(12) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยหกสิบห้าบาท

(13) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท

(14) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมสตรี ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท และระดับ3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(15) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสามสิบบาท

(16) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (16) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง

ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใดไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็น ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป

ประกาศ
ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

T_0016

อัตราค่าจ้าง วุฒิ ป. ว ส 2565

Tagsกระทรวงแรงงานคณะกรรมการค่าจ้างมาตรฐานฝีมืออัตราค่าจ้างแรงงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศ.ดร.นฤมล”เสนอเร่ง 3 ฟื้นเศรษฐกิจไทย ดันส่งออกเกษตร รัฐลงทุน กระตุ้นท่องเที่ยว

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานโพสต์Facebook ส่วนตัวระบุถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ )และ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ณ สิ้น พ.ย.65

สปส.แท็กทีม ธอส.ลุยปล่อยสินเชื่อบ้านอุ้มผู้ประกันตนม.33

“สปส.” ผนึก ธอส. ทุ่ม 3 หมื่นล้านบาท เดินหน้าโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง เคาะให้กู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยต่ำ 1.99% คงที่ 5 ปี ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี

รัฐบาลห่วงคุณแม่! เตือนอย่าลืมเงินสงเคราะห์บุตรที่ให้ถึง 6 ขวบ

'ทิพานัน' เผย 'พล.อ. ประยุทธ์' เพิ่มจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทให้คุณแม่ประกันสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอใช้สิทธิได้แล้ววันนี้ ย้ำรัฐบาลมุ่งสร้างหลักประกันสังคมครอบคลุมทุกช่วงวัย

ผู้ประกันตน ม.33 เฮ! 'สปส.-ธอส.' จับมือปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี 1.99%

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ระหว่างสำนักงานประกันสังคมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์

สัญญาณดี! ปีหน้าท่องเที่ยวเข้าสู่ปกติ เมืองฮิตขาดแคลนแรงงานเพียบ

นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ปีหน้าการลงทุนไทยขยายตัวในต่างประเทศ การท่องเที่ยวเข้าสู่สภาวะปกติ ระบุขาดแรงงานบางพื้นที่

'ก้าวไกล' โชว์เหนือ 'เพื่อไทย' ยันหนุนเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ปรับเงินเดือน ต้องแก้ทั้งระบบ

'ศิริกัญญา' เข้าใจข้อเสนอ 'เพือไทย' ยัน 'ก้าวไกล' สนับสนุนเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ควบคู่ช่วยผู้ประกอบการ-พัฒนาทักษะแรงงาน-ลดค่าครองชีพ ส่วนปริญญาตรี 2.5หมื่น ต้องปฏิรูประบบราชการด้วย ย้ำต้องแก้ทั้งระบบ