แบบรายงานการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน doc

ก ก คำนำ รายงานผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อ รายงานผลการฝึกอบรม “โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา” ตามที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มอบหมายให้สำนักงานลูกเสือจังหวัดพิจิตรดำเนินโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โดยจัดฝึกอบรมวิทยากร แกนนำลูกเสือจิตอาสาพระราชทานประจำจังหวัด ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือจิตอาสาพระราชทานระดับ สถานศึกษา จำนวน ๓ รุ่น และ ดำเนินการอบรมลูกเสือจิตอาสารพระราชทานในสถานศึกษา จำนวน ๖๐ สถานศึกษาและได้ดำเนินการอนุญาตให้สถานศึกษาจัดฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษานั้น โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ จึงจัดการฝึกอบรม โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ รุ่นที่ ๓๐/๒๕๖๕ จำนวน ๑ หน่วย รวม ๓๕ คน ระหว่างวันที่ ๑๕ -๑๘ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ณ โรงเรียน พิจิตรอนุสรณ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการจิตอาสา การทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และสำนึก ของความเป็นพลเมืองที่ดีให้เกิดขึ้นกับลูกเสือที่มีต่อประเทศชาติต่อไป หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ขอขอบพระคุณ สำนักงานลูกเสือจังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต ๑ ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และอำนวยความสะดวกในการ จัดการฝึกอบรมโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ขอขอบพระคุณ องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนอง นา โมเดล ๓๓ หมู่ ที่ ๔ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ที่เอื้อเฟื้อสถานที่และจัดวิทยากรบรรยายความรู้ และ ขอขอบพระคุณ คณะผู้จัดการฝึกอบรม คณะวิทยากรผู้ให้การอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน เป็นอย่างสูง ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้การจัดการฝึกอบรมโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาของ โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ประสบผลสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานผลการดำเนิน โครงการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย คณะผู้ดำเนินการฝึกอบรม โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ก สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทนำ ๑ วัตถุประสงค์ ๔ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๖ การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล ๘ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ๑๐ ภาคผนวก ๑ ๗ ข ๑ บทนำ ๒ ๑.บทนำ ๑.๑ ความสำคัญและความเป็นมา “ลูกเสือ” คือภาพลักษณ์ที่สังคมรับรู้และตระหนักในคุณค่าด้วยเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างระเบียบวินัยให้กับ เยาวชนของชาติ และผู้ที่เป็นลูกเสือคือผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นโดยภาพลักษณ์และคุณค่าของการ ลูกเสือที่กล่าวนี้ เกิดจากการบ่มเพาะและปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยปี จนเป็นที่ประจักษ์ของชนในชาติ และสังคมโลก ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ ๙๐๔ ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตาม แนวพระราชดำริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงความสำนึกพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงประกอบพระราชกรณีย กิจนานับปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่องยาวนานมา สำนักงานลูกเสือแห่งชาติพิจารณาเห็นว่า โดยหลักการของจิตอาสา คือจิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่ ผู้อื่นและเพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจ สมัครใจ ซาบซึ้งใจ และปีติสุข ที่ได้เสียสละเวลา แรงกายแรงสติปัญญา ในการทำ กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนและมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือ ผู้อื่น อันสอดคล้องต้องกันกับหลักการของการลูกเสือในการบำเพ็ญประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติและสนองพระราชดำริในการปลูกฝัง ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนลูกเสือร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่น ทำความดีด้วยหัวใจ มีทัศนคติและค่านิยม ที่ถูกต้องต่อชาติบ้านเมือง สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจึงกำหนดนโยบาย จัดโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่าง หลักสูตรฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน และ หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์๒๕๖๔ สำนักงานลูกเสือแห่งชาตินำเสนอร่างหลักสูตรการฝึกอบรมทั้ง ๒ หลักสูตร ถึงสำนักพระรำชวังเพื่อขอพระราชทานหลักสูตรการฝึกอบรม และขอพระราชทานตราสัญลักษณ์ลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือ น้อมนำโครงการจิตอาสาพระราชทานมาเสริมสร้าง จิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งและบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนถวายความจงรักภักดีแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๔ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์แจ้งข่าวอันเป็นที่ ปลื้มปีติแก่ลูกเสือ เนตรนารี และบุคลากรทางการลูกเสือทุกหมู่เหล่าว่าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรง ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระบรมราชานุญาตินับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ๓ การดำเนินงานโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน นอกเหนือจากการถวายความจงรักภักดี และสนอง พระราชดำริโครงการจิตอาสาพระราชทานขององค์ประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติไปสู่เด็กและเยาวชนแล้ว สำนักงาน ลูกเสือแห่งชาติยังมีความมุ่งหวังในการดำเนินงานโครงการนี้ให้เป็นกิจกรรมที่ช่วยบ่มเพาะและเสริมสร้างจิตสำนึก ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และมีความรับผิดชอบต่อสังคม นั่นคือ รับรู้การเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมที่ตนอยู่ รู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนในสังคมมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม สามารถพิจารณา และรับรู้ผลกระทบต่อสังคมจากการกระทำของตนที่ สำคัญคือ การทำกิจกรรมจิตอาสา และ บำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือ เนตรนารีจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของการลูกเสือในการช่วยเหลือผู้อื่นตามคำ ปฏิญาณของลูกเสือ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ จึงเข้าร่วมโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในระดับ สถานศึกษา โดยได้จัดส่งผู้บริหารสถานศึกษาเข้ารับการอบรมเป็น “วิทยากรแกนนำลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ประจำจังหวัด” จำนวน ๑ คน และ ส่งผู้กำกับลูกเสือจำนวน ๒ คน เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา” ดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานใน สถานศึกษา และดำเนินการจัดตั้ง “หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์” เพื่อที่จะได้มีส่วน ร่วมในการทำกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ ต่อส่วนรวมต่อไป ๔ วัตถุประสงค์ ๕ ๒.วัตถุประสงค์ ๒.๑.เพื่อพัฒนาลูกเสือให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน ๒.๒.เพื่อให้โรงเรียนจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาได้ ๒.๓.เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือน้อมนำหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานไปจัด กิจกรรมจิตอาสาในสถานศึกษาและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบเขตของการดำเนินโครงการ ๑.ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ได้แก่ หลักสูตรลูกเสือจิตอาสาพระราชทานที่สำนักงานลูกเสือ แห่งชาติกำหนด ๒.ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการรับการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้แก่ ลูกเสือ-เนตรนารี โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ จำนวน ๓๕ คน ๓.ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดอบรมครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๖๕ – วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์คม พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นระยะเวลา ๔ วัน ๔. ขอบเขตด้านสถานที่ สถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม ณ โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ คำศัพท์และคำจำกัดความ สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ การฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน หมายถึง การฝึกอบรมลูกเสือ ที่สมัครเป็นสมาชิกหน่วยลูกเสือ จิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาตามหลักสูตรลูกเสือจิตอาสาพระราชทานที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน หมายถึง ลูกเสือประเภทสามัญ และสามัญรุ่นใหญ่ของสถานศึกษาที่สมัคร เป็นสมาชิกหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา และ ผ่านการอบรมตามหลักสูตร ลูกเสือจิตอาสา พระราชทานที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑.สามารถพัฒนาลูกเสือให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน ๒.โรงเรียนจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาได้ ๓.ลูกเสือสามารถน้อมนำหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานไปจัดกิจกรรมจิต อาสาในสถานศึกษาและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖ การเก็บ รวบรวมข้อมูล ๗ ๓.การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในครั้งนี้ ๑.แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานต่อหลักสูตรลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน (ฉบับที่ ๕) ๒.แบบสังเกตพฤติกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา (ฉบับที่ ๖) การเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้ ๑.เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการแจก แบบสอบถามความคิดเห็นของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานต่อหลักสูตรลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน (ฉบับที่ ๕) ประเมินผลการดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ๒.วิทยากรผู้รับผิดชอบในแต่ละวิชาประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมของลูกเสือที่เข้ารับการอบรมลูกเสือจิต อาสาพระราชทานในสถานศึกษา ๘ การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผล ๙ ๔.การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสอบถามปลายเปิด ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา การแปลผลความหมาย แปลผลค่าเฉลี่ยส่วนที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับดังนี้ ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๔.๕๑ - ๕.๐๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๓.๕๑ - ๔.๕๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจ ระดับมาก ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๒.๕๑ - ๓.๕๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจ ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๑.๕๑ - ๒.๕๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจ ระดับน้อย ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๑.๐๐ - ๑.๕๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจ ระดับน้อยที่สุด ๑๐ ผลการ วิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผล ๑๑ 5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ๕.๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตารางที่ ๑ จำนวนร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (ข้อมูลจากแบสอบถามฉบับที่ ๕ -ข้อมูลทั่วไป) รายการ จำนวน ร้อยละ ๑.เพศ 35 100.00 ๑.๑ ชาย ๑๖ ๔๕.๗๑ ๑.๒ หญิง ๑๙ ๕๔.๒๙ ๒.คุณวุฒิทางการลูกเสือ 35 100.00 ๒.๑ สามัญ ๓ ๘.๕๗ ๒.๒ สามัญรุ่นใหญ่ ๓๒ ๙๑.๔๓ ๒.๓ วิสามัญ - - ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน ๓๕ คน จำแนกเป็นเพศชาย ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗๑ เพศหญิง ๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๒๙ โดยเป็นลูกเสือสามัญ ร้อยละ ๘.๕๑ และเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ร้อยละ ๙๑.๒๙ ๑๒ ๕.๒ ข้อมูลทั่วความคิดเห็นต่อกระบวนการฝึกอบรม ตารางที่ ๒ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความคิดเห็นต่อกระบวนการฝึกอบรม รายการ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบน มาตรฐาน แปล ความหมาย ๑.ด้านความพร้อม(ใส่ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานราย ด้าน) 4.56 0.67 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๑.๑ มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการเป็นลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน 4.51 0.66 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๑.๒ มีความต้องการเป็นลูกเสือจิตอาสาพระราชทานจึงสมัครเข้า ร่วมโครงการ 4.49 0.78 ความพึงพอใจ ระดับมาก ๑.๓ มีความมุ่งมั่นในการเป็นลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน 4.69 0.58 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.เนื้อหาและการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน(ใส่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรายด้าน) 4.70 0.53 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๑ รายวิชาและเนื้อหาที่ได้รับจากการฝึกอบรมทำให้เกิดการ เรียนรู้เรื่องจิตอาสาพระราชทาน 4.71 0.52 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๒ การฝึกอบรมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน 4.74 0.44 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๓ กระบวนการฝึกอบรมจิตอาสาพระราชทานมีความเหมาะสม ต่อการให้เกิดทักษะจิตอาสา 4.71 0.57 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๔ การฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานกระตุ้นให้เกิดพลัง ความเป็นจิตอาสา 4.69 0.47 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๕ สื่อการฝึกอบรมมีความเหมาะสม 4.69 0.58 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๒.๖ การนำความรู้และทักษะไปใช้ในกิจกรรมอาสาพระราชทาน 4.66 0.59 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๓.วิทยากร (ใส่ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรายด้าน) 4.77 0.49 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๓.๑ สามารถฝึกอบรมให้ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานเกิดการ เรียนรู้เรื่อง จิตอาสาพระราชทาน 4.83 0.45 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๓.๒ สามารถฝึกอบรมให้ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานมีทักษะการ ทำกิจกรรมจิตอาสาให้กับชุมชน 4.71 0.52 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๔.ความรัก ความศรัทธาต่อจิตอาสาพระราชทาน (ใส่ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรายด้าน) 4.74 0.52 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๔.๑ เกิดความรัก ความศรัทธาต่องานจิตอาสาพระราชทาน 4.74 0.56 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๔.๒ มีความมั่นใจในความสามารถและทักษะจิตอาสา พระราชทานของตนเอง 4.72 0.57 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ๔.๓ มีความพร้อมช่วยเหลืองานจิตอาสาพระราชทาน 4.77 0.43 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด เฉลี่ยรวม 4.69 0.55 ความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด หมายเหตุ ใส่ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมแต่ละด้านด้วย ๑๓ ตารางที่ ๓ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจต่อการเข้ารับการฝึกอบรมในภาพรวม ระดับ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน แปลความหมาย -มากที่สุด 4.94 0.10 ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด -มาก 4.21 0.21 ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมาก -ปานกลาง 3.50 - ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับปานกลาง -น้อย 0 - ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับน้อย -น้อยที่สุด 0 - ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.69 0.42 ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด จากตารางที่ ๒ จะเห็นได้ว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา มีความคิดเห็นความพึงพอใจในการอบรมอยูในช่วง ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๔.๕๑ - ๕.๐๐ หมายถึง มีความคิดเห็น/ความ พึงพอใจ ระดับมากที่สุด ครบทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านความพร้อม เนื้อหาและการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน วิทยากร และ ความรัก ความศรัทธาต่อจิตอาสาพระราชทาน และจากตารางที่ ๓ ความพึงพอใจต่อการเข้ารับการ ฝึกอบรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ๑๔ ๕.๓ ข้อมูลผลการดำเนินงาน ๑) พฤติกรรมของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ตารางที่ ๔ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา (ใช้ข้อมูลจากฉบับที่ ๖ แบบสังเกตพฤติกรรม โดยวิเคราะห์เป็นภาพรวมของการฝึกอบรม) พฤติกรรม ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบน มาตรฐาน แปล ความหมาย ๑. มีเหตุผล ยอมับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 4.77 0.43 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๒. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4.71 0.46 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๓. มีกิริยา มารยาท วาจาสุภาพ 4.83 0.38 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๔. สามารถปฏิบัติงานกับผู้อื่นได้ 4.89 0.32 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๕.ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 4.80 0.41 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๖. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และชุมชน 4.71 0.46 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๗. ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องร้องขอ 4.86 0.36 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๘. มีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา 4.83 0.38 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด รวมเฉลี่ย 4.80 0.40 มีพฤติกรรมตามคุณลักษณะในระดับมากที่สุด ๒) ผลการดำเนินงาน ๒.๑) รูปแบบการจัดการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา  ๓ วัน ๒ คืน  ๔ วัน มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของเป้าหมาย - ลูกเสือสามัญ ๓ คน - ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ๓๒ คน - ลูกเสือวิสามัญ - คน ๒.๒) การจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา จำนวน ๑ หน่วย จำนวนลูกเสือ ๓๕ คน/หน่วย ๑๕ ๒.๓) การจัดกิจกรรมจิตอาสาในชุมชนโดยสถานศึกษาได้นำลูกเสือจิตอาสา พระราชทานในสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในชุมชน ดังนี้ ตารางที่ ๕ การจัดกิจกรรมจิตอาสาในชุมชนของหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานของสถานศึกษา กิจกรรมที่จัด/สถานที่จัด วัน เดือน ปี ที่จัด จำนวน ผู้เข้าร่วม ผลการจัดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ผู้บริหาร ผู้กำกับ รองผู้กำกับ ลูกเสือจิตอาสาร่วม พัฒนาอาราม/วัดเขื่อน นครเขต ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕ ๓๘ ๑.บริเวณวัดเขื่อนมีความ สะอาดเรียบร้อย ๒.คนชุมชนที่มาวัดเกิดความ สบายสบายตาที่บริเวณวัด มีความสะอาด ๓.ลูกเสือจิตอาสามีจิตสำนึก ที่ดีในการรักษาความสะอาด    ลูกเสือจิตอาสาลอกท่อ รางระบายน้ำเตรียม ป้องกันภัยจากพายุฤดู ร้อน/โรงเรียนพิจิตร อนุสรณ์ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๕ ๓๘ ๑.ท่อน้ำภายในโรงเรียน สะอาดไม่อุดตันทำให้การ ระบายน้ำสะดวกทำให้ไม่ เกิดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณ โรงเรียนในช่วงที่เกิดพายุฤดู ร้อน(๑๖-๑๘ เม.ย.๖๕) ๒.ลูกเสือจิตอาสามีความ ตระหนักในการรับฟัง ข่าวสารและมีการ เตรียมพร้อมในการป้องกัน ภัยที่อาจจะเกิดขึ้น    ลูกเสือจิตาสาพัฒนา โรงเรียนต้อนรับเปิด เทอม/โรงเรียนพิจิตร อนุสรณ์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๓๘ ๑.โรงเรียนมีความสะอาด พร้อมสำหรับการเปิดเรียนปี การศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ ๒.ลูกเสือจิตอาสามีความ ภาคภูมิใจและมีจิตสำนึกใน การทำความดีเพื่อส่วนรวม ด้วยความเต็มใจ    ๑๖ ๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๑.งบประมาณที่สนับสนุนโครงการไม่เพียงพอ ควรมีการจักสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น ๒.ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-๑๙ ทำให้การจัดการฝึกอบรมมีความจำกัดทางด้านเวลาและ สถานที่ ซึ่งต้องมีการรักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-๑๙ อย่างเคร่งครัด ทำให้คณะ ผู้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมต้องวางแผนและปรับกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ ๑๗ ภาคผนวก ๑๘ โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ๑.หลักการและเหตุผล เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือน้อมนำโครงการจิตอาสาพระราชทานมาเสริมสร้าง จิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสำนักงานลูกเสือ แห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน หลักสูตร และพระราชทานตราสัญลักษณ์ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๒.วัตถุประสงค์ ๒.๑.เพื่อพัฒนาลูกเสือให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสา พระราชทาน ๒.๒.เพื่อให้โรงเรียนจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาได้ ๒.๓.เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือน้อมนำหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานไปจัด กิจกรรมจิตอาสาในสถานศึกษาและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. กลุ่มเป้าหมาย ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน ๗๕ คน ๔.วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรม ระยะเวลา หมายตุ ๑. ประชุมวางแผนการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ จิตอาสาพระราชทาน ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. เสนอคำสั่งแต่งตั้งวิทยากรต่อหัวหน้าสำนักงาน ลูกเสือจังหวัดพิจิตร ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ๓. ดำเนินการฝึกอบรม On site รูปแบบ 4 วัน ๑๕-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ รุ่นที่ ๓๐ จำนวน ๒ โรงเรียน จำนวน ๗๕ คน ๔. สรุป และประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตร ทางการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ๕. รายงานผลการฝึกอบรมต่อสำนักงานลูกเสือจังหวัดพิจิตร ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ หมายเหตุ รุ่นที่ ๓๐/๒๕๖๕ โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ กับ โรงเรียนอนุบาล อบต.เมืองเก่า จำนวน ๒ โรงเรียน จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๗๕ คน ๑๙ 5. งบประมาณที่ใช้ เงินงบประมาณ 5,000.00 บาท เงินนอกงบประมาณ - บาท รวม 5,000.00 บาท หมวดรายจ่าย จำนวนเงิน รายละเอียดการใช้งบประมาณ ค่าตอบแทน ๕,๐๐๐ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าใช้สอย - รวม ๕,๐๐๐ ๖.การวัดและประเมินผล ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน 1. ลูกเสือที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้ารับการฝึกอบรม ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา สอบถาม แบบสอบถาม 2. ลูกเสือที่เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมตามคุณลักษณะของลูกเสือจิต อาสาพระราชทานในสถานศึกษา สังเกต แบบสังเกต ๒๐ ๗.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๗.๑.ลูกเสือมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ๗.๒.โรงเรียนจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษาได้ ๗.๓.ลูกเสือที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาสามารถน้อมนำหลักการและวิธีการของโครงการลูกเสือจิต อาสาพระราชทานไปจัดกิจกรรมจิตอาสาในสถานศึกษาและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ ( นางพัชรินทร์ บุญประสพ ) ตำแหน่ง ครูโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ (ลงชื่อ) ผู้อนุมัติโครงการ ( นางสาวมิ่งขวัญ ถาวรศักดิ์) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ตารางการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา จำนวน ๔ วัน ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ระหว่างวันที่ 1๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ถึงวันที่ 1๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ณ หอประชุมมหาเมตตา โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ วัน/เวลา รายละเอียด นาที หมายเหตุ วันที่ ๑ วันอังคารที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ครู รร.พิจิตรอนุสรณ์ ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ปฐมนิเทศ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม กลุ่มสัมพันธ์ ผอ.มิ่งขวัญ ถาวรศักดิ์ ๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น. พิธีเปิด ครูขวัญชัย เพ็ชรโต ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. วิชา “บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” (ครั้งที่ ๑) ๖๐ ผอ.สมัย ศรีระวัตร ครูจักรพันธ์ ศรีภิรมย์ ๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. วิชา “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข” ๖๐ ผอ.คมคาย ปานเกลียว ครูธนิตา ศิริอ่อน พักเครื่องดื่มในเวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. วิชา “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข” (ต่อ) ๖๐ ผอ.คมคาย ปานเกลียว ครูธนิตา ศิริอ่อน ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วิชา “การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง” ๑๒๐ รองธนาธิ เหรียญวิลาส ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. - สรุปการเรียนรู้การฝึกอบรม วันที่ ๑ - เตรียมความพร้อมลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๒ ๓๐ ครูขวัญชัย เพ็ชรโต ๑๖.๓๐ น. - เพลงสรรเสริญพระบารมี และสวดมนต์ - เดินทางกลับ ครูพัชรินทร์ บุญประสพ วันที่ 2 วันพุธที่ ๑๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น. ลงเวลาเข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๒ ครู รร.พิจิตรอนุสรณ์ ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ประชุมรอบเสาธง ครูขวัญชัย เพ็ชรโต ๐๘.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. วิชา “โครงการตามแนวพระราชดำริและหลักการปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา” ๑๓๕ ผอ.มะลิ เครือรัตน์ ครูพัชรินทร์ บุญประสพ ครูณิชาภัทร เพ็ชรอำไพ พักเครื่องดื่มในเวลา ๑๐.๔๕ – ๑๑.๔๕ น. วิชา “หลักการและวิธีการโครงการจิตอาสาพระราชทาน” ๖๐ ผอ.กรวิกา อ้นโต ครูจีระภา เอมเอี่ยม ๑๑.๔๕ – ๑๒.๐๐ น. กิจกรรม บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (ครั้งที่ ๒) ๑๕ ผอ.สมัย ศรีระวัตร ครูจักรพันธ์ ศรีภิรมย์ ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. วิชา “ทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ด้านการพัฒนา การบริการ และการช่วยเหลือภัยพิบัติ ๑๒๐ ป.กิตติพร เชื้อวีรชน ครูเพ็ญพิชชา อยู่สินไชย ๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. กิจกรรม บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (ครั้งที่ ๓) ๖๐ ผอ.สมัย ศรีระวัต ครูจักรพันธ์ ศรีภิรมย์ ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. - สรุปการเรียนรู้การฝึกอบรม วันที่ ๑ - เตรียมความพร้อมลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๓ ๓๐ ครูณิชาภัทร เพ็ชรอำไพ ๑๖.๓๐ น. - เพลงสรรเสริญพระบารมี และสวดมนต์ - เดินทางกลับ ครูพัชรินทร์ บุญประสพ ๒๔ วันที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น. ลงเวลาเข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๓ ครู รร.พิจิตรอนุสรณ์ ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ประชุมรอบเสาธง ครูณิชาภัทร เพ็ชรอำไพ ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. กิจกรรม บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (ครั้งที่ ๔) ๑๕ ผอ.สมัย ศรีระวัตร ครูจักรพันธ์ ศรีภิรมย์ ๐๙.๔๕ – ๐๙.๐๐ น. กลุ่มสัมพันธ์ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ๑๕ ครูพัชรินทร์ บุญประสพ ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. วิชา “ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานกับการพัฒนาชุมชน (ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชน) ๑๒๐ ผอ.มงคล บุญชุม ครูกัทลี คารมปราชญ์ พักเครื่องดื่มในเวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. วิชา “ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานกับการประชาสัมพันธ์” ๙๐ ผอ.ปริฉัตร หมอนทอง ว่าที่ร้อยตรีปริญญา เถื่อนชื่น ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. กิจกรรม บทเพลงแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (ภาคสรุป) ๑๕ ผอ.สมัย ศรีระวัตร ครูจักรพันธ์ ศรีภิรมย์ ๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น. วิชา “การดำเนินงานกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานใน สถานศึกษา” ๗๕ รองรัชพล ครุฑหลวง ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. - สรุปการเรียนรู้การฝึกอบรม วันที่ ๓ - เตรียมความพร้อมลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๔ ๓๐ ครูเพ็ญพิชชา อยู่สินไชย ๑๖.๓๐ น. - เพลงสรรเสริญพระบารมี และสวดมนต์ - เดินทางกลับ ครูเพ็ญพิชชา อยู่สินไชย วันที่ ๔ วันศุกร์ที่ ๑๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น. ลงเวลาเข้ารับการฝึกอบรม วันที่ ๔ ครู รร.พิจิตรอนุสรณ์ ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ประชุมรอบเสาธง ครูเพ็ญพิชชา อยู่สินไชย ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. กลุ่มสัมพันธ์ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ครูพัชรินทร์ บุญประสพ ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การแสดง Gang Show ๑๘๐ ครูพัชรินทร์ บุญประสพ ครูเพ็ญพิชชา อยู่สินไชย พักเครื่องดื่มในเวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหาร ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. คณะวิทยากรและลูกเสือสรุปบทเรียนร่วมกัน และมอบภารกิจ ๖๐ ผอ.มิ่งขวัญ ถาวรศักดิ์ ๑๔.๐๐ น. พิธีปิดการฝึกอบรม และเดินทางกลับ ผอ.มิ่งขวัญ ถาวรศักดิ์ ๒๕ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ พิธีเปิดการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา รุ่นที่ ๓๐/๒๕๖๕ โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายธนู อักษร ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธี ๒๖ วันที่ ๑๕-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ บรรยากาศการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ๒๗ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ นำลูกเสือจิตอาสาพระราชทานไปศึกษาเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนอง นา โมเดล ๓๓ หมู่ ๘ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ๒๘ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ นำลูกเสือจิตอาสาพระราชทานรับฟังการบรรยายและ สาธิตการดับเพลิงโดยได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ๒๙ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ผู้เข้ารับการอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ทำกิจกรรมในวิชาบทเพลงแห่งความภาคภูมิใจ ๓๐ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ว่าที่พันตรี สุวิศิษฏ์ กันทา รองผู้อำนวยการ สพป.พิจิตรเขต ๑ เยี่ยมชมและให้คำแนะนำการจัดอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ๓๑ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา ทำการแสดงแก๊งโชว์ ๓๒ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ นางสาวมิ่งขวัญ ถาวรศักดิ์ ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา กล่าวปิดการฝึกอบรม ๓๓ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ทำความสะอาดบริเวณวัดเขื่อนนครเขต ในกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาร่วมพัฒนาอาราม ๓๔ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ลอกท่อรางน้ำโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ในกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาลอกท่อรางระบายน้ำเตรียมป้องกันภัยจากพายุฤดูร้อน ๓๕ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ หน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ร่วมทำความสะอาดโรงเรียนพิจิตรอนุสรณ์ ในกิจกรรมลูกเสือจิตาสาพัฒนาโรงเรียนต้อนรับเปิดเทอม ๓๖