ความรุนแรง แบ่ง ออก เป็น กี่ ลักษณะ อะไร บ้าง

จะเห็นได้ว่า “ความรุนแรง” ถ่ายทอดจากพ่อ แม่  ลูก  หลาน  เหลน ต่อไป  ถ้าเราปล่อยให้ความรุนแรงเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะมากหรือน้อย  ความรุนแรงก็อยู่ในสังคมตลอดไป  จึงเป็นเหตุผลว่า เราต้องป้องกันมิให้ความรุนแรงแพร่ขยายถ่ายทอดเป็นวัฎจักรที่ไม่ดีไปเรื่อย ๆ       อะไรคือความรุนแรง?

อะไรคือความรุรแรง  คลิกที่นี่เพื่ออ่าน

1.  นักเรียนศึกษาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน  และตอบคำถามครูลงในช่องแสดงความคิดเห็น ดังนี้
       1.1. ความรุนแรงแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง อย่างไร
       1.2. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอะไรบ้าง อย่างไร
       1.3. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากสาเหตุใด
       1.4. ความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดผลอย่างไร 

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

เขียนใน กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 2

  • กิจกรรมนักเรียนปี 2555
  • กิจกรรมสำหรับครูผู้สอน
    • หน่วยการเรียนรู้เรื่องเพศพัฒนา
      • 1.วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้
      • 2.การวิเคราะห์นักเรียน
      • 3.การจัดทำแผนการเรียนรู้
      • 4.เกณฑ์วัดผลประเมินผลการเรียนรู้
      • 5.แบบบันทึกผลหลังสอน
  • กิจกรรมสำหรับนักเรียน
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 1
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 2
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 3
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 4
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 5
    • กิจกรรมเพศพัฒนาที่ 6
  • ผลงานนักเรียน
    • กิจกรรมที่ 3
  • รวมผลการจัดกิจกรรมปีการศึกษา 2553
    • การสอนเพศพัฒนา สำหรับครูผู้สอน
      • หน่วยที่ 1 เรื่องส่วนตัว
        • แผนที่ 1 อนามัยเจริญพันธุ์
        • แผนที่ 2 อารมณ์และความเครียด
      • หน่วยที่ 2 ครอบครัวของเรา
        • แผนที่ 1 สัมพันธภาพ
        • แผนที่ 2 วัยผู้ใหญ่
        • แผนที่ 3 ปัญหาครอบครัว
    • กิจกรรมการเรียนเพศพัฒนา สำหรับนักเรียน
      • กิจกรรมที่ 1 เรื่องส่วนตัว
        • 1.อนามัยเจริญพันธุ์
        • 2.อารมณ์และความเครียด
      • กิจกรรมที่ 2 ครอบครัวของเรา
        • 1.สัมพันธภาพ
        • 2.วัยผู้ใหญ่
        • 3.ปัญหาครอบครัว
    • กิจกรรมวัดผลประเมินผล
      • 1.เรื่องส่วนตัว
      • 2.ครอบรอบครัวของเรา
    • กิจกรรมเสริมเพศศึกษา
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
      • หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
    • ผลงานนักเรียน
  • เรื่องจิปาถะ นานาสาระ
    • บทกวี
    • บทความสุขภาพ
    • สารเสพติด
    • อาหารและโภชนาการ
  • โครงงานสุขภาพ
  • Socail Media
    • สมัคร E- mail และ Twitter
    • สร้างBlog ด้วยWordpress

ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่น
หรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ความรุนแรงมีกี่ประเภท ?

1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทุบตีทำร้ายร่างกาย ตบ เตะ ต่อย การใช้อาวุธ เป็นต้น

2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การใช้คำพูด กิริยา หรือการกระทำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น
    เหยียดหยาม ด่าว่า ให้อับอาย การกลั่นแกล้ง ทรมานให้เจ็บช้ำน้ำใจ การบังคับ ข่มขู่ กักขัง
    ควบคุม ไม่ให้แสดงความคิดเห็น การหึงหวง การเลือกปฏิบัติ การเอารัดเอาเปรียบ
    การตักตวงผลประโยชน์ การถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดู เป็นต้น

3. ความรุนแรงทางเพศ เช่น การถูกละเมิดทางเพศ การพูดเรื่องลามกอนาจาร การแอบดู
    การจับต้องของสงวน การบังคับให้เปลื้องผ้า การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
. . .

ความรุนแรง แบ่ง ออก เป็น กี่ ลักษณะ อะไร บ้าง

. . .

อะไรคือสาเหตุของการใช้ความรุนแรง?

เมื่อพูดถึงสาเหตุ โดยทั่วไปความรุนแรงมักเกิดมาจาก

1. ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความรุนแรง

- เป็นกมลสันดาน ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก

- เลียนแบบบิดา มารดา ที่ชอบใช้ความรุนแรง ได้แบบอย่างจากหนังสือ โทรทัศน์

- ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องผิดชอบชั่วดี ครอบครัวขาดความอบอุ่น

- เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง ทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น

2. ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อผิดๆ ของผู้กระทำความรุนแรง ตลอดจนความเชื่อดั้งเดิมผิดๆ
    ที่เรียกว่ามายาคติ (myths) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและพฤติกรรมทั้งของ ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ
    และบุคคลอื่นๆ

- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง เช่น ผู้ที่มีอำนาจมีสิทธิกระทำอะไรก็ได้กับผู้ที่ด้อย
  กว่า ผู้ชายเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้นำผู้หญิงเป็นผู้ตาม ภรรยาเป็นสมบัติของสามี

- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรง เช่น ความเมาทำให้
  ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่ได้ตั้งใจกระทำ เป็นต้น

- ความเชื่อบางอย่างเป็นการยอมรับให้มีการใช้ความรุนแรง เช่น ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว
  น่าอับอาย คนทะเลาะกัน ผู้อื่นไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว เป็นต้น

- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เช่น ผู้ถูกกระทำเป็นผู้ยั่วยุ
  หรือยั่วยวน ทำหน้าที่บกพร่อง ประพฤติตัวไม่ดี เป็นต้น

- ความเชื่อบางอย่างทำให้ขาดความระมัดระวังตัว เช่น คนที่เรารู้จักจะไม่กล้าล่วงเกินทางเพศเรา
  คนในครอบครัวหรือ บุคคลใกล้ชิดจะไม่ทำร้ายเรา เป็นต้น

- ความเชื่อบางอย่างทำให้ขาดการเอาใจใส่คนบางกลุ่มไป เช่น ความรุนแรงเกิดขึ้นเฉพาะคนในกลุ่มที่
  มีฐานะยากจน เป็นต้น

- นอกจากนั้นผู้ที่ถูกกระทำบางคนไม่ทราบว่าตนเองถูกกระทำ เข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องปกติ
   ทำให้ถูกกระทำซ้ำซาก

- บางรายมีความเชื่อผิดๆ ว่าการถูกกระทำเป็นเรื่องน่าอับอาย เป็นความผิดของตนเอง เกรงว่าถ้า
  ผู้ปกครองหรือ อาจารย์ทราบแล้วจะถูกลงโทษ ทำให้ปกปิดเรื่องไว้ และทนต่อการถูกกระทำซ้ำแล้ว
  ซ้ำอีกโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

3. สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดความรุนแรง เช่น สื่อต่าง ๆ เป็นต้น
...

ความรุนแรง แบ่ง ออก เป็น กี่ ลักษณะ อะไร บ้าง

. . .

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลปี 2552 วิธีการดูแผนที่ ให้ดูตามโทนสี
พื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีฟ้า - น้ำเงิน นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีฟ้าหรือน้ำเงินเข้มมาก พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
ส่วนในพื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีเหลือส้ม - เลือดหมู
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีเหลือส้มหรือสีเลือดหมูเข้มมาก
พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
...
SMR หรือ standard mortality ratio คือ การเปรียบเทียบอัตราตายจากโรคนั้นๆ ในจังหวัดนั้น
คำนวณจาก จำนวนตายที่เป็นจริงของพื้นที่ หารด้วยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่
ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายมากกว่าที่ควรจะเป็นค่า SMR จะมากกว่า 1 และยิ่งมากกว่า 1 เท่าใด
แปลว่ามีการตายมากขึ้นเท่านั้น ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ค่า SMR จะต่ำกว่า 1 และยิ่งต่ำกว่า 1 แสดงว่ายิ่งมีการตายที่ลดลงเพิ่มมากขึ้น
ถ้า SMR < 1 : จำนวนตายในพื้นที่ต่ำกว่าประชาชนทั่วไป,
SMR = 1 : จำนวนตายในพื้นที่เท่ากับประชาชนทั่วไป,
SMR > 1 : จำนวนตายในพื้นที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปโดยสรุป
ถ้า SMR อยู่ในโทนสีฟ้า อัตราตายของคนในจังหวัดนั้นต่ำกว่าประชากรมาตรฐาน แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นดีกว่าประชากรโดยรวม และถ้า SMR อยู่ในโทนสีเหลืองแดง
แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นแย่กว่าประชากรโดยรวม

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

อ้างอิง 

http://www.thaigoodview.com/node/42924

http://www.nurse.cmu.ac.th/stop-d/knowledge/websara/violence.html

การทําร้ายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ความรุนแรงทางกาย - ใช้กำลังทำร้าย เช่น ตบ ตี ต่อย เตะ - ใช้อาวุธ เช่น มีด ปืน ของที่หาได้ ใกล้มือ ... .
ความรุนแรงทางจิตใจ - ใช้คำพูด ดุ ด่า ว่ากล่าว ตะคอก ... .
ความรุนแรงทางสังคม - ปล่อยปละละเลย/ทอดทิ้ง ... .
ความรุนแรงด้านเศรษฐกิจ - ควบคุมทรัพย์สิน จำกัดค่าใช้จ่าย ... .
ความรุนแรงทางเพศ.

ความรุนแรง (Violence) มีความหมายอย่างไร

ความรุนแรง (Violence) หมายถึง เจตนา หรือความตั้งใจใช้กำลังกาย ใช้อำนาจคุกคาม ข่มขู่ เพื่อกระทำต่อตนเอง บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บทางจิตใจ ร่างกาย เสียชีวิต เกิด ความผิดปกติในการพัฒนา หรือถูกทอดทิ้ง หรือถูกละเมิดสิทธิ องค์การอนามัยโลกแบ่งประเภทความรุนแรง เป็น 3 ประเภท คือ

ความรุนแรงทางร่างกายเป็นอย่างไร

ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เป็นการทำร้ายร่างกายโดยเจตนาที่จะใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ เช่น ทุบ ตี เตะ ต่อย ทำให้เกิดบาดแผลตามร่างกาย รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์เลี้ยงด้วย ความรุนแรงที่ออกมาทางคำพูด พูดจาส่อเสียด พูดโดยใช้อารมณ์และคำหยาบ ในการด่า ทำร้ายจิตใจ เหยียดเพศ เหยียดศักดิ์ศรี และทำให้รู้สึกอาย

ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรง มีอะไรบ้าง

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคม 5 อันดับแรก อันดับ 1 สุรา/ยาเสพติด อันดับ 2 การอบรมเลี้ยงดู อันดับ 3 การคบเพื่อน อันดับ 4 ความเครียด 26.75% 20.29% 12.96% 7.92% อับดับ 5 การเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงบ่อยครั้ง 6.38% พฤติกรรมเลียนแบบจากการนำเสนอการกระทำความรุนแรงในสังคม