ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นปัญหาหนึ่งที่นำผู้ป่วยมารับการตรวจในคลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่จะพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบในผู้สูงอายุซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอีกหลายด้าน แบ่งออกเป็นผลกระทบทางกาย ได้แก่ การเกิดแผลหรือผื่นจากการอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ ผลกระทบทางใจ ได้แก่ อาการซึมเศร้า การเขินอาย ส่งผลให้เก็บตัวไม่สามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ ดังนั้นหากเราเข้าใจถึงสาเหตุของอาการ และแนวทางการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   

อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างประกอบไปด้วย

  1. กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) มีหน้าที่เก็บน้ำปัสสาวะ (Storage function) ซึ่งสร้างจากไตไหลผ่านมาทางท่อไต ในปริมาณความจุประมาณ 300 – 500 มิลลิลิตร โดยไม่มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา และไม่มีความรู้เจ็บปวดทรมานในขณะเก็บน้ำปัสสาวะ อีกหน้าที่หนึ่งคือการบีบขับน้ำปัสสาวะออกจนหมดเมื่อมีความรู้สึกปวดปัสสาวะ (Voiding function) ในสถานการณ์และโอกาสที่เหมาะสม โดยคนปกติสามารถเริ่มมีความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ตั้งแต่มีน้ำในกระเพาะปัสสาวะปริมาณ 150 มิลลิลิตร 

  2. ท่อปัสสาวะ (Urethra) ซึ่งมีหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย (Passage) โดยมีหูรูดของท่อปัสสาวะ 2 ชั้น คือ หูรูดชั้นใน (Internal urethral sphincter) และหูรูดชั้นนอก (External urethral sphincter) ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดตามจังหวะของการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ กล่าวคือ เมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าเก็บน้ำปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะบีบตัว ทำให้ท่อปัสสาวะปิดสนิทไม่ให้มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าที่ขับปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะคลายตัว ทำให้ท่อปัสสาวะเปิดออกและน้ำปัสสาวะผ่านออกมาได้จนหมด โดยทั้งกระเพาะปัสสาวะและหูรูดของท่อปัสสาวะจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์ จึงจะทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

อาการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 

คือ อาการที่ผู้ป่วยมีน้ำปัสสาวะเล็ดรอดออกมานอกระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถควบคุมได้ จากการตรวจร่างกายอาจจะสังเกตเห็นว่ามีน้ำปัสสาวะไหลซึมออกมาหรือไม่ก็ได้ โดยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่กระเพาะปัสสาวะกำลังทำการเก็บน้ำปัสสาวะ (Storage function) เมื่อความดันในกระเพาะปัสสาวะ (Intravesical pressure) สูงขึ้นมากกว่า ความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะที่ปิดอยู่ (Urethral closure pressure) จะส่งผลให้เกิดมีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมาได้ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะมีรูรั่ว (Fistula) ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำปัสสาวะได้  

ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence) และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบถาวร (Permanent urinary incontinence)

ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence) มักจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และสามารถแก้ไขให้หายเป็นปกติได้ ได้แก่

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อสับสน (Delirium)
  2. ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย (Infection)
  3. ผู้ป่วยเพศหญิงที่มีปัญหาท่อปัสสาวะหรือช่องคลอดแห้งจากการขาดฮอร์โมน (Atrophic vaginitis)  
  4. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช (Psychological causes)
  5. ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาบางกลุ่ม (Pharmacological causes) เช่น ยาลดความดัน ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
  6. ผู้ป่วยที่มีการสร้างปัสสาวะออกมาจำนวนมากในขณะที่กำลังรักษา (Excessive urine product)
  7. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ ภายหลังการผ่าตัดหรือการรักษา (Restricted mobility)
  8. ผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก อุจจาระอัดแน่นในลำไส้ (Stool impaction)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบถาวร (Permanent urinary incontinence) จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 อาการย่อย  คือ

  1. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence)
  2. อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence)
  3. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence)
  4. อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis)
  5. อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence)
  6. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาในขณะเปลี่ยนท่าทาง (Postural incontinence)
  7. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่รู้สึกตัว (Insensible incontinence)
  8. อาการปัสสาวะเล็ดราดในขณะมีเพศสัมพันธ์ (Coital / Giggle incontinence)

การเกิดโรคและการดูแลรักษา (Pathogenesis and Management)

การเกิดโรค คือ การเกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และการรักษาโดยสรุป ตามอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ทั้ง 8 ชนิดข้างต้น

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

1. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence)

เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยมีปัญหาหลักเนื่องมาจากกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนยาน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการฉีกขาดจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ส่งผลให้หูรูดและท่อปัสสาวะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ปิดได้ไม่สนิท ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในช่องท้องอย่างรวดเร็ว เช่น การไอ การจามหรือการยกของหนัก จากความผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน ได้แก่การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor muscle training) หรือการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เช่น การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น การผ่าตัดเพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้นและการผ่าตัดแก้ไขไอจามปัสสาวะเล็ด (Pelvic organ prolapse surgery and Anti-incontinence surgery) นอกจากนี้การลดความดันภายในช่องท้อง เช่น การลดน้ำหนักที่มากเกิน การผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ยังมีส่วนช่วยให้ผลการรักษาออกมาได้ดีมากยิ่งขึ้น

2. อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence)

ปัญหาหลักของอาการปัสสาวะราด เกิดมาจากความดันในกระเพาะปัสสาวะที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดปัสสาวะ และไม่สามารถยับยั้งได้ ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงมากกว่าความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะปิดตัว จึงเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วคือ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวที่เร็วและรุนแรงมากกว่าปกติ (Detrusor overactivity) ซึ่งเป็นผลมาจากสมองหรือไขสันหลังส่วนที่กดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในขณะเก็บน้ำปัสสาวะเสียหาย (Central nervous system dysfunction) เช่น ผู้ป่วยเส้นเลือดสมอง (Celebrovascular disease)  หรือเนื่องมากจากการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะปัสสาวะมีความไวมากขึ้น (Hypersensitive bladder) ตัวอย่างเช่น มีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้มีการระคายเคืองต่อผนังกระเพาะปัสสาวะ หรือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการทำงานมากกว่าปกติขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่การลดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะตามสาเหตุ การใช้ยาเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ยากลุ่ม Anti-muscarinics และ Beta-3 agonists รวมถึงการใช้การฉีดยา Botulinum toxin เข้าผนังกระเพาะปัสสาวะ  

3. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence)

โดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence) นำมาก่อน ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence) ตามมาในภายหลัง ได้มีการศึกษาและให้คำอธิบายการเกิดโรคไว้คือ ในคนปกติที่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะหูรูดชั้นในจะเปิดออกพร้อมกับมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีความพร้อมในการปัสสาวะหูรูดชั้นนอกเปิดออกหมด น้ำปัสสาวะที่ไหลผ่านในท่อปัสสาวะและมีกระตุ้นย้อนกลับไปที่กระเพาะปัสสาวะให้เกิดการบีบตัวมากขึ้นและต่อเนื่อง จนกว่าน้ำปัสสาวะจะหมด แต่ท่อปัสสาวะของผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ดมักจะไม่สามารถปิดได้สนิท ทำให้มีน้ำปัสสาวะบางส่วนไหลเข้าไปในท่อปัสสาวะ เกิดการกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวก่อนที่จะถึงช่วงการขับถ่ายปัสสาวะ) การรักษาจึงประกอบไปด้วย การลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะโดยการใช้ยากลุ่ม Antimuscarinics และหรือ Beta-3 agonists การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหูรูดและอุ้งเชิงกรานโดยการออกกำลัง (Pelvic floor muscle training) รวมไปถึงการผ่าตัดแก้ไขไอจามปัสสาวะเล็ด (Anti-incontinence surgery) แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีปัญหาไอจามปัสสาวะเล็ดมาก่อนไม่มาก และไม่ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะราด แต่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีโรคประจำตัวใหม่เกิดขึ้นและเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปัสสาวะราดตามมาในภายหลัง  การรักษาที่เหมาะสมคือการรักษาที่ต้นเหตุร่วมกับให้การรักษาอาการปัสสาวะราดตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น จนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น หลังจากนั้นจึงมาประเมินความรุนแรงของอาการไอจามปัสสาวะเล็ดและพิจารณาให้การรักษาต่อไป

4. อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis)

ผู้ป่วยจะมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่ได้ในขณะที่นอนหลับสนิทไปแล้ว และอาจจะมีหรือไม่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบอื่นๆร่วมด้วยก็ได้ สาเหตุของอาการปัสสาวะรดที่นอนมาจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะและอุ้งเชิงกรานมีการคลายตัวมากกว่าปกติในขณะหลับเพราะมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง (Loss of urethral tone) ซึ่งโดยปกติระบบประสาทอัตโนมัติจะทำหน้าที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อดังกล่าวให้มีการบีบตัวตลอดเวลา เพื่อให้ท่อปัสสาวะปิดสนิทในขณะหลับ หรือเกิดจากมีการสร้างน้ำปัสสาวะในช่วงกลางคืนมากกว่าปกติ (Nocturnal polyuria) ส่งผลให้มีน้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงกว่าท่อปัสสาวะ การแก้ไขปัญหานี้จึงเป็นการใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดและท่อปัสสาวะมีแรงตึงตัวมากขึ้นเช่นยา Imipramine หรือ Duloxetine โดยอาศัยผลข้างเคียงของยาซึ่งเป็นกลุ่มยาจิตประสาท ลดการสร้างน้ำปัสสาวะในช่วงกลางคืนโดยการลดปริมาณการดื่มน้ำก่อนนอน และเข้าไปปัสสาวะก่อนเข้านอน การใช้ยาเพื่อลดการสร้างน้ำปัสสาวะได้แก่ยา Desmopressin   

5. อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence)

เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีน้ำปัสสาวะไหลซึมออกมาตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับการปัสสาวะ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามสาเหตุคือ ผู้ป่วยมีรูรั่วของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไต (Urinary tract fistula) ซึ่งมักจะเกิดมาจากการผ่าตัด การฉายรังสีรักษาบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือมะเร็งของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอื่นๆที่ลุกลามเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการทำงานของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างผิดปกติ เช่น ท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิท (Urethral incompetence) หรือเกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถบีบตัวได้ จนน้ำปัสสาวะไหลล้นออกมาเนื่องความดันในกระเพาะปัสสาวะที่สูงขึ้น (Overflow incontinence) การรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลาเช่น การผ่าตัดปิดรูรั่วของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตในรายที่มีปัญหามาจากรูรั่ว การผ่าตัดแก้ไขซ่อมแซมหูรูดของท่อปัสสาวะหรือการผ่าตัดใส่หูรูดเทียม ส่วนในรายที่มีปัญหาน้ำปัสสาวะไหลล้นออกมา จำเป็นต้องให้การรักษาโดยการสวนปัสสาวะเอง (Self-catheterization) หรือการคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelled Catheterization)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

6. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาในขณะเปลี่ยนท่าทาง (Postural incontinence)

อาการนี้มีสาเหตุความผิดปกติแบบเดียวกันกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence) กล่าวคือท่อปัสสาวะของผู้ป่วยไม่สามารถปิดสนิทได้เนื่องมาจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เมื่อผู้ป่วยมีการเปลี่ยนท่าทางจากนั่งหรือนอนเป็นท่ายืน ความดันภายในช่องท้องจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะมีการเพิ่มขึ้นพร้อมกัน แต่เนื่องจากมีความอ่อนแอของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิท มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ จึงเกิดปัสสาวะเล็ดรอดออกมา การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด 

7. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่รู้สึกตัว (Insensible incontinence)

เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ซึ่งเกิดขึ้นโดยผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายรายละเอียดของอาการได้ชัดเจน เนื่องมาจากผู้ป่วยมีปัญหาทางสมองหรือมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการที่ไม่ถูกต้อง ในผู้ป่วยบางรายที่มีการทำงานของสมองปกติและสติสัมปะชัญญะดี อาการดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายภาพเช่น มีการไหลซึมของน้ำปัสสาวะบางส่วนเข้าไปในช่องคลอดในขณะปัสสาวะ เมื่อผู้ป่วยเสร็จสิ้นการปัสสาวะและเปลี่ยนท่าทางจะพบว่ามีน้ำปัสสาวะออกปนออกมา (Vaginal void) หรือในผู้ป่วยที่มีกระเปาะของท่อปัสสาวะ (Urethral diverticulum) ซึ่งมีรูเปิดออกบริเวณท่อปัสสาวะส่วนปลาย เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว อาจจะมีน้ำปัสสาวะเปื้อนติดการเกงใน ส่วนความผิดปกติทางด้านการทำงานเช่น การมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่ในท่อปัสสาวะบางส่วนเนื่องจากหูรูดทั้งสองชั้นทำงานผิดปกติไม่สัมพันธ์กัน การรักษาโดยส่วนใหญ่จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบได้ชัดเจนเท่านั้น หากยังไม่สามารถพบสาเหตุที่ชัดเจนมักจะให้การแนะนำและเฝ้าติดตามดูอาการ

8. อาการปัสสาวะเล็ดราดในขณะมีเพศสัมพันธ์ (Coital / Giggle incontinence)

เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ที่เกิดในขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจจะส่งผลให้มีปัญหาชีวิตคู่ ซึ่งอาการนี้มักพบร่วมกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด ในผู้หญิงที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่สม่ำเสมอ และมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบเดียวกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด นอกจากนี้บางรายอาจมีความผิดปกติในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย เช่นกระเพาะปัสสาวะมีการทำงานที่ไวเกิน การรักษาจึงเป็นวิธีการเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด

   ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก บุคลากรทางสาธารณสุขทุกคน แพทย์และพยาบาล มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเข้าใจถึงการเกิดโรคของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในแต่ละชนิดและแนวทางการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทั้งจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้และผลจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ.ภควัฒน์ ระมาตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นปัญหาหนึ่งที่นำผู้ป่วยมารับการตรวจในคลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่จะพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบในผู้สูงอายุซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอีกหลายด้าน แบ่งออกเป็นผลกระทบทางกาย ได้แก่ การเกิดแผลหรือผื่นจากการอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ ผลกระทบทางใจ ได้แก่ อาการซึมเศร้า การเขินอาย ส่งผลให้เก็บตัวไม่สามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ ดังนั้นหากเราเข้าใจถึงสาเหตุของอาการ และแนวทางการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   

อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างประกอบไปด้วย

1. กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) มีหน้าที่เก็บน้ำปัสสาวะ (Storage function) ซึ่งสร้างจากไตไหลผ่านมาทางท่อไต ในปริมาณความจุประมาณ 300 – 500 มิลลิลิตร โดยไม่มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา และไม่มีความรู้เจ็บปวดทรมานในขณะเก็บน้ำปัสสาวะ อีกหน้าที่หนึ่งคือการบีบขับน้ำปัสสาวะออกจนหมดเมื่อมีความรู้สึกปวดปัสสาวะ (Voiding function) ในสถานการณ์และโอกาสที่เหมาะสม โดยคนปกติสามารถเริ่มมีความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ตั้งแต่มีน้ำในกระเพาะปัสสาวะปริมาณ 150 มิลลิลิตร 

2. ท่อปัสสาวะ (Urethra) ซึ่งมีหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย (Passage) โดยมีหูรูดของท่อปัสสาวะ 2 ชั้น คือ หูรูดชั้นใน (Internal urethral sphincter) และหูรูดชั้นนอก (External urethral sphincter) ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดตามจังหวะของการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ กล่าวคือ เมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าเก็บน้ำปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะบีบตัว ทำให้ท่อปัสสาวะปิดสนิทไม่ให้มีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมา ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระเพาะปัสสาวะกำลังทำหน้าที่ขับปัสสาวะ หูรูดของท่อปัสสาวะจะคลายตัว ทำให้ท่อปัสสาวะเปิดออกและน้ำปัสสาวะผ่านออกมาได้จนหมด โดยทั้งกระเพาะปัสสาวะและหูรูดของท่อปัสสาวะจะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์ จึงจะทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

อาการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 

คือ อาการที่ผู้ป่วยมีน้ำปัสสาวะเล็ดรอดออกมานอกระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถควบคุมได้ จากการตรวจร่างกายอาจจะสังเกตเห็นว่ามีน้ำปัสสาวะไหลซึมออกมาหรือไม่ก็ได้ โดยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่กระเพาะปัสสาวะกำลังทำการเก็บน้ำปัสสาวะ (Storage function) เมื่อความดันในกระเพาะปัสสาวะ (Intravesical pressure) สูงขึ้นมากกว่า ความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะที่ปิดอยู่ (Urethral closure pressure) จะส่งผลให้เกิดมีการเล็ดรอดของน้ำปัสสาวะออกมาได้ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะมีรูรั่ว (Fistula) ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำปัสสาวะได้  

ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence) และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบถาวร (Permanent urinary incontinence)

ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence) มักจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และสามารถแก้ไขให้หายเป็นปกติได้ ได้แก่

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อสับสน (Delirium)
  2. ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย (Infection)
  3. ผู้ป่วยเพศหญิงที่มีปัญหาท่อปัสสาวะหรือช่องคลอดแห้งจากการขาดฮอร์โมน (Atrophic vaginitis)  
  4. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช (Psychological causes)
  5. ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาบางกลุ่ม (Pharmacological causes) เช่น ยาลดความดัน ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
  6. ผู้ป่วยที่มีการสร้างปัสสาวะออกมาจำนวนมากในขณะที่กำลังรักษา (Excessive urine product)
  7. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ ภายหลังการผ่าตัดหรือการรักษา (Restricted mobility)
  8. ผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก อุจจาระอัดแน่นในลำไส้ (Stool impaction)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบถาวร (Permanent urinary incontinence) จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 อาการย่อย  คือ

  1. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence)
  2. อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence)
  3. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence)
  4. อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis)
  5. อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence)
  6. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาในขณะเปลี่ยนท่าทาง (Postural incontinence)
  7. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่รู้สึกตัว (Insensible incontinence)
  8. อาการปัสสาวะเล็ดราดในขณะมีเพศสัมพันธ์ (Coital / Giggle incontinence)

การเกิดโรคและการดูแลรักษา (Pathogenesis and Management)

การเกิดโรค คือ การเกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และการรักษาโดยสรุป ตามอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ทั้ง 8 ชนิดข้างต้น

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

1. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence)

เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยมีปัญหาหลักเนื่องมาจากกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนยาน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการฉีกขาดจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ส่งผลให้หูรูดและท่อปัสสาวะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ปิดได้ไม่สนิท ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในช่องท้องอย่างรวดเร็ว เช่น การไอ การจามหรือการยกของหนัก จากความผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน ได้แก่การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor muscle training) หรือการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เช่น การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น การผ่าตัดเพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้นและการผ่าตัดแก้ไขไอจามปัสสาวะเล็ด (Pelvic organ prolapse surgery and Anti-incontinence surgery) นอกจากนี้การลดความดันภายในช่องท้อง เช่น การลดน้ำหนักที่มากเกิน การผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ยังมีส่วนช่วยให้ผลการรักษาออกมาได้ดีมากยิ่งขึ้น

2. อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence)

ปัญหาหลักของอาการปัสสาวะราด เกิดมาจากความดันในกระเพาะปัสสาวะที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดปัสสาวะ และไม่สามารถยับยั้งได้ ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงมากกว่าความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะปิดตัว จึงเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วคือ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวที่เร็วและรุนแรงมากกว่าปกติ (Detrusor overactivity) ซึ่งเป็นผลมาจากสมองหรือไขสันหลังส่วนที่กดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในขณะเก็บน้ำปัสสาวะเสียหาย (Central nervous system dysfunction) เช่น ผู้ป่วยเส้นเลือดสมอง (Celebrovascular disease)  หรือเนื่องมากจากการรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะปัสสาวะมีความไวมากขึ้น (Hypersensitive bladder) ตัวอย่างเช่น มีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้มีการระคายเคืองต่อผนังกระเพาะปัสสาวะ หรือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการทำงานมากกว่าปกติขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่การลดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะตามสาเหตุ การใช้ยาเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ยากลุ่ม Anti-muscarinics และ Beta-3 agonists รวมถึงการใช้การฉีดยา Botulinum toxin เข้าผนังกระเพาะปัสสาวะ  

3. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence)

โดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence) นำมาก่อน ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence) ตามมาในภายหลัง ได้มีการศึกษาและให้คำอธิบายการเกิดโรคไว้คือ ในคนปกติที่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะหูรูดชั้นในจะเปิดออกพร้อมกับมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีความพร้อมในการปัสสาวะหูรูดชั้นนอกเปิดออกหมด น้ำปัสสาวะที่ไหลผ่านในท่อปัสสาวะและมีกระตุ้นย้อนกลับไปที่กระเพาะปัสสาวะให้เกิดการบีบตัวมากขึ้นและต่อเนื่อง จนกว่าน้ำปัสสาวะจะหมด แต่ท่อปัสสาวะของผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ดมักจะไม่สามารถปิดได้สนิท ทำให้มีน้ำปัสสาวะบางส่วนไหลเข้าไปในท่อปัสสาวะ เกิดการกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวก่อนที่จะถึงช่วงการขับถ่ายปัสสาวะ) การรักษาจึงประกอบไปด้วย การลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะโดยการใช้ยากลุ่ม Antimuscarinics และหรือ Beta-3 agonists การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหูรูดและอุ้งเชิงกรานโดยการออกกำลัง (Pelvic floor muscle training) รวมไปถึงการผ่าตัดแก้ไขไอจามปัสสาวะเล็ด (Anti-incontinence surgery) แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีปัญหาไอจามปัสสาวะเล็ดมาก่อนไม่มาก และไม่ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะราด แต่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีโรคประจำตัวใหม่เกิดขึ้นและเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปัสสาวะราดตามมาในภายหลัง  การรักษาที่เหมาะสมคือการรักษาที่ต้นเหตุร่วมกับให้การรักษาอาการปัสสาวะราดตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น จนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น หลังจากนั้นจึงมาประเมินความรุนแรงของอาการไอจามปัสสาวะเล็ดและพิจารณาให้การรักษาต่อไป

4. อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis)

ผู้ป่วยจะมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่ได้ในขณะที่นอนหลับสนิทไปแล้ว และอาจจะมีหรือไม่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบอื่นๆร่วมด้วยก็ได้ สาเหตุของอาการปัสสาวะรดที่นอนมาจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะและอุ้งเชิงกรานมีการคลายตัวมากกว่าปกติในขณะหลับเพราะมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง (Loss of urethral tone) ซึ่งโดยปกติระบบประสาทอัตโนมัติจะทำหน้าที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อดังกล่าวให้มีการบีบตัวตลอดเวลา เพื่อให้ท่อปัสสาวะปิดสนิทในขณะหลับ หรือเกิดจากมีการสร้างน้ำปัสสาวะในช่วงกลางคืนมากกว่าปกติ (Nocturnal polyuria) ส่งผลให้มีน้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงกว่าท่อปัสสาวะ การแก้ไขปัญหานี้จึงเป็นการใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดและท่อปัสสาวะมีแรงตึงตัวมากขึ้นเช่นยา Imipramine หรือ Duloxetine โดยอาศัยผลข้างเคียงของยาซึ่งเป็นกลุ่มยาจิตประสาท ลดการสร้างน้ำปัสสาวะในช่วงกลางคืนโดยการลดปริมาณการดื่มน้ำก่อนนอน และเข้าไปปัสสาวะก่อนเข้านอน การใช้ยาเพื่อลดการสร้างน้ำปัสสาวะได้แก่ยา Desmopressin   

5. อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence)

เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีน้ำปัสสาวะไหลซึมออกมาตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับการปัสสาวะ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามสาเหตุคือ ผู้ป่วยมีรูรั่วของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไต (Urinary tract fistula) ซึ่งมักจะเกิดมาจากการผ่าตัด การฉายรังสีรักษาบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือมะเร็งของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอื่นๆที่ลุกลามเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการทำงานของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างผิดปกติ เช่น ท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิท (Urethral incompetence) หรือเกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถบีบตัวได้ จนน้ำปัสสาวะไหลล้นออกมาเนื่องความดันในกระเพาะปัสสาวะที่สูงขึ้น (Overflow incontinence) การรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลาเช่น การผ่าตัดปิดรูรั่วของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตในรายที่มีปัญหามาจากรูรั่ว การผ่าตัดแก้ไขซ่อมแซมหูรูดของท่อปัสสาวะหรือการผ่าตัดใส่หูรูดเทียม ส่วนในรายที่มีปัญหาน้ำปัสสาวะไหลล้นออกมา จำเป็นต้องให้การรักษาโดยการสวนปัสสาวะเอง (Self-catheterization) หรือการคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelled Catheterization)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้สูงอายุ

6. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาในขณะเปลี่ยนท่าทาง (Postural incontinence)

อาการนี้มีสาเหตุความผิดปกติแบบเดียวกันกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence) กล่าวคือท่อปัสสาวะของผู้ป่วยไม่สามารถปิดสนิทได้เนื่องมาจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เมื่อผู้ป่วยมีการเปลี่ยนท่าทางจากนั่งหรือนอนเป็นท่ายืน ความดันภายในช่องท้องจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะมีการเพิ่มขึ้นพร้อมกัน แต่เนื่องจากมีความอ่อนแอของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิท มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ จึงเกิดปัสสาวะเล็ดรอดออกมา การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด 

7. อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่รู้สึกตัว (Insensible incontinence)

เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ซึ่งเกิดขึ้นโดยผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายรายละเอียดของอาการได้ชัดเจน เนื่องมาจากผู้ป่วยมีปัญหาทางสมองหรือมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการที่ไม่ถูกต้อง ในผู้ป่วยบางรายที่มีการทำงานของสมองปกติและสติสัมปะชัญญะดี อาการดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายภาพเช่น มีการไหลซึมของน้ำปัสสาวะบางส่วนเข้าไปในช่องคลอดในขณะปัสสาวะ เมื่อผู้ป่วยเสร็จสิ้นการปัสสาวะและเปลี่ยนท่าทางจะพบว่ามีน้ำปัสสาวะออกปนออกมา (Vaginal void) หรือในผู้ป่วยที่มีกระเปาะของท่อปัสสาวะ (Urethral diverticulum) ซึ่งมีรูเปิดออกบริเวณท่อปัสสาวะส่วนปลาย เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว อาจจะมีน้ำปัสสาวะเปื้อนติดการเกงใน ส่วนความผิดปกติทางด้านการทำงานเช่น การมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่ในท่อปัสสาวะบางส่วนเนื่องจากหูรูดทั้งสองชั้นทำงานผิดปกติไม่สัมพันธ์กัน การรักษาโดยส่วนใหญ่จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบได้ชัดเจนเท่านั้น หากยังไม่สามารถพบสาเหตุที่ชัดเจนมักจะให้การแนะนำและเฝ้าติดตามดูอาการ

8. อาการปัสสาวะเล็ดราดในขณะมีเพศสัมพันธ์ (Coital / Giggle incontinence)

เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ที่เกิดในขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจจะส่งผลให้มีปัญหาชีวิตคู่ ซึ่งอาการนี้มักพบร่วมกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด ในผู้หญิงที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่สม่ำเสมอ และมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบเดียวกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด นอกจากนี้บางรายอาจมีความผิดปกติในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย เช่นกระเพาะปัสสาวะมีการทำงานที่ไวเกิน การรักษาจึงเป็นวิธีการเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีอาการไอจามปัสสาวะเล็ด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก บุคลากรทางสาธารณสุขทุกคน แพทย์และพยาบาล มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเข้าใจถึงการเกิดโรคของอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในแต่ละชนิดและแนวทางการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทั้งจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้และผลจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ.ภควัฒน์ ระมาตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

เพราะเหตุใดผู้สูงอายุจึงกลั้นปัสสาวะไม่ได้

สาเหตุมักเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยครั้งเกินไปโดยควบคุมไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจาก ปัญหาของการเชื่อมโยงระบบประสาทสั่งการจากสมองและไขสันหลังมายังระบบปัสสาวะ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุแบบ stress incontinence มีลักษณะอย่างไร

1. Stress incontinence เป็นผลมา จากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะเองหดรัดตัวได้ไม่ดี หรือการหย่อนตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เมื่อมี การเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างกะทันหัน ทำาให้ ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นจนหูรูดท่อ ปัสสาวะไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปัสสาวะเล็ด (ปัสสาวะราด ปริมาณน้อยๆ ประมาณ ...

ทำไมกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ภาวะกลั้นน้ำปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence) มักจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และสามารถแก้ไขให้หายเป็นปกติได้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อสับสน (Delirium) ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย (Infection)

อาการปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร

ปัสสาวะเล็ด” หรือเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุ ...