พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

การ เพาะกล้าผัก ให้งอกอย่างสมบูรณ์นั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในธรรมชาติของเมล็ดแต่ละชนิดจะมีเปลือก หุ้มเมล็ดที่มีความหนาและบางเเตกต่างกัน ภายในเมล็ดจะมีเเหล่งอาหารที่จำเป็นสำหรับต้นอ่อน (เอ็มบริโอ) หลังจากเมล็ดได้รับการกระตุ้นการงอกโดยความชื้นของน้ำและออกซิเจนที่เหมาะสม

ซึ่งออกซิเจนที่เหมาะสมในการ เพาะกล้าผัก จะสัมพันธ์กับเทคนิคการกลบดินเพาะเมล็ด หากกลบดินลึกเกินไปจะทำให้ ออกซิเจนน้อยลง ส่งผลทำให้อัตราการงอกลดลง เเต่หากกลบเมล็ดตื้นเกินไปจะทำให้เมล็ดมีความชื้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้เปลือกและอาหารภายในเมล็ดอ่อนตัว อันมีผลให้อัตราการงอกลดลงเช่นกัน

Show

ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้การ เพาะกล้าผัก งอกได้ด้วยอัตราสูงคือ ควรเลือกใช้วัสดุเพาะกล้าที่ เหมาะสม กลบดินและรดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ รวมถึงรู้ลักษณะนิสัยและเเหล่งกำเนิดของ พืชผักว่ามีความชอบอากาศหนาวเย็นเเตกต่างกันอย่างไรบ้าง

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

ปกติแล้วพืชผักสลัดมักจะงอกได้ดี ในช่วงที่มีอากาศเย็น (เดือนธันวาคม-มกราคม) เพราะเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในเขตอากาศหนาว ขณะที่พืชผักไทยๆ เช่น ผักบุ้ง คะน้า สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี สำหรับปัจจัยในการเพาะกล้า ที่จะได้ผลดีหรือไม่ มีดังนี้

  • เปลือกหุ้มเมล็ดของพืชผักเเต่ละชนิด
  • ระบบราก การระบายน้ำของรากพืชเเต่ละชนิด
  • ลักษณะนิสัยของพืชผักที่มีต่ออากาศและความชื้นที่เเตกต่างกัน
  • ความลึก-ตื้นในการกลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะกล้า
  • ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับกล้าผัก (ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์)
  • ไม่มีโรคพืชหรือเเมลงศัตรูพืชในดินเพาะกล้า (ไม่ฉีดยาฆ่าเเมลงสังเคราะห์)

วัสดุเพาะเมล็ดผัก(สูตรไร่ปลูกรัก)

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

เเกลบดำเเห้ง 1 ส่วน+ ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน + ขุยมะพร้าวร่อนละเอียด 1 ส่วน

มีขั้นตอนการเพาะกล้าผัก ดังนี้

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

  1. นำวัสดุเพาะใส่ลงตะกร้าพลาสติก ความลึก 8 – 10 เซนติเมตร ประมาณ 3 – 4 ของตะกร้า
  2. ใช้ไม้ไอศกรีมหรือไม้บรรทัดทำร่องเป็นแถว (ให้กะความลึกประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเมล็ดคูณสอง)
  3. โรยเมล็ดตามร่องบางๆ กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำไปวางในที่ร่ม ควรคลุมตาข่ายป้องกันสัตว์ที่อาจจะมาคุ้ยเขี่ยหรือกัดกินเมล็ด ประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า
  4. ให้ย้ายกล้าที่มีใบเลี้ยง 1 คู่ลงถาดหลุมที่เตรียมวัสดุเพาะไว้เรียบร้อยแล้ว (หรือหากปลูกลงตะกร้าในระยะไม่ถี่นัก ก็อาจปล่อยให้ต้นผัก เติบโตต่อจนมีใบจริงแล้วจึงค่อยย้ายลงแปลงปลูกได้เลย) ต้องระมัดระวัง ย้ายกล้าอย่างเบามือให้จับที่ปลายใบเลี้ยงแล้วใช้ไม้ปลายแหลมกดลงด้านข้าง ค่อยๆ ดึงต้นขึ้นมา
  5. เมื่อย้ายลงถาดเพาะให้วางไว้ในบริเวณที่แสงส่องถึง แต่ไม่แรงจนเกินไปนักประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อกล้าผักมีใบจริงแล้วจึงย้ายลงแปลง ปลูกต่อไป

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

การทำวัสดุเพาะกล้านั้น อินทรียวัตถุต่างๆ อาจมีเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน (Damping off Disease) ซึ่งมักเกิดกับพืชที่กำลังงอกในช่วง 7 วันเเรก อาการของพืชจะสังเกตเห็นต้นมีอาการหักงอ บริเวณโคนจะมีสีดำของเชื้อราชนิดนี้ วิธีการป้องกันจะต้องทำการพาสเจอไรซ์ดินเพาะกล้า ดังนี้

  1. นำดินเพาะกล้าบรรจุถุงพลาสติกใสถุงละ 10 กิโลกรัม
  2. นำถุงบรรจุดินเพาะกล้าตากเเดดเป็นเวลา 7 วัน
  3. ในช่วงระหว่าง 7 วัน ให้พลิกกลับถุงให้โดนเเดดด้านละเท่าๆ กัน เพื่อให้เเสงเเดดฆ่าเชื้อรา หรือเเบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินได้
  4. เมื่อครบ 7 วันจึงนำดินเพาะกล้าไปใช้หรือเก็บในบริเวณที่ไม่โดนเเสงเเดด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

กล้าผักที่เริ่มมีใบจริงงอกมา เมื่อใบจริงเริ่มเติบโตแข็งแรง และแทงใบจริงคู่ใหม่ จึงนำไปย้ายลงแปลงปลูกได้กล้าผักที่ย้ายออกมาจากถาดหลุมจะเห็นรากของต้นกล้าเต็มแน่น ในวัสดุปลูก ย้ายกล้าผักที่มีใบเลี้ยง 1 คู่จากตะกร้าลงถาดหลุม  หลุมละ 1 ต้น ให้มีพื้นที่เติบโตเป็นต้นกล้าที่พร้อมจะลงแปลงปลูกต่อไป

6 การ เพาะเมล็ด พืชตระกูลแตง ได้แก่ แตงกวา, แตงโม, แคนตาลูป, เมล่อน, แตงไทย, ฟักทอง, น้ำเต้า ฯลฯ นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นประมาณ 40 – 50 องศาเซลเซียส โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง หรือจนกว่าเมล็ดจะจมน้ำ จากนั้นให้นำเมล็ดมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหารโดยวางรองด้วยกระดาษชำระพรมน้ำให้ชุ่ม จากนั้นปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดดในช่วงเช้าประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น โดยปกติจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 4 – 7 วัน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกก็นำไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไป

-แตงโมเปลือกลาย, แตงโมเปลือกดำ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 35 – 40 วันหลังจากดอกบาน

-แตงไทย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 – 55 วันหลังจากหยอดเมล็ด

-แตงกวา อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 – 7 วันหลังดอกบาน

-เมล่อน, แคนตาลูป อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 40 – 60 วันหลังผสมเกสร (แล้วแต่ชนิดของสายพันธุ์)

ปกติจะใช้วิธีทั่วไปคือ ฝังเมล็ดผักไว้ในดิน รดน้ำเรื่อยๆ รอให้งอก ซึ่งอาจไม่รู้ว่ากี่วัน วิธีนี้เหมาะมากที่จะดูการเติบโตของผักตั้งแต่เริ่มการเพาะเมล็ด จะได้ไม่ต้องกังวล ว่าเมล็ดจะเน่าหรือหายไปไหน ทำไมไม่งอกซักที บลาๆ

แนะนำกรรมวิธีการเพาะเมล็ดแบบไร้ดิน

วิธีนี้เป็นวิธียอดฮิตที่ใครก็ทำได้ ต้นทุนต่ำ ไม่เสียเวลา สามารถเพาะเมล็ดพืชทุกชนิดที่สามารถงอกในดินได้ เมื่อเมล็ดงอกในดินได้ วิธีเพาะเมล็ดแบบนี้ก็งอกแน่นอน แถมใช้เวลาน้อยกว่าการเพาะแบบปกติ

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

กรรมวิธีก็เป็นแบบเดียวกับการเพาะเมล็ดผักไร้ดิน ที่นำเมล็ดผักมาใส่ในฟองน้ำสำหรับเพาะและวางฟองน้ำไว้บนถาด เพาะเลี้ยงด้วยน้ำที่ผสมแร่ธาตุต่างๆ เพื่อให้พร้อมสำหรับต้นอ่อนที่กำลังจะเติบโตขึ้นมา

นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ด สำหรับการปลูกผักแบบไร้ดิน

อุปกรณ์สำหรับเพาะเมล็ดผักไม่ใช้ดิน แบบต้นทุนต่ำ

ไม่ใช่การปลูกผักไร้ดินนะ เป็นเพียงแค่การเพาะเมล็ดเฉยๆ ซึ่งวัสดุก็หาได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก ดังนี้

  • กล่องใส หรือกล่องทึบ หรือถุงซิบล๊อค ที่สามารถปิดได้สนิท
  • เมล็ดผักผลไม้ที่ต้องการ
  • น้ำสะอาด
  • วัสดุสำหรับเพาะเมล็ด จะเป็นกระดาษชำระธรรมดา หรือสำลี แกลบ ขี่เลื่อย ขุยมะพร้าว ฯลฯ หรือวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อพืช ที่ไม่ใช่ดิน ก็ได้หมด  (ผู้เขียนเคยเพาะด้วยผงถ่านบดหยาบๆ เปลือกไข่บดหยาบๆ ก็งอก)

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเพาะเมล็ดโดยไม่ใช้ดิน คืออะไร

สิ่งจำเป็นไม่ใช่กล่องหรือเมล็ดพันธุ์ แต่สิ่งที่จะกำหนดว่าเมล็ดจะงอกเร็วหรือช้า หรือไม่งอกเลย ขึ้นอยู่กับ “ความชื้น” ซึ่งความชื้นเป็นหัวใจหลักในงอกของเมล็ดพืชทุกชนิด

การควบคุมความชื้นได้ก็สามารถกำหนดให้พืช “งอกหรือไม่งอก” ก็ได้ และวัสดุเพาะ ที่สามารถอุ้มน้ำ เก็บความชื้นได้ และย่อยสลายได้เอง หรือวัสดุที่มาจากธรรมชาติแท้ๆ จะถือว่าเป็นวัสดุที่ดีมาก

กระดาษหนังสือพิมพ์สามารถนำมาเป็นวัสดุเพาะได้ (แนะนำให้นำไปต้มก่อน เพื่อกำจัดสารพิษของน้ำหมึกที่ฝังในกระดาษ และแบคทีเรียต่างๆ) กระดาษลัง ลังไข่ หรือวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ไม่เป็นพิษ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีคุณสมบัติอุ้มน้ำและเก็บความชื้นได้ดี

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

วัสดุเพาะ ตัวช่วยให้รากพืชแทงและจับยึด ควรเป็นวัสดุที่อุ้มน้ำ และเก็บความชื้นได้ดี ที่สำคัญควรปลอดจากสารเคมีต่างๆ

กระดาษชำระธรรมดา คือผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สำหรับเป็นวัสดุเพาะต้นทุนต่ำ คุณสมบัติครบถ้วน

ผู้เขียนเคยทดลองใช้กระดาษชำระแบบฟอกขาว (แบบมีน้ำหอมผสม สรุปว่าเมล็ดผักเน่าเพราะหัวน้ำหอม)

วิธีเพาะเมล็ดแบบไร้ดิน ทำเองได้ง่าย

เริ่มจากคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สำบูรณ์ ทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง อย่างเม็ดมะม่วง เม็ดทุเรียน ควรแกะเยื่อหุ้มเมล็ดออกจนได้เม็ดใน จะทำให้งอกได้เร็ว

นำวัสดุเพาะ ในที่นี้ขอใช้กระดาษชำระ ฉีกแบ่งเป็นแผ่นรองพื้น 3-4 แผ่น (เพื่อให้รากพืชแทงลงไปได้ไม่บิดงอ) ฉีดพรมน้ำสะอาดให้ทั่วจนเปียก นำเมล็ดพันธุ์วางลงไปตามจุดที่ต้องการ จะวางให้เป็นระเบียบ หรือจะวางตามชอบก็ได้

เว้นระยะระหว่างเมล็ดพันธุ์ให้มีพื้นที่เล็กน้อยเพื่อสะดวกในการตัดไปปลูกต่อไป และเพื่อให้พืชได้บิดตัวเวลารากแทงออกจากเมล็ด เผื่อมีบางต้นเอนหรือบิดออกข้างจะได้ไม่เบียดกันเกินไป

ปิดทับด้วยกระดาษอีก 1 แผ่นบางๆ (ถ้าต้องการดูการเติบโตของเมล็ดก็ไม่ต้องปิด) ฉีดพรมน้ำให้พอเปียก นำไปวางในกล่องหรือเอาใส่ถุงซิบล๊อค เทน้ำส่วนเกินให้หมด ปิดกล่องหรือถุงให้สนิท เพื่อป้องกันเชื้อโรค นำไปเก็บไว้ในที่ร่ม พืชบางชนิดใช้เวลาในการงอกไม่กี่วัน แต่บางชนิดต้องเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นถึงจะมีการงอก บางชนิดนานกว่า 30 วันถึงงอก จำเป็นต้องรอ และไม่ควรเปิดถุงหรือกล่องออกบ่อยๆ ระหว่างการรอให้เมล็ดพันธุ์งอก

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

เพาะเมล็ดไร้ดินในกล่องปิดสนิท ใช้เวลางอกไม่นาน เมล็ดแทงรากง่าย

ทั้งนี้อัตราการงอก ขึ้นอยู่กับความชื้น อุณหภูมิ และระยะงอกของพืชแต่ละชนิด

ไม่ต้องห่วงเรื่องกล่องปิดแล้วจะไม่มีอากาศ ระยะงอกของพืชในช่วงฟักตัวแรกๆ พืชไม่จำเป็นต้องใช้อากาศหรือออกซิเจนหายใจ ในที่อับอากาศพืชก็สามารถงอกได้

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

เพาะเมล็ดผักให้งอกเร็ว ทำวิธีไหนได้บ้าง

ควรเลือกเมล็ดพืชที่มีระยะการงอกสั้น เช่น พืชสวนพืชไร่ทั่วไป ข้าว ถั่ว พืชตระกูลแตง พืชล้มลุก ผักสวนครัวชนิดต่างๆ พริก ผักชี มะระ มีอัตราการงอกไม่นาน ประมาณ 7-15 วันก็งอกแล้ว บางชนิดเร็วกว่านั้น 2-3 วันก็งอก เช่นพืชตระกูลแตง ถั่วชนิดต่างๆ แต่บางชนิดใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 วัน เช่น มะม่วง อะโวคาโด มันฝรั่ง

การแกะเปลือกหุ้มเมล็ดให้เหลือแต่เนื้อใน ทำให้ระยะเวลาการงอกของเมล็ดพืชเร็วขึ้น

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

พืชที่ไม่เหมาะในการเพาะเมล็ด

เพาะเมล็ดพริก มะเขือ ผักผลไม้แบบไม่ใช้ดิน ทำเองได้

มีคลิปเพาะเมล็ดพริกแบบไม่ใช้ดิน ทำง่ายมาก แล้วก็ได้ผลด้วย ลองทำตามกันดู

เพาะเมล็ดพริก

แบบไม่ใช้ดิน

จริงๆ มีคนทำคลิปเพาะเมล็ดออกมาเยอะแยะมาก แต่แนะนำให้ดูวิธีนี้ ทำได้ผลจริง ที่

ดูคลิปการเพาะเมล็ดพริก

ข้อแนะนำ การนำเมล็ดที่งอกแล้วปลูกลงดิน

การนำกล้าที่เพาะงอกแล้วลงถุงเพาะ ลงแปลงปลูก หรือนำลงกระถางปลูก สังเกตุดูใบเลี้ยงของพืช ถ้ามีใบ 2-3 ใบ ก็สามารถนำลงปลูกได้เลย และควรตัดวัสดุเพาะติดไปพร้อมต้นกล้าเลย เพราะเหตุนี้จึงแนะนำให้เสียเวลาจัดวางเมล็ดให้มีระยะพอสมควรก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อง่ายต่อการตัดแยกวัสดุเพาะออกไปพร้อมต้นกล้าเพื่อลงปลูกในแปลง

เสียเวลาจัดเรียงเมล็ดพันธุ์ลงวัสดุเพาะ เพื่อความสะดวกในการตัดและแยกวัสดุเพาะให้ติดไปกับต้นพันธุ์ก่อนนำลงปลูกลงดิน วิธีนี้จะไม่ทำให้รากพืชเสียหาย และพืชยังโตไวอีกด้วย

ไม่แนะนำให้ถอนต้นกล้าออกจากวัสดุเพาะ เพราะอาจทำให้รากเกิดความเสียหาย หากต้นกล้าไม่เยอะมาก แนะนำให้นำลงดินพร้อมวัสดุเพาะเลย เพราะวัสดุเพาะย่อยสลายได้เองอยู่แล้ว

การถอนกล้า อาจทำให้รากพืชเกิดความเสียหาย เมื่อนำไปปลูกจะทำให้พืชโตช้า บางครั้งอาจทำให้รากพืชเสียหายจนทำให้พืชตายในที่สุด

การเพาะเมล็ดเหมาะที่จะใช้กับพืชอะไร

1.เหมาะส าหรับใช้ในการขยายพันธุ์พืชล้มลุกและพืชที่มีอายุสั้น เช่น ข้าว ผัก และไม้ดอกต่าง ๆ 2.ใช้ได้ดีกับพืชที่มีการผสมตัวเอง พืชพวกนี้แม้จะใช้เมล็ดเพาะ ต้นใหม่ ก็จะไม่กลายพันธุ์ เช่น ข้าว ถั่ว

พืชชนิดใดสามารถเพาะเมล็ดได้

เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ ละหุ่ง ฝ้าย งา ป่าน ปอ เป็นต้น เนื่องจากการปลูกพืชไร่ และธัญพืชต้องทำในเนื้อที่มากๆ และต้องใช้ต้นพืชมาก ฉะนั้นการขยายพันธุ์ที่สะดวกก็คือ ขยายจากเมล็ด การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการปลูกพืชประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นพืชอายุสั้น ๓-๔ เดือนเป็นส่วนใหญ่

ข้อเสียของการเพาะเมล็ดมีอะไรบ้าง

ข้อเสียของการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 1. มีการกลายพันธุ์และมักกลายไปในทางที่เลวกว่าต้นแม่ 2. โดยทั่วไปออกผลช้ากว่า 3. ได้ต้นสูงใหญ่ ไม่สะดวกแก่การดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว

พืชผักชนิดใดที่สามารถเกษตรกรนิยมปลูกโดยวิธีเพาะเมล็ด

พืชหลายชนิดมักเพาะเมล็ดในแปลงปลูก เรียกว่า direct seeding นิยมใช้กับพืชที่ไม่ต้องการการย้ายปลูก เช่น ผักบุ้ง แครอท ผักกาดหัว ข้าวโพดหวาน หรือพืชที่ปลูกจำนวนมากจึงไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น ถั่วฝักยาว ดาวกระจาย ผักกวางตุ้ง