ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

การใช้เส้นสื่อความหมายในการเขียนแบบ

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

§       ลักษณะของเส้น (Line Type)

§       น้ำหนัก หรือขนาดของเส้น (Line Weight)

ลักษณะของเส้น (Line Type)

    ลักษณะของเส้นที่ต่างกันจะสื่อตวามหมายที่ต่างกัน จึงควรที่จะใช้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ตามที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วๆ ไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

 การใช้เส้นชนิดต่างๆ ในงานเขียนแบบ

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

ขนาดของเส้น (Line Weight)

§     การใช้น้ำหนักเส้นในการเขียนแปลน ละรูปตัดจะแตกต่างกับในการเขียนรูปด้าน

 §      หลักการในการใช้น้ำหนักของเส้นในการเขียนแบบแปลน

    ใน แปลน และรูปตัด จะใช้ลักษณะวิธีการเน้นส่วนที่ถูกตัดเป็นหลัก (Cutting Plane Technique) ซึ่งต่างกับการเขียนรูปด้านซึ่งใช้เทคนิคเน้นองค์ประกอบหลัก (Major Feature Technique)

    เมื่อเราทำความเข้าใจในความแตกต่างของส่วนที่ถูกตัด และไม่ถูกตัดแล้วก็จะเป็นการนำไปสู่ความถูกต้องของการใช้ (ตั้งค่า) ของการเขียนแบบส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารได้ในการเขียนแปลน ระนาบตัดจะตัดผ่านโครงสร้างที่อยู่ทางตั้งทั้งหมด ได้แก่ หน้าตัดเสา ผนัง วงกบตั้งของประตูหน้าต่าง จะถูกเน้นด้วยเส้นที่หนักกว่าเส้นทั่วไป

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

 เน้นเส้นของส่วนที่ถูกตัดในแปลน และรูปตัด

§ หลักการในการใช้น้ำหนักของเส้นในการเขียนรูปด้าน

    การเขียนรูปด้านซึ่งใช้เทคนิคเน้นองค์ประกอบหลัก (Major Feature Technique) 

    โดยปกติแล้วจะใช้การเน้นน้ำหนักเส้นของเส้นรอบรูปขององค์ประกอบ หรือ mass ของส่วนอาคารที่อยู่ด้านหน้าให้ชัดเจนกว่าส่วอาคารที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็นหลายๆระดับตามความใกล้ ไกลก็ได้

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

 เน้นเส้นรอบรูปแสดงระยะใกล้-ไกล ในรูปด้าน

§        ในการเขียนแบบเส้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือเส้นจริง และเส้นอ้างอิงต่างๆ (เส้น Dimension, เส้นชี้, Gridline เป็นต้น)

การเน้นเส้นที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ที่อ่านแบบเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เส้นอ้างอิงในแบบจะมีน้ำหนักเบากว่าเส้นจริง ไม่ควรตัด หรือข่มเส้นจริงซึ่งจะทำให้การอ่านแบบมีความผิดพลาดได้

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

ชนิดของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ

 ภาพแสดง: เส้นชี้, เส้นกำกับ, เส้นบอกระยะ, สัญลักษณ์ต่างๆ มีน้ำหนักเส้นบางกว่าเส้นจริง

§ ตารางการแนะนำการใช้เส้นในการเขียนแปลน

    องค์ประกอบ

การใช้เส้น

ขนาดเส้นที่แนะนำให้ใช้ (mm.)

1:100

1:50

•  หน้าตัดโครงสร้างหลัก (ในแปลนเสา, ผนังรับน้ำหนัก)

•  เส้นทาบต่อ (Break Line)

•  ชื่อเรื่อง ชื่อภาพ ( ตัวอักษรขนาดใหญ่)

เส้นหนามาก

0.50

0.50-0.70

•  หน้าตัดทั่วไป (ในแปลนคือองค์ประกอบทางตั้ง)

•  ตัวอักษรขนาดกลาง

เส้นหนา

0.25 -0.35

0.35-0.50

•  เส้นขอบที่ไม่ถูกตัด

(ในแปลนคือองค์ประกอบทางระนาบพื้น เช่น ขอบพื้น, ระเบียง, วงกบล่าง)

•  ตัวอักษรขนาดเล็ก , ตัวอักษรกำกับเส้นมิติ

•  เส้น Invisible Line

เส้นทั่วไป

0.18 - 0.20

0.25

•  เส้นสัญลักษณ์, อ้างอิง, เส้นบอกระยะ

•  เส้น Grid Line

เส้นบาง

0.10-0.18

0.10 - 0.18

•  เส้นลวดลายต่างๆ เส้นถี่ๆ Pattern

เส้นบางมาก

~ 0.05

~ 0.05

  อย่างไรก็ดีมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขนาดของเส้นที่จะนำมาใช้

ü    มาตราส่วน (scale ที่ใหญ่ขึ้น จะใช้เส้นหนากว่า scale เล็ก)

ü   รายละเอียด (มาก – น้อย) ที่แสดงในแบบ

ü   วิธีการพิมพ์, เครื่องพิมพ์

 § ขนาดของเส้น ตามมาตราฐาน มอก.440 (1-2525) กำหนดความหนาไว้

 ดังนี้    0.13     0.18     0.25     0.35     0.50     0.70     1.00     1.40     2.00 มม.

อัตราส่วนของเส้นที่แนะนำให้ใช้คือ 1:2:4

เช่น เส้นบาง 0.18 มม. เส้นหนา 0.35 มม. เส้นหนามาก 0.70