การเปิด ปิดคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

มาตรฐาน ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณธรรม

ข้อมูลและแหล่งข้อมูล

๓.๑ นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการสำคัญของการเปิดและปิดคอมพิวเตอร์ (K)

๓.๒ นักเรียนสามารถอธิบายและใช้งานคอมพิวเตอร์และสามารถเปิดปิดคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกวิธี (P)

๓.๓ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้คอมพิวเตอร์ (A)

ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และสามารถเปิดปิดคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกวิธี     

     ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๕.๑ ความสามารถในการคิด

              ๑. ทักษะการสังเคราะห์

     6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

         ๖.๑ มีวินัย                                                      

         ๖.๒ ใฝ่เรียนรู้

      ๗. กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

  • ครูให้นักเรียนจับคู่ทบทวนเรื่องการใช้คีย์บอร์ด
  • ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักวิธีการปิดคอมพิวเตอร์แบบถูกวิธีไหมเอ่ย

ขั้นสอน

  • ครูเปิดงานนำเสนอเรื่องการเปิดและปิดเครื่อง เพื่อสาธิตการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

การเปิด ปิดคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

  • ครูแนะนำขั้นตอนการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนี้

                   - ตรวจสอบปลั๊กไฟฟ้าหรือเปิดสวิทต์สำหรับไฟฟ้าที่มีระบบป้องกันอยู่

                   - เปิดเครื่องที่ปุ่ม Power ที่ตัว ซีพียู หรือปุ่มที่มีสัญลักษณ์นี้ 

การเปิด ปิดคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

                ครูสอนทักษะการปิดเครื่องดังนี้

- เลื่อนเมาส์มาให้ตรงกับปุ่มคำว่า Start แล้วคลิกเมาส์ด้านซ้าย

              - เลือกคำสั่ง Shut Down หมายถึง คำสั่งที่ต้องการเลิกการทำงาน

              - ตรวจสอบคำสั่งที่เลือกอีกครั้งว่าเป็น Shut Down หรือไม่ ถ้าไม่ต้องเปลี่ยน

                เป็น Shut Down ก่อน แล้วคลิกที่ปุ่ม OK  

  •  ครูให้นักเรียนฝึกฝนทักษะการเปิดและปิดเครื่อง

ขั้นสรุป

  •  ครู และนักเรียนร่วมกันสรุปการเปิดเครื่องและปิดเครื่อง และจดบันทึกการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

๑. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการสำคัญของการเปิดและปิดคอมพิวเตอร์ (K)

ตรวจใบงาน

ใบงาน

สามารถปฏิบัตได้

๒. นักเรียนสามารถอธิบายและใช้งานคอมพิวเตอร์และสามารถเปิดปิดคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกวิธี (P)

การปฏิบัติ

แบบบันทึกผลการปฏิบัติการปิดเครื่อง

สามารถปฏิบัตได้

๓. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้คอมพิวเตอร์ (A)

การปฏิบัติ

ใบงาน

สามารถปฏิบัตได้

    ๙. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

          ๙.๑ สื่อการเรียนรู้

             ๙.๑.๑ โปรแกรม PowerPoint เรื่อง การเปิดและปิดเครื่อง

          ๙.๒ แหล่งการเรียนรู้

             ๙.๒.๑. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

คอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ถ้าใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี เครื่องและอุปกรณ์ส่วนควบต่าง ๆ ก็จะอยู่ให้เราได้ใช้ไปนานแสนนานเลยที่เดียว เมื่อคุณใช้คอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปิด (Shut Down) เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างถูกต้องและถูกวิธีนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ๆ เนื่องจากไม่เพียงเพื่อช่วยให้เราได้ประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ของเรานั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และยังทำให้เราแน่ใจว่าข้อมูลหรืองานที่เราได้ทำบนไฟล์ต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ได้รับการเตือนให้เราทำการบันทึกก่อนเสมอ ก่อนที่เราจะปิดเครื่อง การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากมาย

โดยไปคลิกเลือกที่ปุ่มเมนู Start เลือก Shut Down

การเปิด ปิดคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี
รูปการเลือกปุ่มปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

เมื่อคุณคลิกเลือก Shut Down คอมพิวเตอร์ของเราจะทำการเตือนให้เราดำเนินการกับไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่เรายังคงทำค้างอยู่เสมอ ถ้าเรายังต้องการไฟล์งานจำพวกนั้นอยู่ เราก็คลิกเลือกยกเลิกออกไป เพื่อเราสามารถกลับมาบันทึกงานได้ โดยที่งานนั้นยังไม่เสียหายแต่อย่างใดเลย หากเราไม่ต้องการงานนั้นแล้ว เราก็คลิกเลือกยอมรับ คอมพิวเตอร์ของเราก็จะปิดโปรแกรมทั้งหมดที่เราเปิดอยู่ ไปพร้อม ๆ กับโปรแกรม Windows เอง งานของคุณจะไม่ถูกบันทึก ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไฟล์งานศูนย์หายเราจะต้องบันทึกงานของเราก่อนเสมอ ก่อนที่เราจะสั่ง Shut Down เครื่องคอมพิวเตอร์ 


ผลเสียหากปิดเครื่องไม่ถูกวิธี คือ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนภายในของคอมพิวเตอร์
เช่น ฮาร์ดไดร์ (HDD) ของเราจะหยุดการทำงานทันที ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลงไปเลื่อย ๆ แผงวงจรต่าง ๆ ไฟฟ้าอาจลัดวงจรได้ ถ้าเกิดการกระชากบ่อย ๆ เป็นต้น


ตอนไหนดีที่ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

  1. เมื่อเรามั่นใจว่าจะเลิกใช้งานคอมพิวเตอร์แล้ว หรืออาจจะหยุดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หลาย ๆ ชั่วโมงแนะนำว่าก็ควรจะปิดดีกว่า (เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานค่าไฟฟ้า) ถ้าเรายังอาจจะหยุดใช้งานคอมพิวเตอร์เพียงชั่วครู่ก็ก็แนะนำให้ใช้สลีปโหมด (Sleep Mode) ก็จะช่วยทำให้เราทำงานได้คล่องตัว และรวดเร็วขึ้น
  2. เมื่อเราต้องการจะทำการเพิ่มอุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนรุ่นฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น ติดตั้งหน่วยความจำเพิ่ม ดิสก์ไดร์ (Disk drive ) ซาวด์การ์ด (Sound card ) หรือการ์ดจอ (VGA Card) เราจะต้องปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วให้ถอดปลั๊กไฟออกก่อน ทิ้งให้เวลาห่างสักระยะ เมื่อเราจะเพิ่มเครื่องพิมพ์ จอภาพ ไดรฟ์ภายนอก หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบ USB ให้คุณปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนเสมอที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์นั้น ๆ ถ้าเราไม่ปิดคอมพิวเตอร์ก่อน เราก็จะไม่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้าไปใหม่นั้น ๆ ได้


By.คอมพิวเตอร์รีวิว

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์.
การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์.
1.กดสวิตซ์สำหรับเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์กดปุ่ม Power..
ที่อยู่บนตัวเครื่องจะพบว่ามีไฟติดที่ตัวเครื่อง และแป้นพิมพ์.
2.กดสวิตซ์จอภาพ.
การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์.
1.ออกจากโปรแกรมทุกโปรแกรมก่อน.
2.คลิกเลือกเมาส์ที่ปุ่ม Start..
3.เลือกคำสั่ง Shut Down..

ข้อใดเป็นการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกต้องตามขั้นตอน

1.ให้คลิกปุ่ม เริ่ม จากนั้นที่มุมขวาล่างของเมนูเริ่ม 2.ให้คลิก ปิดเครื่อง(shut down) เมื่อคุณคลิก ปิดเครื่อง(shut down) คอมพิวเตอร์ของคุณจะปิดโปรแกรมทั้งหมดที่เปิดอยู่ พร้อมทั้งโปรแกรม Windows เอง จากนั้นจะปิด

ข้อใดเป็นคำสั่งในการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

โดยกดปุ่ม Windows + Q เพื่อเข้าสู่หน้า Search จากนั้นพิมพ์ Power Options แล้วเลือกที่ Power Options จากนั้นดูที่แถว When i press the power button ใน on battery และ plugged in ให้เลือกเป็น shut down ทั้งคู่ เพื่อบังคับว่า เมื่อกดปุ่ม Power ปิดเครื่องก็คือการ shut down ปิดเครื่องเลย เสร็จแล้วคลิก ok เท่านี้ก็เรียบร้อย

การเริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์ควรปฏิบัติอย่างไร

10 ขั้นตอนในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ.
รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง.
สร้างแผ่นบู๊ตฉุกเฉินขึ้นมา.
ปรับแต่งฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ.
วางแผนในการเก็บรักษา.
สำรองข้อมูลที่มีค่าเอาไว้.
ป้องกันไวรัส.
ติดตั้งโปรแกรมไว้ที่เดิม.
ใช้แต่ของใหม่เสมอ.