เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

คำถามยอดฮิตอันดับสองรองจากแอร์ยี่ห้อไหนดีของลูกค้าสยามเจริญแอร์เราคือ “แอร์ตัวนี้...กินไฟไหม” คำตอบของเราจะอ้างอิงค่าไฟรายปีจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพราะฉนั้นหากท่านมีแอร์อยู่แล้ว แนะนำให้ดูค่าไฟจากฉลากประหยัดไฟบริเวณหน้ากากแอร์ของท่านได้เลยครับ ทั้งนี้ค่าไฟที่แสดงดังกล่าวมักจะอ้างอิงจากการใช้งานปกติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วันครับ หรือท่านสามารถกรอกค่าต่าง ๆ ผ่านเครื่องคำนวณด้านล่างเพื่อดูค่าไฟได้ทันที

แบบฟอร์มคำนวณค่าไฟแอร์

หากท่านต้องการคำนวณค่าไฟโดยคร่าวเองท่านสามารถลองเติมตัวเลขเข้าแบบฟอร์มคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ

โดยเฉลี่ยจะเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน ท่านสามารถเลือกเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน

ระบุค่าไฟต่อหน่วยตามอัตราก้าวหน้า 3.96 เป็นแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้น

หรือถ้าท่านอยากทราบที่มาว่าค่าไฟที่ระบบคำนวณนั้นมาอย่างไร ลองอ่านในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ


ค่าที่ท่านต้องหามาเข้าสูตรมี 5 ค่าครับ

  1. BTU
  2. ค่า SEER
  3. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน
  4. จำนวนวันที่ใช้งาน
  5. ค่าไฟต่อหน่วยตามการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แล้วนำไปเข้าสูตรด้านล่างนี้ครับ

BTU / ค่า SEER / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x จำนวนวันที่ใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

เช่นค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

  1. ขนาด 18,000 BTU  
  2. ค่า SEER 22.5 (หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ)
  3. ใช้วันละ 8 ชั่วโมง
  4. คำนวณต่อเดือนตีไป 30 วัน
  5. ค่าไฟฟ้าสมมุติหน่วยละ 3.2484 บาท (ใช้น้อยกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)

ก็จะได้เป็น

18000 / 22.5 / 1000 x 8 x 30 x 3.2484 = 624 บาท

ค่าไฟแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus ขนาด 18000 BTU ก็จะประมาณ 624 บาท/เดือนครับ ถ้าอยากทราบรายปีก็เอาไปคูณ 12 ก็จะได้เป็น 7,488 บาท/ปี

อย่างไรก็ตามหากท่านดูจากฉลากประหยัดไฟ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเป็นค่าเฉลี่ยคือ 3.96 ครับ เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีการแปรผันตามอัตราก้าวหน้า ถ้าเราลองมาคำนวณตามค่าเฉลี่ย 3.96 ก็จะได้ดังนี้ครับ

18000 BTU / ค่า SEER 22.5 / ค่าคงที่ 1000 x 8 ชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 3.96 = 9250.56 หรือปัดเศษ 9,251 บาท/ปี ตามฉลากเป๊ะๆเลยครับ


หากท่านกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ของบ้านท่านมันหน่วยละกี่บาทกันแน่ ท่านสามารถดูตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ตัวเลขมาตรฐาน ที่เคยมีการโปรโมตเมื่อวิกฤติโลกร้อนนั้น อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส เย็นสบายพอดี และประหยัดไฟนั้นจริงหรือไม่ แล้วต่ำกว่านี้ไม่ประหยัดไฟหรอกหรือ ทำไมไม่เป็น 26 27 28 องศาเซลเซียสหละ

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท
 ตัวเลข 25 องศาเซลเซียสนั้น เป็นตัวเลขอุณหภูมิพื้นฐานที่ สบายที่สุดของมนุษย์ ในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ไม่หนาว ไม่ร้อนจนเกินไป โดยกว่าจะมาเป็นตัวเลข 25 นี้นั้น ได้มีการค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยกันอย่างกว้างขวาง ว่า อุณหภูมิเท่าไหร่จึงจะประหยัดไฟ และผู้คนปฎิบัติตามมากที่สุด

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท
 ค่ามาตรฐาน 25 องศานี้ยังรวมถึงค่าอื่นๆในเครื่องปรับอากาศอีกด้วย เช่น ค่าปริมาณความชื้นในอากาศ แสงส่องสว่าง ความเร็วลม ซึ่งค่าเหล่านี้นั้นไม่สามารถควบคุมได้ โดยจากการศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อคนไทยนั้น ทำให้กรมพลังงาน ระบุที่เลข 25 องศาเซลเซียสเป็นค่าประหยัดไฟ และสบายร่างกายที่สุดของคนไทย เหมาะที่สุดในการอยู่อาศัยในเขตร้อน

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท
 อุณหภูมิประเทศไทยนั้นเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส การทำให้อุณหภูมิภายในห้องลดลงมาที่ 25 องศาเซลเซียสนั้น จึงจำเป็นต้องใช้แอร์ช่วยเพียงอย่างเดียว โดยจากการวิจัยพบว่า การเพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 1 องศาเซลเซียส จะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 10% ต่อปี

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท
 ลองคิดง่ายๆว่า หากเครื่องปรับอากาศขนาดมาตรฐาน 12,000 BTU ปรับเพิ่มจาก 24 เป็น 25 องศาเซลเซียส จะทำให้ลดค่าไฟได้ 10% ปากมีการเปิดใช้งานแปดชั่วโมง จะสามารถประหยัดได้ สองบาท/วัน  หรือ หกสิบบาท/เดือน คิดเป็น 720บาท/ปี แล้วประเทศไทยมีแอร์กี่เครื่อง?? ว้าวว!!

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เชียงใหม่แอร์แคร์เอ็นจิเนียริ่ง


จำหน่าย ติดตั้ง รับเหมา วางระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น จำหน่ายอะไหล่แอร์ราคาส่งทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายครบครัน

เรียกได้ว่าบ้านเราเป็นเมืองร้อน ยิ่งในช่วงหน้าร้อนบอกเลยว่าทุกคนจะต้องใช้แอร์ และแกก็คืออีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถให้ความเย็นและควบคุมอุณหภูมิได้ เพื่อเป็นการคลายความร้อน แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าหากเราเปิดแอร์ในช่วงหน้าร้อนจะยิ่งเสียค่าไฟมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อนหรือว่าหน้าฝนหน้าหนาวก็ตาม เราเชื่อว่าหลายคนก็ใช้แอร์อยู่ เนื่องจากช่วยในเรื่องของการปรับอุณหภูมิ ปรับสภาพของอากาศ ให้อยู่ในที่เหมาะสม ดังนั้นแล้วเราควรรู้ว่าเราจะต้องประหยัดแอร์โดยการทำอย่างไร
โดยปกติแล้วเราจะเปิดแอร์วันละประมาณ 8 ถึง 10 ชั่วโมง ค่าไฟก็จะอยู่ที่ 3.5 บาทต่อหน่วย เขาอาจจะต้องเสียค่าไฟถึงปีละประมาณ 15,000 บาทถึง 20,000 บาท เรียกได้ว่าค่าไฟที่เราใช้ในการเปิดแอร์ 1 ปีสามารถซื้อแอร์ได้ตัวใหม่ 1 เครื่องเลย

มิเตอร์ไฟฟ้า 1 หน่วยเท่ากับไฟกี่วัตต์

1 หน่วย หรือ 1 Unit มีค่าเท่ากับการใช้พลังงาน 1000 วัตต์

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เปิดแอร์ที่ 25 องศา

หลายคนคงเคยได้ยินมาแล้วว่า การเปิดแอร์ 25 องศา จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยประหยัดค่าไฟได้ นั่นเป็นเรื่องจริงเพียง แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะการเปิดแอร์ 25 องศาคือการรักษาระดับมาตรฐานที่บริษัทผู้คิดค้นแอร์ได้ตั้งเอาไว้ เขาได้แนะนำมา ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ได้เหมาะสมกับอากาศบ้านเราสักเท่าไหร่ มาบ้านเราเป็นเมืองร้อน

หลักการทำงานง่ายๆของแอร์ก็คือ

การนำอากาศร้อนภายในห้อง ซึ่งอากาศร้อนจะขึ้นอยู่ที่สูง ตัวแกจะทำการดูดความร้อนออกไป แล้วเอาไปถ่ายเทข้างนอก ทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นขึ้น นิ่งอากาศมีการเคลื่อนที่เร็วมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้แอร์และตัวเรารู้สึกเย็นมากเท่านั้น จะคล้ายๆกับลมเย็นที่ผ่านตัวเรา

หากอุณหภูมิในห้องของเราร้อนมากๆ เมื่อเราเปิดแอร์ครั้งแรก การนำความร้อนออกจากห้องโดยการใช้แอร์นั้น จะทำให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิม

วิธีการที่จะช่วยประหยัดแอร์ก็คือ

ก่อนที่เราจะเปิดแอร์ประมาณครึ่งชั่วโมง แนะนำว่าให้เปิดประตูเปิดหน้าต่าง และเปิดพัดลมไล่อากาศร้อนในห้องออกไปก่อน แล้วค่อยเปิดแอร์และพัดลมช่วยในทีหลัง

เปิดแอร์ 25 องศา ค่าไฟกี่บาท

เปิดแอร์ที่ 27 ถึง 30 องศา

หลักการเดียวกันหากเราเปิดแอร์ไว้ที่ 27-30 องศา แล้วใช้พัดลมช่วยเป่าแบบส่ายไปส่ายมา จะทำให้อากาศในห้องเกิดการเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น จะทำให้เรารู้สึกเย็นเร็วกว่าเดิม และรู้หรือไม่ว่าหากเราลดอุณหภูมิทุกๆ 1 อุณหภูมิในรีโมทแอร์ จะช่วยให้เราประหยัดค่าไฟได้มาก

เปิดพัดลม

การเปิดพัดลมจะกินไฟเพียง 50 วัตต์เท่านั้น หากเทียบ กับการเปิดแอร์ 1 ตัว ก็เท่ากับการเปิดพัดลม 15 ตัวนั่นเอง

ดังนั้นแล้วการเปิดพัดลมพร้อมกับแอร์ จึงช่วยให้เราประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และยังช่วยให้คอมเพรสเซอร์แอร์ ทำงานน้อยลง ทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากขึ้นกว่าเดิม

ผลการทดลอง

จากการทดลองด้วยตัวเอง วิธีที่ได้ผลคือการเปิดพัดลมสายไปสายมาเบอร์ 1 และลดการเปิดแอร์อยู่ที่ 27 องศา ทำแบบนี้เป็นประจำทุกวันในขณะที่เราใช้แอร์ จะช่วยลดค่าไฟได้ถึงปีละ 8000 บาทเลย นั่นเท่ากับว่าเราสามารถลดค่าไฟได้มากเลยทีเดียว

แอร์กินไฟวันละกี่บาท

6. เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000 - 22,000 บีทียู/ชม. ค่าไฟ 2.5 - 6 บาท/ชม. 7. พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12 - 18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15 - 0.25 บาท/ชม. 8. โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43 - 65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40 - 1 บาท/ชม.

เปิดแอร์วันละกี่หน่วย

Compressor ทำงาน 1 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 0.8 หน่วย ในแต่ละวัน(เฉพาะแอร์) ใช้ไฟ 0.8 x 6 = 4.8 หน่วย (สมมติให้ค้าไฟฟ้าอยู่ที่ หน่วยละ 4 บาท) ค่าไฟของแอร์เครื่องนี้ในแต่ละวัน = 19.2 บาท ใน 1 เดือน หากแอร์ทำงานตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามนี้ทุกๆวัน ก็จะใช้ไฟ 4.8 x 30 = 144 หน่วย หรือประมาณ 576 บาท (คือค่าไฟเฉพาะของแอร์)

แอร์เคลื่อนที่ กินไฟ ชั่วโมงละ กี่ บาท

- หากเปิดแอร์ติดต่อกันนาน 8-10 ชั่วโมง แอร์เคลื่อนที่ขนาด 12,000 btu กินไฟที่ 1.04 หน่วยต่อชั่วโมงในขณะที่ทำงานที่พัดลมแรงสุด #เปรียบเทียบราคาค่าไฟบ้านจะตกประมาณ 3.8-4 บาท ต่อชั่วโมง ถ้าเปิด 8 ชั่วโมงจะอยู่ประมาณ 32 บาท - แอร์เคลื่อนที่ขนาด 10,000 btu กินไฟที่ 0.7 หน่วย ต่อชั่วโมง

ค่าไฟแอร์คิดยังไง

สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ ค่าBTU. / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013. ขนาดแอร์ 12,200 btu. /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย ค่าไฟฟ้าต่อปี 6,270 บาท