รักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ที่ไหนดี

ขอเล่ายาวหน่อยนะค่ะ คือเมื่อช่วงเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว พ่อเริ่มมีอาการตามัวมองไม่ชัดแล้วชอบแกร็งตาในการเพ่งมอง ก็เลยพาพ่อไปหาหมอตา แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น อาการเริ่มลุกลาม มาแกร็งที่ปากด้วย ในช่วงนั้นก็พยามยามพาไปหาหมอหลายแห่ง จะเมื่อตอนเดือน เมษา มาเจอหมอตาที่บำรุงราษ มาเปิดคลินิกเลยพาไปตรวจแบบละเอียดคุณหมอบอกว่าเป็นโรคตาแห้ง ก็รักษาได้ 1 เดือน กว่า อาการดีขึ้นมานิด แต่หลังจากรักษาพ่อมีอาการเวียนหัว เป็นอาทิตย์เลยสงสัยว่าน่าจะไขมันขึ้นเพราะพอหยุดยาไขมันมาตั้งแต่เดือน ต.ค 60 ก็เลยพาไปตรวจ ปรากฏว่าไขมันขึ้นสูงมาก ก็เอายามาทานได้อาทิตกว่า อาการเวียนหัวเบาลงแต่อาการเกร็งตา แกร็งปากแย่ลงเริ่มมีอาการขากรรไกรแข็ง หนูเลยพาไปตรวจอย่างละเอียด ทำ TCสแกน ไปเจอว่าเป็นเส้นเลือดฝอย ในสมองตีบ คุณหมอให้ยามาทาน ทานได้ 1 อาทิตย์อาการไม่ดีขึ้นเลยพาไปโรงบาลเอกชนทางโรงบาลเอกชนให้แอดมิดทันที รอให้ไปทำ MRI เพื่อตรวจดูให้แน่ชัด ปรากฏว่า เป็นเส้นเลือดฝอยในสมองตีบ แล้วในช่วงเดือนมกราคม พ่อเดินไปเหยียบตะปู แล้วไปฉีดยาบาดทะยัก ได้แค่ 2 เข็ม เข็มที่ 3 มึงจะต้องฉีด ในช่วงปลายเดือนเมษา แต่พอยังไม่ได้ฉีด ก็มามีอาการต่างๆตามที่เล่ามา คุณหมอที่โรงพยาบาลเลยวินิจฉัยว่าอาการที่เป็นไม่น่าจะเกี่ยวกับเส้นเลือดตีบเท่าไหร่ น่าจะเป็นเพราะบาดทะยักเลยให้นอน รพ.เพื่อฆ่าเชื้อ พ่ออยู่ รพ.ได้4 วันก็ออกกลับมาบ้านแต่คุณหมอบอกต้องไปให้ยาฆ่าเชื้อ รพ.แถวบ้านต่อ แต่พ่อไม่ยอมไปแกบอกว่ายิ่งให้เมื่อยิ่งเป็นหนักกว่าเดิม หลังจากออก รพ.หนูก็พยายามหาที่รักษาใหม่ ไปเจอคุณหมอท่านหนี่งที่เก่งด้านสมอง เลยพาพ่อไปตรวจแล้วเล่าอาการให้ฟังคุณหมอดูผล tcและ MRI ท่านก็บอกว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับสมองตีบ ท่านทำหนังสือส่งตัวให้ไปทำ MRi ที่ช่วงคอเพื่อดูว่ามีอะรัยผิดปกติหรือป่าว พอได้ผล MRI รอบ 2 มาคุณหมอก็ดูแล้วบอกว่าเหมือนมีก้อนเนื้อตรงคอเลยทำเรื่องส่งตัวมาที่ รพ. ธรรมศาสตร์ พ่อก็มาตรวจแต่บอกบอกว่าไม่มีก้อนเนื้ออะรัยเป็นเส้นเลือดฝ่อยในสมองตีบ ส่วนสาเหตุอาการที่เป็น ยังหาสาเหตุไม่เจอก็เลยให้ยาตาอาการกับไปทานที่บ้านแล้วนัดมาตรวจใหม่ ตอนนี้ทานได้ 3 อาทิตกว่าแล้วยังไม่ดีขึ้นเลย หนูอยากถามคุณหมอว่าหนูควรพาพ่อไปหาหมอเก่วที่ไหน รพ.อะรัยดีค่ะ ตอนนี้กลุ้มใจมาก เพราะไม่รู้ ว่าต้นเหตุของอาการ

 แพทย์หญิงปิติพร เวชอัศดร

แพทย์

Jul 11, 2018 at 10:13 AM

 สวัสดีคะคุณ Ke Kesinee

เรียนอย่างนี้ค่ะ หมอคิดว่าคุณพ่อคงมีเรื่องโรคประจำตัวในผู้สูงอายุนะค่ะ 

เช่น เรื่องของภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ตามวัยค่ะ 

ประวัติการกินยา ประวัติการรักษา และประวัติคนดูแลค่ะ 

ทุกอย่างมีความสำคัญหมดค่ะ เนื่องจากถ้ามีโรคประจำตัว ที่ไม่สามารถคุมได้ดีอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเช่น เส้นเลือดในสมองตีบ หรือ แตก หรือ ตันได้ค่ะ และอาจจะมีเรื่องของน้ำตาลที่สูงหรือต่ำเกินไป ไขมันที่สูงหรือต่ำเกินไปได้ค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนในคนไข้กลุ่มนี้คือ

  • เส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือ ตัน
  • ภาวะที่มีความผิดปรกติของจอประสาทตา จอประสาทตาลอก ทำให้ตามัว
  • ภาวะต้อกระจก ต้อหิน
  • ภาวะความเสื่อมของวุ้นตา
  • ปัญหาเรื่องการชา ปลายมือปลายเท้า
  • ปัญเรื่องชาครี่งซึก หรือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระ อาจจะกลั้นไม่อยู่
  • ปัญหาเรื่องสมองเสื่อม
  • ปัญหาเรื่องของภาวะน้ำในสมองมาก ช่องในสมองขยายได้
  • การกลืนลำบาก หรือ การเคี้ยว เนื้องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปัญหาเรื่องไม่มีฟัน

ประวัติตอนนี้มีแค่เรื่องของตาที่ผิดปรกติค่ะ อาจจะต้องเพ็งมองไปที่เรื่องสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการมองเห็นค่ะ 

และอาจจะต้องตรวจดูเรื่องเส้นประสาทตา

ต้อกระจก ต้อหินค่ะ 

ส่วนเรื่องบาดทะยัก ปรกติแล้วถ้าฉีดวัคซีนสองเข้มก็มักจะมีภูมิคุ้มกันค่ะ เนื่องจากสามารถกระตุ้นแค่เข็มเดียวได้ค่ะ ถ้าแผลไม่ได้แย่มากๆค่ะ ควรได้รับยาฆ่าเชื้อค่ะ

ดังนั้นตอนนี้ผลการตรวจออกมาว่ามีเรื่องของเส้นเลือดในสมองตีบ อาจจะต้องได้รับการรักษาก่อนค่ะ และต้องควบคุมเรื่องโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ

เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก จะส่งผลให้สมองเกิดภาวะขาดเลือด รวมทั้งการเกิดเลือดคั่งอยู่ในเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบสัญญาณเตือน มีอาการอ่อนแรง แขนขาชาครึ่งซีก ปากหรือหน้าเริ่มเบี้ยว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด


สัญญาณอันตรายโรคหลอดเลือดสมอง

การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สามารถสังเกตอาการได้ตามหลัก F.A.S.T ดังนี้

  • F = Face ใบหน้ามีอาการหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก
  • A = Arm แขน ขา อ่อนแรง เดินเซ ทรงตัวลำบาก
  • S = Speech การพูด มีลักษณะพูดไม่ออก ลิ้นแข็ง หรือ พูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด
  • T = Time รู้เวลาที่เริ่มมีอาการ คือ รู้ว่าเริ่มมีอาการเป็นเวลาเท่าไหร่นับจากที่มีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจและวินิจฉัย ภายใน 4.5 ชม.


การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง (ทำโดยระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชม.)

  1. ประเมินคัดแยกอาการของโรคหลอดเลือดสมองอย่างทันที
  2. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินอาการทางระบบประสาท
  3. การตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนตามมาตรฐานที่กำหนดโดยการเจาะเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  4. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อแยกอาการว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดใด
  5. อธิบายให้ญาติทราบรายละเอียดของโรค และแผนการรักษา
  6. ทำการรักษา




วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง จะขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการโดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้

1. ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในระบบไหลเวียนโลหิต หรืออาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ไม่ยืดหยุ่น และประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง ออกซิเจนในเลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในสมองได้

เป้าหมายของการรักษา คือ ทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ดังนี้

  • การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ อายุมากกว่า 18 ปี มีขนาดของสมองขาดเลือดไม่ใหญ่เกิน 1 ใน 3 ของสมองครึ่งซีก และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง
  • การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) แพทย์สามารถพิจารณาใช้วิธีนี้ได้ หากเป็นการตีบตันของเส้นเลือดใหญ่ โดยแพทย์จะทำการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ จนกระทั่งถึงตำแหน่งที่ลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดในสมอง โดยอาศัยการเอกซเรย์นำทางบอกตำแหน่ง จากนั้นจะทำการใส่ขดลวดพิเศษขนาดเล็ก (Stent) ผ่านเข้าไปในสายสวนจนถึงตำแหน่งของลิ่มเลือด แล้วทำการปล่อยขดลวดให้ค่อยๆ กางออกในลักษณะเป็นตะแกรงหลอดเลือดเพื่อเกาะจับลิ่มเลือด แล้วค่อยๆ นำออกมาผ่านสายสวน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง

2. ภาวะหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณนั้นโป่งพองและแตกออก ซึ่งอาการพบจะมีอาการปวด หรือ มึนศีรษะเฉียบพลัน ตามด้วยอาการซึมลง แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง พูดไม่ชัด อาจมีอาการชัก หรือ หมดสติร่วมด้วย

เป้าหมายของการรักษา คือ การควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผ่าตัดสมองเพื่อป้องกันการกดเบียดก้านสมอง ซึ่งหากเกิดภาวะนี้จะทำให้เป็นอันตราย และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว


การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

หลังจากทำการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแล้วการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำคือสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมภาวะความเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รับประทานผัก ผลไม้ ป้องกันท้องผูก หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทั้งหวาน เค็ม มัน การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หมั่นทำกายภาพบำบัด รับประทานยา และพบแพทย์สม่ำเสมอ

สำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาโดยแพทย์จนพ้นวิกฤติแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปรับยาและหยุดยาเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา หรือเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็นซ้ำอีกได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรรอดูอาการแต่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลได้เร็วจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันการณ์ ลดความเสี่ยงต่อความพิการและเสียชีวิตได้