ค่า รักษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--ม.ธรรมศาสตร์
รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ รับชำระค่ารักษาพยาบาล ผ่านบัตรเครดิต ธ.ทหารไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยงยุทธ ศิริปการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ แจ้งว่า ขณะนี้โรงพยาบาลได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องรับบัตรเครดิต (EDC) ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อรับชำระ ค่ารักษาพยาบาล โดยใช้บัตรเครดิตและบัตร A.T.M. (วงเงินขั้นต่ำ 2,000 บาท ขึ้นไป) โดยได้ติดตั้งจุดรับบัตรจำนวน 4 จุดด้วยกัน คือ
ห้องการเงินใหญ่ (ผู้ป่วยใน) อาคารดุลโสภาคย์
ติดตั้งเครื่องรับบัตรธนาคารทหารไทย จำกัด,
ห้องการเงินใหญ่ (ผู้ป่วยนอก) อาคารดุลโสภาคย์
ติดตั้งเครื่องรับบัตรธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด,
ห้องการเงิน อาคารกิตติวัฒนา
ติดตั้งเครื่องรับบัตรธนาคารทหารไทย จำกัด
และห้องรับเงิน หน่วยตรวจเวชศาสตร์ทั่วไป
ติดตั้งเครื่องรับบัตรธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
ในส่วนห้องรับเงิน หน่วยตรวจศัลยกรรมนั้นกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการติดตั้ง ซึ่งถ้าเสร็จสิ้นการติดตั้งแล้วจะมีจุดบริการรวมทั้งสิ้น 5 จุด
สำหรับบัตรเครดิตที่สามารถใช้กับเครื่องรับบัตรเครดิตนั้น ได้แก่ บัตร VISA, บัตร MASTER CARD, บัตร JCB เฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีรูปใบโพธิ์เท่านั้น (ต่างประเทศไม่รับ), บัตรเครดิตธนาคารทหารไทย จำกัด และบัตรบัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ส่วนบัตร A.T.M. ทั้ง 2 ธนาคาร จะต้องเป็นบัตร VISA Electron เท่านั้น และจะต้องมีเงินฝากในบัญชี
จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน--จบ--
-นห-


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จับมือ สปสช. หนุนผู้สูงอายุผู้ยากไร้เข้าถึงบริการ จัดโครงการผ่าตัดเปลี่ยน ‘ข้อเข่าเทียม-ข้อสะโพกเทียม’ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค. 2565

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมานแก่ผู้สูงอายุและก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างสูง โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณข้อเข่าและข้อสะโพกซึ่งเป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนักมาก สำหรับหนึ่งในวิธีการรักษาโรคข้อเสื่อมคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง

อย่างไรก็ตาม เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันพ่อแห่งชาติ และเนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ครบรอบ 87 ปี และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ครบรอบ 34 ปี แห่งการสถาปนา ในปี 2564 ทาง มธ. และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดโครงการจิตอาสาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพกเทียม 200 ข้อฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

“โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการการผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพกของผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าร่วมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น จึงได้จัดให้มีบริการผ่าตัดนอกเวลาราชการ” รศ.นพ.พฤหัส กล่าว

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การจัดโครงการนี้ เป็นไปตามปณิธานของ มธ. และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ที่จะสร้างและปลูกจิตสำนึกการเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้และเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยในปีนี้ถือเป็นการดำเนินโครงการครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2562 เนื่องในโอกาสที่ มธ. ครบรอบ 85 ปี

สำหรับหลักเกณฑ์การสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย มีบัตรประชาชน 13 หลัก และอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป โดยมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท/ครอบครัว ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และมีใบส่งตัว หรือสิทธิข้าราชการ โดยแพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือข้อสะโพกเสื่อม

สิทธิการรักษาพยาบาล เป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องรู้ และเข้าใจว่าเรามีสิทธิ์อะไรบ้าง เพราะในยามเจ็บไข้ได้ป่วย เราจะได้เลือกใช้สิทธิ์ที่เรามีได้อย่างถูกต้อง และจะได้รู้ด้วยว่าอะไรบ้างที่เราสามารถเบิกได้ อะไรบ้างที่เราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ในตอนที่แล้ว เราได้ไปดูกระบวนการทำงานที่เป็นเหมือนสเต็ปสุดท้ายก่อนที่จะส่งคนไข้ทุกคนกลับบ้าน และยังเป็นสถานที่ยอดนิยมในสถานการณ์แบบนี้อย่างศูนย์ภายภาพบำบัด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่บอกว่ายอดนิยมก็เพราะว่าในช่วงที่ทุกคนไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ Work from home ก็ทำให้เรามีอาการออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง อาการเล็กน้อยที่สามารถนำมาซึ่งอาการที่ร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึง หากยังไม่รีบเปลี่ยนพฤติกรรมตอนนี้

ในตอนนี้ เป็นเรื่องของ สิทธิการรักษาพยาบาล เราจะมาทำความรู้จักและศึกษากระบวนการที่จำเป็นเมื่อต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกัน สิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างการตรวจสอบสิทธิ์ที่สามารถใช้ได้ในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แน่นอนว่าคนที่ช่วยเราในเรื่องนี้ก็คือหน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งวันนี้เราจะไปทำความรู้จักจาก คุณวี จิตะพันธ์กุล หัวหน้างานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกัน

“หน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาล เป็นจุดแรกๆ ที่ทุกคนต้องเจอ”

ค่า รักษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

เมื่อคุณเดินทางมารับการรักษาพยาบาลหรือตรวจสุขภาพต่างๆ หน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาลจะเป็นหน่วยแรกที่คุณต้องเข้าไปหา หน่วยงานนี้คือหน่วยที่ดูแลเกี่ยวกับการเช็กสิทธิ์ให้คนไข้ รวมถึงการอนุมัติสิทธิ์เวลาคนไข้เข้ามาติดต่อที่โรงพยาบาลอีกด้วย จะมีตั้งแต่การทำประวัติไปจนถึงตรวจสอบการนัดหมายของคนไข้ ซึ่งในตอนทำประวัติเนี่ยจะมีเช็กสิทธิ์ให้คนไข้ว่าสามารถใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง จะมีการตรวจสอบสิทธิ์ทุกสิทธิ์ และให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการใช้สิทธิ์แต่ละสิทธิ์

“ที่นี่มีความหลากหลายของคนที่เข้ารับบริการ”

คนที่เข้ามารับบริการจะมีค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการ บัตรทอง หรือประกันสังคมทั้งจากของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเองและของที่อื่น แต่ถ้าเป็นการใช้สิทธิ์บัตรทองจากโรงพยาบาลอื่น คนไข้จะต้องมีเอกสารส่งตัวจากโรงพยาบาลที่คนไข้มีสิทธิ์อยู่มายื่น เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การรักษา เดิมทีทุกคนมีสิทธิ์บัตรทองกันอยู่แล้ว หากทำงานในระบบลูกจ้างก็จะมีนายจ้างทำประกันสังคมให้ หรือมีบางบริษัทที่ทำประกันให้กับพนักงานทุกคนด้วย ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะมีการคิดมาอยู่แล้วว่าจะเข้ามาใช้สิทธิ์รูปแบบไหน

“สิทธิ์จากบริษัทที่นอกเหนือจากประกันสังคม”

บางบริษัทจะมีการออกหนังสือให้แก่คนไข้ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ์ที่นอกเหนือจากประกันสังคม บริษัทจะมีหนังสือแจ้งรายละเอียดมาว่ามีวงเงินเท่าไรในการเข้ารับบริการการรักษาแต่ละครั้งและใช้สิทธิ์ได้ถึงเมื่อไร ส่วนใหญ่คนไข้จะได้รับข้อมูลรายละเอียดของสิทธิ์มาจากบริษัทก่อนอยู่แล้ว แต่เมื่อมาถึงหน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาลก็จะมีการเช็กสิทธิ์และแจ้งรายละเอียดอีกรอบเพื่อยืนยันความถูกต้อง

การให้บริการของหน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาล

การให้บริการในส่วนนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อป้องกันความวุ่นวายเวลาที่ผู้เข้ารับบริการเดินสวนกันไปมา เมื่อคนไข้ก้าวเข้ามาในส่วนนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับอยู่ด้านหน้าเพื่อให้แนะนำการให้บริการอยู่ จะมีการให้กดบัตรคิวสำหรับคนไข้ใหม่ที่ต้องมีการประวัติใหม่เพื่อตรวจรักษา และคนไข้ที่ต้องการตรวจสอบสิทธิ์ โดยโรงพยาบาลจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ 7.00 น. เป็นต้นไป การให้บริการทั้ง 2 ส่วนจะถูกแบ่งดังนี้

  • ส่วนที่ 1 สำหรับการทำประวัติผู้ป่วยใหม่ โดยกลุ่มนี้จะมีเลขคิวขึ้นต้นด้วยตัว A ต้องมีการทำบัตรประจำตัว กรอกข้อมูลการที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาเบื้องต้น และส่งคนไข้เข้าห้องตรวจสำหรับคนไข้ที่ไม่มีนัด หลังจากผ่านการคัดกรองเบื้องต้นแล้วจึงส่งไปที่เวชระเบียนเพื่อให้คนไข้ได้รับบริการในส่วนอื่นต่อไป
  • ส่วนที่ 2 สำหรับคนไข้เดิมที่มีประวัติอยู่แล้ว ต้องการตรวจสอบสิทธิ์หรือมีการนัดหมายไว้แล้ว หลังจากตรวจสอบสิทธิ์และยื่นเอกสารนัดหมายเรียบร้อยก็จะส่งตัวคนไข้ไปยังแผนกที่มีการนัดหมายได้เลย

“เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และ ถูกต้อง เราต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน”

ค่า รักษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

ตอนนี้ทางโรงพยาบาลมีการให้ตรวจสอบสิทธิ์ของตัวเองได้ล่วงหน้าเพื่อความสะดวกและลดเวลาในการเข้ารับบริการได้ ผ่านแอบพลิเคชันของโรงพยาบาล TUH for all หรือ Thammasat University Hospital ส่วนใหญ่ทางบุคลากรจะมีแนะนำให้คนไข้โหลดแอบพลิเคชั่นนี้อยู่แล้ว เพราะสะดวกและคนไข้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งรอการตรวจสิทธิ์ที่โรงพยาบาล เพราะจำนวนผู้เข้ารับบริการในแต่ละวันมีจำนวนเยอะมาก แต่ถ้าเช็กสิทธิ์ผ่านแอบพลิเคชันแล้วปรากฏว่าสิทธิ์ยังไม่ขึ้น ก็ต้องมากดบัตรคิวที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ว่าทำไมยังไม่ขึ้น

“ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจำนวนคนไข้จะลดลง แต่พวกเราก็มีงานใหม่ที่สำคัญเพิ่มขึ้นมา”

ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโควิด-19 คนไข้ที่เข้ารับบริการมีจำนวนลดลง ทำให้งานในรูปแบบเดิมลดตาม แต่ต้องเพิ่มงานในส่วนของคนไข้ที่เป็นโควิด-19 แทน ถ้าเป็นในสถานการณ์ปกติเวลาคนไข้ต้องการตรวจสอบสิทธิ์ ก็จะถามกันได้ง่ายเพราะอยู่ตรงหน้า มีการพูดคุย และตรวจสอบสิทธิ์กันได้ง่าย แต่เมื่อคนไข้ที่เข้ารับบริการเป็นคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จึงจำเป็นการประสานงานผ่านโทรศัพท์แทน เพราะคนไข้ต้องนอนโรงพยาบาลสนามหรือมีการ Home Isolation ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการคุยกับพยาบาลเจ้าของไข้คนไข้คนนั้นมากกว่าด้วย เพราะคนไข้ต้องถูกกักตัว

“สถาณการณ์ที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ”

จริงๆตรงนี้เป็นหน่วยงานที่ยังคงทำงานอยู่ตลอด แต่แค่มีรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ารับบริการได้อย่างปลอดภัยและไม่เสี่ยงทั้งตัวผู้รับบริการและผู้ให้บริการ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ทุกคนต้องมีการป้องกันตัวเองมากขึ้น สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการทุกคนได้ และตนเองก็ต้องใส่แมสก์ ล้างมือ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 อย่างถูกต้อง

ค่า รักษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

“ถ้าถามว่าทุกคนยังกังวลไหม ทุกคนต้องกังวลอยู่แล้ว”

คุณวี เล่าว่าความกังวลเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว ยิ่งสถานการณ์ตอนนี้ดูดีขึ้น ทำให้คนเข้ารับบริการเยอะขึ้น แต่การระบาดโควิด-19 ยังไม่จบลง เราจึงต้องมีมาตรการจาก IC ที่ต้องเข้ามาช่วยให้ความรู้และวางมาตรการในการให้บริการที่ถูกต้อง มีการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการให้บริการและการป้องกันตัวเองที่ถูกต้อง เช่น ตอนนี้จะมีเจลแอลกอฮอล์ตั้งอยู่ที่โต๊ะของบุคลากรทุกคน มีควบคุมเรื่องการใส่แมสก์ ตอนแรกไม่มีที่กั้นระหว่างโต๊ะก็มีกากั้นฉากขึ้นมา เป็นต้น

“พวกเรา คือ จุดเริ่มต้นการสร้างความประทับใจในการบริการ”

หน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเหมือนด่านหน้าสุดที่คนไข้ทุกคนที่เข้ารับบริการจะต้องผ่านตรงนี้ก่อน การให้บริการทุกอย่างในส่วนนี้จึงเป็นเหมือนการเริ่มสร้างความประทับใจแรกต่อการให้บริการของโรงพยาบาล แม้ในสถานการณ์แบบนี้จะมีงานรูปแบบใหม่เพิ่มเข้ามา แต่ทางหน่วยงานก็มีการปรับตัวกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิ์การรักษาใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามา เช่นคนไข้เป็นแบบนี้ โรงพยาบาลเบิกอะไรได้บ้าง คนไข้จ่ายหรือไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นต้น

ค่า รักษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

“เป็นงานที่ท้าทาย เราจะบริหารอย่างในการรักษาสิทธิ์ทั้งสองฝ่ายให้ดี”

หน่วยงานนี้เราจะต้องรักษาสิทธิ์ทั้งสองฝ่าย ทั้งของคนไข้และของโรงพยาบาล อีกทั้งยังต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ คนไข้ทุกคนที่เข้ามาคือเขาต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลเป็นงานที่ช่วยเหลือทางร่างกายไปแล้ว แต่การทำงานหน่วยนี้ต้องเพิ่มจากแค่งานพยาบาลเป็นบริหารคนด้วย คุณวีเล่าว่าเป็นเรื่องดีที่ได้มาทำหน้าที่ในการบริหารงานตรงนี้ เพราะการเป็นพยาบาลมาก่อนทำให้การบริหารงานเต็มไปด้วยความเข้าใจว่าการพยาบาลต้องทำอย่างไร ทำให้เอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น

บทสรุป

หน่วยงานประสานสิทธิการรักษาพยาบาลเป็นจุดแรกที่เราต้องเจอเมื่อก้าวเข้าไปในโรงพยาบาล ซึ่งหน่วยงานนี้จะเป็นหน่วยงานที่ช่วยเราในการค้นหาสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลต่างๆ การบริการจากพวกเขาเต็มไปด้วยความเต็มใจในการให้บริการ และหากใครต้องการประหยัดเวลา ไม่ต้องการไปต่อคิวรอตรวจสอบสิทธิ์ที่โรงพยาบาล ทุกคนสามารถโหลดแอบพลิเคชั่น TUH for all เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ก่อนเดินทางไปโรงพยาบาลได้เลย บุคลากรทุกคนที่ใช้หัวใจทำงานมีความยินดีอย่างยิ่งในการมอบบริการที่น่าประทับใจให้แก่ทุกคน อย่างที่คุณวีบอกว่า..

“เราร่วมแรงร่วมใจกัน และยินดีให้บริการคนไข้ทุกคน”

ติดตามรับชมเรื่องราว เบื้องหลังวิกฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด ได้กับรายการ Unmask Story เรื่องเล่าหลังแมสก์ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เสียเงินไหม

นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคน สามารถใช้สิทธินักศึกษา มธ. เข้ารับการรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ได้ตามขอบเขตและเงื่อนไขที่ก าหนด โดยยื่นบัตรนักศึกษา รายละเอียดดังนี้ 1. ค่ารักษาพยาบาล วงเงิน 5,000 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 20,000 บาท/ปีการศึกษา 2. ค่า ตรวจรักษาทางทันตกรรมขั้นพื้นฐาน (ตรวจฟัน อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เอกซเรย์ฟ ัน ...

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ใช้สิทธิ์บัตรทองได้ไหม

หมายเหตุ : กรณีเจ็บป่วยทั่วไปไม่สามารถนำไปเบิกค่ารักษาพยาบาล จากงานบริการและสวัสดิการนักศึกษาได้ สิทธิบัตรทอง สิทธิบัตรทอง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ : นักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนบัตรทอง กับโรงพยาบาล สามารถใช้สิทธิรักษาตามสิทธิในโครงการบัตรทอง โดย ยื่นบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชน

โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์ เป็นรัฐบาลไหม

พ.ศ. 2533 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจึงได้รับการรวมเข้ามาเป็นส่วนราชการหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ของคณะแพทยศาสตร์ เช่นเดียวกับสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก และสถานวิทยาศาสตร์คลินิก

รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กี่เตียง

439โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ / จำนวนเตียงnull