แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16

สามัคคีเภทคำฉันท์  

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16

         คำว่าสามัคคีเภท เป็นคำสมาส เภท มีความหมายว่า การแบ่ง การแตกแยก การทำลาย สามัคคีเภท จึงมีความหมายว่า การแตกความสามัคคี หรือ การทำลายความสามัคคี

ผู้แต่ง 

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16

          นายชิต บุรทัต   กวีในรัชกาลที่ 6  ในขณะที่บรรพชาเป็นสามเณร อายุเพียง 18 ปี ได้เข้าร่วมแต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธีฉัตรมงคล รัชกาลที่ 6  เมื่ออายุ 22 ปี ได้ส่งกาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์ สมุทรสาร นายชิตมีนามสกุลเดิมว่า ชวางกูร เมื่ออายุ 23 ปีได้รับพระราชทานนามสกุล “บุรทัต” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ในปี 2450  ใช้นามปากกาว่า เจ้าเงาะ  เอกชน  และแมวคราว

          แต่งเป็นบทร้อยกรอง โดยนำฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละตอน  ประกอบด้วยฉันท์ 18 ชนิด  กาพย์ 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

การอ่านบทอาขยาน         

 

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
ที่มา

 ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึงได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2457 เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมกันเป็นหมู่คณะ เรื่องสามัคคีเภท เป็นนิทานสุภาษิต ในมหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกายมหาวรรค ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยเรียบเรียงเป็นภาษาบาลี

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
 เนื้อเรื่องย่อ 

         พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงมีวัสสการ พราหมณ์ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์เป็นที่ปรึกษา มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักร
ไปยังแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี  ซึ่งปกครองแคว้นโดยยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) เน้นสามัคคีธรรมเป็นหลัก  การโจมตีแคว้นนี้ให้ได้จะต้องทำลายความสามัคคีนี้ให้ได้เสียก่อน วัสสการพราหมณ์ปุโรหิตที่ปรึกษา จึงอาสาเป็นไส้ศึกไปยุแหย่ให้กษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคี  โดยทำเป็นอุบายกราบทูลทัดทานการไปตีแคว้นวัชชี  พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกริ้ว รับสั่งลงโทษให้เฆี่ยนวัสสการพราหมณ์อย่างรุนแรงแล้วเนรเทศไป

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
ข่าวของวัสสการพราหมณ์ไปถึงนครเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี  กษัตริย์ลิจฉวีรับสั่งให้วัสสการพราหมณ์เข้ารับราชการกับกษัตริย์ลิจฉวี  ด้วยเหตุที่เป็นผู้มีสติปัญญา มีวาทศิลป์ดี มีความรอบรู้ในศิลปะวิทยาการ ทำให้กษัตริย์ลิจฉวีรับไว้ในพระราชสำนัก ให้พิจารณาคดีความและสอนหนังสือพระโอรส  วัสสการพราหมณ์ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ จนกษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัย ก็ดำเนินอุบายขั้นต่อไป คือสร้างความคลางแคลงใจในหมู่พระโอรส แล้วลุกลามไปถึงพระบิดา ซึ่งต่างก็เชื่อพระโอรส ทำให้ขุ่นเคืองกันไปทั่ว เวลาผ่านไป3 ปี เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็แตกความสามัคคีกันหมด แม้วัสสการ  พราหมณ์ตีกลองนัดประชุม ก็ไม่มีพระองค์ใดมาร่วมประชุม วัสสการพราหมณ์จึงลอบส่งข่าวไปยังพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ทรงยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้อย่างง่ายดาย

ศิลปะการประพันธ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์  

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16

         นายชิต บุรทัต  สามารถสร้างตัวละคร เช่น  วัสสการพราหมณ์ ให้มีบุคลิกเด่นชัด  และสามารถดำเนินเรื่องให้ชวนติดตาม  นอกจากนี้ ยังมีความเชี่ยวชาญในการแต่งคำประพันธ์ ดังนี้

1 เลือกสรรฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อเรื่องแต่ละตอน เช่น ใช้วสันตดิลกฉันท์ 14 ซึ่งมีลีลาไพเราะ ชมความงามของเมืองราชคฤห์  ใช้อีทิสังฉันท์ 20 ซึ่งมีลีลากระแทกกระทั้นแสดงอารมณ์โกรธ

2 ดัดแปลงฉันท์บางชนิดให้ไพเราะยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มสัมผัสบังคับคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 ในฉันท์ 11 ฉันท์ 12 และฉันท์ 14  เป็นที่นิยมแต่งตามมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นายชิต บุรทัต  ยังเพิ่มลักษณะบังคับ ครุ ลหุ  สลับกันลงในกาพย์สุรางคนาง 28 ให้มีจังหวะคล้ายฉันท์ด้วย

3 เล่นสัมผัสในทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรอย่างไพเราะ  เช่น  คะเนกล – คะนึงการ  ระวังเหือด – ระแวงหาย

4 ใช้คำง่าย ๆ ในการเล่าเรื่อง  ทำให้ดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว  และผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ทันที

5 ใช้คำง่าย ๆ ในการบรรยายและพรรณนาตัวละครได้อย่างกระชับ  และสร้างภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน

แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16
อปริหานิยธรรม 7 ประการ
แปล สามัคคี เภท คํา ฉันท์ กาพย์ฉบัง 16

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ

3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติเอาไว้  ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้  ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรมตามที่วางไว้เดิม

4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี  ก็ควรเคารพนับถือท่านเหล่านั้น  เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง

5. บรรดากุลสตรีและกุลกุมารีทั้งหลายให้อยู่ดี  โดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ

6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก  ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป

7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง และป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลายทั้งที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้นและที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก