โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

เคยมั้ย? เวลาเรา โอนเงินผิดบัญชี ทั้งผ่านตู้เอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง (Internet) หรือโมบายแบงกิ้ง (Mobile Banking) สำหรับผู้ที่โอนเงินไปยังปลายทางผิดคน หรือโอนเงินผิดจำนวน ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับให้ต้องรีบเร่ง หรือด้วยความเพลินก็ตามโดยไม่ตรวจสอบทำให้เกิดความผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว

ในเมื่อเราโอนเงินผิดบัญชี หรือโอนผิดจำนวนเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรล่ะ? Sanook Money มีเกร็ดความรู้ดีๆ มาฝากกัน

กรณีที่โอนเงินผิดบัญชี และจำนวนเงินผิด

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ควรดำเนินการแก้ไขดังนี้

  1. แจ้งปัญหา และนำส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ธนาคารที่เราใช้โอนเงิน
  2. ธนาคารแจ้งระยะเวลาที่ใช้ตรวจสอบการโอนเงิน
  3. ธนาคารติดต่อผู้รับโอนเงินผิด เพื่อให้ยินยอมคืนเงิน
  4. ธนาคารแจ้งผลการดำเนินการ
  • กรณีผู้รับโอนยินยอมคืนเงิน : ธนาคารจะโอนเงินคืนเข้าบัญชีผู้โอน
  • กรณีผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงิน : ผู้โอนสามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนเงินดำเนินการอายัดบัญชี หรือให้เปิดเผยข้อมูลบัญชีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

กรณีคนอื่นโอนเงินมาให้เราผิดบัญชี

หากมีคนติดต่อมาจากธนาคารแจ้งว่ามีการโอนเงินผิดเข้ามาในบัญชีเรา ควรตรวจสอบเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ

  1. สอบถามว่ามาจากธนาคารอะไร พร้อมถามชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
  2. ปลายสายจะต้องแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการโอน โดยต้องระบุข้อมูลที่สำคัญ เช่น วันที่ เวลา จำนวนเงิน ช่องทางการโอน เช่น Mobile Banking และหลักฐานอื่น มากกว่าที่จะสอบถามข้อมูลส่วนตัวจากเรา
  3. ปลายสายแจ้งให้เราตรวจสอบรายการบัญชีมากกว่าที่จะเร่งรัดให้เราโอนเงินคืนกลับไปอย่างเดียว

จากนั้นเราต้องตรวจสอบบัญชีว่ามีเงินโอนเข้ามาตามที่มีคนโทรมาแจ้งหรือไม่ หากมี Internet Banking หรือ Mobile Banking ก็ตรวจสอบได้ทันที ถ้าไม่มีตรวจสอบการโอนเงินได้ที่ตู้เอทีเอ็ม หรืออัพเดตสมุดบัญชีก็ได้เช่นกัน

หากคุณตรวจสอบแล้วพบว่าโอนเงินผิดบัญชีจริง ๆ และไม่ใช่เงินของคุณจริง ๆ ต้องโอนเงินกลับไปให้เจ้าของบัญชี ถ้าเพิกเฉยเจ้าของเงินสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกเงินคืนจากเราได้

กรณีเกิดความผิดพลาดจากธนาคารที่โอนเงินผิดบัญชี

ธนาคารสามารถดำเนินการแก้ไขข้อมูลเองได้ หากเกิดความผิดพลาดจากพนักงาน ด้วยการกรอกเลขบัญชีผิด หรือจำนวนเงินผิด พนักงานผู้นั้นต้องติดต่อไปยังผู้รับโอนเพื่อขอให้โอนเงินกลับมา

อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด คือ ตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินให้ถูกต้อง ก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง สำหรับเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมให้ธนาคารตรวจสอบมีอะไรบ้างนั้น สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ ศคง. 1213

  • โอนเงินผิดบัญชีควรทำอย่างไร
  • ถ้าเราโอนเงินคนไปผิดบัญชีทำอย่างไร
  • ถ้ามีคนโอนเงินผิดมาบัญชีเราจะทำอย่างไร

มีคนสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากว่า ถ้าโอนเงินไปผิดบัญชีควรทำอย่างไรดี เพราะบางครั้งโอนเงินไปเป็นบัญชีที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว และบางครั้งก็ติดต่อเจ้าของบัญชีไม่ได้ โดยเฉพาะการโอนเงินผ่านแอปฯ ธนาคาร เอาเป็นว่าปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะ เศรษฐินีศรีราชา อาสาไปหาคำตอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ดังนี้

- ธนาคารไม่มีอำนาจในการดึงเงินกลับเข้าบัญชีผู้โอน เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของบัญชีที่เราโอนเงินผิด

- ค่าธรรมเนียมการโอนไปและโอนกลับ เราต้องรับผิดชอบเอง

ถ้ามีคนโอนเงินเข้าบัญชีเรา และรู้ว่าเขาโอนผิด โปรดจงรู้ไว้ว่า

- ไม่คืนเงินเขา เรานี่ผิดแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้จักเจ้าของบัญชีที่โอนผิดไป ก็ให้เขาโอนคืนมาได้เลยง่ายๆ ดี 

แต่ถ้าไม่รู้จักกัน หรือติดต่อกันไม่ได้ ให้ทำ 4 ข้อดังนี้

1. แจ้งปัญหา และนำส่งหลักฐานการโอน เช่น ใบบันทึกรายการ ภาพหน้าจอ หรือข้อความแจ้งผลการโอน เลขที่บัญชีเรา และบัญชีเขา บัตรประจำตัวประชาชน ไปติดต่อธนาคาร

2. ธนาคารรับแจ้งปัญหา และแจ้งระยะเวลาดำเนินการ

3. เจ้าหน้าที่จะติดต่อผู้รับโอนที่เราโอนเงินไปผิดบัญชี เพื่อให้ยินยอมคืนเงิน

- กรณีธนาคารเดียวกัน ธนาคารจะติดต่อผู้รับโอนเงินผิดโดยตรง
- กรณีต่างธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคารจะประสานงานกับธนาคารของผู้นับโอนผิด

4. ธนาคารแจ้งผลการประสาน

- กรณียินยอมคืนเงิน ธนาคารจะโอนเงินคืนบัญชีเราทันที
- กรณีไม่ยินยอมคืนเงิน หรือติดต่อไม่ได้ เราสามารถแจ้งความกับตำรวจเพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนเงินผิด ดำเนินการอายัดบัญชี หรือเปิดเผยข้อมูลบัญชีของผู้รับโอนเงินผิดให้แก่พนักงานสอบสวนเพื่อให้เราดำเนินการกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ แบงก์ชาติ ได้แนะนำเพิ่มอีก 4 ข้อก่อนโอนเงิน ควรทำดังนี้

1. ตรวจสอบหมายเลขบัญชีเงินฝาก หรือหมายเลขพร้อมเพย์ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์มือถือ และเลขที่บัตรประชาชน

2. ชื่อบัญชีของผู้รับเงิน

3. ชื่อธนาคารที่จะโอนเงิน

4. จำนวนเงินที่จะโอน

จากนั้นก็ กดยืนยันการโอนเงินได้เลย...ง่ายๆ แค่นี้ก็ไม่โอนผิดบัญชีแล้วจ้า 

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

แนะนำผลิตภัณฑ์

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

KBank PromptPay

  • ประโยชน์
  • วิธีใช้
  • การลงทะเบียน
  • คำถามที่พบบ่อย

บริการ รับ-โอนเงิน แบบใหม่

แค่ใช้ เลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์มือถือ
แทนเลขบัญชีเงินฝาก

ประโยชน์พร้อมเพย์

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

สะดวก

ใช้เลขบัตรประชาชน
รับเงินจากหน่วยงานรัฐบาล

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ง่าย

ไม่ต้องจำเลขบัญชี
แค่ใช้เบอร์มือถือรับ-โอนเงิน

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ปลอดภัย

ลดความเสี่ยงจากการพกเงินสด
และตรวจสอบได้

โอนเงินด้วยพร้อมเพย์

รับเงินด้วยพร้อมเพย์

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

กรอกเบอร์มือถือ หรือ
เลขบัตรประชาชนของผู้รับที่ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์แล้ว

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ตรวจสอบชื่อผู้รับ
ก่อนกดยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

บอกเบอร์มือถือ หรือ
เลขบัตรประชาชนให้ผู้โอนเงิน

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ตรวจสอบเงินเข้าบัญชี
ที่ผูกไว้กับบริการพร้อมเพย์

ลงทะเบียนพร้อมเพย์ต้องใช้อะไร ?

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

บัตรประชาชน

1 หมายเลขบัตรประชาชน
ผูกได้ 1 บัญชีเท่านั้น

โอนเงินไปบัญชีที่ไม่ได้ใช้แล้ว

เบอร์โทรศัพท์มือถือ

1 เบอร์ ผูกได้ 1 บัญชีเงินฝาก
และผูกได้สูงสุด 3 เบอร์ / 1 บัญชี

หมายเหตุ: หากใช้หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ที่ผูกกับบริการพร้อมเพย์แล้ว จะนำไปผูกกับบัญชีอื่นอีกไม่ได้ จนกว่าจะยกเลิกการลงทะเบียนเดิมก่อน

พร้อมแล้วลงทะเบียนพร้อมเพย์ผ่าน 4 ช่องทางสะดวก

คำถามที่พบบ่อย

เสียค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนผูกบัญชีหรือไม่ ?

ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทะเบียนพร้อมเพย์

ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อนหรือไม่ ?

ผู้ที่ต้องการรับเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ จำเป็นจะต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ให้สำเร็จก่อน แต่ผู้โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ สามารถทำการโอนเงินพร้อมเพย์ผ่านช่องทางที่ให้บริการพร้อมเพย์ได้เลย

เบอร์มือถือและเลขบัตรประชาชนสามารถผูกพร้อมเพย์ได้กี่บัญชี ?

เบอร์มือถือและเลขบัตรประชาชนสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้เพียงแค่บัญชีเดียวเท่านั้น

หากมีคนรู้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือของเรา จะสามารถโอนเงินออกจากบัญชีเราได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ การโอนเงินออกจากบัญชี จะต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ เช่น หากต้องการโอนเงินผ่านตู้ ATM จะต้องมีบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็ม และรหัสเพื่อเข้าดำเนินรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือหากต้องการโอนเงินออกจาก Mobile Banking หรือ Internet Banking ก็จะต้องมีข้อมูล Username และ Password จึงจะสามารถเข้าทำรายการได้

ต้องทำอย่างไรหากใช้บริการพร้อมเพย์แล้วโอนเงินผิด ?

รายการที่ทำการยืนยันการโอนเงินไปเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเรียกรายการคืนได้ และธนาคารไม่สามารถอายัตเงินที่บัญชีปลายทางได้ แต่ธนาคารจะทำหน้าที่ช่วยประสานงานกับบัญชีปลายทางเพื่อขอคืนเงินที่โอนผิดไป ดังนั้น เมื่อพบว่ามีการโอนเงินผิด ให้ลูกค้าเก็บหลักฐานการโอนเงิน และติดต่อธนาคารต้นทางที่โอนเงินออกไปทันที สำหรับธนาคารกสิกรไทย ให้ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888

จะยกเลิกบริการพร้อมเพย์ได้อย่างไร ?

ช่องทางในการยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์ คือ K PLUS, K-Cyber, K-ATM และ K-Contact Center 02-8888888

  • ATM ใกล้คุณ
  • 02-8888888

ค่าธรรมเนียมการโอนเงินพร้อมเพย์

จำนวนเงินที่โอน / รายการ ค่าธรรมเนียม / รายการ
โอนผ่านเครื่อง ATM
ไม่เกิน 5,000 บาท ฟรีค่าธรรมเนียม
มากกว่า 5,000 - 30,000 บาท 2 บาท
มากกว่า 30,000 - 100,000 บาท 5 บาท
มากกว่า 100,000 - 500,000 บาท 10 บาท
โอนผ่าน K PLUS
ไม่เกิน 500,000 บาท ฟรีค่าธรรมเนียม
โอนผ่าน K Cyber
ไม่เกิน 500,000 บาท ฟรีค่าธรรมเนียม