รวมทอง2สลึง2เส้นเป็น1บาท2564

Dear Users,

On June 29, 2020 the Govt. of India decided to block 59 apps, including TikTok. We are in the process of complying with the Government of India's directive and also working with the government to better understand the issue and explore a course of action.

Ensuring the privacy and security of all our users in India remains our utmost priority.

TikTok India Team.

Follow us on Twitter and Instagram.

เอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยน ต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่?

17 May 2021 | เมื่อ 01:32 น.

เอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยน หรือเพิ่มน้ำหนักเป็นทอง 1 สลึง ต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่?

ทองคำครึ่งสลึง เป็นน้ำหนักทองคำที่คนไทยนิยมซื้อกันเป็นอย่างมาก มักเป็นทองคำรูปพรรณ เพราะสามารถผลิตออกมาได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้ชิ้นงานที่ขนาดกำลังดี ดูสวยงาม ไม่ใหญ่จนเกินไป ไม่ว่าจะเป็น แหวนทองครึ่งสลึง สร้อยคอเด็กครึ่งสลึง สร้อยข้อมือครึ่งสลึง เป็นต้น

ราคาทองครึ่งสลึงก็ไม่มากไม่น้อยเกินไป สามารถซื้อสะสมเก็บไว้แทนเก็บเงิน ซื้อทองเก็บทีละเล็กทีละน้อย หรือซื้อให้กันในโอกาสต่างๆ พอได้มา หรือสะสมได้มากเข้า ก็อยากจะรวมเป็นชิ้นเดียว หรือมีเงินเพิ่มแล้วก็เลยอยากจะซื้อทองเพิ่ม ให้ทองครึ่งสลึงกลายเป็น 1 สลึง กลายเป็นที่มาของคำถามที่พบบ่อยๆ ก็คือ “เอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยน หรือเพิ่มน้ำหนักเป็นทอง 1 สลึง ต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่?”

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจน้ำหนักทองก่อน เราคุ้นเคยกับทองคำน้ำหนักเป็นบาทมากกว่า การเทียบน้ำหนักทองจากทอง 1 บาท ไปหาทองครึ่งสลึงจึงเข้าใจง่ายที่สุด คือเมื่อทอง 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง ดังนั้นทองครึ่งสลึง 8 ชิ้น ก็เท่ากับทอง 1 บาทนั่นเอง

ส่วนเรื่องราคาทอง หากอยากซื้อทองครึ่งสลึง ก็สามารถเทียบจากราคาทอง 1 บาทได้โดยนำราคาทอง 1 บาทมาหารด้วย 8 ได้เลย เช่น ราคาทองคำวันนี้ ขายออกในราคาบาทละ 20,000 บาท ทองครึ่งสลึงก็จะราคา เท่ากับ 20,000/8 หรือ 2,500 บาท นี่คือราคาทองที่ยังไม่รวมค่ากำเหน็จ

ส่วนค่ากำเหน็จทองครึ่งสลึงก็มีหลายราคา แตกต่างกันไปตามรูปแบบและลวดลาย รวมถึงแต่ละพื้นที่ธุรกิจด้วย โดยเฉลี่ยแล้วค่ากำเหน็จทองครึ่งสลึงก็จะอยู่ที่ราวๆ 300-800 บาท (ค่ากำเหน็จจะคิดต่อชิ้น ไม่ใช่คิดต่อบาททอง) ดังนั้น ถ้าเราจะไปซื้อทองครึ่งสลึงสักชิ้น ก็จะต้องเตรียมเงินไปประมาณ 2,800-3,300 บาท

และก่อนที่เราจะทราบว่าการเอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยน หรือเพิ่มน้ำหนักเป็นทอง 1 สลึงต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่ เราต้องทราบก่อนว่าราคารับซื้อคืนทองครึ่งสลึงคือเท่าไหร่

เวลาที่นำทองรูปพรรณไปขายคืน ทางร้านก็จะคิดราคารับซื้อคืนตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนด คือใช้ราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง หัก 5% (กรณีที่ซื้อมาจากร้านทองร้านเดียวกับร้านที่ไปขายคืน) ราคารับซื้อคืนทองคำแท่งได้ประกาศไว้ที่เว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย เช่น หากวันที่ราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง = 19,900 บาท ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณตามเกณฑ์ของสคบ. ก็จะอยู่ที่บาทละ 18,905.00 บาท

ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณครึ่งสลึง ก็จะเท่ากับ 18,905.00 หารด้วย 8 = 2,363 บาท

เป็นราคารับซื้อคืนทองครึ่งสลึงที่ดีที่สุด ซึ่งมักจะได้ราคานี้ก็ต่อเมื่อไปขายคืนหรือนำไปเปลี่ยนแบบ เพิ่มน้ำหนักที่ร้านเดิมที่ซื้อมาตอนแรกเท่านั้น (หากไปต่างร้านก็อาจจะได้ราคาที่น้อยกว่านี้)

คราวนี้เราก็มาคิดต่อว่า “เอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยนแบบ ต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่” (เปลี่ยนเป็นทองครึ่งสลึงเหมือนเดิมแต่ลายอื่นหรือแบบอื่น เช่น เปลี่ยนจากแหวนเป็นสร้อย) ก็คือ ราคาขายทองครึ่งสลึง – ราคารับซื้อคืนทองครึ่งสลึง จากตัวอย่างที่ได้กล่าวไป ก็คือต้องเพิ่มเงินประมาณ 3,300 – 2,363 = 937 บาท ทั้งนี้อาจแตกต่างจากนี้ได้เล็กน้อย

ส่วน “เอาทองครึ่งสลึงไปเปลี่ยน หรือเพิ่มน้ำหนักเป็นทอง 1 สลึง ต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่” ก็คิดคล้ายๆ กัน ก็คือ ราคาขายทอง 1 สลึง – ราคารับซื้อคืนทองครึ่งสลึง

หากราคาทอง 1 บาทขายอยู่ที่ 20,000 บาท ทอง 1 สลึงที่รวมค่ากำเหน็จแล้วก็จะประมาณ 6,000 บาท จากตัวอย่างราคานี้ ก็คือต้องเพิ่มเงินประมาณ 6,000 – 2,363 = 3,637 บาท

ราคาทองคำแท่งและราคาทองรูปพรรณมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งราคาเนื้อทองและค่ากำเหน็จ(หรือค่าพรีเมี่ยมของทองคำแท่ง) หากต้องการซื้อทองเพื่อเก็บไว้ขายในอนาคต ไม่ได้เน้นเพื่อสวมใส่เป็นเครื่องประดับ การซื้อทองคำแท่งก็จะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าและขายคืนได้ราคาที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับทองรูปพรรณที่น้ำหนักเท่ากัน

ในปัจจุบันทองคำแท่งก็มีขนาดครึ่งสลึง และขนาดอื่นๆ ที่หลากหลายพอๆ กับทองรูปพรรณ โดยทองคำแท่งขนาดเล็กที่สุดคือทอง 1 กรัม ซึ่งเล็กกว่าและถูกกว่าทองครึ่งสลึงเสียอีก ทอง 1 กรัมมีน้ำหนักและขนาดใกล้เคียงครึ่งของครึ่งสลึงเท่านั้น

เหมาะสำหรับคนที่เก็บเงินไม่อยู่ อยากซื้อทองทีละเล็กทีละน้อนเก็บไว้เป็นทรัพย์สิน หรือซื้อให้เป็นของขวัญแจกญาติ, คนรัก หรือตัวแทนของบริษัทค้าขายต่าง ๆ ซึ่งการซื้อทองคำแท่ง 1 กรัม สามารถซื้อได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นซื้อผ่านทางระบบออนไลน์ , ซื้อจากร้านทองโดยตรง หรือแม้แต่การ ออมทอง ที่ทะยอยเฉลี่ยซื้อทุก ๆ เดือนด้วยเงินเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น

อยากรู้เรื่องทองมากกว่านี้ เรารวมไว้ให้ที่นี่แล้ว

อ่านต่อเรื่องทอง 1 กรัมคลิ๊กที่นี่

รวมทอง2สลึง2เส้นเป็น1บาท2564

ช่วงราคาทองลง หลายท่านคงอยากจะเอาทองไปเปลี่ยน ไม่ว่าจะเพราะใส่มานานแล้วเลยอยากปลี่ยนลายทอง สร้อยทองขาด แหวนทองบุบเบี้ยว หรือมีเงินเก็บมากขึ้นก็เลยอยากไปเพิ่มน้ำหนักทอง

ไม่ว่าจะเปลี่ยนลายทอง เพิ่มน้ำหนักทอง ก็จะมีค่าใช้จ่าย ก่อนจะไปร้านทองเรามาเตรียมตัวสักนิด ว่าการเอาทองไปเปลี่ยนลาย เพิ่มน้ำหนักทอง จะต้องเตรียมเงินเท่าไหร่

การเปลี่ยนลายทอง เพิ่มน้ำหนักทอง ที่จริงก็คือการ “ขายทองเก่าแล้วซื้อทองใหม่” นั่นเอง

เช่น กรณีเพิ่มทอง จากแหวนทองครึ่งสลึง เป็นแหวนทอง 1 สลึง ก็คือการนำแหวนทองครึ่งสลึงไปขายคืน แล้วก็ซื้อแหวนทอง 1 สลึงมา เพียงแต่จ่ายเงินส่วนต่างระหว่างเงินค่าขายวงเดิมกับราคาวงใหม่

หรือกรณีเปลี่ยนลายสร้อยทอง 1 บาทเป็นลายใหม่ (ขนาด 1 บาทเท่าเดิม) ก็เช่นกัน คือเหมือนนำทองเส้นเดิมมาขาย แล้วซื้อเส้นใหม่

เช่นเดียวกันกับกรณีแตกสร้อยข้อมือทอง 2 สลึง เป็น 1 สลึง 2 เส้น หรือเปลี่ยนสร้อยข้อมือเป็นสร้อยทอง (เปลี่ยนสินค้า) ก็เป็นการ “ขายทองเก่าแล้วซื้อทองใหม่” เหมือนกัน

ประเด็นที่มักมีการพูดถึงกันบ่อยๆ ก็คือ “ทำไมถึงต้องเพิ่มเงินเยอะจัง” คือเยอะกว่าที่คิดไว้มาก

ข้อนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับ “ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ” กันก่อน

  1. ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ จะมีราคาต่ำกว่าราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง

  2. ร้านทองส่วนมากจะเขียน(หรือมีป้าย)แจ้งราคากลางรับซื้อคืนทองรูปพรรณไว้ที่หน้าร้านเป็นราคาต่อกรัม แยกต่างหากจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง

  3. เวลานำทองรูปพรรณไปขายคืน เราจะไม่ได้ค่ากำเหน็จ หรือค่าลาย(ที่จ่ายไปตอนซื้อ) คืน ไม่ใช่ว่าตอนซื้อมาลายสวย ค่ากำเหน็จแพง แล้วเวลาขายคืนจะได้ราคาแพงไปด้วย เพราะราคารับซื้อคืนทองก็จะคิดแต่ค่าเนื้อทองที่ชั่งได้เท่านั้น

  4. เวลาร้านทองรับซื้อคืนทองจากลูกค้า ร้านทองจะคิดน้ำหนักทองตามที่ปรากฎตอนที่ชั่งบนตาชั่ง ไม่ได้ดูจากตัวเลขบนชิ้นทองหรือในใบรับประกัน หรือตามที่เราบอกว่าทองนี้เป็นขนาดกี่บาทหรือกี่สลึง เนื่องจากทองอาจน้ำหนักหายไปเล็กน้อยจากการสึกหรอจากการใช้งาน

  5. ราคารับซื้อคืนทองคำแต่ละร้านทองอาจให้ราคาไม่เท่ากันได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนการบริหารจัดการของแต่ละร้านหรือแต่ละท้องที่

  6. ราคารับซื้อคืนจริงอาจแตกต่างจากราคากลางได้ เนื่องจากราคากลางประกาศโดยสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย แต่ร้านทองอาจใช้เกณฑ์ของสคบ. ซึ่งมีหลักการคำนวณต่างกัน โดยหลักเกณฑ์ตามประกาศของสมาคมค้าทองฯ จะหักจากราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง 1.8% แต่เกณฑ์ของ สคบ. คือ หัก 5% จากราคารับซื้อคืนทองคำแท่งที่สมาคมฯ ประกาศ

ร้านทองจะคิดราคารับซื้อทองชิ้นเก่าจากลูกค้า แล้วนำมาหักลบกับราคาขายออกทองชิ้นใหม่ (ค่าเนื้อทองที่เพิ่มขึ้น กรณีที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก บวกกับค่าลาย หรือค่ากำเหน็จ ซึ่งลายแต่ละลายอาจมีค่ากำเหน็จไม่เท่ากัน) จะได้จำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่ม

สรุป ค่าเปลี่ยนทอง คิดจาก (ราคาทองเส้นใหม่ + ค่ากำเหน็จเส้นใหม่) - ราคารับซื้อทองเส้นเก่า = ส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่ม 

ที่มาของข้อมูล

  1. ประกาศสมาคมค้าทองคำที่ สคท.(ป) 001/2559 เรื่องการปรับเปลี่ยนราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ และราคาค่ากำเหน็จ http://goldtraders.or.th/downloads/gta/P001-59(gold_redemption_1May2016).pdf

  2. คำถามที่พบบ่อย จากเว็บไซต์สมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย https://www.goldtraders.or.th/FAQs.aspx

อ่านบทความ "ซื้อทองลายแบบไหนทนที่สุด" คลิ๊กที่นี่ 

รวมเรื่องทองคำ ที่คุณอยากรู้ ไว้ที่นี่แล้ว