การห้ามเลือดในส่วนใดของร่างกายที่จำเป็นจะต้องใช้วิธี pad and bandage

วิธีใช้/ข้อแนะนำในการใช้
1. ทำความสะอาดบาดแผลบริเวณที่ต้องการ ก่อนปิดพลาสเตอร์
2. ปิดพลาสเตอร์ให้แนบสนิทกับผิวหนัง (ไม่ควรดึงให้ยืดขณะติดเพื่อรักษาความยึดหยุ่น)
3. ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ทุก 2-3 วัน

คำเตือน: หากมีอาการคัน ผื่นแดง ควรหยุดใช้งานและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
วิธีการเก็บรักษา: เก็บในที่แห้งและเย็น ไม่สัมผัสแสงแดดโดยตรง และเก็บให้พ้นมือเด็ก

ข้อควรระวังในการใช้งาน
1. อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ซ้ำ
2. หากบาดแผลติดเชื้อทางคลินิกขณะใช้ผลิตภัณฑ์โปรดหยุดใช้และขอรับการรักษาที่เหมาะสม
3. หากเกิดรอยโรคที่ผิวหนัง (เช่นผื่นสะเก็ดไฟหรืออาการคัน) ขณะใช้ผลิตภัณฑ์โปรดหยุดใช้และขอรับการรักษาที่เหมาะสม
4. ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์เปียกหรือเปื้อนหรือหากมีเลือดหรือของเหลวที่หลั่งออกมาบนแผ่นโปรดถอดออกและใช้แผ่นใหม่ทันที
5. หากผลิตภัณฑ์มีการชำรุดแตกหักหรือเปียกเมื่อใช้งานโปรดลอกออก
6. ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีหลังจากที่ซีลขาด
7. ลอกแผ่นออกอย่างช้าๆตามแนวขนตามร่างกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนังเมื่อนำออก
8. การจัดเก็บ เก็บที่อุณหภูมิห้องห่างจากน้ำอุณหภูมิสูงความชื้นสูงและแสงแดดโดยตรงการเก็บรักษา : เก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง (15– 35°C) หลีกเลี่ยงแสงแดด ความร้อน และความชื้น
วิธีการเก็บรักษา: เก็บในที่แห้งและเย็น
ไม่สัมผัสแสงแดดโดยตรง และเก็บให้พ้นมือเด็ก

Hemostatic Bandage Injection Pad แผ่นแปะแผลสำหรับการห้ามเลือดชนิดมีกาว และมีก๊อซเพื่อดูดซับเลือดและสามารถห้ามเลือด
***มี 2 สี 2 ขนาด***
ขนาดบรรจุ
สีขาว :
สีขาว No.30 : ขนาด 30 Øมม. / ขนาดก๊อซ 10 Øมม. จำนวน1กล่อง /120ชิ้น
สีขาว No.36 : ขนาด 36 Øมม. / ขนาดก๊อซ 16 Øมม. จำนวน1กล่อง /100ชิ้น
สีเนื้อ :
สีเนื้อ No.30A : ขนาด 30 Øมม. / ขนาดก๊อซ 10 Øมม. จำนวน1กล่อง /120ชิ้น
สีเนื้อ No.36A : ขนาด 36 Øมม. / ขนาดก๊อซ 16 Øมม. จำนวน1กล่อง /100ชิ้น

การห้ามเลือด (Control hemorrhage)

การห้ามเลือด   (Control hemorrhage)    หมายถึง  การทำให้เลือดที่ไหลหยุดทันทีทันใด   การห้ามเลือดโดยทั่ว  ๆ ไป    จะกระทำได้ในรายที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งมีการตกเลือดภายนอกเป็นส่วนใหญ่  ๆ และอาจทำได้หลายวิธี  แล้วแต่ตำแหน่งหรือการตกเลือดนั้นมีมากหรือน้อยเพียงใด  ในการห้ามเลือดแต่ละครั้ง  อาจใช้วิธีการหลายอย่างเข้าด้วยกัน    เพื่อให้การห้ามเลือดประสบผลสำเร็จ

กลไกการห้ามเลือดของร่างกาย
ตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์มีวิธีการทำให้เลือดหยุดได้โดย

1.  เลือดมีคุณสมบัติพิเศษ    ซึ่งเมื่อมาอยู่นอกเส้นเลือดแล้วอาจแข็งตัวได้ (Clot)  และการแข็งตัวของเลือดนี้เอง   จะอุดช่องทางตรงที่เลือดออกได้
2.  ความดันเลือดจะต่ำลงเองเมื่อร่างกายมีการตกเลือด    ซึ่งจะทำให้กระเเสเลือดไหลช้าลงด้วย  ทำให้เลือดมีโอกาสแข็งตัวได้เอง    เพื่อปิดช่องทางที่เลือดออกได้ง่ายขึ้น
3.  เส้นเลือดส่วนนั้นจะตีบตัวเล็กลงได้   เลือดก็จะออกน้อยลง แม้ว่าเลือดจะหยุดเองได้    แต่ถ้าเป็นเส้นเลือดใหญ่ ๆ   เลือดก็ไม่อาจหยุดออกเองได้   จำเป็นจะต้องได้รับการห้ามเลือดตั้งแต่ต้น   เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากจนเป็นอันตรายต่อชีวิตมีวิธีการต่างๆ  ในการห้ามเลือด    เมื่อเลือดไหลออกมาภายนอกและไม่หยุดไปเองโดยกลไกของร่างกายดังกล่าวแล้ว   จำเป็นต้องมีการห้ามเลือดซึ่งก่อนสัมผัสกับบาดแผลและเลือด   ผู้ปฐมพยาบาลต้องระวังการติดเชื้อจากผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วย   ด้วยการสวมถุงมือยาง   หรือหาวัสดุใกล้ตัวเช่น  ถุงพลาสติกสวมก่อนปฏิบัติ  การห้ามเลือดมีหลายวิธี   ดังนี้คือ

การห้ามเลือดโดยวิธีกดแผล  (Direct pressure and Elevation)
1.ใช้ฝ่ามือหรือนิ้วมือ  กดลงบนแผลหรือตรงที่มีเลือดออก  ในกรณีที่เกิดบาดแผลที่บริเวณแขนหรือขาให้ยกส่วนนั้น ๆ   ให้สูงไว้เพื่อให้เลือดไหลมาสู่บริเวณนั้นน้อยและช้าลงวิธีนี้จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อเป็นบาดแผลเล็ก ๆ

2.ถ้าบาดแผลกว้าง   ให้ใช้ผ้าสะอาดพับวางบนบาดแผลแล้วจึงกด   การกดอย่ากดแรงเกินไป   เพราะอาจจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่เป็นไปตามปกติ    แล้วสังเกตดูว่าเลือดหยุดหรือไม่   ถ้าเลือดยังไม่หยุดและซึมผ้ามาก    อย่าปิดแผลเพื่อเอาผ้าทิ้ง    ให้ใช้ผ้าใหม่ปิดและกดทับลงไปเพราะถ้าเอาผ้าซับทิ้งบ่อย ๆ  จะเป็นการรบกวนการแข็งตัวของเลือด    ถ้าการห้ามเลือดด้วยการกดแผลได้ผลควรใช้ผ้าสะอาดพันทับแล้วผูกไว้  ข้อควรระวังคืออย่าผูกแน่นเกินไป   ในรายที่มีกระดูกหักร่วมด้วยต้องทำให้ส่วนนั้นอยู่นิ่งมากที่สุด

3.ถ้ามีการตกเลือดจากบาดแผลที่ต่ำกว่าข้อพับข้อศอก  หรือข้อเข่า ให้ใช้ผ้าหรือสำลีม้วนวางที่ข้อพับของข้อศอกหรือข้อเข่า   พับข้อศอกหรือข่อเข้านั้นไว้แล้วใช้ผ้าพันรอบ ๆ  ข้อพับนี้ไว้ให้แน่น  ทั้ง ๆ ที่ข้อพับนั้นยังพับอยู่   วิธีนี้เรียกว่าวิธีใช้ “Pad and bandage”
ก.        สวมถุงมือป้องกันติดเชื้อ
ข.       ใช้ผ้าก๊อซสะอาดวางบนแผลแล้วกด
ค.       เลือดไม่หยุดใช้ผ้าชิ้นใหม่กดทับเพิ่มอีก
ง.        พันผ้าแล้วผูกไว้    ยกอวัยวะให้สูงขึ้น