การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย ยุคโลหะ

การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย ยุคโลหะ

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล1 การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
           จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต  และช่วยให้เข้าใจง่าย  ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น  2  สมัย  ดังนี้
       1.1  สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้  จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร  การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  เช่น  โครงกระดูกของมนุษย์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ  เป็นต้น
        สมัยก่อนประวัติศาสตร์  แบ่งได้เป็น  2  ชุด  คือ  ยุคหินและยุคโลหะ
        1.1.1   ยุคหิน  เริ่มเมื่อประมาณ  500,000  ถึง  4,000  ปี  ล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
           ( 1 )  ยุคหินเก่า  เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษย์ชาติ  มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อน  ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์  จับปลา  หาของป่ากินเป็นอาหาร  อาศัยอยู่ในถ้ำ  รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหินอย่างหยาบๆ  และเขียนภาพตามฝาผนัง
           ( 2 )  ยุคหินกลาง  มนุษย์ยังคงดำรงชีวิตเหมือนในยุคหินเก่า  แต่รู้จักทำเครี่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่ประณีตมากขึ้น   และเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
           ( 3 )  ยุคหินใหม่  มนุษย์มีความเจริญมากกว่ายุคก่อนๆ  รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งรู้จักการเพราะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องประดับ  และเครื่องมือล่าสัตว์หินขัด
         1.1.2  ยุคโลหะ  อยู่ในช่วงเวลาประมาณ  4,000 ถึง  1,500  ปีล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  2  ยุคย่อยๆ  ดังนี้
           ( 1 )  ยุคสำริด  มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด  (ทองแดงผสมดีบุก)  ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในยุคหิน  อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น  รู้จักปลูกข้าว  และเลี้ยงสัตว์  ( หมูและวัว )
             ( 2 )  ยุคเหล็ก  มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาหลอมทำอาวุธ  เครื่องมือ  เครื่องใช้ ๆ แต่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเกสรกรรม  มีการติดต่อขายระหว่างชุมชนต่าง ๆ   ทำให้ความเจริญขยายตัวอย่างรวดเร็ว
        2.2  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้  มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ความเชื่อ  และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  เป็นลายลักษร  มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ  แผ่นหิน  แผ่นดินเหนียว  และกระดาษ  เป็นต้น
                 ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ  ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน  เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการส้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน  ดังนี้  สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล  จึงแบ่งเป็น   3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
          2.2.1  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ  เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ )  และอายธรรมกรีก  โรมัน  ตามลำดับ  จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน  ในปี  พ.ศ.  1019 
          2.2.2  ประวัติศาสตร์สมัยกลาง  เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม  ( จักรวรรดิโรมันตะวันตก )  ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี  พ.ศ.  1019  จนกระทั่งในปี  พ.ศ.  1996  สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง  เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk)  ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
            2.3.3  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่  เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสติติโนเปิลถูกตีแตก  เมื่อปี  พ.ศ.  1996  เป็นต้นมา  จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  2  ในปี  พ.ศ.  2488
            มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ  อาทิเช่น  การปฏิรูปศาสนา  การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม  ประชาธิปไตย  และคอมมิวนิสต์  ทางด้านเศรษฐกิจ   มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางเรือสำเภา  การแสวงหาดินแดนใหม่  และการปฏิวัติอุตสาหกรรม  เป็นต้น
3.   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
          นักประวัติศาสตร์ไทยไม่นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ  สมัยกลาง  และสมัยใหม่  เหมือนดังที่ทำในประเทศตะวันตก  แต่จะมีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง  มีดังนี้
       3.1   แบ่งตามสมัย  (หรือตามเวลาที่เริ่มใช้ตัวอักษร )  แบ่งได้  2  สมัย ดังนี้
                  (1) สมัยก่อนประวัติสาสตร์  หมายถึง  ยุคหิน  (ยุคหินเก่า  หินกลาง  และหินใหม่ )  และยุคโลหะ  ( ยุคสำริด  และเหล็ก )  มีอายุประมาณ  700,000  -  1,400  ปีมาแล้ว  โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยโดยลำดับมา
                    (2)  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นสมัยที่ผู้คนเริ่มใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  สำหรับดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์  เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่  12   จากหลังฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  คือ  ศิลาจารึกที่ปราสาทเขาน้อย  จังหวัดสระแก้ว  ทำขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 1180
          3.2  แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ก่อนที่จะเกิดอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย  ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมีอาณาจักรต่างๆ  เกดขึ้นมาก่อนแล้ว  แต่สันนิฐานว่าไม่ใช่อาณาจักรของคนไทย
                 ดังนั้น  เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา  จึงแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ได้แก่  สมัยทวารวดี, สมัยละโว้( พลบุรี), สมัยศรีวิชัย ( สุราษฎร์ธานี) และสมัยตามพรริงค์ ( นครศรีธรรมราช) เป็นต้น
         3.3  แบ่งยุคสมัยตามราชธานี   เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงตามลำดับ  ได้แก่  สมัยสุโขทัย, สมัยอยุธยา, สมัยธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์
         3.4  แบ่งยุคตามสมัยพระราชวงศ์  เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์  เช่น  สมัยราชวงศ์อู่ทอง, สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ, สมัยราชวงศ์สุโขทัย, สมัยราชวงศ์ปราสาททอง  และสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ทั้งหมดนี้  เป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา
          3.5  แบ่งยุคสมัยตามราชกาล  เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงครองราชย์อยู่  ได้แก่  รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นต้น
        3.6  แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง  ได้แก่  สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และสมัยประชาธิปไตย  โดยถือตามเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยดังกล่าว  โดย
 “ คณะราษฎร” ใช้กำลังทหารเข้ายืดอำนาจและเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ประชาธิปไตย
          3.7  แบ่งยุคสมัยตามรัฐบาลบริหารประเทศ  ได้แก่  สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม, สมัยรัฐบาลพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  และสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร  เป็นต้น

ใบงานที่ 1

1.  ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

ตอบ 1. สมัยก่อนประวัตศาสตร์   2. สมัยประวัติศาสตร์

แหล่งอ้างอิง: 

www.google.co.th