พวก ที่ นำ มา เข้ามาใช้ เป็น พวก แรก ใน ดิน แดน เม โส โป เต เมีย

พวก ที่ นำ มา เข้ามาใช้ เป็น พวก แรก ใน ดิน แดน เม โส โป เต เมีย

พวก ที่ นำ มา เข้ามาใช้ เป็น พวก แรก ใน ดิน แดน เม โส โป เต เมีย

พวก ที่ นำ มา เข้ามาใช้ เป็น พวก แรก ใน ดิน แดน เม โส โป เต เมีย

ที่มา  http://www.pattanakit.net/images/column_1249173106/Pat%20lon.jpg

                           “เมโสโปเตเมีย” เป็นชื่อเรียกดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย ในตะวันออกกลาง คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรทีส (Euphrates) ปัจจุบันคือดินแดนในประเทศอิรัก

                             อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีความหมายครอบคลุมความเจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นในดินแดน เมโสโปเตเมียและบริเวณรอบๆ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 3000 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ 5000 ปีมาแล้ว กลุ่มชนที่มีส่วนสร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้แก่ พวกสุเมเรียน บาบิโลเนียน แอลซีเรียน แคลเดียน ฮิตไทต์ ฟินีเชียน เปอร์เซีย และฮิบรู ซึ่งได้พลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ พวกเขารับความเจริญเดิมที่สืบทอดมาและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นพร้อมๆ กับคิดค้นความเจริญใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย อารยธรรมเมโสโปเตเมียจึงเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างที่ดินแดนอื่นๆ นำไปใช้สืบต่อมา

พวก ที่ นำ มา เข้ามาใช้ เป็น พวก แรก ใน ดิน แดน เม โส โป เต เมีย

https://www.youtube.com/watch?v=sohXPx_XZ6Y

ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมีย

                   ลักษณะที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณใกล้เคียง มีภูมิอากาศร้อนแห้งแล้งและมีปริมาณน้ำฝนน้อย อย่างไรก็ตาม บริเวณนี้ก็มีเขตที่อุดมสมบูรณ์อยู่บ้างเรียกว่า “ดินแดนรูปดวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งรวมถึงดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือเขตประเทศซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์และอิสรเอลในปัจจุบัน ดินแดนเมโสโปเตเมียได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสและน้ำจากหิมะละลายบนเทือกเขาในเขตอาร์เมเนียทางตอนเหนือ ซึ่งพัดพาโคลนตมมาทับถมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ กลายเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก กลุ่มชนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงจึงพยายามขยายอำนาจเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้ ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่เดิมก็ต้องสร้างความมั่งคงและแข็งแกร่งเพื่อต่อต้านศัตรูที่มารุกรานจึงมีการสร้างกำแพงเมืองและคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ในการทำศึกสงคราม เช่น อาวุธ รถม้าศึก ฯลฯ

                   อนึ่งที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียสามารถติดต่อกับดินแดนอื่นได้สะดวกทั้งทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย จึงมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนความเจริญกับดินแดนอื่นอยู่เสมอ ทำให้เกิดการผสมผสานและสืบทอดอารยธรรม

ภูมิปัญญาของกลุ่มชน

                       การเอาชนะธรรมชาติ แม้ว่าดินแดนเมโสโปเตเมียจะได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส แต่ก็มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ส่วนบริเวณที่ห่างฝั่งแม่น้ำมักแห้งแล้ง ชาวสุเรียนจึงคิดค้นระบบชนประทานเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยทำนบป้องกันน้ำท่วม คลองส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำ วิธีนี้ช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลดี อนึ่ง ในเขตที่อยู่อาศัยของพวกสุเมเรียนไม่มีวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงคงทน เช่น หินชนิดต่างๆ ชาวสุเมเรียนจึงคิดหาวิธีทำอิฐจากดินแดนและฟาง ซึ่งแม้จะมีน้ำหนักเบากว่าหินแต่ก็มีความทนทาน และใช้อิฐก่อสร้างสถานที่ต่างๆ รวมทั้งกำแพงเมือง นอกจากนี้ยังใช้ดินเหนียวเป็นวัสดุสำคัญในการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มด้วย

                           การจัดระเบียบในสังคม เมื่อมีความเจริญเติบโตและมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น การอยู่กันเป็นชุมชนจึงจำเป็นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม ได้แก่ การแบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อกำหนดหน้าที่และสถานะ การจัดเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ไปใช้พัฒนาความเจริญให้แก่ชุมชน การออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครอง เช่น ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งบาบิโลเนีย ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นกฎหมายแม่บทของโลกตะวันตก

                           การขยายอำนาจ ความยิ่งใหญ่ของชนชาติที่ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายอำนาจเพื่อรุกรานและครอบครองดินแดนอื่น เช่น พวกแอสซีเรียนสามารถสถาปนาจักรวรรดิแอสซีเรียนที่เข้มแข็งได้ เพราะมีเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้าและน่าเกรงขาม โดยประดิษฐ์คิดค้นอาวุธสงครามและเครื่องมือต่างๆ รวมทั้งยุทธวิธีในการทำสงคราม เช่น ดาบเหล็ก หอกยาว ธนู เครื่องกระทุ้งสำหรับทำลายกำแพงและประตูเมือง รถศึก เสื้อเกราะ โล่ หมวกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้แพร่หลายในทวีปยุโรป

การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย

                  อารยธรรม ในดินแดนเมโสโปเตเมียไม่ได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์ของชนชาติใดชาติหนึ่ง โดยเฉพาะดังเช่นอารยธรรมอื่น หากแต่มีชนชาติต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองและสร้างความเจริญ แล้วหล่อหลอมรวมเป็นอารญธรรมเมโสโปเตเมีย

สุเมเรียน (Sumerian) สุเมเรียนเป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตซูเมอร์ (Sumer) หรือบริเวณตอนใต้สุดของแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส ซึ่งติดกับปากอ่าวเปอร์เซียเมื่อประมาณ 5000 ปีมาแล้ว พวกสุเมเรียนได้พัฒนาความเจริญรุ่งเรืองที่ก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยธรรมอียิปต์ เช่น รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำไปเผาไฟ การคำนวณ การพัฒนามาตราชั่ง ตวง วัด การทำปฏิทิน การใช้แร่โลหะ การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อส่งเสริมการกสิกรรม และการก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ฯลฯ ทำให้นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าอารยธรรมโลกเริ่มต้นที่เขตซูเมอร์  ชาวสุเมเรียนอยู่รวมกันเป็นนครรัฐเล็กๆ หลายแห่ง เช่น เมืองเออร์ (Ur) เมืองอูรุก (Uruk) เมืองคิช (Kish) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละแห่งไม่มีกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนคร เพราะพวกสุเมเรียนเชื่อว่าพวกเขามีเทพเจ้าคุ้มครอง จึงมีเพียงพระหรือนักบวชเป็นผู้ทำพิธีบูชาเทพเจ้าและจัดการปกครองในเขตของตน อย่างไรก็ตาม การที่นครรัฐต่างๆ ล้วนเป็นอิสระต่อกันทำให้ไม่สามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นได้ ดินแดนของพวกสุเมเรียนจึงถูกรุกรานจากชนกลุ่มอื่น คือพวกแอคคัดและอมอไรต์52

อมอไรท์ (Amorties) พวกอมอไรท์หรือบาบิโลเนียน เป็นชนเผ่าเซมิติกซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง ได้ขยายอิทธิพลในดินแดนเมโสโปเตเมียและสร้างจักรวรรดิบาบิโลนที่เจริญ รุ่งเรืองในช่วงประมาณปี 1800-1600 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้นำสำคัญคือกษัติรย์ฮัมมูราบีผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่จักรวรรดิบาบิโลน โดยการทำสงครามขยายดินแดนและจัดทำประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีเพื่อเป็น หลักฐานในการปกครองและจัดระเบียบสังคม นอกจากนี้ชาวบิโลเนียนยังสืบทอดความเจริญต่างๆ ของพวกสุเมเรียนไว้ เช่น ความเชื่อทางศาสนาซึ่งได้แก่การบูชาเทพเจ้า การแบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อแบ่งแยกหน้าที่และความสะดวกในการปกครอง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการค้าขายกับดินแดนอื่นๆ เช่น อียิปต์และอินเดียซึ่งนำความมั่งคั่งให้แก่จักวรรดิบาบิโลนจักรวรรดิบาบิโลนค่อยๆเสื่อมอำนาจลง เมื่อมีชนชาติอื่นขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนเมโสโปเตเมียและสลายลงไปโดยถูกพวกแอลซีเรียนโจมตี

ฮิตไทต์ (Hittites) พวกฮิตไทต์เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียน ที่อพยพมาจากทางเหนือของทะเลดำเมื่อประมาณปี 2300 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในเขตจักรวรรดิบาบิโลนและเข้าครอบครองดินแดน ซีเรียในปัจจุบันพวกฮิตไทต์สามารถนำเหล็กมาใช้ประดิษฐ์อาวุธแบบต่างๆ และจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อใช้ควบคุมสังคม โดยเน้นการใช้ความรุนแรงตอบโต้ผู้ที่กระทำความผิด เช่น ให้จ่ายค่าปรับแทนการลงโทษที่รุงแรง อาณาจักรฮิตไทต์เสื่อมอำนาจลงในราวปี 1200 ก่อนคริสต์ศักราช

แอลซีเรียน (Assyrians) พวกแอลซีเรียนมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย เป็นชนชาตินักรบที่มีความสารถและโหดร้าย จึงเป็นที่คร้ามเกรงของชนชาติอื่น พวกแอลซีเรียนได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกบาบิโลเนียน ซีเรีย และดินแดนบางส่วนของจักรววรดิอียิปต์ จักรวรรดิแอลซีเรียนมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงปี 900-612 ก่อนคริสต์ศักราช อนึ่ง การที่แอลซีเรียนเป็นชนชาตินักรบจึงได้มอบอารยธรรมสำคัญให้แก่ชาวโลกคือการ สร้างระบอบปกครองจักวรรดิที่เข้มแข็ง มีการควบคุมดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองอย่างใกล้ชิด โดยสร้างถนนเชื่อมติดต่อกับดินแดนเหล่านั้นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการเดิน ทัพและติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการทหารและการรบ โดยเฉพาะการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และการใช้ทหารรับจ้างที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตาม แอลซีเรียนมิได้พัฒนาความเจริญด้านอื่นๆ มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดความเจริญที่มีอยู่เดิมในดินแดนที่ตนเข้าไปครอบครอง เช่น ความเชื่อทางศาสนา ศิลปกรรม และวรรณกรรมความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิแอสซีเรียนเกิดจากการรุกรานดินแดนของชนชาติอื่น ดังนั้นจึงมีศัตรูมากและถูกศัตรูทำลายในที่สุด

แคลเดียน (Chaldeans) พวกแคลเดียนได้ร่วมกับชนชาติอื่นทำลายอำนาจของแอลซีเรียนเมื่อปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นก็ได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิแอสซีเรีย ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของแคลเดียนคือกษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ ซึ่งสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลนขึ้นใหม่และรื้อฟื้นความเจริญต่างๆ ในอดีต เช่น การก่อสร้างอาคารที่สวยงามโดยเฉพาะการสร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก การรื้อฟื้นประมวลกฎหมายและวรรณกรรมของชาวบาบิโลเนียนรวมทั้งระบบเศรษฐกิจและการค้า ดังนั้นนักประวัติศาสตร์จึงเรียกจักวรรดิของพวกแคลเดียนว่า “จักวรรดิบาบิโลนใหม่” อย่างไรก็ตาม พวกแคลเดียนก็ได้สร้างมรดกที่สำคัญคือการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์จักรวรรดิแคลเดียนมีอำนาจในช่วงสั้นๆ และสิ้นสลายเมื่อปี 534 ก่อนคริสต์ศักราช223

แหล่งอ้างอิง: 

https://metricsyst.wordpress.com/2013/01/31/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2-mesopotemia-2/