การคุ้มครองสวัสดิภาพ มี3 ลักษณะคือ

เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์ จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ....

           เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์  จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ  ตามที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2547 นับเป็นกฎหมายหลักสำคัญที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

          เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองตามกฎหมาย  ได้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์   แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส   

           1. การสงเคราะห์เด็ก        ในมาตรา 32  ระบุไว้ว่า   เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่            

           (1) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า               

           (2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง

          (3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

          (4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

          (5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

          (6) เด็กพิการ

          (7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

          (8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์

          เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา 24 (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  ได้รับแจ้ง หรือพบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์  จะต้องสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ถ้าเด็กเจ็บป่วยหรือจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือเป็นเด็กพิการต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจแก่เด็กทันที (มาตรา 35)     หากเป็นเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์อาจพิจารณาดำเนินการให้การสงเคราะห์เด็กได้ใน 2 ลักษณะ คือ (มาตรา 33)  

           กรณีที่หนึ่ง    ครอบครัวยังสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดู  อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  

          กรณีที่สอง  ครอบครัวไม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กสามารถนำเด็กไปขอรับการสงเคราะห์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เพื่อส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับในระยะแรกก่อนที่จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามความเหมาะสมในลำดับต่อไป  โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก ได้แก่   

          (1) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 1 เดือน

          (2) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (3) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ 

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์

          (5) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้

          อย่างไรก็ตามการส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  ครอบครัวอุปถัมภ์  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานสงเคราะห์  สถานพัฒนาและฟื้นฟูหรือสถานที่ทางศาสนา  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองโดยความยินยอมดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ หรือยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้   ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจส่งเด็กเข้ารับการสงเคราะห์ตามวิธีการข้างต้น   ทั้งนี้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดต้องฟังรายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสาชาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และการแพทย์ก่อน  ซึ่งในระหว่างที่เด็กได้รับการอุปการะจากบุคคลหรือองค์กรข้างต้น  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้เด็กสามารถกลับไปอยู่ในความปกครองของผู้ปกครองโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

          หากเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แต่ยังอยู่ในสภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์ อาจได้รับการสงเคราะห์ต่อไปจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และถ้ามีเหตุจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ต่อตามความจำเป็นและสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเวลาที่บุคคลนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ในกรณีที่ผู้ปกครองรับเด็กกลับมาอยู่ในความดูแล มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการอันใดที่มีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก  และให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลาสองปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก (มาตรา 39)  ทั้งนี้การให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองและประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ 

        2. การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก     ในมาตรา 40  ระบุไว้ว่า  เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่

          (1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม

          (2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          (3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ    

           2.1 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกทารุณกรรม 

          พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเมื่อได้รับแจ้งหรือพบเห็นพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก  มีอำนาจเข้าตรวจค้นและแยกตัวเด็กจากครอบครัว (มาตรา 41)  โดยจะต้องนำเด็กไปรับการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจโดยเร็วที่สุด และต้องทำการสืบเสาะข้อมูลทางครอบครัวเพื่อประกอบการพิจารณาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ในระหว่างการสืบเสาะข้อมูลอาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับหรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจจะต้องรีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู

การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือสถานที่อื่นใด   ในระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก  ให้กระทำได้ไม่เกิน 7 วัน ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วได้ไม่เกิน 30 วัน (มาตรา 42)

           กรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ปกครองหรือญาติที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก       ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องนั้นจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ศาลที่พิจารณาคดีนั้นมีอำนาจกำหนดมาตรการคุมความประพฤติ   ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนด (มาตรา 43)  และจะสั่งให้ทำทัณฑ์บนตามวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 46 และมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วยก็ได้  (มาตรา 46 ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงาน อัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น    ในการพิจารณาคดีความผิดใด   ถ้าศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น   ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ทำทัณฑ์บน  โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าพันบาท ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุดังกล่าวตลอดเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้   ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังผู้นั้นจนกว่าจะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขังเกินกว่า 6 เดือน หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าไปในเขตกำหนด               มาตรา 47 ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนตามความใน มาตรา 46 กระทำผิดทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนด ไว้ในทัณฑ์บน)

หากผู้ปกครองหรือญาติของเด็กที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็ก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 81)

           กรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ฟ้องคดีอาญา     แต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือพนักงานอัยการจะต้องยื่นคำขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งมิให้กระทำการดังกล่าวโดยกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้  หากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูกกระทำทารุณกรรมอีก  ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้ที่เชื่อว่าจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กมากักขังไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกินสามสิบวัน  ทั้งนี้การพิจารณาออกคำสั่งหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

              2.2 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24  (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) พบเห็นหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  (เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย)  ให้สอบถามและดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็ก  ประวัติความเป็นอยู่ และความประพฤติของเด็ก (มาตรา 44)  ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก ให้กำหนดมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้ 2 วิธีคือ

             วิธีแรก  สำหรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์  ดังนี้ 

           (1) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้

          (2) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตาม (1) ได้

          (3) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (5) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (6) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (7) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู  หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้   (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง) 

             วิธีที่สอง     มอบตัวเด็กให้ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแล และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแล ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหาย ข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้     

             1. ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
             2. ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง
             3. ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย
             4. ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย
             5. จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญาและความสนใจของเด็ก
             6. จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก
             7. จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
          

             หากผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแลไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจะต้องรับเด็กกลับไปดูแลตามวิธีแรก 

          นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจากอบายมุข  ตามมาตรา 45  ห้ามมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หากฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและมีหนังสือเรียกผู้ปกครองมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ว่ากล่าวตักเตือน ให้ทำทัณฑ์บนหรือมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาในการจัดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์  และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้

          (1) ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร

          (2) ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง

          (3) ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย

          (4) ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย

           (5) จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญา และความสนใจของเด็ก

          (6) จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก

          (7) จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

          หากปรากฏว่าผู้ปกครองของเด็กไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนด  พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กอาจให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีกและให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก

                         ******************************

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 

เด็กที่จะต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมีลักษณะอย่างไรบ้าง

มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่ (๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม (๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท าผิด (๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จ าต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่ก าหนดใน กฎกระทรวง

การคุ้มครองสวัสดิภาพหมายถึงอะไร

ป้องกันบุคคลในครอบครัวจากการกระท าความรุนแรง หรือปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม และก าหนดให้มีการบ าบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระท า

ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตนตามกฎหมายคุ้มครองเด็กคืออะไร

กฎหมายคุ้มครองเด็กฉบับนี้บังคับใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และนักเรียนนักศึกษา เป็นกฎหมาย ที่ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือเยียวยาแก้ปัญหา และส่งเสริมความประพฤติเด็ก มิใช่กฎหมายที่กำหนดโทษเอาโทษแก่เด็ก มีสาระสำคัญ กำหนดเป็นหลักการ ในเบื้องต้น ให้ทุกคนปฏิบัติต่อเด็กโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ของเด็ก และไม่เลือก ...

ประเภทของเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ก) เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32)ได้แก่ 1) เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า 2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง 3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุผลใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท