แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

ประเทศไทยใช้ระบบไฟกี่โวลท์

หมวดหมู่ : เกร็ดความรู้สั้นๆ Tags: ไฟฟ้า

ประเทศไทยใช้ระบบไฟกี่โวลท์ บางท่านอาจจะมีคำถามนี้ในใจ ในความเป็นจริงแล้วประเทศไทยของเราใช้ระบบไฟฟ้าหรือความต่างศักย์หรืออาจจะเรียกว่าแรงดันไฟฟ้าหลายแบบครับ เช่น ตามบ้านเรือนทั่วไปใช้แรงดัน 220 โวลท์ 50 Hz ในโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งแบบ 110 โวลท์ 220 โวลท์ และแบบ 380 โวลท์ ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องจักรที่ใช้ แต่โดยทั่วๆไปเรามักจะหมายถึงระบบไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป ซึ่งบ้านเราใช้ 220 โวลท์

ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปบางประเทศเขาไฟฟ้าแรงดัน 110 โวลท์ ดังนั้นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้งานในบ้านเราต้องตรวจสอบให้ดีนะครับว่าสามารถใช้กับระบบไฟฟ้าบ้านเราได้หรือเปล่า ถ้าใช้ไม่ได้เราอาจจะต้องเสียเงินซื้อหม้อแปลงไฟมาใช้ร่วมด้วย

ปล. ต้องสังเกตุชนิดของปลั๊กที่ใช้งานด้วย เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีรูปแบบปลั๊กไม่เหมือนกัน

…พบกับ ความรู้ทั่วไปดีๆได้มากมายที่นี่ เกร็ดความรู้.net

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ
แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้า

ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้า
     ระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟในปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ มีอยู่ 2 ระบบ คือ
     1. ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )
คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 220 -240 โวลท์ ระบบนี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวน
ไม่มาก(แต่ไม่เกิน 100 แอมป์) ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับการใช้งานเพียง 2 เส้น คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ
(สาย Line หรือ " L “)และสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ ( สาย Nuetron หรือ " N“ )    

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

      2.ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ( Three phase ) คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 380 - 400 โวลท์ ระบบนี้
เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ หรือพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวนมากตั้งแต่100 แอมป์
ขึ้นไป และมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อการสายไฟใช้งาน 4 เส้น ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับใช้งาน 4 เส้น(ในขนาดที่เท่ากัน)โดยมีสายไฟที่มีกระแสไฟ 3 เส้น คือ สาย Line 1, สาย Line 2 และ สาย Line 3 สายเส้นที่ 4 เป็นสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์(สาย Neutron " N “)

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

     รูปภาพการต่อสายไฟไปใช้งานทั้ง 2 รูปแบบ จะเห็นได้ว่าในระบบ 3 เฟส 4 สายนั้นเราสามารถต่อไฟใช้งานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้ง 2 ประเภท คือทั้งประเภทที่ต้องการใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด 380 โวลท์ และ 220 โวลท์ได้ในเวลาเดียวกัน(ตามรูปภาพที่สอง)แต่ในระบบ 1 เฟส 2 สายนั้น เราต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานได้เพียงขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
     เมื่อเราได้ทราบถึงพื้นฐานของระบบแรงดันไฟฟ้าเพื่อการต่อใช้งานไปพอสังเขปแล้ว คราวนี้เราก็มารู้จักขั้นตอนการติดตั้งระบบไฟฟ้าใช้งานภายในบ้านพักอาศัยกันบ้าง (จะขอกล่าวถึงเฉพาะระบบ 1 เฟส 2 สายที่แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เท่านั้น)
     สมมติว่าเรากำลังคิดจะปลูกบ้านขึ้นมา สิ่งที่เราควรคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่จะติดตั้งภายในบ้านของเราตามความสำคัญลำดับก่อนหลังมีดังนี้
     1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอใช้ไฟ
     2. ลักษณะ และรูปแบบของการติดตั้งสายไฟ
     3. จำนวนวงจรย่อยของอุปกรณ์ไฟฟ้า
     4. แผงรวมไฟ หรือ ตู้รวมไฟ และเมนสวิทช์ตัดตอน
     5. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (หลักดิน, สายดิน และเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว)
     ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟ ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากพื้นที่ใช้ส้อยของตัวบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กิน
กระแสไฟมากๆ ที่จะติดตั้งภายในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน, ตู้แช่หรือตู้เย็นขนาดใหญ่ เป็นต้นรวมไปถึงจำนวนจุดติดตั้งดวงโคมไฟแสงสว่างขนาดต่างๆ และเต้ารับไฟฟ้าที่ใช้งาน ซึ่งเราต้องรู้ว่าหากเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นพร้อมกัน มันจะกินกระแสไฟเป็นปริมาณเท่าใด เราก็ไปติดต่อขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า
ที่การไฟฟ้าฯ เช่น
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันไม่เกิน 10 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5 (15) แอมป์
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 10 แอมป์ แต่ไม่เกิน 50 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 15 (45) แอมป์
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 50 แอมป์ แต่ไม่เกิน 100 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 30 (100) แอมป์

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

 

ไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ มีทั้งระบบ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ซึ่งใช้ในบ้านอยู่อาศัย และระบบ 3 เฟส แรงดัน 380 โวลต์ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และแรงดันขนาด 11, 22, 33, 69, 115, 230 และ 500 กิโลโวลต์ สำหรับการส่งจ่ายไฟฟ้าภายในประเทศ

ความ ถี่ 50 เฮิร์ตซ์ คือ ใน 1 วินาที ขั้วแม่เหล็กเหนือและขั้วแม่เหล็กใต้ จะหมุนครบรอบตัดผ่านขดลวดตัวนำบนสเตเตอร์ครบ 50 ครั้ง ในกรณีที่โรเตอร์มีขั้วแม่เหล็ก 2 ขั้ว ความเร็วรอบของโรเตอร์จะหมุน 3,000 รอบต่อนาที แต่ถ้ามีขั้วแม่เหล็ก 4 ขั้ว ความเร็วรอบจะลดลงเหลือ 1,500 รอบต่อนาที โดยมีความถี่คงที่

แหล่งผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้า ไม่ใช่แหล่งพลังงาน แต่เป็นเพีงพลังงานแปรรูปที่สะอาด และใช้ได้สะดวกรูปหนึ่งเท่านั้น สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆได้ง่าย เช่น แสงสว่าง เสียง ความร้อน พลังงานกล เป็นต้น ทั้งยังสามารถส่งไปยังระยะทางไกลได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ไฟฟ้ามีความเร็วใกล้เคียงกับแสง ในระยะทาง 100 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 1 ใน 3,000 วินาที ดังนั้นจึงส่งไปถึงผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา

สำหรับ แหล่งพลังงานไฟฟ้า ที่แท้จริง ก็คือ พลังที่นำมาใช้ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนตลอดเวลาหากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หยุดหมุน การผลิตไฟฟ้าจะหยุดไปด้วย

การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ประเภทไม่ใช้เชื้อเพลิง

  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือจากลำห้วยที่อยู่ในระดับสูงๆ

  • โรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติจากต้นพลังงานที่ไม่หมดสิ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ

2. ประเภทใช้เชื้อเพลิง

  • โรง ไฟฟ้าพลังไอน้ำ ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ หรือน้ำมันเตา เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนแก่น้ำจนเดือดเป็นไอน้ำ นำแรงดันจากไอน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า

  • โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซลมาสันดาป ทำให้เกิดพลังงานกลต่อไป โรงไฟฟ้าประเภทนี้ได้แก่
    – โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส ใช้ก๊าสธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซ
    – โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซล
    – โรงไฟฟ้าดีเซล ใช้น้ำมันดีเซล

การทำงานของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant)

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นการนำทรัพยากรน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยความเร็ว และแรงดันสูงมาหมุนกังหันน้ำ มีขั้นตอนดังนี้

  • น้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าทำให้มีแรงดันน้ำสูง

  • ปล่อยน้ำในปริมาณที่ต้องการเข้ามาตามท่อส่งน้ำ เพื่อส่งไปยังอาคารโรงไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า

  • น้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าทำให้มีแรงดันน้ำสูง

  • เพลา ของเครื่องกังหันน้ำต่อกับเพลา ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำให้โรเตอร์หมุน เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้พลังงานไฟฟ้าออกมาใช้งาน

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ (Steam Power Plant)

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

เป็นการแปรสภาพพลังงาน เชื้อเพลิงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวกลาง ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้น้ำมันเตา ถ่านลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมีลำดับการทำงานดังนี้

  • เผาไหม้เชื้อเพลิง ทำให้เกิดการเผาไหม้ทางเคมีได้พลังงานความร้อน

  • นำความร้อนที่ได้ไปต้มน้ำ เพื่อให้กลายเป็นไอน้ำที่อุณหภูมิและความดันที่ต้องการ

  • ส่ง ไอน้ำเข้าไปหมุนเครื่องกังหันไอน้ำ ซึ่งมีเพลาต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำให้โรเตอร์หมุนเกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้พลังงานไฟฟ้าออกมาใช้งาน

สำหรับในต่างประเทศ นอกจากเชื้อเพลิงที่ประเทศไทยใช้อยู่ ยังมีการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ถ่านหินคุณภาพดี เช่น แอนทราไซต์ และบิทูมินัส เป็นต้น

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (GasTurbine Power Plant) เครื่องกังหันแก๊สเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน เปลี่ยนสภาพพลังงานเชื้อเพลิงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

  • อัดอากาศให้มีความดันสูง 8-10 เท่า

  • ส่งอากาศนี้เข้าห้องเผาไหม้ โดยมีเชื้อเพลิงทำการเผาไหม้

  • อากาศในห้องเผาไหม้เกิดการขยายตัว ทำหให้มีแรงดันและอุณหภูมิสูง

  • ส่งอากาศนี้ไปหมุนเครื่องกังหันแก๊ส

  • เพลา ของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อผ่าน ชุดเกียร์ เพื่อทดรอบก่อนต่อเข้ากับเพลาของเครื่องกังหันไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ หมุนในพิกัดที่กำหนด เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนจึงเกิดการเหนี่ยวนำ ผลิตแรงดันและกระแสไฟฟ้าออกมาใช้งาน

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

โรงไฟฟ้าระบบความร้อนร่วม เป็นโรงไฟฟ้าที่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 ระบบร่วมกัน คือ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สและโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ โดยนำความร้อนจากไอเสียที่ออกจากเครื่องกังหันแก๊สซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง ประมาณ 550 องศาเซลเซียส มาใช้แทนเชื้อเพลิงในการต้มน้ำของโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ เพื่อใช้ไอเสียให้เกิดประโยชน์ โดยมีหลักการทำงานดังนี้

  • นำไอเสียจากเครื่องกังหันแก๊สหลายๆ เครื่องมาใช้ต้มน้ำในโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ

  • ไอน้ำได้จากการต้มน้ำและไปดัน เครื่องกังหันไอน้ำ ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุน ผลิตไฟฟ้าออกมาได้เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมทั่วไป

  • กำลังผลิตที่ได้จากโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ จะเป็นครึ่งหนึ่งของกำลังผลิตรวมของโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สที่เดินเครื่องอยู่

การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ระบบความร้อนร่วมนี้จะทำการผลิตร่วมกัน หากเกิดเหตุขัดข้องที่โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำก้ยังคงเดินเครื่องกังหันแก๊สได้ ตามปกติ โดยการเปิดให้ไอเสียออกสู่อากาศโดยตรง แต่หากเกิดเหตุขัดข้องกับเครื่องกังหันแก๊สเครื่องใดเครื่องหนึ่ง กำลังผลิตที่ได้ก็จะลดลงตามส่วน และถ้าเครื่องกังหันแก๊สทุกตัวหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำที่ใช้ ร่วมกันก็จะต้องหยุดเดินเครื่องด้วย

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

Multi-Shaft Combined Cycle Plant, steam turbine and generator are on the left side of the diagram

โรงไฟฟ้าดีเซล (Diesel Power Plant) เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องยนต์ในรถยนต์ทั่วไป โดยอาศัยหลักการสันดาปของน้ำมันดีเซลที่ถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ที่ถูกอัดอากาศจนมีอุณหภูมิสูง ซึ่งเราเรียกว่าจังหวะอัด ในขณะเดียวกัน น้ำมันดีเซลที่ถูกฉีดเข้าไปจะเกิดการสันดาปกับความร้อนและเกิดระเบิด ดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งต่อกับเพลาของเครื่องยนต์ ทำให้เพลาของเครื่องยนต์หมุน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งเชื่อมต่อกับเพลาของเครื่องยนต์ก็จะหมุนตาม

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใน ประเทศไทย คือ

ที่มา: http://std.kku.ac.th/4630400448/thermo2/assign.html