คุณธรรมด้านผู้มีธิติของพระอานนท์

พระอานนท์

Posted on สิงหาคม 7, 2009 by kaimart

ประวัติ             

 หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน จึงได้บรรลุพระอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทำ

คุณธรรมด้านผู้มีธิติของพระอานนท์
หน้าที่อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ และพระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้  

   1. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน
   2. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน
   3. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์
   4. ต้องไม่นำท่านไปในที่นิมนต์ด้วย
   5. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
   6. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที
   7. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ
   8. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้ำให้ท่านฟังด้วย

             พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี
สำหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่         
          
1. เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)
           2. เป็นผู้มีสติ
           3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)
          4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
           5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ            

           ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ตามเสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองกุสินาราได้รับถ่ายทอดพระพุทธโอวาทมากมาย ที่ยังมิเคยตรัสที่ไหนมาก่อน และหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ถ่ายทอดให้ที่ประชุมสงฆ์อันประกอบด้วยพระอรหันต์ทรงอภิญญา 500 รูปฟังและในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม
เมื่อท่านอายุได้ 120 พรรษา ถึงเวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้ำโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตนพระอานนท์จึงเข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองกบิลพัสดุ์อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนำอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุไว้บูชา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
 

                       1. เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อน
เข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มีข้อหนึ่งความว่า ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องในในที่ลับข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้เอาใจใส่ขวนขวายในการศึกษาและทรงจำเป็นอย่างดียิ่ง

       

                2. เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็
ไม่สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึกละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานน์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสภาวะปกติได้
       

               3. เป็นผู้รับภาระในพระพุทธศาสนา ในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก ให้เราได้ศึกษาจนกระทั่งทุกวันนี้       

              4. เป็นผู้สืบต่อพระศาสนา ท่านเป็นผู้มีศิษย์มาก ต่อมาศิษย์ของท่านได้มีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร และพระเรวตะ เป็นต้น แสดงถึงความเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีที่เพียบพร้อมดีงาม ทำให้มีผู้เคารพเลื่อมใสและแสดงตนเป็นศิษย์จำนวนมาก

Filed under: พระอานนท์ |