คุณค่าของวรรณคดีไทย ด้านวัฒนธรรม

       วรรณกรรม มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของคนไทย ดังนี้
1. คุณค่าด้านความบันเทิง เพลงพื้นบ้านไทยแสดงความสามารถปฏิถาณไหวพริบ ของบุคคลในท้องถิ่น นิทานพื้นบ้านไทยสมัยก่อนให้ความสำเริงอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน
2. คุณค่าด้านคุณธรรม จริยธรรม วรรณกรรมไทย เป็นเครื่องมือสอนจริยธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สอนให้คนทำความดีเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความเมตตา
3. คุณค่าในด้านการประพันธ์ เพลงพื้นบ้านไทยปลูกฝังให้เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนใช้ไหวพริบในการโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิงโลกภาษิตไทย มีคำอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบให้เข้าใจชัดเจน ใช้ภาษาสละสลวยแสดงโลกทัศน์ของผู้เขียนนิทานคติธรรมปมาสี่-สี่ เป็นนิทานสอนใจให้ข้อคิดที่มาจากปัญญาสชาดก เป็นเรื่องไม่สมจริงแต่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความประพฤติของตัวละคร 4 คน มีความแตกต่างกัน มีความสลับซับซ้อนแต่ผลของการกระทำคือ ทำความดีได้ผลดีตอบแทน
4. คุณค่าด้านมรดกวัฒนธรรม ตำนานไทยช่วยสะท้อนความเป็นอยู่ของท้องถิ่นศาสนาประเพณี อาหารการกิน ตลอดจนการละเล่น

ประโยชน์ของวรรณกรรมไทย
วรรณกรรมให้ประโยชน์แก่กลุ่มชน ดังนี้คือ
1. ให้ความรู้เรื่องสังคม ภาษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ที่สั่งสมและสืบทอดมาทำให้เกิดผลดีแก้ชาวไทย เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมพัฒนาทำประโยชน์จากวรรณกรรมท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและสังคม ซึ่งปัจจุบันอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางภูมิปัญญา มีศิลปวัฒนธรรมและการนำเสนอข้อมูลทางวรรณกรรมท้องถิ่น มีคุณค่าควรศึกษาอย่างยิ่ง
2. ให้คติธรรม ความมีเมตตากรุณา คุณธรรมและจริยธรรมเป็นการชี้แนวทางชีวิตมีบทเรียนสั่ง สอน ดังในนิทาน นินาย และสุภาษิต โลกภาษิตไทยทำให้คนไทยเป็นผู้มีจิตใจงดงาม มีความประพฤติดีอยู่ในกรอบของศีลธรรม
3. เชื่อมโยงความสามัคคีให้หมู่คณะมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้ขจัดความเห็นแก่ตัว รู้จักเสียสละ ซึ่งสภาพสังคมยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป
4. แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะวรรณกรรมท้องถิ่นไทยได้แสดงความคิด ค่านิยมในทางศิลปะการแสดง ศิลปหัตถกรรม

คุณค่าของวรรณคดีไทย ด้านวัฒนธรรม


๑. คุณค่าด้านจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ ความประพฤติ การครองชีวิตว่าอะไรดี ชั่ว หรืออะไรถูก ผิด วรรณคดี ท้องถิ่นจะทำหน้าที่รักษาแบบแผนและความประพฤติ การครองชีวิตของชาวบ้านให้ดำเนิน ไปอย่างถูกต้องตามข้อตกลง กฎ ระเบียบ ประเพณีอันดีงามของสังคม เช่น ผญา และภาษิต เป็นต้น
๒. คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ หมายถึง การนิยมความงาม ความไพเราะของถ้อยคำ ภาษาที่ใช้ใน วรรณคดีท้องถิ่น การใช้คำสัมผัส คล้องจอง ความไพเราะของท่วงทำนอง บทกวี เมื่อฟังหรืออ่าน แล้วเกิดจินตนาการ ความรู้สึกและอารมณ์ วรรณคดีท้องถิ่นทุกประเภทจะมีคุณค่าทางด้านนี้
๓. คุณค่าทางด้านศาสนา
วรรณคดีท้องถิ่นเป็นสื่อถ่ายทอดคำสอนและปรัชญาทางศาสนาเผยแพร่ไปสู่
ประชาชน ทำให้ประชาชนมีหลักยึดเหนี่ยวใจ ได้ข้อคิดและมีแนวทางในการดำรงชีวิต
ประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นคนดีของสังคม วรรณคดีที่ให้คุณค่าทางด้านนี้ เช่น นิทานชาดก มหาชาติชาดก เป็นต้น
๔. คุณค่าด้านการศึกษา
วรรณคดีท้องถิ่นทุกประเภทเป็นสื่อที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ
อย่างมากมาย นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงแล้ว เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนา คำสอน  ชีวิตความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่น เป็นต้น
๕. คุณค่าทางด้านภาษา
วรรณคดีทุกประเภททั้งงานเขียนและการพูด ต้องใช้ถ้อยคำ ภาษาเป็นสื่อในการ เสนอเรื่อง ดังนั้นจึงมีคุณค่าทางด้านภาษาของคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึง วัฒนธรรมและวิวัฒนาการด้านภาษาของชาติที่มีภาษาเป็นของตนเอง มีทั้งในด้านความ สละสลวย สวยงามและความไพเราะ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป
๖. คุณค่าด้านเศรษฐศาสตร์
วรรณคดีท้องถิ่นประเภทคำสอน ภาษิต นิทาน ศาสนา จะให้ความรู้เกี่ยวกับ การเก็บออม การใช้จ่ายอย่างประหยัดและการหารายได้ เป็นต้น นอกจากนี้วรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทตำรายา ตำราพยากรณ์ ตำราบทสวด ตำราบททำขวัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ยังให้ความรู้ แก่ผู้ที่ศึกษาจริงจัง สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ได้อีกด้วย
๗. คุณค่าด้านสังคม
วรรณคดีท้องถิ่นเป็นสื่อที่ปลูกฝังค่านิยมเรื่องความสามัคคี การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม แบบพึ่งพาอาศัย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อความร่มเย็น เป็นสุขของสังคมและท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมประเภทคำสอนต่าง ๆ
๘. คุณค่าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
วรรณคดีท้องถิ่นประเภทตำนาน หรือนิทานต่าง ๆ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้มีความรู้ เรื่องประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุได้เป็นอย่างดี เช่น เรื่องสามมุก ของ จ.ชลบุรี เป็นต้น
๙. คุณค่าด้านจิตใจ
วรรณคดีทุกประเภทมักนำเสนอเรื่องราวที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังมีความรู้ ความเพลิดเพลินและความบันเทิง ทำให้เกิดความจรรโลงใจ คลี่คลายความทุกข์ได้
๑๐. คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย
วรรณคดีนอกจากจะมีประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังให้
ประโยชน์ ด้านใช้สอยด้วย เช่น ตำรารักษาโรคและตำราพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

คุณค่าของวรรณคดีไทย ด้านวัฒนธรรม

วรรณคดีแต่ละเล่มต่างมีคุณค่าต่อสังคมแตกต่างกันไป วรรณคดียังให้ความรู้และคุณค่าทางด้านสังคม จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นมรดกทางสังคมด้วย คุณค่าทางสังคม ได้แก่
1. คุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณี วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ ส่วนประเพณีเป็นความคิด ความเชื่อ จารีต ระเบียบแบบแผนตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ วรรณคดีจะสอดแทรกวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีต่าง ๆ ของสังคมไว้ เป็นการถ่ายทอดความคิดสู่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านเกิดความสำนึกในความเป็นชาติอย่างซาบซึ้ง เช่น ขุนช้างขุนแผน
2. คุณค่าที่แสดงให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ กวีจะนำเนื้อหาหรือสภาพชีวิตที่พบเห็นในสมัยนั้นมากล่าวไว้ในบทประพันธ์ของตน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ ทำให้เห็นสภาพสังคมในสมัยนั้น เช่น อิเหนา
3. คุณค่าด้านปรัชญาและความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ วรรณคดีเป็นที่รวมแห่งปรัชญาการดำเนินชีวิตของคนในสังคม กวีจะสอดแทรกปรัชญาแง่คิด ศีลธรรม ตลอดจนคติธรรมเพื่อการยกระดับจิตใจของผู้อ่านให้สูงขึ้น และยังทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เช่น พระอภัยมณี
4. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ การบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มุ่งจดแต่ข้อเท็จจริงไม่ช้าก็อาจจะเบื่อหน่ายหลงลืมได้ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราช ในประวัติศาสตร์อาจจะจดบันทึกไว้เพียงไม่กี่บรรทัด
5. คุณค่าทางจินตนาการ เป็นการสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ลึกซึ้ง จินตนาการต่างกับอารมณ์ เพราะอารมณ์คือ ความรู้สึก ส่วนจินตนาการ คือ ความคิด เป็นการลับสมอง ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม ประดิษฐกรรมใหม่ ขึ้นมาก็ได้ จินตนาการจะทำให้ผู้อ่านเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล
6. คุณค่าทางการใช้ภาษา เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อรสชาติทางภาษา เพื่อจูงใจเพื่อความติดใจและประทับใจ ทำให้ผู้อ่านสามารถสังเกต จดจำนำไปใช้ก่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ดี เพราะการเห็นแบบอย่างทั้งที่ดี และบกพร่องทั้งการใช้คำ การใช้ประโยค การใช้โวหาร สิ่งเหล่านี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาให้แก่ผู้อ่านทั้งสิ ้น เช่น เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย
7. คุณค่าที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างวรรณกรรม และศิลปกรรมด้านต่าง ๆ วรรณกรรมที่ผู้เขียนเผยแพร่ออกไปบ่อยครั้งที่สร้างความประทับใจ และแรงบันดาลใจให้เกิดผลงานอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น ภาพวาดของจักรพันธุ์ โปษยกฤต ส่วนมากจะได้แรงบันดาลใจจากวรรณคดีไทย เช่น เรื่องขุนช้าง ขุนแผน เป็นต้น

คุณค่าของวรรณคดีไทยมีกี่ด้าน

คุณค่าที่ได้จากการอ่านวรรณคดีคือ คุณค่าด้านอารมณ์ สร้างความ บันเทิงใจ และแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ดังนี้ ๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒. คุณค่าด้านเนื้อหา ๓. คุณค่าด้านสังคม ๔. คุณค่าการนาไปปรับใช้ในชีวิตประจาวัน

คุณค่าวรรณคดีด้านสังคมประกอบด้วยอะไรบ้าง

๔. คุณค่าด้านสังคม คือ ภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่สะท้อนมาจากวรรณคดี และวรรณกรรมโดยกวีนิยมแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง เช่น ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วรรณคดีและวรรณกรรมจึงเป็นเสมือนกระจกสะท้อนสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นหลักฐานที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตแก่คนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ตัวอย่าง ...

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีเรื่องนี้คืออะไร

1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นคุณค่าทางด้านศิลปะการแต่ง โวหารภาพพจน์ ความไพเราะ สละสลวยของภาษาที่ใช้ การใช้รูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา วิธีแต่งน่าสนใจ สื่ออารมณ์ดี และ สื่อความคิดที่สร้างสรรค์

คุณค่าของวรรณคดีมรดกมีอะไรบ้าง

๔. เป็นหนังสือที่มีประโยชน์วรรณคดีมรดกเป็นหนังสือที่ทําให้ผู้อ่านเกิดสติปัญญา มองเห็นแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต ให้เห็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษใน อดีต ทําให้ผู้อ่านได้รับคุณค่า ทางชีวิตและประสบการณ์ เข้าใจความจริงของชีวิตดีขึ้น นับว่าเป็นอาหารทาง สมอง และยังก่อให้เกิดความ ...