แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง คือ

  • ลุ่มน้ำโขง
  • กัมพูชา
  • ลาว
  • พม่า
  • ไทย
  • เวียดนาม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • 12 February 2018
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 20 ของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.90 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 327 ตัน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนที่ปริมาณ 4.7 ตัน ซึ่งต่ำกว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต่อคนเล็กน้อยที่ปริมาณ 4.80 ตัน 1  ประชากรและขนาดของเศรษฐกิจของประเทศได้รับการรายงานว่าเป็น 2 ตัวขับเคลื่อนหลักของตัวเลขเหล่านี้ทั่วโลก

แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง คือ

อุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างใกล้กับกรุงเทพมหานคร ภาพโดยข่าวสารประเทศไทย แหล่งข้อมูลจากกูเกิ้ลอิมเมจ ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ CC BY 2.0

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นที่ประจักษ์แล้วทั่วโลก ประเทศไทยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงกำลังพยายามจัดการกับผลกระทบเหล่านี้ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่  การตัดไม้ทำลายป่า  การกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ ความเป็นเมือง  ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและมีความเสี่ยงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เช่น อุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ

ตัวอย่าง เช่น ในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ต้องใช้งบประมาณเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูจำนวน 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมและฟื้นฟูรวมทั้งสิ้นจำนวน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ วิกฤตอุกทกภัยในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวน 13 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 680 คน 2

เมื่อเร็วๆ นี้  ศูนย์ข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติได้บันทึกช่วงสำคัญของภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำและเป็นเวลานานระหว่างปี 2558 และ 2559 ส่งผลให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีระดับต่ำ ในปี 2559 ภัยแล้งได้ลดช่วงเวลาเพาะปลูกรวมทั้งผลิตผลการเกษตรอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้จากการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจโดยเน้นแนวโน้มของสภาพอากาศที่สุดขั้วตลอดลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการคาดการณ์ว่าในช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้าภัยแล้งรุนแรงสามารถสร้างผลกระทบต่างๆของการผลิตข้าวในพื้นที่ชลประทานในช่วงฤดูแล้ง โดยระดับของผลผลิตรวมจะลดลงร้อยละ 30.90  3

ชาร์ทจัดทำโดย ODM เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แหล่งข้อมูล: เครื่องมือชี้วัดการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ ผู้สำรวจข้อมูลภูมิอากาศ  4

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เป็นอีกหนึ่งผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งคุกคามการดำรงชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเล ตัวอย่าง เช่น  การรุกล้ำของน้ำเค็มส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย ทำให้มีความอ่อนไหวของป่าชายเลนและการเสื่อมโทรมของปะการัง ผลกระทบเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงการบริการระบบนิเวศโดยผ่านทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้และการประมงในภูมิภาคนี้รวมทั้งการพึ่งพาให้เป็นแหล่งรายได้ของประชาชน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลปานกลางในท้องถิ่น 5 มิลลิเมตรต่อปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาในภูมิภาคนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินในบริเวณปากแม่น้ำ และหากปรากฏการณ์นี้ไม่ได้รับความสนใจในการแก้ไขอาจเกิดปัญหาแผ่นดินชายฝั่งในพื้นที่ตอนบนของอ่าวไทยทรุดตัวอย่างรุนแรงในอนาคต 5

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าเป็นเมืองที่อ่อนไหวต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุทกภัยเนื่องจากทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและเหตุการณ์ฝนตกอย่างสุดขั้ว ตัวอย่าง เช่น กรณีศึกษาสมมุติสถานการณ์ให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสโดยไม่มีมาตรการปรับตัวใดๆมีการคาดการณ์ว่ากรุงเทพมหานครจะเผชิญกับอุทกภัยรุนแรง ภายใต้สมมติฐานที่แตกต่างกัน ร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองจะถูกน้ำท่วมอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างสุดขั้วและมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 15 เซนติเมตรภายในปี พ.ศ.2573 ที่มากกว่านั้นคือหากเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2623 จะทำให้เกิดน้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 70 ของพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานครโดยมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 88 เซนติเมตร  6 

ความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมมีโอกาสที่จะทำให้ประเด็นด้านสังคมในปัจจุบันแย่ลง เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจตกต่ำ ความไม่มั่นคงทางอาหาร ความเหลื่อมล้ำหรือความยากจนและทำให้เกิดการทำลายวิถีชีวิตและการสร้างรายได้อย่างกว้างขวาง อ้างถึงดัชนีความเสี่ยงด้านอากาศโลกในระยะยาวซึ่งจัดทำโดยกลุ่มนักคิดเยอรมันวอช (GermanWatch) ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสูงที่สุดลำดับที่ 10 ของความอ่อนไหวและการได้รับผลกระทบโดยตรงจากความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ สำหรับระยะเวลา 20 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2558 ในช่วงเวลาที่เผยแพร่รายงานถูกจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 53 จากทั้งหมด 181 ประเทศทั่วโลก 7

ความเป็นไปได้ของขนาดของผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่าจะมีต่อทรัพยากรที่มีความเสี่ยง เช่น โครงสร้างพื้นฐานในเมืองและในชนบท ผลิตภาพของแรงงาน การผลิตพืช เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หรือการจัดบริการของระบบนิเวศ ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้เป็นประเด็นความกังวลหลัก การศึกษาตามแนวทางปกติ เช่น การติดตามความอ่อนไหวของสภาพอากาศ 8 ประมาณการต้นทุนรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมูลค่า 180 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ตามตัวเลขในห้วงเวลานี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือก การวิเคราะห์มูลค่าที่มีความเสี่ยงสามารถแสดงผลลัพธ์ที่ชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพแรงงานลดลงเป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นประมาณร้อยละ 14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในชนบททั้งหมด 9

นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การทำงานร่วมกันกับประเทศอื่น ๆ ในการรักษาเสถียรภาพของสภาพภูมิอากาศโลกถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ ประเทศไทยได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านสภาพอากาศ

ก่อนข้อตกลงปารีสซึ่งเห็นชอบร่วมกันเมื่อปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้ยื่นแผนกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศ แผนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20-25 จากแนวทางการดำเนินการธุรกิจตามปกติในปี พ.ศ. 2573 10 

องค์การระดับชาติต่างๆ เช่น  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการผนวกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การวางแผนและการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล  นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญระดับชาติที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศประกอบด้วย:

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (สศช.) (2560-2564) 11

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มียุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีเป็นแผนชี้นำ (พ.ศ.2560-2579) 12 และรวบรวมจากข้อตกลงปารีสเมื่อปี พ.ศ.2558  ประเทศไทยได้เลือกที่จะรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 13 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นแนวทางในการบรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและได้พัฒนารูปแบบนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อเป็นแนวทางในการแปลงแผนปฏิบัติการเหล่านี้สู่การปฏิบัติ 14

แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (พ.ศ.2558-2593)

แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ.2558-2593) ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบนโยบายแบบบูรณาการและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศและเป็นสังคมคาร์บอนต่ำที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี พ.ศ.2593 ปัจจุบันมีการร่างแผนปรับตัวในระดับชาติของประเทศ (2015-2023) และอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 15

การยื่นแผนกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศของประเทศไทยไปยังอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอ้างถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย แผนพัฒนาโรงไฟฟ้า (พ.ศ.2558-2579) แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจริยะแห่งชาติ (พ.ศ.2558-2579) แผนพัฒนาพลังงานทดแทน (พ.ศ.2558-2579) แผนงานระบบความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2556-2573) แผนพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2574) และแผนการจัดการขยะและอื่น ๆ 16

หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • การปรับตัว
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-ลุ่มน้ำโขง
  • กลไกการพัฒนาที่สะอาด
  • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การบรรเทาผลกระทบ
  • การปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ที่เหมาะสม
  • เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง คือ

แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง คือ

Contact us

Thank you for taking the time to get in contact!