ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

Software

        ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้  ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
        ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
        ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)  คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
  2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้นไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์และความสามรถ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ 
1).ความจำ (Storage) 
2).ความเร็ว (Speed) 
3).การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) 
4).ความน่าเชื่อถือ (Sure) 
5).การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) 
ความจำ (Storage) เป็นความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถือได้ว่าเป็น "หัวใจ" ของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้
2 ระบบคือ หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) หน่วยความจำรอง (Secondary Storage)

การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) เป็นความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่ง ได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง โดยอัตโนมัติ ตามคำสั่งและขั้นตอนที่นักคอมพิวเตอร์ (มนุษย์) ได้กำหนดไว้

ความน่าเชื่อถือ (Sure) เป็นความสามารถในการประมวลผลที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูล ที่นักคอมพิวเตอร์ได้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ 
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator) - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager) - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user) 
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์จำแนกตามขนาดและความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ 5 ประเภท ดังนี้ 
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) 
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) 
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer)

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีราคาสูง มีความเร็วในการประมวลผลถึง 1,000 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที ภายในเครื่องมีหน่วยประมวลผลเป็นจำนวนมากทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งหลายคำสั่งพร้อมกันได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องคำนวณผลซับซ้อน และเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะด้าน เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมัน การควบคุมสถานีอวกาศ

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานโดยมีผู้ใช้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันได้ สามารถประมวลผล 10 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที เหมาะสำหรับงานที่มีการเก็บข้อมูลปริมาณมาก เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล การใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึง อุณหภูมิและความชื้นโดยมีระบบควบคุมและผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล

ชุด ของ คำสั่ง ซึ่ง บอก คอมพิวเตอร์ ว่า ให้ ทำ อะไร และ สิ่ง นั้น ทำได้ อย่างไร เรียกว่า

มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)มีลักษณะเดียวกันกับเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ทั้งในด้านความเร็วในการประมวลผล และความจุของหน่วยความจำ ปัจจุบันองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก จะนิยมใช้มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย(Server) เพื่อควบคุมระบบเครือข่ายในองค์กร

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)หรือที่เรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer :PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งาน 1 คนต่อ 1 เครื่อง หรือ ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องในเครือข่าย ไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะการใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก ตัวอย่างของไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค เดสก์โน๊ต และแท็บเล็ตพีซี

คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer)ป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถพกพาไปในที่ต่างๆได้ง่าย ประโยชน์การใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจนำไปใช้ในการจัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนังฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมล์ บางรุ่นอาจมีความสามารถเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ปาล์ม, พ๊อกเก็ตพีซี เป็นต้น