เครื่องวัดความต้านทานเรียกว่า

หลักการของโอห์มมิเตอร์
การวัดความต้านทานเราสามารถทำได้โดยใช้วิธีการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานซึ่งไม่ทราบค่าและวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานแล้วเราก็จะสามารถหาความต้านทานได้

ชนิดของโอห์มมิเตอร์แบ่งออกเป็น2ประเภทคือ
1.โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ
2.โอห์มมิเตอร์แบบขนาน

โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ จะประกอบด้วยเครื่องวัดชนิดขดลวดเลื่อนที่ต่ออันดับกับตัวความต้านทานและตัวแบตเตอร์รี่ ในวงจรโอห์มมิเตอร์จะมีค่าความต้านทานจะใช้ในการปรับค่าศูนย์ของโอห์มมิเตอร์ ก็คือ การต่อสายตัวนำให้ลัดวงจร ผลของการปรับค่าศูนย์จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรมีค่าสูงสุด ซึ่งสามารถปรับค่าความต้านทานจนกระทั่งเข็มมิเตอร์ชี้ค่ากระแสสูงสุดของสเกลก็คือตำแหน่ง “ศูนย์โอห์ม”บนสเกลการปรับค่าศูนย์จะต้องมีการกระทำทุกครั้ง เมื่อจะใช้วัดค่าความต้านทาน เพื่อค่าที่จะได้จากการวัดที่ถูกต้อง

โอห์มมิเตอร์แบบขนาน เป็นวงจรที่ประกอบแบตเตอร์รี่ต่ออันดับกับความต้านทานปรับค่าได้ และขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์

ปิดความเห็นบน โอห์มมิเตอร์

เครื่องมือ เครื่องมือ, เครื่องมือวัด, เครื่องมือวัดไฟฟ้า, แอมป์มิเตอร์ tungelectronic 5:26 am

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าซึ่งดัดแปลงจากการนำความต้านทานที่มีค่าน้อยๆ มาต่อขนานเพื่อแบ่งกระแสไม่ให้ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มากเกินไปจนทำให้แกลแวนอมิเตอร์พังได้

เมื่อเราต้องการวัดกระแสที่มีค่ามากทำได้ดังนี้
1.นำความต้านทานต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์
2.ความต้านทานต้องมีค่าน้อยๆ เพื่อให้กระแสมีความต้านทานมากๆ เพื่อช่วยลดกระแสที่จะไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์

คุณสมบัติของแอมมิเตอร์ที่ดี
1.มีความแม่นยำสูงซึ่งเกิดจากความต้านทานน้อยๆมาต่อเพื่อว่าเมื่อนำแอมมิเตอร์ไปต่ออนุกรมในวงจรแล้วจะไม่ทำให้ความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลงทำให้กระแสที่วัดได้มีความแม่นยำสูงหรือมีความผิดพลาดจากการวัดน้อย
2.มีความไวสูงเมื่อความต้านทานมีค่าน้อยกระแสที่ไหลผ่านจะมีค่ามากทำให้กระแสที่ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มีค่าน้อยนั่นคือแอมมิเตอร์ที่ดีจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสน้อยได้กล่าวคือถึงแม้วงจรจะมีกระแสไหลน้อยแอมมิเตอร์ก็สามารถวัดค่าได้

ปิดความเห็นบน แอมป์มิเตอร์

เครื่องมือ เครื่องมือ, เครื่องมือวัด, เครื่องมือวัดไฟฟ้า, แอมป์มิเตอร์, โวลต์มิเตอร์, โอห์มมิเตอร์tungelectronic 6:00 am

มัลติมิเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น มัลติมิเตอร์เป็นการรวมโวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และ โอห์มมิเตอร์ ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเมนต์ตัวเดียว จึงเรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter) นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนำไปวัดค่าอื่น ๆ ได้อีก เช่น วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ วัดค่าความดัง ฯลฯ ปัจจุบันมัลติมิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบเข็มชี้ แบบดิจิตอล

มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอลซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูกหรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอกจะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้นของสเกลด้วย

ส่วนประกอบภายนอกของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

1.สกรูปรับเข็มชี้ให้ตรงศูนย์
2.ย่านการวัดต่างๆ
3.ขั้วต่อขั้วบวก (+)ใช้ต่อสายวัดสีแดง
4.ขั้วต่อขั้วลบ (-)ใช้ต่อสายวัดสีดำ
5.ขั้วต่อเอาต์พุตเพื่อวัดความดัง
6.ปุ่มปรับ 0โอห์ม
7.สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด
8.เข็มชี้

ส่วนประกอบที่สำคัญของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

1. จอแสดงผล
2. สวิตซ์เปิด-ปิด
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
3.1 DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด
3.2 ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด
3.3 DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด
3.4 ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด
3.5 สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด
3.6 CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด
3.7 hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
3.8 สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V

ปิดความเห็นบน มัลติมิเตอร์

เครื่องมือ เครื่องมือวัด, โวลต์มิเตอร์ tungelectronic 1:58 am

เมื่อพิจารณาถ่านไฟฉายขนาด 1.5 โวลต์ หรือแบตเตอรี่รถยนต์ 12 โวลต์ หมายถึง ถ่านไฟฉายมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 12 โวลต์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่เซลล์ไฟฟ้าจ่ายให้กระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ตลอดวงจรไฟฟ้า การวัดความต่างศักย์ระหว่างจุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้า เรานิยมใช้เครื่องมือที่เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ โดยมีหน่วยวัด คือ โวลต์ เมื่อเราต้องการวัดแรงดันระหว่างจุด 2 จุดใดๆ ในวงจรไฟฟ้า เราสามารถทำได้ด้วยการนำโวลต์มิเตอร์ต่อคร่อมระหว่างจุด 2 จุดนั้นๆ เราเรียกการต่อลักษณะนี้ว่าการต่อแบบขนาน

การใช้โวลต์มิเตอร์ก็เช่นเดียวกับแอมมิเตอร์ ซึ่งมี 2 แบบคือ ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อต้องการใช้โวลต์มิเตอร์วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะต้องคำนึงถึงขั้วบวกและขั้วลบด้วย โดยต่อขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของวงจร และต่อขั้วลบของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้วลบของวงจร การที่กระแสไฟฟ้าไหลอันเนื่องมาจากความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ขั้วของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่ละชนิดก็จะไม่เท่ากัน เช่น ถ่านไฟฉายมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 12 โวลต์ ส่วนสายไฟภายในบ้านมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 220 โวลต์ทั้งนี้ถ้าความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่ามากขึ้นระดับพลังงานไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลและเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ปิดความเห็นบน การใช้งานโวลต์มิเตอร์

เครื่องมือ เครื่องมือวัดไฟฟ้า, เครื่องวัดไฟฟ้า, โวลต์มิเตอร์ tungelectronic 2:40 pm

โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดไฟฟ้า ที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุด 2จุด ในวงจรความต้านทานภายในของเครื่องโวลต์มิเตอร์มีค่าสูง วิธีใช ้ต้องต่อขนานกับวงจรเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้า ค่าที่วัดได้มีหน่วย โวลต์ (V) โวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมากจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทาน แบบอนุกรม กับแกลแวนอมิเตอร์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจรที่ต้องการวัด

โวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดแรงดันไฟฟ้า ระหว่างจุดสองจุด ในวงจร ความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือแอมมิเตอร์นั่นเอง เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือแหล่ง จ่ายแรงดันจะต้องมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหล ผ่าน เข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ก็ต้องมี แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามา นั่นเองกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กระแสไฟฟ้าไหลได้มากน้อยถ้า จ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้ามาน้อย กระแสไฟฟ้าไหลน้อย เข็มชี้บ่ายเบนไปน้อยถ้าจ่าย แรงดันไฟฟ้าเข้ามามาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก เข็มชี้บ่ายเบนไปมาก การวัด แรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์

โวลต์มิเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อวัดค่าความแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแรงดัน หรือวัดค่าแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม ระหว่างจุดสองจุดในวงจร การวัดแรงดันไฟฟ้าด้วย โวลต์มิเตอร์ เหมือนกับการวัดความดันของน้ำในท่อส่ง น้ำด้วยเกจ วัดความดัน โดยต้องต่อท่อเพิ่มจากท่อเดิมไปยังเกจวัดในทำนองเดียวกัน กับการวัดแรงดันไฟฟ้า ใน วงจร ต้องใช้โวลต์มิเตอร์ไปต่อขนานกับจุดวัดในตำแหน่งที่ต้องการวัด เสมอ

ที่มา :https://tungelectronic.wordpress.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/