เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

บทสัมภาษณ์ ดีๆ สาขาโลจิสติกส์ วิชาที่เค้าว่ากันว่ายังไง๊ยังไงก็ไม่ตกงาน...! สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ...

Posted by Logistics Clinic Thailand on Wednesday, April 23, 2014

บทความงาน > บทความนักศึกษาจบใหม่ > เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง

เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง

  • 30 October 2021

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก
เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

           การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้หลายบริษัทหันมาใส่ใจเรื่องของการสร้าง Customer Experience เกี่ยวกับความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้า เอกสาร อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ส่งผลให้สายอาชีพอย่างโลจิสติกส์เป็นสายอาชีพที่ฮอตฮิตจนหลายคนเริ่มหันมาสนใจและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมกันมากขึ้น ใครที่กำลังสนใจอยาก เรียนโลจิสติกส์ หรืออยากทำงานด้านนี้ วันนี้ JobsDB มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ  

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

           สาขาวิชาโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

 

           การเรียนโลจิสติกส์สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ ปวช. โดยหลักสูตรที่ ปวช.สาขาโลจิสติกส์จะได้เรียน ได้แก่

  • การประยุกต์การใช้หลักการบริหารและจัดการอาชีพ
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักการอาชีพที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวชาชีพโลจิสติกส์
  • หลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มพื้นฐานด้านโลจิสติกส์

 

           หากจบหลักสูตรข้างต้นจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์ และสามารถเลือกศึกษาต่อได้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต่อได้ในสาขาการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่

  • ปริญญาตรีธุรกิจพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์
  • ปริญญาตรีด้านโลจิสติกส์

           โดยสามารถปฏิบัติงานได้ในภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง โดยเน้นหนักด้านการจัดการด้านเอกสารในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบเข้า-ออก

           สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน อย่างพื้นฐานวิชาทั่วไปที่น้องปี 1 จะได้เรียนคือ ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

           ส่วนในปีต่อ ๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น หลังจากนั้นจะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4

 

           เรียนโลจิสติกส์ จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง งานที่ทำมีความสำคัญอย่างไร ?

           หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาพูดถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานกันบ้างดีกว่า โลจิสติกส์นั้นมีสายงานรองรับเยอะมาก โดยเฉพาะธุรกิจส่วนใหญ่ที่เป็นการนำเข้าส่งออก พอมีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายคนอาจติดภาพลักษณ์ว่า โลจิสติกส์ก็คือขนส่ง สายงานที่ทำคงมีแค่นั้น แต่จริงๆแล้วขนส่งเป็นเพียงหนึ่งในกิจกรรมของโลจิสติกส์เท่านั้น โดย 9 กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์จะมี 

  • บริการลูกค้าและสนับสนุนการจัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • การจัดการคลังสินค้า
  • ขนส่ง
  • การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า
  • การจัดซื้อจัดหา
  • การขนถ่ายวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ
  • โลจิสติกส์ย้อนกลับ

 

           เมื่อเห็นกิจกรรมทั้ง 9 ของโลจิสติกส์แล้วจะรู้ได้เลยว่า ทั้งหมดเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญที่บริษัทส่วนใหญ่พึงมี ดังนั้นคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานตั้งแต่ นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst  Material Planner นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ไปจนถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยเราสามารถแบ่งระดับและสายงานหลัก ๆ เป็น

  • ระดับปฏิบัติการ

           เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

 

  • ระดับบริหาร

           เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ 

 

  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

           เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

 

  • รับราชการ 

           รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

  • งานสายวิชาการ

           เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

 

           คนที่จะเรียนและทำงานในสายงานนี้ต้องมีคุณสมบัติอะไร เก่งอะไรบ้าง ?

           การทำงานในสาขาโลจิสติกส์ต้องใช้ทั้ง hard skills และ soft skills แต่ถ้าได้เรื่องภาษาด้วยจะได้เปรียบมากขึ้น เพราะจะเพิ่มโอกาสเติบโตในหน้าที่การทำงานได้มากเลยทีเดียว

  • Hard skills ที่ต้องใช้ คือ ความสามารถเฉพาะทางอย่าง ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ critical thinking การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การ monitor กระบวนการทำงาน การวางแผนการทำงาน ความสามารถในการเจรจาต่อรอง

           นอกจากนี้ต้องมีความรู้เฉพาะทางอย่างเช่น Production and processing (การผลิตและการดำเนินการ) Administration and management (งานธุรการและการจัดการ) customer and personal service, Mathematics (คณิตศาสตร์  เช่น สถิติ, แคลคูลัส และอัลจีบรา) และต้องผ่านการอบรบด้านเทคนิคต่างๆ ด้วย

  • Soft skills ที่ต้องใช้คือ การสื่อสารกับคนในทีม ทำงานร่วมกับคนอื่น ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล การเจรจาและการแก้ไขความขัดแย้ง การเป็นผู้นำ

 

           ความรู้ที่ต้องใช้

  • การจัดซื้อ การบริหารคลังสินค้า การบริหารการขนส่ง การบริหารความต้องการ การควบคุมปริมาณการขายและความต้องการ เรื่องการบริหารวัตถุดิบ การจัดการระบบ MRP ERP
  • การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
  • ภูมิประเทศ เส้นทาง แผนที่ การคำนวณต้นทุนขนส่ง ไอที
  • การจัดการ การบัญชี การตลาด การปกครอง
  • การวางแผนในด้านต่างๆ จิตวิทยา องค์กร ภาษาอังกฤษ บัญชีเบื้องต้น

 

ทักษะความสามารถที่ควรมีในสายงานนี้

  • เก่งในการประสานงานและติดตามงาน
  • กล้าตัดสินใจ
  • เก่งในการวางแผน
  • ซื่อสัตย์สุจริต
  • เก่งในการบริหารเวลา
  • ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
  • กระตือรือร้น
  • มีความรับผิดชอบสูง
  • เก่งในการบริหารคน
  • เก่งในการนำแผนมาปฏิบัติ

 

           หากใครที่กำลังสนใจ เรียนโลจิสติกส์ หรืออยากทำงานสายอาชีพสุดอินเทรด์นี้ JobsDB เชื่อว่าโลจิสติกส์จะเป็นตัวเลือกที่ดีในอนาคตแน่นอน เพราะนอกจากคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานแล้ว ยังเป็นสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากต้องรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการในยุคดิจิทัล หากใครเริ่มสนใจอยากจะทำงานสายนี้บ้าง สามารถเข้ามาดูตำแหน่งงานได้ที่ JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

Checklists สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อน เลือกเรียนสายอาชีพ  
เรียนต่อสายอาชีพ มีสาขาอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
เรียนสายอาชีพใครว่าหางานไม่ได้ มาดูสายงานสำหรับนักศึกษาสายอาชีวะ 2021

logistics

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

รวม 20 เหตุผลในการลาออก ควรบอกบริษัทอย่างไรดี

คนทำงานทุกคนมักอยากหาความก้าวหน้าให้กับสายอาชีพของตัวเองทั้งนั้น หรือบางคนวางแผนให้กับชีวิตตัวเองแล้วว่า เมื่อถึงช่วงเวล...

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

Data Scientist อาชีพใหม่มาแรงกับรายได้ระดับ 6 หลักต่อเดือน

ในโลกยุคดิจิทัล นอกจากที่จะนำพาความสะดวกสบายมาให้กับชีวิตเราแล้ว เทคโนโลยียังพาให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ หนึ่งในอาชีพเกิดใหม่สุ...

เหตุผล ที่ อยาก เข้า โล จิ สติ ก

10 วิธีสร้างความประทับใจให้ผู้สมัครงานตั้งแต่วันแรก

Gen Y และ Gen Z คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ รักอิสระ และให้คุณค่ากับสิ่งที่มีผลต่อจิตใจ ส่งผลให้พฤติกรรมการทำงานขอ...

ทำไมถึงอยากเข้าคณะโลจิสติกส์

นอกจากงานด้านโลจิสติกส์จะเป็นงานที่เรียนจบมาแล้วจะไม่ตกงานแล้ว งานทางด้านนี้ยังมี Career Path คือ ความก้าวหน้าในอาชีพอีกด้วย ซึ่งสามารถไต่เต้า เติบโตได้เรื่อยๆ ใครที่มีความรู้ความสามารถจริงๆก็สามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปได้เรื่อยๆ และผลตอบแทนของสายงานทางด้านนี้ก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน

โลจิสติกส์ คิดถึงอะไร

เมื่อพูดถึง โลจิสติกส์ มักจะนึกถึงการขนส่ง การไหลเวียนของสินค้า ซึ่งการขนส่งก็นับว่ามีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภท และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในซัพพลายเชนอีกด้วย องค์กรจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดการโลจิสติกส์ที่แม่นยำ เพราะโลจิสติกส์มีผลต่อธุรกิจโดยตรง ทั้งเรื่องของต้นทุนสินค้า ต้นทุนการขนส่ง และความพึงพอใจของลูกค้า ...

โลจิสติกส์คืออะไร จงอธิบายพอสังเขป

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงระบบการจัดส่งสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรใดก็ตามจากแต่ละสถานที่ไปยังจุดหมาย รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ โดยมีจุดประสงค์หลักคือการนำส่งของไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย

โลจิสติกส์ ต้องเก่งวิชาอะไร

3 เรียนโลจิสติกส์ ต้องเก่ง วิชาที่น้องๆ ต้องเตรียมฝึกฝนและความถนัดที่ต้องใช้ในการเรียนให้จบและทำงานได้ พื้นฐานคือ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ ส่วนวิชาเฉพาะสายอาชีพก็ต้องมีความรู้แนวคิดและหลักการด้านวิศวกรรมกับโลจิสติกส์