วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุนคือ

การบัญชีเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของกิจการอย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลรวบรวมความสำคัญของรายการที่ได้บันทึกอย่างเหมาะสม

หลักการบัญชีไม่ใช่กฎธรรมชาติแต่เป็นกฎแห่งการปฏิบัติ ไมใช่สิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติธรรมชาติซึ่งทำการค้นพบโดยมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นโดยมนุษย์หลักการบัญชีจึงมิใช่กฎตายตัว จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการที่ผันแปรไป วิธีการบัญชีมีทั้งด้านการประมวลข้อมูล และการประเมินผลข้อมูล

ความต้องการข้อมูลทางบัญชีมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป จึงก่อให้เกิดการจัดทำบัญชีเป็น 2 ประเภท คือ

1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) เป็นการบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานข้อมูลทางการเงิน และผลการดำเนินงานแก่บุคคลภายนอกกิจการ ได้แก่เจ้าหนี้ผู้ลงทุนหน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่สนใจอื่น ๆ

2. การบัญชีบริหาร (Management Accounting) เป็นการบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานแก่ฝ่ายบริหารภายในองค์กร



การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) เป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมข้อมูลต้นทุนการผลิต บันทึกข้อมูลและจัดทำงบการเงิน และนำเสนอข้อมูลจากการบัญชีต้นทุนให้ผู้บริหารได้ใช้ข้อมูลเพื่อการควบคุมต้นทุนการผลิต การตัดสินใจและวางแผนส่งผลให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นการบัญชีต้นทุนจึงมีลักษณะเป็นทั้งบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร

วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของธุรกิจทุกประเภท คือหวังผลกำไรในจำนวนที่มากที่สุด (Maximize Profit) ดังนั้นการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผู้บริหารจำเป็นต้องได้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องและทันเวลา เพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางแผน การควบคุม และการประเมินผลงาน

การบัญชีต้นทุนจึงทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. สะสมข้อมูลเพื่อทำงบการเงิน

2. ใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมและลดต้นทุน

3. ใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจวางแผนการดำเนินงาน


1. สะสมข้อมูลเพื่อทำงบการเงิน วัตถุประสงค์นี้ทำเพื่อรวบรวมข้อมูลต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการสำหรับงวดเวลาใดงวดเวลาหนึ่ง เพื่อคำนวณผลการดำเนินงานและแสดงฐานะทางการเงินของกิจการตลอดจนการกำหนดราคาขายของสินค้า2. ใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมและลดต้นทุน การควบคุมและลดต้นทุนเป็นวัตถุประสงค์ของการบัญชีต้น ทุน ผู้บริหารต้องรู้ว่าต้น ทุนเกิดขึ้นเมื่อใด เกิดขึ้นในแผนกใด หรือศูนย์ต้นทุนใด ลักษณะต้นทุนแต่ละประเภทเป็นอย่างไร เกิดขึ้นจริงมีจำนวนเท่าใด และต้นทุนที่เหมาะสมควรมีจำนวนเท่าใด จึงทำการควบคุมและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมต้นทุนต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาจากหน่วยบัญชีต้นทุน

3. การตัดสินใจและวางแผนดำเนินงาน การบัญชีต้นทุนเป็นแหล่งสะสมข้อมูลต้นทุนที่ผู้บริหารใช้เพื่อการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงาน นักบัญชีต้นทุนต้องทราบว่าผู้บริหารต้องตัดสินใจในเรื่องใดเพื่อนำเสนอข้อมูลต้นทุนที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ผู้บริหารจะตัดสินใจโดยถือหลักต้นทุนและรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นข้อมูลต้นทุนในอดีตและปัจจุบันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ

ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ หมายถึง ต้นทุนการผลิตทั้งหมดไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงหรือโดยอ้อม จะเกิดในแผนกการผลิตโดยตรงหรือได้รับการปันส่วนมาจากแผนกอื่นก็ตามต้นทุนการผลิตประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จถือเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ แสดงเป็นสินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะทางการเงินส่วนต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ในงวดบัญชีถือเป็นต้นทุนขาย แสดงเป็นต้นทุนงวดเวลาไว้ในงบกำไรขาดทุนพร้อมค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายอื่น

วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบัญชีต้นทุน คือการคำนวณต้นทุนขายและการแสดงสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบการเงินต่อไป ในส่วนของการบริหารจัดการสามารถจะนำข้อมูลทางด้านการบัญชีต้นทุนมาใช้ในการบริหารในเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้

1) การควบคุม (Control) ในการประเมินผลงานที่ปฏิบัติว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ฝ่ายจัดการต้องทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้ ซึ่งอาจกำหนดในรูปของงบประมาณหรือต้นทุนมาตรฐาน หากผลที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากงบประมาณหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ จะก่อให้เกิดผลต่างที่พอใจหรือไม่พอใจ ผลต่างดังกล่าวจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาตลอดจนเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจัดทำเป็นรายงานประกอบ

2) การวางแผนกำไรและตัดสินใจ (Profit Planning and Decision Making) ข้อมูลด้านต้นทุน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผนกำไรและตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนหรือการตัดสินใจระยะสั้นในกรณีต่างๆ ได้ เช่น การปิดโรงงานชั่วคราว การรับผลิตสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุนขาย การยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ที่ขาดทุน เป็นต้น

3) การเพิ่มประสิทธิภาพ (Maximize Efficiency) การเพิ่มประสิทธิภาพสามารถกระทำได้โดยการวัดผลการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานได้ โดยใช้วิธีการบัญชีตามความรับผิดชอบ (Responsibility Accounting) การบัญชีต้นทุนกิจกรรม (Activity-based Costing) การบริหารคุณภาพ (Total Quality Management) เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุนมีอะไรบ้าง

สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุนที่สำคัญคือ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตต้นทุนขายประจำงวด การตีราคาสินค้าคงเหลือ และใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการตัดสินใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการ ทำรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการบริหาร

ต้นทุน มีความสําคัญอย่างไร

ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิตสินค้า หรือบริการ หรือถ้าพูดกันแบบภาษาชาวบ้าน ต้นทุนคือ จำนวนเงินที่ได้จ่ายไปในการซื้อ สินค้า ข้าวของ วัตถุดิบ ต่างๆ นานาจิปาถะ เพื่อนำมาผลิตหรือขายสินค้าเพื่อให้ก่อให้เกิดรายได้คือยอดขายอีกที โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การทดสอบ การจัดเก็บ และการ ...

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี.
เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า.
เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้น ๆ มีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร.
เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ.

บัญชีต้นทุนหมายถึงอะไร และวัตถุประสงค์การบัญชีต้นทุนในด้านโลจิสติกส์

การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)หมายถึง วิธีการทางบัญชีที่ทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรมวัตถุประสงค์ จัดทํารายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์จําแนข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน ตาม ความต้องการของผู้บริหาร