The Psychology of Money หนังสือ

“Timeless lessons on Wealth , Greed , and happiness”

Show

โคตรคุ้มเวลาที่ได้อ่าน

รีวิว

  • หนังสือที่อยากจะบังคับทุกคนให้อ่านอีกเล่มนึง ร้อยเล่มเจอที เล่มดีๆแบบนี้
  • ใครพออ่านอิ้งได้ ซื้อโลดดด ศัพท์ไม่ยากขนาดนั้น 20 บท บทละประมาณสิบหน้า
  • เนื้อหาเบิกเนตร แนวคิดด้านการเงิน ที่ช่วยให้คุณ ตั้งความคาดหวัง รับรู้ความจริง และมีความสุขในโลกการเงินที่ดูเคร่งเครียด
  • เป็น 625 บาทที่คุ้มค่าเงินที่สุดเท่าที่เคยซื้อหนังสือมาละ เนื้อหาเปลี่ยนชีวิตได้จริง ทำความเข้าใจง่าย และทำตามได้ไม่ยากเลย

สปอย

  • โลกเรามีทั้ง อดีต CEO ที่จบจาก Harvard แล้วหมดตัวตอนสุดท้าย และ ภารโรงที่มีเงินเก็บกว่า 8 ล้านเหรียญ
  • ในเรื่องอื่นๆ เราไม่มีทางที่ ภารโรงจะไปผ่าตัดเก่งกว่าหมอ หรือ ออกแบบตึกได้ดีกว่า สถาปนิกเลย แต่เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นกับ การลงทุนได้

หนังสือเล่มนี้ ตั้งใจจะบอกพวกคุณว่า soft skill สำคัญกว่า technical skill ในการลงทุน

  • มีสองเรื่องที่ สำคัญสำหรับคุณ ไม่ว่าคุณจะสนใจมันหรือไม่ คือ “สุขภาพ และ เงิน
  • สุขภาพ ยิ่งรู้มากยิ่งได้เปรียบ แต่ การเงิน รู้เยอะ ก็ล้มละลายได้
  • การเงินจริงๆแล้วคุณจะเข้าใจมัน ผ่านเลนส์ของจิตวิทยาได้ดีกว่า เครื่องมือทางการเงิน

1. ไม่มีใครบ้า พวกเราแค่โตมาต่างกัน

สิ่งที่คุณเข้าใจ อาจจะเป็นแค่ 0.00000001% ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริง อย่าไปคิดว่านั่นคือ 80% ของทั้งหมด

  • อะไรที่ดูไร้สาระสำหรับคุณ อาจจะ make sense สำหรับคนอื่น
  • เพราะแต่ละคน เกิดมาคนละยุค ถูกเลี้ยงดูมาต่างกัน มีเงิน มีความลำบากต่างกัน โชคดีแตกต่างกัน มีความกลัวในใจต่างกัน บางคนกลัวตลาดหุ้นแตก บางคนกลัวเงินเฟ้อ ทุกคนมองโลกด้วย lens ที่แตกต่างกัน ใครไม่ได้เสียเงินตอนปี 2008 ก็ไม่เข้าใจหรอกว่ามันรู้สึกน่ากลัวแค่ไหน
  • ไม่มีทางที่จะไปคาดหวังให้ทุกคนคิดเหมือนมัน สิ่งนึงที่ดูคุ้มสำหรับเรา แต่ไร้สาระมาก สำหรับคนอื่น ( ลงทุนที่จะได้ กำไร 1000 เท่าในปีหน้า หรือ จะซื้อข้าวที่จะทำให้รอดชีวิตวันนี้ ??? เนี่ยย ถ้าคนรวย เลือกอันแรกแน่นอน แต่คนจนมันเลือกไม่ได้ขนาดนั้น)

ทุกๆ การตัดสินใจ make sense สำหรับเขาคนนั้น ณ ตอนที่ตัดสินใจ

  • เอาเข้าจริง คอนเซปของเงินมีมาตั้งหลายพันปีแล้ว แต่คอนเซปการ ออมและลงทุน เพิ่งมีได้ไม่นานนี้เอง ไม่แปลกใจที่ ผู้คนจะไม่ได้เชี่ยวชาญ

2. ถ่อมตัวเมื่อประสบความสำเร็จ และให้อภัยเมื่อล้มเหลว อย่าลืมว่าทุกอย่างมีโชคมาเกี่ยวข้อง

ไม่มีอะไรที่ดูดี หรือ ดูแย่ ขนาดนั้น

  • Luck & Risk เป็นพี่น้องที่มาคู่กันเสมอ และ แยกกันไม่ค่อยออกด้วย
  • Bill gates โชคดีที่เป็น เด็ก 1 ในล้านสมัยนั้นที่ได้เรียนโรงเรียนที่มีคอม จนสุดท้ายได้เป็น มหาเศรษฐี ในขณะเดียวกัน Kent Evans เพื่อนโรงเรียนเดียวกับเขา ก็เป็นเด็ก 1 ในล้าน ที่ปีนเขาแล้วเสียชีวิต
  • เวลาที่คนๆหนึ่ง ประสบความสำเร็จ จะมีโชคและความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การซื้อหุ้นแล้วมันขึ้นหรือลง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถทำซ้ำได้ตลอด
  • ปัญหาคือคนเรา พยายามเรียนรู้ว่าอะไรที่ work อะไรที่ doesn’t work เช่น ให้ทำตามคนนู้นนะ อย่าทำตามคนนั้น พยายามมองหา key success ของเขา จะได้ทำตามได้ ซึ่งของจริง แม้แต่ตัวเขาเองก็อาจจะทำซ้ำไม่ได้แล้ว

มันเหมือนกับการทอยเหรียญ ที่ต่อให้ทำทุกอย่างเหมือนกันเป๊ะ ก็ไม่ได้แปลว่าจะออก หัว เหมือนกัน

( ทักษะ อาจจะเพิ่ม % การสำเร็จ แต่ก็ล้มเหลวได้อยู่ดี และ ความล้มเหลว ไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีทักษะ )

  • ระวังการทำตามคนที่คุณชื่นชมพร้อมทำตาม และ ระวังการดูถูกคนที่ล้มเหลวและไม่อยากทำตาม
  • ไม่ใช่ทุกความสำเร็จที่เกิดจากการทำงานหนัก และไม่ใช่ทุกความล้มเหลวเกิดจากความขี้เกียจ อย่าตัดสินคนอื่น รวมถึงตัวเองด้วย

อย่าไปสนใจทำตามชีวิตคนคนนึงให้มาก แล้วไปเรียนรู้พวก Pattern กว้างๆดีกว่า

  • ยิ่งเป็น Extreme case เช่นพวก ประวัติ CEO ยิ่งมีโอกาสน้อย ที่เราจะเอามาประยุกต์ ใช้ในชีวิตเราจริงๆ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรับรู้ว่า โชคเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และ ความเสี่ยง หมายถึงเราควรให้อภัยตัวเอง และเข้าใจเมื่อมันล้มเหลว เพราะมันก็แค่เสี่ยงแล้วพลาด แต่เราเลือกทางที่ดีที่สุดแล้ว ต่อให้ทำถูกทุกอย่างกมีโอกาสล้มเหลวอยู่ดี

3. อย่า เขยิบ เป้าหมายทางการเงิน เมื่อสำเร็จแล้ว

เพราะมันอาจทำให้คุณเสียทุกอย่างที่เคยมีมา

  • มีคนที่รวยมากๆ มีทุกอย่างแบบที่เราพอจะนึกได้หมดแล้ว
  • แต่เขายังเสี่ยง เพื่อเงินที่ไม่ควรเป็นของเขาและเขาก็ไม่ได้จำเป็นต้องมี ด้วยทุกอย่างที่เขามีและจำเป็นต้องมี เช่น การที่คุณรวย $100M แล้วไปเสี่ยง insider trading ให้ได้เงินเพิ่มให้ครบ $1,000M แต่ดันถูกจับ ทุกอย่างพัง ติดคุก

ถ้าคุณรวยถึงจุดๆนั้น ผมอยากให้คุณจำเอาไว้ว่า

1. สกิลการเงินที่ยากที่สุด คือ ไม่ขยับเป้าหมาย เมื่อทำได้แล้ว เพราะ เงินที่เพิ่มขึ้น จะเติมเต็มความสุขคุณได้น้อยลง ไม่มีเหตุผลที่จะเสี่ยงทุกอย่างเพื่อ ความสุขเสี้ยวเดียว ไม่คุ้มกันเลย

2. การเทียบกับคนอื่นคือปัญหา ถ้าคุณทำเงินได้ปีละ $500,000 ไม่ว่าจะมองยังไงคุณก็รวย จนกระทั่งคุณเอาตัวเองไปเทียบกับ Elon musk ซึ่งเป็นเกมที่คุณไม่มีวันชนะ

3. การรู้จักพอ คือ จุดที่คุณจะไม่เสียใจในภายหลังแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

เรารวยได้ตั้งแต่ที่เรามีเงินมากกว่าที่เราคาดหวัง ไม่ต้องไปเทียบกับคนอื่น !!

Elon musk อาจจะจนอยู่ก็ได้ เพราะยังขาดตังทำตามฝันที่จะไปดาวอังคารอยู่เลย ทุกวันนี้อาจจะต้องลำบาก ตื่นไปทำงาน 16 ชั่วโมงต่อวัน 7วันต่อวีค ตกดึกต้องปั่นเหรียญหมาอีก

4. ถ้าอยากรวย ก็อยู่ในตลาดให้นานๆ เพราะเคล็ดลับคือ เวลา กับ เจ้าดอกเบี้ยที่น่ารัก

เงินราวๆ 98% ของ Warrant Buffett ได้มาหลังอายุ 65

  • วอเรน ไม่ใช่คนที่ทำกำไรได้สูงที่สุด ( เขาทำได้ 22% ต่อปีโดยเฉลี่ย เทียบกับ สถิติ 66% ของ James Simons )
  • แน่นอนว่า ทักษะของวอเรน คือการลงทุน แม้เขาจะไม่ได้เก่งที่สุด

แต่ความลับของเขาคือ เวลา ที่เขาเริ่มลงทุนตั้งแต่ 10 กว่าขวบ จนตอนนี้ 90+ แล้ว

  • พวกเราเข้าใจดีว่า 8+8+8+8+8+8+8+8+8 แต่พวกเรานึกไม่ค่อยออกว่า 8x8x8x8x8x8x8x8 ได้เท่าไหร่
  • เวลาจะทำให้ เรื่องโชคกับความเสี่ยง และการตัดสินใจโง่ๆของเราส่งผลน้อยลง ปล่อยให้เวลาทำงานนะ

5. วิธีรวย กับ วิธีรักษาความรวย ใช่สกิลคนละชุด

การลงทุนที่ดีไม่จำเป็นต้องตัดสินใจถูกตลอด แค่อย่าทำมันพัง และ อยู่รอดให้นานพอ

  • อยากรวยต้องกล้าเสี่ยง แต่จะรักษาเงินนั้นไว้คุณต้องทำตรงข้าม
  • การที่คุณรีบเกินไป จนเสี่ยงด้วยทุกสิ่งที่คุณมี แน่นอนว่ามันอาจจะทำให้คุณรวยขึ้น และอาจไม่เหลืออะไรเลยเช่นกัน
  • Warrent Buffet เป็นตัวอย่างที่ดีในการไม่รีบ แต่ละปีอาจจะไม่ได้เติบโตหวือหวา แต่ เมื่อรวมกัน 50 ปีแล้ว มันจะต่างกันฟ้ากับเหวเลย ปล่อยให้ดอกเบี้ยได้ทำงานของมันไป

คุณอาจจะเสี่ยงในช่วงแรก และเมื่อมันถึงจุดหนึ่ง มันจะไม่คุ้มเสี่ยงอีกต่อไปแล้ว

  • คีย์สำคัญคือการ อยู่รอดให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งนั่นสำคัญการกำไรมหาศาลระยะสั้น ที่อาจทำให้คุณไม่เหลืออะไรเลย
  • การวางแผนสำคัญ แต่ต้องมีแผนสำรอง เมื่อแผนแรกผิดพลาดด้วย อย่าคิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปแบบที่เราคิด ต้องเหลือที่ให้ error ด้วย

6. Tails event กำไรส่วนใหญ่ มาจากไม่กี่บริษัทหรอก

คุณสามารถลงทุนผิดพลาดครึ่งนึง แต่ก็ยังรวยอยู่ได้

  • เป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัทจะเจ๊ง และมันก็เกิดขึ้นบ่อยซะด้วย
  • ยากมากที่คุณจะเดาอนาคตได้ แต่คุณจะมีกำไรจากบางบริษัท ที่เยอะมากพอที่จะทำให้ภาพรวมคุณได้กำไร แม้จะเจ๊งไป 99% ของจำนวนบริษัทที่คุณลงทุน
  • VC รู้ว่า Start up จะล้มเหลว, และจากสถิติ บริษัทในตลาด ก็เจ๊งไม่ต่างกัน
  • เอาเข้าจริงพวกเรามันแต่ หาราคาเข้า ว่าเข้าตอนไหนดี ซึ่งมันส่งผลน้อยมาก ซึ่งถ้าคุณโชคดี ก็จะได้แต่บริษัทที่ทำแต่กำไร
  • ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงโชค ก็แนะนำให้ลงทุนกับ บริษัทจำนวนมาก แทนที่จะ all in เพราะ จากสถิติแล้ว การลงทุนบริษัท แนว index fund จะได้ผลตอบแทนที่มั่นคงกว่า และ ไม่จำเป็นต้องพึ่งโชคมากนัก แค่ต้องคอย
  • ปี 2018 แค่ 2 บริษัทจาก 500 บริษัทใน S&P500 ก็ contribute 15% แล้ว นั่นคือ Apple, Amazon

7. อิสรภาพทางการเงิน ไม่ใช่มีเงินเยอะๆ แต่คือการคุมชีวิตตัวเองได้

การได้ควบคุมเวลาของตัวเองคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เงินจ่ายได้

  • ความมั่งคือ การที่คุณตื่นมาแล้วได้ทำสิ่งที่อยากทำ ในตอนที่อยาก และนานเท่าที่ต้องการ

การได้ควมคุมเวลาชีวิตตัวเอง เป็นปัจจัยหลัก

ของความสุข ยิ่งกว่า เงิน บ้าน รถ ที่อยู่ การศึกษา ซะอีก

  • ต่อให้คุณได้ทำงานที่คุณรัก แต่คุณไม่ได้คุมจังหวะชีวิตตัวเอง ก็แย่พอๆ กับการทำงานที่คุณเกลียด
  • คนสมัยนี้ รวยกว่าคนสมัยก่อน อย่างชัดเจน แต่ไม่ได้มีความสุขมากขึ้น… เพราะเมื่อก่อน ทำงานจบ กลับบ้าน แต่ตอนนี้ เหมือนงานตามเราไปตลอดเวลา ประหนึ่งทำงาน 24 ชั่วโมง

8. Man in the car paradox

ไม่มีใครสนใจสมบัติของคุณ เท่ากับคุณอีกแล้ว

  • เวลาเราขับรถหรู คุณคิดว่าคนจะสนใจเรา แต่ ป่าว เขาสนใจรถคุณ
  • พวกเขาคิดถึงตัวเอง ถ้าไปอยู่รถ คงจะเท่ น่าดู และ ไม่ได้สนใจคุณด้วยซ้ำ
  • ถ้าคุณต้องการ ความเคารพ หรือ การชื่นชมจากคนอื่น ด้วยการมีของแพงๆ ลืมมันไปเถอะ มันไม่ได้เป็นแบบนั้น
  • ความถ่อมตัว ความใจดี และ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น ทำให้คุณได้ความรักและเคารพมากกว่าเยอะ

9. ความมั่งคั่งคือสิ่งที่มองไม่เห็น

ใช้เงินโชว์ให้คนอื่นเห็นว่าคุณรวย คือวิธีที่เร็วที่สุดในการจนลง

  • Wealth คือ อิสระและความยืดหยุ่นในการใช้เงิน “ที่คุณยังไม่ได้ใช้..”
  • รถ บ้าน เครื่องประดับ คือการเอา เงิน ไปแลกเป็นสิ่งของ ที่ทำให้คุณ สูญเสียอิสระในการใช้เงิน ก้อนนั้น
  • เวลาคนบอกอยากเป็น millionaire ส่วนใหญ่หมายถึงการได้ใช้เงินล้าน ไม่ใช่มีเงินล้าน
  • แต่แน่นอนว่า คนที่ผ่อนเฟอรารี่ได้ เขาต้องรวย มีรายได้เยอะ แต่ไม่ได้ แปลว่ามั่งคั่ง เพราะอาจจะใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับรถแล้ว

10. Less ego, More wealth การออมเงิน คือวิธีรวยที่ง่ายที่สุด

มีแค่สิ่งที่คุณคุมได้เท่านั้นแหล่ะ ทีต้องสนใจ

  • รายรับ ลบ รายจ่าย เท่ากับ เงินเก็บ จริงๆ ถ้าจะรวย ก็แค่ จ่ายให้น้อยกว่าใช้
  • การสร้างความมั่งคั่ง แทบไม่ต้องยุ่งกับ การสร้างรายได้เพิ่มเลย เพราะมันยากกว่า การเก็บเงินมาก
  • หลายคนทำงานหนักขึ้นหลายสิบชั่วโมง เพื่อรายได้เพิ่มขึ้นนิดหน่อย ทั้งที่จริงๆแล้ว ประหยัดเอา ง่ายกว่ามาก และ ทำให้ความสุขโดยรวยมากกว่าด้วย

รายรับ เราคุมได้ยาก แต่ รายจ่าย เราคุมได้มากกว่า

  • ต่อให้คุณรายได้มากกว่า ทำกำไรในตลาดได้ดีกว่า แต่คุณรายจ่ายมากจน เงินเหลือน้อยกว่า ก็จบ
  • การทำกำไร 10% ในตลาด แทนที่จะเป็น 8% ยากกว่าหลายเท่า อาจจะต้องอดนอนเพื่อให้ได้มา ซึ่งอาจจะได้เงินส่วนต่าง แค่นิดเดียว
  • เรียนรู้ที่จะมีความสุข ด้วยการใช้เงินน้อยลง จะทำให้คุณมีภาระต้องหาเงินน้อยลงมาก ถ่อมตัวบ้างไรบ้าง ไม่ต้องอวด แล้วไปอดนอนเพื่อหาตัง ไม่ต้องไปแคร์สายตาคนอื่นเยอะ และเอาเข้าจริง พวกเขาก็ไม่ได้สนใจคุณขนาดนั้น ทุกคนสนใจแต่เรื่องของตัวเอง

11. แค่สมเหตุสมผลก็พอแล้ว ไม่ต้องมีเหตุผลตลอด

พวกเราไม่ใช้ Excel ไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้

  • กลยุทธ์การลงทุน ที่แนะนำเลยคือการ “minimizing future regret” อย่าให้ตัวเราในอนาคตเสียใจ
  • คือรู้ว่า เอาเงินที่จะโป๊ะบ้าน ไปลงทุน จะได้กำไรดีกว่า แต่ โป๊ะบ้านหมดแล้วมันสบายใจ หรือ บางแผนการลงทุน มันดีต่อการเงิน แต่ไม่ดีต่อใจ การทนเห็นเงิน ขึ้นแรงลงแรง ก็ทำให้ใจสั่นเกิ๊น
  • “do what you love” เหมือนจะเป็นกลยุทธการลงทุนที่ดีกว่าที่คิด ต่อให้ราคามันลง เราก็ยังรู้ว่า เราลงในบริษัทที่เรารัก ลองนึกภาพว่า หุ้นลง แล้วยังเป็นบริษัทที่เราเกลียดอีก นี่ภาระทางใจ สองเท่าเลยนะ จงลงทุนในสิ่งที่มีความหมายสำหรับคุณ เพื่อป้องกันการถอดใจแล้วเทขาย
  • การฝืน maximize profit อาจจะได้เงินเยอะสุดจริง แต่ต้องแลกมากับอะไรหล่ะ ทั้งๆที่ ทำ 90% แต่ใช้พลังงานแค่ครึ่งเดียวได้
  • ถึงแม้ว่า เราจะรู้ว่า การ Forecast future เป็นอะไรที่เสียเวลา และ มักจะผิดพลาด แต่เราก็สบายใจที่ได้รู้บ้าง ดีกว่าไม่รู้เลย
  • ลุงทุนแบบที่เราหลับสบาย ดีกว่ามาวิตกว่าจะเงินหายดีกว่านะ ไม่ต้องเค้น highest return หรอก

12. Surprise!

ชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่องที่เราคาดไม่ถึง ทั้งด้านดีและไม่ดี

  • มีแค่ไม่กี่อย่างในชีวิตที่ไม่เปลี่ยแปลง ส่วนใหญ่แล้วจะเปลี่ยนแปลงตลอด

ประสบการณ์จะนำไปสู่การมั่นใจเกินเหตุ

  • สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ได้แปลว่าจะไม่มี
  • อย่ามั่นใจมากเกินไป แม่ว่า จะมั่นใจ 99.99999% แต่ก็ยังไม่ใช่ 100% อยู่ดี
  • ศตวรรษที่ 19 และ 20 มีคนเกิดขึ้นมา 15,000 ล้านคน ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้สำคัญเลย เมื่อเทียบกับ ฮิตเลอร์ เหมาเจ๋อตุง เอดิสัน บิลเกต ลูเธอร์คิง ที่ แค่ไม่กี่คนแต่ก็สร้าง impact ไว้ใหญ่มาก
  • โลกเราขับเคลื่อด้วย Outlier พวกนี้แหล่ะ
  • คนทั่วไป มักจะเตรียมรับมือกับเรื่องที่แย่ที่สุด ที่อดีต เคยเกิดขึ้น ซึ่งในความเป็นจริง อาจจะมีที่แย่กว่า แต่ยังไม่เกิดก็ได้

ต้องยอมรับก่อนว่า เราไม่รู้หรอกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต

  • ชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่อง เซอร์ไพรซ์ ฉะนั้น เก็บเงินไปรับมือด้วย

13. Room for Error

ส่วนสำคัญที่สุดในแผน คือแผนเมื่อมันไม่เป็นไปตามแผน

  • ไม่มีอะไรเป๊ะ เผื่อๆไว้ด้วย
  • เราต้องมั่นใจว่า เราจะมีเงินพอที่จะอยู่รอด จนมองข้าม ความไม่แน่นอน ตรงส่วนนั้นได้
  • การ Forecast ทั้งหลายอย่ามองเป็น Price targets เพราะมันไม่มีทางเป๊ะ มองเป็น Price range ดีกว่า จะได้เห็นว่า จุดต่ำสุด คือจุดที่เรารอด หรือ ไม่รอด
  • ปกติเราจะ แพลนรับมือ กับทุกสิ่งที่เราคิด แต่มันมักจะมีสิ่งที่เราคิดไม่ถึงมาทำมันพังเสมอ
  • อะไรที่พังได้ จะพัง แค่รอเวลา, อย่าเอาชีวิต ไปผูกกับ single point of failure

14. คุณจะเปลี่ยนไป

เป้าหมายระยะยาวเป็นเรื่องยาก เพราะคนเราต้องการไม่เหมือนเดิมในแต่ละช่วงเวลา

  • คุณไม่รู้หรอก ว่าอนาคตคุณอยากได้อะไร และ คุณห่วยมากในการทำนาย

1. พยายามหลีกเลี่ยง Extreme case ไม่ว่าจะเป็นการมีความสุขโดยการไม่มีเงิน หรือ การทำงานแบบบ้าคลั่ง เพื่อมีเงินเยอะๆ

ตั้งเป้าหมาย กลางๆ เอาไว้ เอาแบบที่เราจะไม่เสียใจในภายหลัง หาเงินได้กลางๆ มีเวลาบ้าง ใช้เวลาเดินทางไปทำงานกลางๆ มีเวลาให้ครอบครัวบ้าง

2. ยอมรับความจริงๆ เมื่อเราเปลี่ยนใจ ไม่ต้องยึดติดกับ แผนที่เราวางไว้ตอน อายุ 18 คุณอาจจะไม่ได้อยากทำงานอาชีพที่เรียนมาตอนมหาลัยแล้วก็ได้ อย่าไปมองมันเป็นต้นทุนจม ให้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ณ ตอนนั้น และ หลังจากนั้น

  • ดอกเบี้ย จะทำงานได้ดีสุดเมื่อเราวางแผนระยะยาว เรื่องนี้เป็นจริงทั้งเรื่องเงิน และความสัมพันธ์ อยู่กลางๆไว้ให้ได้นานๆ จะได้ผลดีกว่า เหวี่ยงสุดทาง กลับไปมา

15. ไม่มีอะไรฟรี ระบุต้นทุนความสำเร็จ แล้วเตรียมตัวจ่าย ก่อนด้วย

ทุกอย่างมีราคา แต่ไม่ใช่ทุกราคาจะอยู๋บนป้าย

  • ตลาดหุ้นโต 119 เท่า ใน 50 ปี เหมือนจะชิล แค่ถือไว้แล้วรอ แต่จริงๆมันมีราคาเป็น ความกลัว ความผันผวน ความสงสัย ความไม่แน่นอน และความเสียใจ ก่อนที่จะได้กำไรงามๆมา
  • ราคาของความสำเร็จในการลงทุนคือ การที่มันไม่มาทันทีและไม่ชัดเจน
  • ให้มองความผันผวน เป็นค่าตั๋วเข้าสวนสนุก อย่ามองเป็นค่าปรับ
  • จะได้เข้าใจว่าเราจ่ายไปเพื่ออะไร เราจะได้ยอมรับความผันผวนได้ง่ายขึ้น และไม่หลงกลคนที่ การันตีผลตอบแทนสูงๆ และ ได้แน่ๆ

16. เรากับเขา เล่นคนละเกมหรือเปล่า คุณเล่นเกมไหนอยู่

ระวังคำแนะนำจากคนที่เล่นคนละเกม

  • จากบทแรกที่เราบอกว่าไม่มีใครบ้า เพราะพวกเขามองจากคนละเลนส์กัน ความคุ้มไม่เท่ากัน เป้าหมายต่างกัน
  • ทำให้ราคาที่คนมองว่าคุ้มนั้นต่างกัน บางคนเป็น day trade บางคนกะถือยาวเกิน 30 ปี
  • เวลานักข่าวบอก หุ้นนี้ดีน่าซื้อ จงถามตัวเองว่า เขาบอกใคร คนแบบไหนควรซื้อ

17. ข่าวร้ายดูน่าสนใจกว่า คนพูดดูฉลาดกว่า

ข่าวดีเหมือนเรื่องหลอกลวงขายฝัน แต่ข่าวร้ายเหมือนเขาพยายามเตือนเรา

  • ถ้ามีคนมาบอกผมว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะขึ้นร้อยเท่าในสิบปี ผมคงไม่ให้ความสำคัญมากนัก แต่ถ้าคนเดิมมาบอกผมว่า หุ้นที่ผมถืออยู่ กำลังจะร่วงเพราะข่าวผู้บริหารโกง ผมคงเคลียทุกตารางมานั่งฟังเขา
  • คนที่วิเคราะห์ตลาดขาลง เลยดูฉลาดกว่าเยอะ
  • ข่าวดี ค่อยๆขึ้น เล่ายาก คนลืมจุดเริ่มต้น แต่ ตลาดแตกนี่ แค่แว้บเดียว
  • กฎเหล็กของตลาดคือ อะไรที่ดีมากๆ หรือ แย่มากๆ มักอยู่ไม่นาน

18. คุณจะเชื่อว่าคุณเข้าใจแล้ว แม้ว่าคุณจะไม่เข้าใจมันเลย

เรื่องเล่าทรงพลังกว่าสถิติ แต่เรื่องเล่าไม่จำเป็นต้องจริงเสมอไป

  • อะไรที่คุณอยากจะเชื่อว่ามันเป็นจริง มันก็จะเป็นจริงสำหรับคุณ จนกระทั่งมันไม่จริง เช่น เชื่อว่าวันสิ้นสุดสงครามโลก คือวันที่มีความสุขสุดๆ เพราะมันแปลว่าจะไม่มีสงครามอีกต่อไป จนกระทั่ง WWII
  • เมื่อคุณไม่มีเงิน แล้วลูกคุณป่วย บอกเลยว่า อะไรก็ได้ คุณจะเชื่อไปหมด ทุกวิธีที่ทำให้ลูกคุณหาย ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่น่ากลัวมาก เพราะคุณจะเปิดใจรับเรื่องไร้สาระมากเกิดไป และสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณสิ้นหวังในตลาดหุ้นเช่นกัน
  • ทุกคนไม่ได้รู้ทุกอย่างบนโลก แต่ทุกคนเข้าใจ และสมองได้เติมเต็มสิ่งที่เขาไม่รู้ ให้มันดู make sense เรียบร้อย เช่นเดียวกับ เด็ก สองขวบที่ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วพ่อไปทำงานคืออะไรกันแน่ แต่เธอก็เข้าใจในแบบของเธอเรียบร้อย
  • ซึ่งการแต่งเรื่องเติมเต็มความเข้าใจของตัวเอง เกิดขึ้นกับทุกวัย ไม่ใช่แค่เด็ก

มนุษย์เราต้องการเหตุผล สมองก็เลยเติมให้ แม้จะผิดก็ตาม

ซึ่งมันอันตรายมาก ถ้าคุณตัดสินใจ ด้วยความเข้าใจผิด โดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้เข้าใจอะไรเลย