ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์เย็น

ถวายข้าวพระพุทธ — ประธานถวายพระพุทธโดยวางภัตตาหารบนโต๊ะหรือผ้าขาวด้านหน้าโต๊ะหมู่ฯ วางให้สูงกว่าอาสนะพระสงฆ์

อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมะ

ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ — ฆราวาสช่วยกันประเคน

เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วให้นำ จตุปัจจัย ดอกไม้ ธูป เทียน และหรือสังฆทานมาวางรอไว้ที่หน้าพระสงฆ์ทุกรูป ดอกไม้วางขนานปลายดอกไม้ชี้ไปทางด้านขวามือของพระสงฆ์
และเจ้าภาพเข้ามาที่ต่อหน้าพระเพื่อยกถวาย หลังจากที่กล่าวคำถวายสังฆทานแล้ว

ลาข้าวพระพุทธ — ประธานฝ่ายฆราวาสและผู้นำสวดกล่าว

เสสัง มังคะลา ยาจามะ

ถวายสังฆทาน — ผู้นำสวดกล่าว

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิมานิ มะยัง ภันเต   ภัตตานิ สะปะริวารานิ   ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ   ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระสงฆ์สงฆ์  ขอพระสงฆ์สงฆ์โปรดรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์เย็น
ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์เย็น

          การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นหนึ่งในกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่เราคนไทยคุ้นชินกันมากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจมีบางคนที่ไม่เคยเป็นเจ้าภาพในงาน ทำให้ไม่รู้ว่าขั้นตอนในพิธีมีอะไรบ้าง และควรเตรียมความพร้อมอย่างไร เนื่องจากพิธีนี้มีขั้นตอนละเอียด สามารถทำได้ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล รวมทั้งสามารถเลือกได้ว่าจะจัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระแบบนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็น หรือที่เรียกกันว่า สวดมนต์เย็น และในวันรุ่งขึ้นก็ถวายภัตตาหารที่เรียกว่าเลี้ยงพระเช้า หรือถ้าทำในเวลาเพลก็เรียกว่า เลี้ยงพระเพล ซึ่งใครที่มีเวลาน้อยก็สามารถทำพิธีพร้อมกันในวันเดียวได้ในตอนเช้าหรือตอนเพล โดยหรีด ณ วัด ได้รวบรวมขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธีดังต่อไปนี้

1. กำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระ 2. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ 3. เตรียมสถานที่ละอุปกรณ์ 4. เตรียมเครื่องรองรับพระสงฆ์ 5. ถวายภัตตาหารเช้า หรือ ถวายเพล 6. ถวายสังฆทาน 7. กรวดน้ำ

ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์เย็น
ขั้นตอนการเจริญพระพุทธมนต์เย็น


สั่งพวงหรีด ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่งฟรี! ถึงศาลา


กำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระ

คนส่วนใหญ่มักเลือกทำบุญโดยกำหนดวันจากฤกษ์ดีหรือฤกษ์สะดวก และหากเจ้าภาพเลือกวันฤกษ์ดีต้องเตรียมความพร้อมด้วยการขอนิมนต์พระล่วงหน้า ไม่อย่างนั้นพระสงฆ์อาจติดกิจนิมนต์งานอื่นทำให้ไม่สามารถมางานของเราได้  

อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

ปกติแล้วการนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญเลี้ยงพระจะนิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคี่ เช่น 5, 7 หรือ 9 โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ว่าไม่ต่ำกว่า 5 รูป แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนข้างมาก ยกเว้นในงานแต่งที่นิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคู่ เนื่องจากแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระมาในจำนวนที่เท่ากันนั่นเอง และในการนิมนต์พระต้องแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นพิธีอะไร แจ้งสถานที่จัดงาน จำนวนพระสงฆ์ที่ต้องการนิมนต์ และวิธีการเดินทางว่าจะให้พระสงฆ์เดินทางมาเองหรือมีรถรับ-ส่ง  

เตรียมสถานที่และอุปกรณ์

เนื่องจากพิธีทำบุญเลี้ยงพระเป็นพิธีมงคลจึงควรเตรียมสถานที่ให้สะอาด เรียบร้อย กำหนดมุมที่วางโต๊ะหมู่บูชา โดยต้องเป็นมุมที่ไม่มีอะไรแขวนอยู่เหนือศีรษะของพระสงฆ์ และต้องหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ ยกเว้นถ้าพระสงฆ์นั่งต้องให้มีพระพุทธรูปอยู่ทางฝั่งซ้ายมือ และหันหน้าไปทางทิศเหนือ  

เตรียมเครื่องรองรับพระสงฆ์

ตามประเพณีที่ทำสืบต่อกันมา เครื่องรองรับพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะเป็นหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน และหากเจ้าภาพต้องการให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ก็ต้องเตรียมภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ไว้ด้วย โดยจะต้องวางไว้ทางขวามือของพระรูปนั้น ๆ และประเคนตั้งแต่ข้างในออกมาข้างออก  

ถวายภัตตาหารเช้า หรือ ถวายเพล

หากทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน และเจ้าภาพที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็นจะมีการถวายภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น โดยจะจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับเย็นวาน ซึ่งพระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง หรือถ้าถวายเพลก็ทำในกรณีเดียวกัน  

ถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน หรือเครื่องไทยธรรมจะทำหลังพระฉันเสร็จ ซึ่งของที่ถวายส่วนใหญ่มักจะเป็นของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน  

กรวดน้ำ

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนิมนต์พระกลับวัดคือการกรวดน้ำ โดยจะทำหลังการถวายสังฆทานเสร็จ โดยเริ่มกรวดน้ำหลังจากที่พระสงฆ์อนุโมทนา ก่อนจบบทยถา… เมื่อพระบท สพฺพีติโย… ให้พนมมือรับพรเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นจึงนิมนต์พระกลับ เป็นอันเสร็จพิธีการทำบุญเลี้ยงพระทั้งหมด   ขอบคุณที่มาจาก http://www.dhammathai.org/ , https://www.baanthumboon.com/ , http://www.buddhismth.com/