เทศบัญญัติที่เทศบาลออกได้แก่

ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามกฎหมายอื่น ดังต่อไปนี้

๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

(๑) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๕๐ (๒)
(๒) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๔))
(๓) การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕))
(๔) การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖ (๒๘))
(๕) การผังเมือง (มาตรา ๑๖ (๒๕))
(๖) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (มาตรา ๕๑ (๑))
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๕๑ (๗))
(๘) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา ๑๖ (๒๖))
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (มาตรา ๑๖(๓) (มาตรา ๕๑ (๓))

๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙) (มาตรา ๕๐ (๖) )
(๒) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา ๑๖ (๑๔))
(๓) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)(มาตรา ๕๐ (๔))
(๔) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา๑๖)
(๕) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฆาตปนสถาน (มาตรา๑๖(๒๐) (มาตรา๕๑ (๔))
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา ๕๑ (๖))
(๗) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๑))
(๘) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๒))

๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา ๕๐ (๑))
(๒) การรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๒๓))
(๓) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา๑๖ (๑๒))
(๔) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗))
(๕) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓๐))
(๖) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๑๖ (๒๙))

๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิจของราษฎร (มาตรา ๕๑ (๕))
(๒) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖))
(๓) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗) มาตรา ๕๑ (๙))
(๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา ๑๖ (๘))
(๕) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา ๑๖ (๑))

๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๑๔))
(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖ (๑๓))
(๓) การดูแลที่สาธารณะ (มาตรา ๑๖ (๒๗))
(๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา ๑๖ (๑๘) มาตรา ๕๐ (๓))

๖. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนะธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑๑) มาตรา ๕๐ (๘))

๗. ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

 Department for Communities and Local Government, "Local government legislation: Byelaws,", September 18, 2012, accessed July 25, 2016, https://www.gov.uk/guidance/local-government-legislation-byelaws.

กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 2

  • 20 November 2012
  • กฎหมายน่ารู้

การจัดทำกฎหมายท้องถิ่น  กฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง โดยออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นตนเองได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูป ซึ่งสามารถออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นของตนเองได้ คือ

1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ

2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ

3. ข้อบังคับสุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่คณะกรรมการสุขาภิบาล จัดทำขึ้นใช้ในเขตสุขาภิบาลนั้น ๆ

4. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตตำบลนั้น ๆ

5. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร

6. ข้อบังคับเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยาจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเมืองพัทยา

 

ตารางการจัดทำกฎหมายท้องถิ่น

ชื่อกฎหมาย

ผู้เสนอร่าง

ผู้พิจารณา

ผู้อนุมัติ

การประกาศใช้

เทศบัญญัติ

คณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาล

สภาเทศบาล

ผู้ว่าราชการจังหวัด บางกรณี รมว. มหาดไทย

สำนักงานเทศบาล 7วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบัญญัติจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ สมาชิสภาจังหวัด

สภาจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด บางกรณี รมว. มหาดไทย

ศาลากลางจังหวัด 15 วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบังคับสุขาภิบาล

กรรมการสุขาภิบาล

คณะกรรมการสุขาภิบาล

ผู้ว่าราชการจังหวัด

สำนักงานสุขาภิบาล 7 วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบังคับตำบล

คณะกรรมการบริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

สภาองค์การบริหารส่วนตำบล

นายอำเภอ

ที่ว่าการอำเภอ

ข้อบัญญัติกรุงเทพ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกกรุงเทพ

สภากรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ราชกิจจานุเบกษา

ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

ปลัดเมืองพัทยาหรือสมาชิกสภาเมืองพัทยา

สภาเมืองพัทยา

ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

ศาลาว่าการเมืองพัทยาปกติ ประกาศ 3 วัน

 

การบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายที่ผ่านกระบวนการจัดทำและประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับใช้ได้ การบังคับข้อกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ และบุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ 

วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย จะมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น โดยทั่วไปในกฎหมายนั้นจะระบุวัน เวลา ที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันกับวันที่ประกาศใช้กฎหมายก็ได้ แต่ถ้าในกฎหมายนั้นไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มบังคับใช้ไว้ ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” เว้นแต่บางกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องบังคับใช้ย้อนหลัง ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายนั้นว่า ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับเฉพาะในอาณาเขตของรัฐนั้นหรือประเทศนั้นโดยตลอดทั่วทั้งรัฐหรือประเทศ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นบางกรณีเกี่ยวกับอาณาเขตกฎหมายไทยใช้บังคับคือ

– กรณียกเว้นบังคับใช้ออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เช่น ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เช่น ปลอมเงินตรา หรือความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ฯลฯ เป็นต้น

– กรณียกเว้นไม่บังคับใช้ตลอดทั่วราชอาณาจักร อาจจะเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ศาสนาประเพณี วัฒนธรรม เล่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีภูมิลำเนาในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าว เป็นต้น 

บุคคลที่กฎหมายบังคับ โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นหรือประเทศนั้น กฎหมายไทยจึงมีผลใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนสัญชาติใด เชื้อชาติใด ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายบางประเทศ ที่จะไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคน ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1. พระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้

อบตออกกฎหมายอะไร

1. พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม 2. พรบ.ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542. 3. พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542.

กฎหมายที่ออกโดยเทศบาลเรียกว่าอะไร

1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ 2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ 3. ข้อบังคับสุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่คณะกรรมการสุขาภิบาล จัดทำขึ้นใช้ในเขตสุขาภิบาลนั้น ๆ

กฎหมายเทศบัญญัติคืออะไร

เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อ ตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้

ข้อบัญญัติอบจเป็นกฎหมายที่ใช้กับอะไร

มาตรา ๕๖ ข้อบัญญัติให้ใช้บังคับได้ในเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัดนั้น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีข้อบัญญัติที่ประกาศใช้บังคับแล้วไว้ ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรมการปกครอง เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้