การ วัด ค่า ทาน ซิ เตอร์ ว่า เสีย หรือ ดี

ตั้งมิเตอร์ที่ x 10K แล้วปรับซีโร่ให้ได้ เป็น0 นำสายดำของมิเตอร์ (ไฟบวก) ไปจับขาอื่น ที่ไม่ใช่ขาเหลือที่ไม่ใช่ขา B 
เข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น นำนิวมือทริกขาที่มีสายดำจับอยู่กับขา B เข็มมิเตอร์
ขึ้นมาก ( โฮห์มต่ำ มาก10- 30 Kโอม ) แสดงว่าขาทรานซิสเตอร์ที่มีสายดำของมิเตอร์จับอยู่เป็นขา C
การหาขา E ตั้งมิเตอร์  X 10K นำสายดำของซิเตอร์ ( ไฟบวก )
ไปจับขาที่เหลือที่ไม่ใช่ไม่ใช่ขา B และC นำสายแดงของมิเตอร์ 
(ไฟลบ) ไปจับไว้ที่ชา Cเข็มมิเตอร์ขึ้นเล็กน้อยมีสายดำชองมิเตอร์จับอยู่กับขา B เข็มมิเตอร์อีกเล็กน้อย แสดงว่าสายดำที่จับอยู่เป็นชา E


2.การวัดทรานซิสเตอร์ ชนิดPNP วิธีการวัดเหมือนๆกันกับชนิด NP์N

ต่างกันตรงสายวัดของมิเตอร์ วัดชนิด NPN ใช้สายดำเป็นหลักแต่ชนิด PNP ใช้สายแดงเป็นหลักการวัดทรานซิลเตอร์ นอกเหลือจากนี้ จะถือว่าทรานซิลเตอร์เสียหรือชำรุด

ลักษณะชองทรานซิสเตอร์ที่เสีย

1.ขาด ปกติวัดต้องขึ้น แต่วัดแล้วไม่ขึ้น

2.รั่ว วัดแล้วปกติต้องไม่ขึ้น วัดแล้วขึ้นนิดหน่อย

3.ซอร์ต วัดแล้วความด้านทานเป็น 0โอม (เข้มขึ้นสูงสุด )


3.ไอซี เป็นวงจรสำเร็จซึ่งอยู่ภายในตัวเดียวกัน ภายในตัวไอซีจะมีทรานซิลเตอร์ ไดโอด และ รีซิสเตอร์ อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ชนิดของไอซีว่าทำหน้าที่ด้านใดการเสียหรือชำรุดจึงไม่สามารถตรวจสอบโดยการวัดได้ ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือการเปรียบเทียบในการวัดไฟตามขาต่างๆบ้าง

ไอซีเสีย 

1.เสียโดยวัดไฟแล้วไม่ออกตามขา ปกติควรมี

2.เสียดดยชำรุด ไหม้ แคก ร้าว ขาหัก ขาขาด

3.เสียโดยเสื่อม ต้องอาศัยการวัดอุปกรณ์ที่ร่วมที่อยู่รอบๆตัวไอซี


4.ไดโอด (DIODE) ไดโอดมีมากมายหลายชนิด ที่ควรทราบและมีใช้ในวงจรเป็นส่วนมาก คือ ไอโอดเร็กติฟาน ซีเนอร์ไดโอด ไดโอดมีทั้งที่ทำจากสารซลิกอน และ เจอร์มาเนียม การใช้งานจึงต่ายหน้าที่กันออกไป 
       4.1ไดโอดเร็กติฟาย  ทำจากสารซิลิกอน ใช้ทำหน้าที่แปลงไฟจากเอซีโวลท์ต่ำ เป็นไฟดีซีโวลท์ต่ำ
วิธีวีดไดโอด ตั้งมิเตอร์ X  10k วัดสลับขาทั้งสองข้างเข็มมิเตอร์ขึ้นข้างไม่ขึ้นข้าง ถือว่าดี
อาการชำรุดไดโอด
1.วัดแล้วไม่ขึ้นทั้ง2ข้าง แสดงว่า ขาด
2.วัดแล้วขึ้นทั้ง 2ข้าง แสดงว่าชอร์ต
3.วัดแล้วข้างหนึ่งขึ่นมาก อีกข้างหนึ่งขึ้นน้อยแสดงว่ารั่ว
4.เสียจากการมองเห็น แตก.ไหม้
่     4.2ซีเนอร์ไอโอด ใช้ทำหน้าที่ควบคุมไฟให้คงที่ ตัวย่อ ZD
วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด ตั้งมิเตอร์ X 10K วัดสลับขา ขึ้นข้างไม่ขึ้นข้างหรือขึ้นข้าง อีกข้างขึ้นนิดหน่อย ประมาณ 50 K โอม ถือว่าดี

5.รีซิสเตอร์ (RESISTOR) เป็นตัวต้านทานไฟฟ้าใช้เพื่อนลดแรงดันไฟฟ้า และกะแสไฟฟ้าในวงจร มีมากมายหลายชนิด
การอ่านค่ารีซิสเตอร์
0        ดำ            ส้ม ดำ ดำ
1        น้ำตาล     3 0 0
2        แดง          ส้ม แดง แดง
3        ส้ม            3 2 2
4        เหลือง      
5        เขียว         แดง ส้ม ส้ม
6        น้ำเงิน       2       3 3
7        ม่วง
8        เทา           ค่าสีตัว 3 เป็นจำนวน 0
9        ขาว           9
การวัดรีซิสเตอร์ จำเป็นต้องทราบค่ารีซิสเตอร์จากการอ่านค่าสีก่อนและเมื่อทำการวัดด้วยมิเตอร์จะได้ค่าตรงกับค่าสี หากไม่ได้ตามนั้น แสดงว่าเสีย
อาการเสียขอวรีซิสเตอร์
1. ขาด    วัดแล้วไม่ขึ้น ( เฉพราะรีซิสเตอร์ค่าน้อยๆ )
2. ยึดค่า  วัดแล้วได้ค่ามากกว่าแถบค่าสี
3. ไหม้    แตก หัก
4.ชอร์ต   เกิดได้น้อยมาก

6. คาปาซิเตอร์ คือตัวเก็บประจุไฟฟ้า มีมากมายหลายชนิดแยกเป็นชนิดมีขั้ว และไม่มีขั้ว
การตั้งมิเตอร์เพื่อวัดค่า C นั้น ถ้าเป็นC ค่าน้อยต้องตั้งมิเตอร์ x k สู้ 
ท้าเป็น C ค่ามากขึ้น ลดมิเตอร์ลงตามความเหมาะสม โดยวัดสลับขาหลายๆครั้ง เข็มมิเตอร์ขึ้นแล้วลงเป็น 0 ทุกครั้ง ถือว่าดี

การตรวจสอบทรานซิสเตอร์



1. การตรวจว่าทรานซิสเตอร์ดีหรือเสีย

จากคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์ที่ว่าเมื่อมีกระแสเบสเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดกระแสจำนวนมากไหลผ่านขาคอลเล็กเตอร์ เราจึงสามารถนำมาใช้ตรวจสอบทรานซิสเตอร์ว่าดีหรือเสียได้ดังนี้
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ทรานซิสเตอร์เป็นประเภทอะไร และขาไหนเป็นขาอะไร ถ้าทรานซิสเตอร์ เป็นชนิด NPN ให้ต่อขั้วลบของมิเตอร์ไว้ที่ขาคอลเล็กเตอร์ ให้ต่อขั้วบวกไว้ที่ขาอิมิตเตอร์ แต่ถ้าเป็นชนิดPNP ให้สลับกันคือ ต่อขั้วบวกของมิเตอร์ไว้ที่ขาคอลเล็กเตอร์และต่อขั้วลบไว้ที่ขาอิมิตเตอร์
ตั้งมัลติมิเตอร์ในย่านวัดโอห์ม R X 10
ดูเข็มของมิเตอร์ว่าขึ้นหรือไม่ ถ้าขึ้นแสดงว่าอาจช๊อตหรือมีกระแสรั่วไหลสูง
จากนั้นใช้นิ้วมือแตะระหว่างขาคอลเล็กเตอร์และขาเบส(แทนตัวต้านทาน Rb)
สังเกตว่าเข็มขึ้นจากเดิมหรือไม่ ถ้าขึ้นแสดงว่าใช้ได้ โดยถ้าขึ้นสูงแสดงว่าอัตราขยายกระแสสูง (ในการวัดเพื่อเปรียบเทียบ อัตราการขยายกระแส ของทรานซิสเตอร์แต่ละตัว ควรใช้อุปกรณ์การวัดทรานซิสเตอร์ที่ให้มากับมัลติมิเตอร์ จะช่วยให้มีความเที่ยงตรงมากยิ่งขี้น)

2. การตรวจหาขาและชนิดของทรานซิสเตอร์

ในกรณีที่ไม่ทราบชนิด และไม่ทราบขา เราจะตรวจสอบได้ดังนี้
ตั้งมัลติมิเตอร์ย่านวัดโอห์ม R X 10
ตรวจสอบหาขาเบสของทรานซิสเตอร์ โดยพิจารณาทรานซิสเตอร์ในลักษณะของไดโอดดังรูปที่ 7.17
ใช้ขาใดขาหนึ่งเป็นหลัก โดยสมมุติให้เป็นขาเบส แล้วต่อสายวัดไว้ จากนั้นใช้สายวัดอีกเส้น แตะที่ขาทั้งสองที่เหลือ ถ้ามิเตอร์ขึ้น ทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นขาเบส จากนั้นให้สลับสายวัดแล้วลองทำซ้ำตามเดิมอีกครั้ง ถ้าไม่ขึ้นทั้งสองขา แสดงว่าเป็นขาเบสแน่นอน (ถ้ายังไม่ได้ให้ลองเปลี่ยนใช้ขาอื่นเป็นขาหลักแทนดูบ้าง จนกว่าจะเจอสภาพดังกล่าว คือแตะขาที่เหลือแล้วเข็มขึ้น 2 ครั้ง ไม่ขึ้น 2 ครั้ง จึงจะแสดงว่าหาขาเบสได้ ถ้าหาไม่พบแสดงว่าทรานซิสเตอร์เสีย)
เมื่อหาขาเบสได้ก็จะรู้ชนิดของทรานซิสเตอร์คือ ถ้าในสภาวะขึ้นทั้ง 2 ขา ขั้วบวกของมิเตอร์ต่ออยู่กับขาเบส แสดงว่า เป็นทรานซิสเตอร์ PNP แต่ถ้าเป็นขั้วลบต่ออยู่ที่ขาเบสตอนเข็มมิเตอร์ขึ้น 2 ครั้ง แสดงว่าเป็นชนิด NPN
หลังจากหาขาเบสได้แล้วให้ลองหาขาคอลเล็กเตอร์และอิมิตเตอร์ ตามหลักการไบอัสทรานซิสเตอร์ เช่นเดียวกับวิธีหาว่าทรานซิสเตอร์ดีหรือเสีย ถ้าต่อถูกต้อง เข็มจะขึ้นสูงเมื่อใช้นิ้วมือแตะระหว่างขา เบสและคอลเล็กเตอร์

การ วัด ค่า ทาน ซิ เตอร์ ว่า เสีย หรือ ดี


เขียนโดย RMUTL_News ที่22:00

การ วัด ค่า ทาน ซิ เตอร์ ว่า เสีย หรือ ดี

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ป้ายกำกับ: Electronic-Electronical