คณะ ศึกษา ศาสตร์ จบ แล้ว ทํา งาน อะไร

Show

ศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

  • INFORMATION
  • U-REVIEW
  • COMMENTS
  • PHOTOS
  • CONTACT

คณะ ศึกษา ศาสตร์ จบ แล้ว ทํา งาน อะไร

ศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

รีวิวศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ นักเรียนจะเรียนอย่างเข้าใจและไม่น่าเบื่อ ครูสามารถสอนวิชาความรู้ต่างๆ ให้กับนักเรียนได้อย่างน่าสนใจ ก็ต้องอาศัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อต่างๆ มาเป็นเครื่องมือช่วยให้การเรียนการสอนเกิดผลดีที่สุด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เพื่อใช้ประโยชน์และเป็นอีกหนึ่งพลังในการช่วยขับเคลื่อนระบบการศึกษา

ในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา นักศึกษาจะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรนี้จะเรียนทั้งสิ้น 4 ปี โดยในปี 1 - 3 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานด้านสื่อมวลชนหรือนิเทศศาสตร์ เช่น การออกแบบและผลิตสื่อ องค์ประกอบศิลป์ คอมพิวเตอร์กราฟิก แอนิเมชัน การสร้างบทเรียนและเว็บไซต์บนเครือข่าย ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษา การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา และเรียนวิชาชีพทางด้านครู เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษสำหรับครู จิตวิทยาการศึกษา การแนะแนว การพัฒนาหลักสูตรการสอน เป็นต้น และในปีที่ 4 นักศึกษาจะเรียนการจัดการชั้นเรียน จะทำวิจัย สัมมนา รวมถึงการฝึกปฏิบัติงาน

เมื่อจบการศึกษา บัณฑิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คุณครูโสตทัศนศึกษา นักพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา นักผลิตรายกรายการวิทยุ/โทรทัศน์ นักการสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ นักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เว็บมาสเตอร์ นักตัดต่อ ผู้ผลิตสื่อ E-book, e-learning เป็นต้น

จบมาทำงานอะไร

- นักพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
- นักเทคโนโลยีการศึกษา
- นักผลิตรายกรายการวิทยุ/โทรทัศน์
- นักการสื่อสารมวลช/นักประชาสัมพันธ์
- นักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- คุณครูโสตทัศนศึกษา/ผู้สนับสนุนการสอนในด้านเทคโนโลยี

สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรงโดยใช้คะแนน GAT/PAT (มีนาคม - พฤษภาคม)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 ทุกแผนการเรียน
- มีผลคะแนน GAT/PAT5 (ความถนัดทางวิชาชีพครู)
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://admission.tsu.ac.th

แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT5 (ความถนัดทางวิชาชีพครู) 30%

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

96, 000 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

12, 000 บาท/เทอม

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ เป็นการศึกษาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของการเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น

คนที่เหมาะกับการเรียน ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์

  • มีจิตวิญญาณความเป็นครู คือมีความรักและเมตตาต่อลูกศิษย์
  • พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกับนักเรียนเสมอ
  • รักการเรียนรู้และรักการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะการบริหารจัดการ วางแผนได้อย่างเป็นระบบ
  • สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นำ

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง?

  • การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)
  • ประถมศึกษา (Elementary Education)
  • มัธยมศึกษา (Secondary Education)
  • สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)
  • เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
  • ศิลปศึกษา (Art Education)
  • ดนตรีศึกษา (Music Education)
  • ธุรกิจศึกษา (Business Education)
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education)
  • จิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ (Counseling Psychology, Guidance and Special Education)

รายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย

  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิทยาลัยการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำนักวิชาครุศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (คณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
  • คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สถาบันอาศรมศิลป์

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

สัดส่วนคะแนน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT5 30%
  • รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT5 20% , PAT (ตามสาขาวิชา PAT1 หรือ PAT2 หรือ PAT7 20%)

คะแนนเฉลี่ยประมาณ : 17,500 คะแนนขึ้นไป

คะแนนที่ควรทำได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • รูปแบบที่ 1 GAT 180 -200 + PAT5 200 ขึ้นไป
  • รูปแบบที่ 2 GAT 180 -200 +PAT5 200 + PAT (ตามสาขาวิชา PAT1 หรือ PAT2 หรือ PAT7 110) ขึ้นไป

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

โดยในประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2562 คุรุสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไว้ด้วย ซึ่งผู้ที่จะประกอบอาชีพครูได้นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์ ดังนี้

ผ่านการรับรองประสบการณ์วิชาชีพครูตามที่คณะกรรมการกำหนด

ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ผ่านการทดสอบประเมินความรู้ 5 หมวดวิชา

ส่วนหลักเกณฑ์ในการทดสอบประเมินความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่มีการปรับเปลี่ยนล่าสุดนั้น กำหนดให้ทดสอบใน 5 หมวดวิชา ได้แก่ 1.หมวดทักษะภาษาไทย 2.หมวดทักษะภาษาอังกฤษ 3.หมวดทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) เพื่อการศึกษา 4.หมวดความรู้ทางวิชาชีพครู และ 5.หมวดความรู้วิชาเอก โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค. นี้เป็นต้นไป

หากสอบไม่ผ่านหมวดวิชาใดวิชาหนึ่ง สามารถสอบย้อนหลังได้เฉพาะหมวดนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องสอบทุกหมวดวิชา และคะแนนสอบสามารถเก็บไว้ใช้เพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้เป็นระยะเวลา 3 ปี

ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี

นอกจากนี้ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ยังยกเลิกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตลอดชีพด้วย จากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการครูที่ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 15 ปี มีใบประกอบวิชาชีพครูตลอดชีพได้

โดยให้ดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปีแทน ซึ่งการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูนั้น ครูทุกคนต้องมีหลักฐานยืนยันด้วยว่า ในระยะเวลา 5 ปี ได้รับการพัฒนาอะไรมาบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น สอบเข้าข้าราชการครู สอบเข้าคุรุสภา เป็นครูในโรงเรียนต่างๆ ตลอดจนเป็นครูสอนพิเศษ

คณะครุศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

การเรียนคณะครุศาสตร์จะได้เรียนรู้วิชาพื้นฐานอย่าง การศึกษาและวิชาชีพครู การออกแบบและการจัดการการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลทางการศึกษา และจิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา เป็นต้น วิชาเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการวางแผนการสอน การจัดการห้องเรียน และการวัดผลเด็กนักเรียนของเรา ซึ่งทั้งหมดจะเป็นวิชาที่จะได้ใช้จริง ...

คณะครุศาสตร์ดีอย่างไร

ที่คณะครุศาสตร์ (Education หรือ Pedagogy) ทุกคนจะได้เรียนรู้หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ของมนุษย์ คนที่เรียนจะได้ทำความเข้าใจว่ามนุษย์เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ยังไง รวมไปถึงจะทำยังไงจึงจะเป็นผู้สอนที่ดี สามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ชีวิตต่อไปได้

ครูสังคมจบไปทำงานอะไรได้บ้าง

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา.
ครูระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน.
นักวิจัยทางด้านการศึกษา.
นักวิชาการทางด้านการศึกษา.
นักพัฒนาชุมชนทางการศึกษา.
นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา.

เรียนครูมาสอบอะไรได้บ้าง

แน่นอนจะเข้าเรียนครู ต้องสอบ PAT 5 แต่ไม่ได้ใช้ PAT 5 แค่วิชาเดียว หากเป็นสาขาทั่วไป จะใช้ GAT + PAT 5 หากเป็นสาขาเฉพาะวิชา เช่น วิทยศาสตร์ ก็จะใช้ PAT 2 คณิตศาสตร์ ก็จะใช้ PAT 1 ร่วมด้วย หรือครุศาสตร์อุตสาหกรรม ก็จะต้องสอบ PAT 3 หรือ PAT 4 ด้วย แล้วแต่สาขาวิชา