การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน


ชุดไทยสวยๆ..

ความหมายของเครื่องแต่งกาย

คำว่า “ เครื่องแต่งกาย“ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย การแต่งกายของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สามารถค้นคว้าได้จาก หลักฐานทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นเครื่องช่วยชี้นำให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการแต่งกาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

Show


ความแตกต่างในการแต่งกาย มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่อ่อนแอที่สุดในทางฟิสิกส์ เพราะผิวหนังของมนุษย์มีความบอบบาง จึงจำเป็นต้องมีสิ่งปกคลุมร่างกายเพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ จากความจำเป็นนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในอันที่จะแต่งกาย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เอง โดยมีสังคมและสิ่งอื่นๆประกอบกัน และเครื่องแต่งกายก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุนั้นๆ คือ  

1. สภาพภูมิอากาศ

 

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

ประเทศที่อยู่ในภูมิอากาศแถบเส้นอาร์คติก ซึ่งมีอากาศที่หนาวเย็นมาก มนุษย์ในแถบภูมิภาคนี้จะสวมเสื้อผ้าซึ่งทำมาจากหนังหรือขนของสัตว์ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ส่วนในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เสื้อผ้าที่สวมใส่จะทำจากเส้นใย ซึ่งทำจากฝ้าย แต่ในทวีปอัฟริกา เสื้อผ้าไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการป้องกันจากสภาพอากาศ แต่เขากลับนิยมใช้พวกเครื่องประดับต่างๆที่ทำจากหินหรือแก้วสีต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาตินำมาตกแต่งร่างกาย เพื่อใช้เป็นเครื่องลางหรือเครื่องป้องกันภูติผีปีศาจอีกด้วย

2. ศัตรูทางธรรมชาติ

ในภูมิภาคเขตร้อน มนุษย์จะได้รับความรำคาญจากพวกสัตว์ปีกประเภทแมลงต่างๆ จึงหาวิธีขจัดปัญหาโดยการใช้โคลนพอกร่างกายเพื่อป้องกันจากแมลง ชาวฮาวายเอี้ยน แถบทะเลแปซิฟิค สวมกระโปรงซึ่งทำด้วยหญ้า เพื่อใช้สำหรับป้องกันแมลง แต่ก็ได้กลายเป็นที่เก็บแมลงเสียมากกว่า ชาวพื้นเมืองโบราณของญี่ปุ่นรู้จักใช้กางเกงขายาว เพื่อป้องกันสัตว์และแมลง

3. สภาพของการงานและอาชีพ

หนังสัตว์และใบไม้สามารถใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น การเดินป่าเพื่อหาอาหาร มนุษย์ก็ใช้หนังสัตว์และใบไม้เพื่อป้องกันการถูกหนามเกี่ยว หรือ ถูกสัตว์กัดต่อย ต่อมา สามารถนำเอาใยจากต้นแฟลกซ์ ( Flax ) มาทอเป็นผ้าที่เรียกกันว่า ? ผ้าลินิน ? เมื่อความเจริญทางด้านวิทยาการมีมากขึ้น ก็เริ่มมีสิ่งที่ผลิตเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายชนิด สมัยศตวรรษที่ 19 เสื้อผ้ามีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น มีผู้คิดประดิษฐ์เสื้อผ้าพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้สวมใส่ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานประเภทต่างๆ เช่น กลาสีเรือล่าปลาวาฬ คนงานเหมืองแร่ เกษตรกร คนงานอุตสาหกรรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เป็นต้น อันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปฏิบัติงาน ทำให้ความต้องการของมนุษย์ในด้านเสื้อผ้ามีมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ เสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นมานั้นได้มีการปรับปรุงและตกแต่งพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับอาชีพต่างๆ เช่น ให้มีความคงทนต่อสารเคมี ทนต่อพิษ และ อุณหภูมิ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งพิเศษอื่นอีก อาทิเช่น ทนต่อการซักและทำความสะอาด ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ไม่ดูดซึมน้ำ และไม่เป็นตัวนำความร้อน เป็นต้น

4. ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและศาสนา

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

 เมื่อมนุษย์มีสติปัญญามากยิ่งขึ้น มีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชน และจากการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะนี้เอง จึงจำเป็นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยไม่มีการรุกรานซึ่งกันและกัน จากการปฏิบัติที่กระทำสืบต่อกันมานี้เอง ในที่สุดได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมขึ้น ในสมัยโบราณ เมื่อมีการเฉลิมฉลองประเพณีสำคัญต่างๆ เช่น การเกิด การตาย การเก็บเกี่ยวพืชผล หรือเริ่มมีการสังคมกับกลุ่มอื่นๆ ก็จะมีการประดับหรือตกแต่งร่างกาย ให้เกิดความสวยงามด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น ขนนก หนังสัตว์ หรือทาสีตามร่างกาย มีการสักหรือเจาะ บางครั้งก็วาดลวดลายตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อแสดงฐานะหรือตำแหน่ง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวพื้นเมืองของประเทศต่างๆ ศาสนาก็มีบทบาทสำคัญในการแต่งกายด้วยเหมือนกัน ในสมัยสงครามทางศาสนา เช่น ? สงครามครูเสด ? ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 300 ปี การสงครามที่ยาวนานทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างข้าศึกเกิดขึ้น ทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมซึ่งกันและกันตามมา

5. ความต้องการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม

 

ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ย่อมมีความต้องการความสนใจจากเพศตรงกันข้าม โดยจะมีการแต่งกายเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่สนองความต้องการนี้ได้ดีที่สุดก็คือ นักออกแบบเสื้อผ้า ซึ่งได้พยายามออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามระดับของสังคมและเศรษฐกิจของผู้สวมใส่

6. เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ แต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป สังคมทั่วไปมีหลายระดับชนชั้น มีการแบ่งแยกกันตามฐานะทางเศรษฐกิจ เช่น ชนชั้นระดับเจ้านาย ชาวบ้าน และกรรมกร การแต่งกายสามารถบอกได้ถึงสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย


 

        หญิงไทยในยุคนี้จะแต่งกายตามสมัยนิยมและกล้าที่จะแต่งชุดที่ขัดกับวัฒนธรรมไทย เช่น นุ่งกระโปรงสั้นเหนือเข่าจนเห็นขาอ่อน (mini skirt ) ใส่เสื้อเปิดพุง หรือรัดรูป ฯลฯ บางแฟชั่นก็เป็นกระโปรงบานยาวกรอมเท้า ฯลฯ ตามแต่จะได้รับสื่อแฟชั่นจากทุกมุมโลก ซึ่งเข้าสู่สมัยเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดน แฟชั่นการแต่งกายสมัยใหม่ระบาดออกไปสู่วัยรุ่นไทยทุกจังหวัดอย่างรวดเร็วผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะการแต่งกายเลียนแบบดารานักร้อง นักแสดงวัยรุ่น ค่านิยมของการแต่งกายเปลี่ยนแปลงไปตามอาชีพ ตามวัยและตามสภาวะแวดล้อม “แฟชั่นกางเกง” นับเป็นแฟชั่นที่ได้รับความนิยมในเกือบทุกวัยทุกอาชีพ การนุ่งกางเกงนับเป็นเรื่องปกติสำหรับหญิงไทย กางเกงผ้ายีนส์เข้ามามีบทบาทมากในกลุ่มวัยรุ่น

อาจกล่าวได้ว่าในช่วงนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีรูปแบบหรือไม่อย่างไร คงหมุนไปตามกระแสแฟชั่นของโลก

 

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

 

 


       ในช่วงเวลานี้ได้มีวิวัฒนาการการแต่งกายแบบไทยที่สำคัญคือ การแต่งกายแบบไทยตามแนวพระราชนิยม คือ ชุดไทยพระราชนิยมสำหรับหญิง และชุดไทยพระราชทานสำหรับชาย ทั้งสองชุดนี้ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นชุดประจำชาติของไทย

การแต่งกายชุดไทยพระราชนิยม

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวาระที่โดยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และ สหรัฐอเมริกา โดยทีทรงมีพระราชดำริว่าไทยเรายังไม่มีชุดแต่งกายปะจำชาติที่เป็นแบบแผนเหมือนชาติอื่น ๆ และการเสด็จประพาสครั้งนี้ก็เป็นราชการสำคัญ จึงโปรดฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้หารือกับผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของไทยสมัยต่าง ๆ และโปรดให้คุณอุไร ลืออำรุง ช่างตัดฉลองพระองค์เลือกแบบต่าง ๆ มาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม จัดเป็นชุดไทยพระราชนิยมหลายชุด และกำหนดให้เลือกใช้ในวาระต่าง ๆ กัน

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน


      ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ วัฒนธรรมการแต่งกายของไทยมีลักษณะเด่นด้านการนิยมแบบตะวันตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงแรก (พ.ศ. ๒๔๘๑ -๒๔๘๗) มีนโยบายสำคัญในการสร้างชาติด้วยลัทธิชาตินิยม โดยได้มีการวางเป้าหมายปลูกฝังให้ประชาชนชาวไทยเป็นผู้มี “วัธนธัมดี มีศิลธัมดี มีอนามัยดี มีการแต่งกายเรียบร้อย มีที่พักอาศัยดี และมีที่ทำมาหากินดี” ด้านการแต่งกายรัฐได้วางระเบียบปฏิบัติ โดยเฉพาะ รัฐนิยมฉบับที่ ๑๐ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๔ มีใจความสำคัญคือ

     เน้นการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเมื่อปรากฏตัวในที่ชุมนุมชน หรือสาธารณชน และแยกแยะประเภทเครื่องแต่งกายที่ถือว่าเรียบร้อยสำหรับประชาชนชาวไทย โดยกำหนดการแต่งกายและทรงผมแบบใหม่ ขอให้สตรีทุกคนไว้ผมยาว เลิกใช้ผ้าโจงกระเบนเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าถุงแทน เลิกการใช้ผ้าผืนเดียวคาดอกหรือเปลือยกายท่อนบน ให้ใส่เสื้อแทน

     ชายนั้นขอให้เลิกนุ่งกางเกงแพรสีต่าง ๆ หรือนุ่งผ้าม่วง เปลี่ยนมาเป็นนุ่งกางเกงขายาวแทน กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ วางระเบียบเครื่องแต่งกายของข้าราชการในเวลาทำงานปกติ และทั่วไปเพื่อให้เป็นแบบอย่างอันดี ในเวลาทำงานปกติข้าราชการหญิงต้องใส่เสื้อขาวนุ่งกระโปรงสีสุภาพ หรือผ้าถุง และสวมรองเท้าหุ้มส้น ถุงเท้าสั้นหรือยาวก็ได้ และต้องสวมหมวก สีของเครื่องแต่งกายนั้นถ้าเป็นงานกลางแจ้งควรใช้สีเทา ถ้าเป็นงานในร่มหรือเกี่ยวกับเครื่องจักร ควรใช้สีน้ำเงินเข้ม เป็นต้น

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันและคณะกรรมการวางระเบียบเครื่องแต่งกายสตรีทั้งที่เป็นข้าราชการและที่มีตำแหน่งเฝ้า ต่อมาได้มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ มีสาขา คือ สำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง มีหน้าที่อย่างหนึ่ง คือ พิจารณาเครื่องแต่งกายในโอกาสต่าง ๆ และกำหนดเครื่องแต่งกายผู้ประกอบอาชีพบางจำพวก เช่น คนขายอาหาร พนักงานเดินโต๊ะอาหาร (พนักงานเสิร์ฟ) ช่างตัดผม หญิงตัดผม เป็นต้น มีการวางระเบียบปฏิบัติตลอดจนให้ความหมายของเครื่องแต่งกายอย่างละเอียด


การดูรักษาผ้าและสิ่งทอ

การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบัน

 

ผ้าและสิ่งทอได้ถักทอความลึกลับแห่งประวัติศาสตร์ ศรัทธาและความสวยงาม ล้วนแต่เป็นเส้นใยของผ้าและแพรพรรณต่าง ๆ สิ่งทอต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นวัตถุดิบให้กับเสื้อผ้าต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าคู่ควรแก่การอนุรักษ์ โดยมีพัฒนาการของการย้อมสีเส้นใยมาอย่างยาวนาน ผู้เชี่ยวชาญจะแยกแยะชนิดของผ้านั้น ๆ และวางแผนสำหรับการดูแลรักษาให้ เช่นเดียวกับวัตถุโบราณโดยทั่วไป แสงสว่าง อุณหภูมิ แมลง และมลภาวะต่าง ๆ มีส่วนทำลายผ้าให้เสื่อมสภาพลงไป

การดูแลรักษาและการจัดเก็บ

– ควรเก็บผ้าให้พ้นจากแสง เสปรคตรัมต่าง ๆ ของแสง อาจทำให้ผ้าเสียหายได้

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุม แสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการเก็บรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผ้าที่มีคุณค่าเหล่านั้น รวมถึงวิธีการทำความสะอาดผ้าของคุณ

– ไม่ควรเก็บผ้าฝ้ายและผ้าลินินในตู้ลิ้นชักไม้

– เมื่อจัดเก็บผ้าทอ ควรตรวจดุให้แน่ใจว่าพื้นที่นั้น ๆ มีสภาพที่มืด แห้ง และ เย็น

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดเก็บผ้าด้วยวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการแขวนหรือจัดใส่กรอบ

– หมั่นตรวจตราคอยดูแมลงที่อาจกัดกินเสื้อผ้า อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

– ควรจะดูดฝุ่นผ้าอย่างสม่ำเสมอ

– ควรระมัดระวังเรื่องแมลงกินผ้า เมื่อนำผ้าชิ้นใหม่มาสะสมรวมกับผ้าชิ้นเก่า ให้ห่อผ้าชิ้นใหม่ด้วยแผ่นพลาสติกโพลีธีลีน (Polyethylene) มัดและผนึกให้แน่น ทิ้งไว้ 3 อาทิตย์ สังเกตดูว่าถ้าไม่มีแมลงมารบกวน จึงค่อยนำเข้ารวมกับผ้าชุดเก่าได้

ปัจจุบันคนไทยนิยมแต่งกายอย่างไร

ชุดไทยเดิม เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย มีประวัติความเป็นมาและเอกลักษณ์อันยาวนาน โดยสามารถแต่งกายได้ทุกเพศทุกวัย โดยผู้ชายจะสวมเสื้อราชปะแตนหรือเสื้อพระราชทาน นุ่งโจงกระเบน และสวมรองเท้า ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงจะห่มสไบหรือสวมเสื้อปัด และนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

การแต่งหน้าแต่งตัว ทาขมิ้น ให้ตัวเหลืองดังทอง ผัดหน้าขาว ย้อมฟันดำ ย้อมนิ้ว และเล็บด้วยดอกกรรณิการ์ให้สีแดง การแต่งกาย ของคนชั้น สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง) ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง

การแต่งกายในปัจจุบันมีประโยชน์อย่างไร

๒)ประโยชน์ของเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ๒.๑ ช่วยปกปิดร่างกาย ๒.๒ ทาให้ร่างกายอบอุ่น ๒.๓ ทาให้ผู้สวมใส่มั่นใจและดูดี ๒.๔ ตกแต่งร่างกายและเสื้อผ้าให้สวยงาม ๒.๕ เป็นที่ชื่นชนของผู้พบเห็นเมื่อแต่งกายได้เหมาะสมกับฤดูกาล โอกาส สถานที่

การแต่งกายของคนไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยใด

พัฒนาการของเครื่องแต่งกายตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบริบททางสภาพอากาศแต่อีกแง่หนึ่งยังสะท้อนถึงบริบทอีกหลายประการ ตั้งแต่ยุคสมัยที่เปลือยอกจนถึงช่วงยุคกำเนิดราชปะแตน เสื้อลูกไม้ มาจนถึงเสื้อและกางเกงตามแบบสากลนิยม