ผลเสียของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

หลายคนให้ความสนใจและยังคงสงสัยว่า เหตุใดกระแสการอพยพไปอยู่ต่างแดนของชาวจีนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันและมีทีท่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าสังคมจีนได้มีการยกระดับวิถีชีวิตเข้าสู่ยุคแห่งความทันสมัยแล้วก็ตาม ในขณะที่รัฐบาลจีนเองก็เร่งดำเนินนโยบายพัฒนาประเทศอย่างเต็มกำลังเพื่อนำพาประเทศสู่ความมั่งคั่งและมีความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลจนทำให้ขนาดเศรษฐกิจจีนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผงาดขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลก

ผลเสียของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภายหลังจากปี 2554 เป็นต้นไป ประเทศจีนกำลังเผชิญหน้ากับปัญหากระแสการอพยพไปอยู่ต่างแดน ครั้งใหญ่ระลอกที่ 3 ซึ่งการอพยพในสมัยนี้กลับปรากฏให้เห็นใน 2 กลุ่มคนที่โดยเฉลี่ยมีอายุในช่วง 30-40 ปี คือ กลุ่มชนชั้นกลางของสังคมที่มีประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และกลุ่มชนชั้นสูงผู้ร่ำรวย หรือในกลุ่มเศรษฐีใหม่ โดยวิธี การลงทุนเพื่อการอพยพซึ่งมีความแตกต่างจากยุคก่อนอย่างสิ้นเชิงที่มีเหตุปัจจัยจากความยากจนและความยากลำบาก

ข้อมูลเพิ่มเติม การลงทุนเพื่อการอพยพ หมายถึง การที่ผู้อพยพนำทรัพย์สินของตนเองออกนอกประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ และเป็นวิธีที่จะได้มาซึ่งสัญชาติของประเทศนั้นๆ

แปลกแต่จริง ผู้อพยพชาวจีนในยุคนี้กลับอยู่ในกลุ่มคนระดับมันสมองและเศรษฐี

ธ.CMB China และ Bian Company ร่วมกันจัดทำ “รายงานทรัพย์สินส่วนบุคคลของจีนประจำปี 2554” โดยมีผลสำรวจตอนหนึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลรายได้ของเศรษฐีจีนพบว่า ในปี 2553 กลุ่มผู้มีทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยต่อคนที่มีความสามารถลงทุนในสินทรัพย์เกินกว่า 10 ล้านหยวน มีจำนวนทั้งสิ้นราว 500,000 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 กว่า 90,000 คน หรือราว 22% ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้มีทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยต่อคนที่มีความสามารถลงทุนในสินทรัพย์เกินกว่า 50 ล้านหยวนมีจำนวนมากกว่า 70,000 คน กลุ่มคนที่สามารถลงทุนในสินทรัพย์เกินกว่า 100 ล้านหยวน มีจำนวนมากกว่า 20,000 คน

ผลเสียของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

จำนวนเกือบ 60% ของกลุ่มผู้มีทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยต่อคนที่มีความสามารถลงทุนในสินทรัพย์เกิน 10 ล้านหยวน ได้อพยพไปอยู่ต่างแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้วราว 10% ตัดสินใจที่จะอพยพแล้วราว 14% และกำลังพิจารณาอพยพแต่ยังไม่ตัดสินใจราว 36%

รวมถึงกลุ่มผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการที่มีทรัพย์สินพร้อมลงทุนในสินทรัพย์ที่มีจำนวน 100 ล้านขึ้น มีแนวโน้มอพยพไปอยู่ต่างแดนไปเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในจำนวนนี้กว่า 27% ได้อพยพไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 47% กำลังพิจารณาอพยพ ส่งผลให้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีเงินไหลนอกประเทศจีนแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 17,000 ล้านหยวน

สาเหตุหลักของการอพยพไปอยู่ต่างแดนนั้นพบว่า จำนวน 58% ของผู้อพยพคำนึงถึงเรื่องการศึกษาของบุตรเป็นประการแรก ผู้อพยพเชื่อว่าระบบการศึกษาในประเทศล้าหลังกว่าประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว และเชื่อว่าการศึกษาจีนไม่สามารถผลิตบุคคลให้มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้

เห็นได้จากมหาวิทยาลัย 500 อันดับแรกของโลกนั้น มีมหาลัยของจีนติดอันดับอยู่เพียงแค่ 12 แห่งเท่านั้น รวมถึงกระบวนการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในจีนเองมีความยากลำบาก จึงเป็นความกังวลอย่างมากของผู้ปกครองที่จะให้บุตรหลานของตนยังคงเรียนอยู่ภายในประเทศต่อไป

สาเหตุของการอพยพไปอยู่ต่างแดนประการที่ 2 เศรษฐีจีนจำนวนกว่า 43% มีแนวโน้มยินยอมที่จะโยกย้ายทรัพย์สมบัติของตนไปอยู่ในประเทศที่มีระบบกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคลที่สมบูรณ์กว่า เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของตน

ผลเสียของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

อาจเป็นเพราะสืบเนื่องจากการเริ่มต้นดำเนินนโยบายเปิดประเทศเป็นต้นจนถึงปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนครั้งใหญ่ทั้งระบบการปกครองในสังคมไปจนถึงการปฏิวัติระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิมที่เป็นของรัฐ แปรผันสู่ระบบวิสาหกิจที่ทันสมัย นำไปสู่การเกิดรูปแบบการปกครอง “1 ประเทศ 2 ระบบ”

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแบบก้าวกระโดดภายในเวลาเพียง 3 ทศวรรษ กลับส่งผลให้ระบบของสังคมยังไม่มีความสมบูรณ์มากพอ การเกิดช่องโหว่ของระบบกฎหมาย ตลอดจนคนในสังคมมีปัญหาด้านคุณธรรม สภาพการณ์เช่นนี้เอื้อต่อการรวยทางลัดที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย จึงนำไปสู่การตัดสินใจอพยพและนำทรัพย์สินของตนไปลงทุนหรือเก็บออมในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีระบบการปกครองและกฎหมายที่มั่นคงสมบูรณ์กว่า

นอกจากนี้ เศรษฐีจีนจำนวนมากยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้วิธีที่ผิดกฏหมายของรัฐในการตรวจสอบทรัพย์สินของตนแบบคิดบัญชีย้อนหลังแม้ว่าในปี 2547 จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจีนแล้วในหัวข้อ “ทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชนที่ได้มาโดยชอบธรรมตามกฏหมายไม่ถูกละเมิดสิทธิ์จากตรวจสอบ” แล้วก็ตาม

ยังมีนักวิชาการวิเคราะห์เพิ่มเติมอีกว่า การแข่งขันในด้านธุรกิจในปัจจุบันที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เสมอภาค ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิสาหกิจขนาดกลางและเล็ก ทำให้การดำเนินธุรกิจใดๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก มูลเหตุเหล่านี้เป็นปัจจัยนำไปสู่กระแสการอพยพไปอยู่ต่างแดน รวมถึงการการหลบหนีหนี้สิน และอื่นๆ

สำหรับสาเหตุรองลงมาของการอพยพไปต่างประเทศนั้น เพื่อการเตรียมตัวไปใช้ชีวิตในยามชรามีจำนวนถึง 32% การลงทุนในต่างแดนเพื่อการเพิ่มพูนของผลกำไรมีจำนวน 16% สะดวกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศอีก 7% สามารถมีบุตรได้หลายคนมีจำนวน 6% และอัตราจ่ายภาษีต่ำอีก 6%

เพื่อการศึกษาลูก เพื่อความปลอดภัยการลงทุน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

หลังจากที่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่มักนำทรัพย์สินของตนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการออมเงินในธนาคาร และการลงทุนในตลาดหุ้นตามลำดับสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยพื้นฐานด้านสิทธิการอยู่อาศัยอย่างถาวร เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทางการศึกษาที่เป็นเลิศของบุตร เพื่อสิ่งแวดล้อมการลงทุนที่ปลอดภัย และเพื่อคุณภาพชีวิตที่มีระดับ ซึ่งหมายรวมถึง การจ่ายภาษีที่ไม่สูง และสามารถให้กำเนิดบุตรได้หลายคน

นอกจากนี้ มีรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การไปศึกษาต่อต่างประเทศของนักศึกษาจีนพบว่า หลายปีที่ผ่านมาประเทศจีนมีจำนวนนักศึกษาเดินทางไปเรียนต่างประเทศมากที่สุดในโลก ซึ่งคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 20% ต่อปี โดย ม.ชิงหัว และ ม.ปักกิ่ง มีนักศึกษาระดับ ป. เอก เดินไปศึกษาต่อมากที่สุด

ยังมีการสำรวจต่อไปว่า จำนวนนักศึกษาจีนที่ไปเรียนต่อยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนถึงจำนวน 2,245,100 ในปี 2554 และพบว่า มีเพียงจำนวน 818,400 คน เท่านั้นที่เดินทางกลับประเทศหลังจบการศึกษา

เมื่อพิจารณาจากนักศึกษาจีนที่ไปเรียนต่อในระดับ ป.เอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2545 โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 2550 พบว่า มีนักศึกษาจีนคิดเป็นอัตราส่วนถึง 92% ยังไม่คิดเดินทางกลับประเทศ

ในทางกลับกัน ภายหลังจากปี 2548 เป็นต้นมา จำนวนนักศึกษาจีนที่เดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศโดยรวม เดินทางกลับประเทศมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีจำนวนถึง 36.5% ในปี 2554 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีนักศึกษาเดินทางกลับประเทศหลังเรียนจบโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 50%-60%

ผลเสียของการอพยพเข้ามาของชาวจีน

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

มาตรการรับมือของประเทศที่เป็นเป้าหมายของการอพยพ

อย่างไรก็ตามในปี 2554 ชาวจีนจำนวนมากกว่า 150,000 คน ได้อพยพไปอยู่ต่างแดนในทั่วโลกเป็นการถาวรแล้ว โดยในจำนวนนี้ราว 87,017 คน เลือกที่จะอพยพไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกามากที่สุดเป็นอันดับแรกนับจากปี 2550 เป็นต้นมา มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยจนตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 73% และได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยอย่างถาวร ตามมาด้วยประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ตามลำดับ

ผู้อพยพชาวจีน ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความกดดันจากการแข่งขันในเรื่องของจำนวนผู้อพยพที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจำนวนเงินเพื่อการลงทุนไปในการอพยพในบางประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2553 การอพยพไปอยู่ประเทศแคนาดา ทรัพย์สินเบื้องต้นของการลงทุนเพื่อการอพยพได้เพิ่มขึ้นจาก 800,000 ดอลลาร์แคนาดา เป็น 1.6 ล้านดอลลาร์แคนาดา และการอพยพไปอยู่ประเทศออสเตรเลีย ทรัพย์สินเบื้องต้นของการลงทุนเพื่อการอพยพได้เพิ่มขึ้นจาก 250,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็น 500,000 ดอลลาร์ดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็นต้น

นั่นเป็นเพราะรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพชาวจีนที่มาพร้อมกับเงินลงทุนในต่างแดนที่มีจำนวนมหาศาล มีความหวาดวิตกเกี่ยวกับเงินทุนเพื่อการอพยพดังกล่าวอาจเป็นเหตุของการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพในท้องถิ่นและอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ประเทศออสเตรเลียแต่เดิมมีนโยบายที่ผ่อนปรนให้กับผู้อพยพต่างชาติ ซึ่งต่อมาเริ่มมีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ในการยับยั้งและป้องกันผู้อพยพที่ใช้รูปแบบของการลงทุนในสินทรัพย์เป็นเหตุผลในการได้มาซึ่งสิทธิอยู่อาศัยถาวร มาตรการดังกล่าวจะจำกัดการให้สิทธิการอพยพ เพื่อไม่ให้ประสบผลสำเร็จในเรื่องของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลกระทบไปสู่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ซื้อไปแล้วขายออกสู่ตลาดยากและผู้อพยพนั้นจะต้องรับผิดชอบชำระภาษีที่แพงริบลิ่วอีกด้วย

บริษัทให้คำปรึกษาเพื่อการอพยพ Goung Grace Group ให้ข้อมูลว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการขอยื่นเรื่องอพยพไปสู่ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกานั้นกระทำได้ง่ายกว่าประเทศอื่น แต่ในปัจจุบันนั้นความเสียงที่แฝงอยู่ในลักษณะเดียวกันกับข้างต้นอาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนเพื่อการอพยพมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น

เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ประชาชนจำนวนมากมีความมั่งคั่ง อาจมิได้เป็นตัวชี้วัดความสุขที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ยังคงมีปัจจัยหลายอย่างที่แฝงเร้นเสมือนฉนวนที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์กระแสอพยพไปอยู่ต่างแดนซึ่งนับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นในสังคมจีน และเชื่อว่าการอพยพไปอยู่ต่างแดนอาจเป็นหนทางที่ดีกว่าของชีวิตอย่างที่หลายคนคาดคิด อาจไม่จริงเสมอไปนัก การที่ต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากและความเสี่ยงต่างๆ ในสังคมต่างชาติต่างภาษาต่างวัฒนธรรมนั้น อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ต่างไปจากสิ่งที่คาดหวังไว้ การร่วมมือเพื่อช่วยกันปรับปรุงยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความสุขปลูกจิตสำนึกความภูมิใจในสังคมที่เป็นอยู่คือสิ่งที่สำคัญยิ่ง แล้วจะรู้ว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา

แหล่งข้อมูล

นสพ. เฉิงตูหว่านเป้า วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ,http://www.ahradio.com.cn วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ,http://cd.qq.com/a/20121218/000239. htm ,http://epaper.dfdaily.com วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อใดเป็นผลกระทบของการอพยพเข้ามาของคนจีน

ผลของการอพยพเข้ามาของชาวจีน · ด้านการเพิ่มกำลังคน ซึ่งช่วยเพิ่มแรงงานให้กับเมืองไทยในเวลาที่ฟื้นฟู บ้านเมืองได้เป็นอย่างดี · ด้านการปกครอง ชาวจีนอพยพบางคนได้มีบทบาททางการปกครอง โดยเป็นขุนนางไทย เช่น ชาวจีนชื่อ เหยียง เป็นพระยาสงขลา และเป็นต้นตระกูล ณ สงขลา

การอพยพเข้ามาของชาวจีนส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร

เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในไทย ก็ได้นำวัฒนธรรมความเชื่อ ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรมติดมาด้วย แม้ว่าชาวจีนมีความยึดมั่นในประเพณีจีนมาก แต่เมื่อพวกเขาเข้ามาอาศัยในผืนแผ่นดินไทย ไปมาหาสู่กับชาวไทยมาตลอด ประกอบกับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น การผสมผสานระหว่างชาวจีนและไทยจึงมีอยู่หลายด้าน ดังนี้ เยาวราชในอดีต

ข้อใดคือผลที่เกิดจากการอพยพเข้ามาของชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นตอนต้น

การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า ลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง

เพราะเหตุใดชาวจีนจึงอพยพเข้ามาในรัตนโกสินทร์

ชาวจีนส่วนใหญ่มีความถนัดและชอบอาชีพค้าขายอยู่แล้ว จึงทำการค้าขายในย่านที่ พักอาศัยนั่นเอง ชาวจีนเดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งถิ่นฐานในสำเพ็ง เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับประกอบอาชีพค้าขายไปด้วย ดังนั้นบริเวณที่ชาวจีนไปตั้งถิ่นฐานนับแต่ วัดลำเพิ่ง ป Page 5 วัดสามปลื้มไปถึงวัดสำเพ็ง จึงกลายเป็นศูนย์กลาง ...