อันตราย จากสื่อสังคมออนไลน์

ผลกระทบของสังคมยุคดิจิทัล ที่ทำให้ผู้คนเอาแต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับเจ้าเครื่องสมาร์ทโฟนทั้งหลาย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเรื่องสุขภาพร่างกาย พฤติกรรม และภาวะจิตใจ

Show

แต่มันมีภัยร้ายที่แฝงมากับโลกออนไลน์ที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่โลกออนไลน์แบบรู้ไม่เท่าทัน จนกลายเป็นเหยื่อของบรรดามิจฉาชีพ

“ภัยร้าย “ที่ว่าก็คือ เล่ห์กลโกงในโลกออนไลน์

เมื่อปีที่แล้ว บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) เปิดเผยผลการวิจัยว่าพฤติกรรมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในประเทศไทย โดยระบุว่า ความเสี่ยง 3 อันดับแรกที่ก่อให้เกิดความกังวลในระดับสูงและความยากลำบากในการจัดการได้แก่ การแฮกบัญชี ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล และการฉ้อโกงออนไลน์ ...“สำหรับวัยรุ่นการสูญเสียการเข้าถึงบัญชีหรือการที่แฮกเกอร์นำบัญชีของพวกเขาไปใช้ในทางที่ผิดถือเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่สิ่งผู้ใหญ่กังวลมากที่สุดคือการสูญเสียทางการเงินจากกลโกงต่าง ๆ”...

ปัญหาเรื่องกลโกงในโลกออนไลน์เกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย และแต่ละปัญหาก็แตกต่างกันไป แต่ในส่วนของวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่ใช้มือถือบ่อย และเป็นกลุ่มที่มิจฉาชีพมองเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ระบุว่า เยาวชนเป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเฉลี่ย 13 ชั่วโมงต่อวัน

กลโกงออนไลน์เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุด ! ยกตัวอย่าง ภัยร้ายที่มักมาจากโลกออนไลน์

  • 1. การพนันออนไลน์
  • 2. เด็กติดเกมส์ และอีสปอร์ต
  • 3. กลั่นแกล้งและรังแกบนออนไลน์
  • 4. ถูกล่อลวงโดยคนแปลกหน้า
  • 5. โจรกรรมข้อมูลออนไลน์เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน

เดี๋ยวนี้กลโกงออนไลน์มีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยี และความรู้ของผู้ที่โกง และจำนวนของคนโกง ซึ่งก็เพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางความไม่ระมัดระวังตัวหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้คนยุคนี้ ฉะนั้นวิธีสอนให้ลูกรู้เท่าทันเล่ห์กลโกงหรือภัยร้ายในโลกออนไลน์เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

วิธีสอนให้ลูกรู้เท่าทันเล่ห์กลโกง

◆ 1. พูดคุยสร้างข้อตกลงร่วมกัน ◆

พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกถึงโลกออนไลน์มีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนอยู่ ฉะนั้นเมื่อลูกอยู่บนโลกออนไลน์ควรมีข้อตกลงร่วมกันก่อนว่า ไม่ควรไว้วางใจให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับเพื่อนในโลกออนไลน์ หรือถึงขนาดออกไปเจอกันเพียงลำพัง โดยยกตัวอย่างอุทาหรณ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อเป็นการเตือนและให้ข้อคิดเพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

◆ 2. ต้องไม่เปิดเผยเอกสารสำคัญ ◆

เอกสารสำคัญเป็นเรื่องที่ต้องไม่เปิดเผยให้ใครรู้ เช่น เบอร์บัญชี สำเนาบัตรประชาชน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ เด็ดขาด เพราะทำให้คนอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของเราได้ เดี๋ยวนี้มีการหลอกลวงขั้นสูงทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ หรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือ ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งมีเหยื่อหลงกลจำนวนมาก

◆ 3. อย่ากรอกข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบ ◆

ถ้ามีข้อความหรือมีรหัสอะไรที่ไม่รู้ที่มา แล้วระบุให้เรากรอกรายละเอียด ต้องไม่กรอกเด็ดขาด รวมไปถึงการไม่เข้าไปกดข้อความใด ๆ ที่ไม่รู้ หรือแค่สงสัยก็ห้ามให้ลูกกดเข้าไปเด็ดขาด เพราะเคยมีกรณีที่เด็กกดปุ่ม OK ไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่ามันคืออะไร สุดท้ายก็มีบิลมาเก็บที่บ้านในหลักเงินหลายหมื่นบาท หรืออาจเป็นไวรัสก็ได้

◆ 4. บนโลกออนไลน์ไม่มีของฟรี ◆

ปัจจุบันมีข้อความประเภท ลดราคาสินค้าทั้งร้าน กดเข้าไปเพื่อรับสินค้าฟรี ลดแหลกแจกแถม หรือข้อความใด ๆ อีกมากมายที่ถูกส่งมากระตุ้นต่อมอยากรู้อยากเห็นอยากได้ของเด็กให้กดเข้าไป ซึ่งในความเป็นจริงของฟรีหรือของถูกที่ว่านั้นต้องแลกมากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ เช่น ข้อมูล หรือสุดท้ายก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี

◆ 5. ไม่โอนเงินให้ใครเด็ดขาด ◆

รูปแบบการสร้างเพื่อนในยุคนี้ อาจไม่รู้จักกันแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้ และส่วนใหญ่ก็อยากได้เพื่อนจำนวนมาก ๆ ด้วย ซึ่งก็อาจเป็นภัยได้ถ้ารู้ไม่เท่าทัน ฉะนั้น พ่อแม่จำเป็นต้องบอกลูกเสมอว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า และไม่ควรหลงเชื่อใครง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการโอนเงิน ยกตัวอย่างข่าวที่มีการโดนโกงผ่านโลกออนไลน์อยู่ทุกวี่วันก็ได้

◆ 6. อย่าลืม sign out ทุกครั้ง ◆

ทุกครั้งที่เข้าสู่โลกออนไลน์ เมื่อต้องใช้เครื่องมือที่อื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง อย่าลืมออกจากระบบทุกครั้งหลังการใช้งาน เพราะคนอื่นอาจใช้อีเมลของเราสวมรอยไปกระทำความผิดได้

เรื่องการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และภัยออนไลน์มีความจำเป็นมาก อย่าคิดว่าลูกโตมากับโลกยุคดิจิทัลแล้วจะไม่มีทางถูกกลโกงออนไลน์ได้ ทุกคนมีโอกาสทั้งนั้น เพียงแต่ต้องระมัดระวังตัว และมีสติรู้ตัวเสมอในการเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่สำคัญพ่อแม่ก็ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างด้วยนะคะ

เป็นที่รู้กันดีว่าในยุคปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และสื่อดังกล่าวก็เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ อย่างในกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง เช่น การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

ในส่วนของปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญหาการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กันหรือไม่นั้น

แพทย์ระบุว่าการเผยแพร่ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงรวมถึงการฆ่าตัวตาย ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อเด็กและวัยรุ่นที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ อาจมีการเลียนแบบพฤติกรรมได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของการฆ่าตัวตายก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากเลียนแบบพฤติกรรมตามเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยปัญหาที่เกิดมากที่สุดมักเกิดกับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื่องจากความสามารถของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาได้ไม่เท่ากับด้านของอารมณ์ ทำให้ขาดความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ในวัยรุ่นเองก็มีความเครียดที่ค่อนข้างหลากหลาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายด้าน ทั้งในด้านสรีระที่เปลี่ยนไป หรือในด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นจากในวัยเด็ก รวมถึงเรื่องเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้ค่อนข้างมาก เริ่มมีความรัก หรือมีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเครียดและการแสดงออกทางพฤติกรรมได้ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็มีส่วนต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมค่อนข้างมาก

การดูแลเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับเด็กวัยรุ่นคือ

ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอยู่ห่างๆ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเด็กแต่ไม่ควรแสดงตัวตนมากนัก เนื่องจากการแสดงตัวมากไปอาจทำให้เด็กถอยหนีซึ่งส่งผลต่อการควบคุมที่ยากขึ้น คอยสังเกตดูว่าเด็กมีความสนใจในด้านไหน กดไลค์เนื้อหาประเภทใด และคอยให้คำแนะนำตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ปกครองควรกำหนดเงื่อนไขการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเด็ก เพื่อควบคุมปริมาณการใช้งานไม่ให้มากจนเกินไปและส่งผลเสียในที่สุด

ในเรื่องของการถ่ายทอดสดฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อความที่เป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผลสำรวจพบว่ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ และพบว่าคนที่มีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาทำนองนี้ อาจเกิดจากแรงจูงใจบางอย่าง เช่น การได้รับคอมเมนต์ หรือการได้รับการกดไลค์ รวมถึงผู้เผยแพร่อาจมีอาการทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้วย จึงส่งผลให้มีพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาวะที่น่าสนใจและควรทำความรู้จัก

เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และอาการทางจิตเวชเรียกว่า Facebook Depression Syndrome หรือภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

  1. มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุขของเพื่อนๆ ใน Facebook
  2. ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น
  3. มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
  4. มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  5. รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่สามารถเช็คข้อความข่าวสาร หรือสถานะของตัวเองได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
  6. มักอัพเดทสถานะแบบดึงดูด หรือโพสต์บทความต่างๆ เช่น ข้อความขำขัน ข้อความแหลมคม

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาณของการเกิดภาวะซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ค แต่ยังไม่ใช่ผลวินิจฉัยทางโรคจิตเวช และผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วมาใช้งาน Facebook จึงมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะซึมเศร้า แต่อาจไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นจาก Facebook เสียทีเดียว

ในด้านของปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังมีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าด้วย รวมถึงอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ก้าวร้าวรุนแรง มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น แต่ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเสียทีเดียว เพียงแต่ส่งผลให้มีบุคลิกในอีกรูปแบบหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

การควบคุมปริมาณการฆ่าตัวตายที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

คนในครอบครัวคือบทบาทที่สำคัญที่สุด โดยการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในครอบครัว สังเกตว่านิสัยใจคอเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร หรือมีอาการเก็บตัวหรือไม่ รวมถึงการเรียนถดถอยลงไหม ไปจนถึงพฤติกรรมการทานอาหาร การเข้านอน และที่สำคัญคือปริมาณการใช้สื่อออนไลน์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งผลด้านบวก

คือควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวมถึงพยายามดูแลคนในครอบครัวไม่ให้ละเลยความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่างๆ อย่างการเรียนหรือการทำงานบ้าน อันเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นกับปัญหาสุขภาพจิต” ได้ที่นี่

YouTube: https://youtu.be/dhf5tCRVSKA

ฆ่าตัวตาย ติดโซเชียล ออนไลน์ สังคมออนไลน์ Facebook Depression Syndrome ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค สื่อสังคมออนไลน์

ข้อเสียของสื่อสังคมออนไลน์ มีกี่ข้อ อะไรบ้าง

ข้อเสียของสื่อสังคมออนไลน์.
เว็บไซต์ที่ให้บริการบางเว็บไซต์ อาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเรา.
มีมิจฉาชีพแฝงตัวเพื่อหลอกลวงจำนวนไม่น้อย.
เป็นแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย ทำให้ผู้สร้างผลงานตัวจริงเสียผลประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์.

สังคมออนไลน์ส่งผลต่อชีวิตอย่างไร

สังคมออนไลน์ที่กว้างไกล ทำให้เราสามารถพบเจอคนใหม่ๆได้มากขึ้นโอกาสที่เราจะได้เจอคู่รักก็เป็นไปได้มากขึ้นด้วย ฟังดูเหมือนจะดีใช่ไหม แต่ความจริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย การได้เจอคนใหม่ได้ง่ายนี่แหละ กลายเป็นช่องโหว่รูใหญ่ของครอบครัวทีเดียว การนอกใจกันของคู่รักหนุ่มสาว จนถึงคู่ที่แต่งงานแล้ว มีมากขึ้นหลายคนพบคนรักใหม่จากการ ...

ภัยออนไลน์ใกล้ตัวมีอะไรบ้าง

ภัยประเภทที่ 1 : มิจฉาชีพบน Social Media..
ภัยประเภทที่ 2 : อีเมลหลอกลวง (Phishing).
ภัยประเภทที่ 3 : การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft).