อันตรายที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้า

หลังเลิกงาน ภายหลังการเชื่อมเสร็จแล้ว จะต้องเคาะเอาสะแลค (ภาษาช่างจะเรียกว่าขี้เชื่อม) ออก หรือการเจียร เพื่อตกแต่งรอยเชื่อม กิจกรรมเหล่านิ้อาจทำให้เศษโลหะกระเด็นเข้าตาได้หากไม่ใส่แว่นนิรภัยป้องกันดวงตา รวมไปถึงสุขอนามัยส่วนบุคคล

ซึ่งแนะนำว่าให้ชำระล้างทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังเสร็จงาน และเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน และงดนำอาหาร หรือเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามารับประทาน หรือดื่มในบริเวณที่มีการทำงานเชื่อม

• ก่อนการตัด หรือเชื่อมโดยเฉพาะบริเวณที่อันตราย (Hazardous Zone) เช่น ใกล้กับบริเวณที่มีไอน้ำมัน หรือสารเคมีไวไฟ จะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Permit) มีการกั้นพื้นที่ทำงานชั่วคราว และปฏิบัตตามขั้นตอนและข้อกำหนเดที่ระบุในคู่มือการทำงาน หรือ จากการเรียนรู้ การอบรม

* แต่สำหรับในงานที่ผมรับผิดชอบอยู่ เนื่องจากเป็นงานก่อสร้าง และปรับปรุงในพื้นที่ที่บางครั้งมีไอน้ำมันอยู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เอกสาร และมาตรการต่างๆ มากมายมาใช้บังคับผู้รับเหมาและคนงานให้ปฏิบัตตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้าผลาดขึ้นมา นั่นหมายถึงอันตรายต่อชีวิต และความสูญเสียอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล

ทั้งนี้ในงานที่มีความเสี่ยงสูง แบบนี้ก่อนทำงานจะมีระบบเอกสารในการทำการประเมินความเสี่ยงตามแต่ละขั้นตอนการทำงาน ที่เราเรียกกันว่า JHA (Job Hazard Analysis) และมีการขอใบอนุญาตทำงาน และต้องมีการตรวจสอบหน้างาน เพื่อพิจารณาความปลอดภัยที่หน้างานเท่านั้นก่อนผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาความปลอดภัย จะเซ็นอนุญาตให้เริ่มการทำงานในแต่ละครั้ง

• เมื่อทำการเชื่อมหรือตัดบนที่สูง จะต้องระวังและป้องกันลูกไฟ หรือสะเก็ดไฟหล่นใส่ผู้ที่อยู่ด้านล่าง หรืออุปกรณ์ที่ไวไฟอยู่ด้านล่างหรือใกล้เคียงสำหรับงานที่ต้องตัด เชื่อม เจียร์บนที่สูงในบริเวณที่ห้ามเกิดประกายไฟ (hot work) จะต้องจัดให้มีผู้เฝ้าระวังประกายไฟด้านล่างอย่างน้อยหนึ่งคน หรือให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเดินตรวจตราด้านล่างบริเวณรอบๆที่กำลังทำการเชื่อม ตัด หรือเจียร์อยู่

• ให้ใช้ถาดชนิดที่เป็นโลหะไม่ติดไฟ หรือที่ไม่มีปฏิกริยากับความร้อน รองไว้ใกล้กับบริเวณที่เชื่อมหรือตัดเพื่อป้องกันสะเก็ดไฟ

• ให้ใช้วัสดุที่ไม่ติดไฟ คลุมอุปกรณ์ทางด้านล่างและพรมด้วยน้ำ และก่อนเริ่มจะต้องมีเครื่องดับเพลิงเตรียมไว้พร้อม ต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุไม่ติดไฟ สำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน และมีคุณสมบัติสำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ที่สามารถป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และไม่ลุกติดไฟง่ายต้องสวมถุงมือหนังชนิดที่ไม่เปิดปลายนิ้ว และ ต้องสวมรองเท้านิรภัยชนิดหุ้มข้อ

• เมื่อต้องทำงานเชื่อมหรืองานตัดบนที่สูงต้องดำเนินการภายใต้สภาพที่ปลอดภัย และใช้เข็มขัดนิรภัยแบบรัดลำตัวตลอดเวลา

• เครื่องเชื่อมโลหะแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน หรือสวิตซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด และห้ามใช้ลวดทองแดงมาใช้แทนฟิวส์ตะกั่วเด็ดขาด

• พื้นที่ทำงานเชื่อมต้องเป็นวัสดุทนไฟ พื้นผิวไม่ขรุขระ หรือมีน้ำขัง และต้องจัดให้มีแสงสว่าง และ การระบายอากาศที่ดีในบริเวณที่เชื่อมอย่างเพียงพอ และเหมาะสม

• ห้ามนำถังแก๊สเข้าไปวางใช้งานในสถานที่อับอากาศ หรือวางบนนั่งร้านเด็ดขาด

• เมื่อทำงานเชื่อม หรืองานตัดในบริเวณที่มีอากาศไม่เพียงพอในเวลานานๆ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ในระหว่างการทำงาน ปริมาณออกซิเจนในอากาศต้องไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยการทำงาน

ที่ผมเขียนขึ้นมาข้างบนนี้เป็นตัวอย่างที่ผมปฏิบัตจริงที่หน้าไซต์งานของผม และใช้ในการจัดฝึกอบรมให้ผู้รับเหมาและคนงานเข้าใจและปฏิบัติตาม ซึ่งผมจะมีการสุ่มไปตรวจ Audit ที่ไซต์งานโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้รับเหมา หรือ ผู้ปฏิบัตงานทราบล่วงหน้า

และถ้าหากผมพบว่ามีการฝ่าฝืนกฏ ก็จะมีการสอบสวน หากพบว่าและผู้ปฏิบัติเจตนาฝ่าฝืน (ผ่านการอบรม และทราบในกฏระเบียบ และขั้นตอนในการทำงาน) ก็จะมีการลงโทษสถานหนัก แต่หากผู้ปฏิบัตไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืน แต่เป็นเพราะนายจ้างไม่เคยจัดการอบรม ไม่เคยจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม และปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัตงาน ในกรณีนี้ ผมสั่งลงโทษที่บริษัทผู้รับเหมา และโฟน์แมน หรือผู้ควบคุมงานนะครับ ที่ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยให้กับลูกน้อง หรือคนงานในทีมของท่าน

2. อันตรายที่แฝงอยู่ในระบบการเชื่อม ซึ่งจะเป็นความอันตรายที่เกิดมาจากสารต่าง ๆที่ออกมาจากการเชื่อมนั้น ๆ ตั้งแต่

2.1 ควันและฝุ่นเชื่อม 

ซึ่งสิ่งเหล่าน้ะอยู่ในลักษณะที่อยู่ในระดับจุลภาค และอาจจะสะสมอยู่ในช่องว่างของปอดจนกระทั่งปอดอักเสบ จนถึงขั้นเป็นมะเร็งในปอด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างเกิดมาจากสารต่าง ๆ เช่น สังกะสีออกไซด์สำหรับเคลือบผิวโลหะ สารแคลเซี่ยมฟลูออไรด์ ที่ละเอียดอ่อน ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้อวัยวะทั้งภายนอกและภายในของเรามีปัญหาแทบทั้งนั้น

2.2 แก๊สที่เกิดขึ้นจากการเชื่อม

ซี่งโดยทั่ว ๆ ไปจะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ , โอโซนและออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายได้ทั้งนั้น

ไม่ว่าความอันตรายนี้จะเกิดขึ้นจากแหล่งใด แต่ทุกอย่างล้วนแต่ทำอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น ตั้งแต่จากภายนอกอย่างดวงตา หรือผิวหนัง จนกระทั่งไปถึงภายในอย่างระบบทางเดินหายใจเป็นต้น ซึ่งถ้าหากยังปล่อยให้ความอันตรายเหล่านี้มีผลต่อร่างกายต่อไป ย่อมทำให้สุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงทำให้การตระหนักถึงความปลอดภัยในงานเชื่อม เป็นสิ่งที่พูดถึงอย่างมากมายและควรนึกถึงอย่างมากนั่นเอง

โดยความปลอดภัยในงานเชื่อมนั้นมีวิธีการดังนี้

1. ต้องใช้หน้ากากกรองแสงหรือแว่นตา เพื่อที่จะได้ป้องกันสะเก็ดลูกไฟและรังสี ซึ่งจะช่วยทำให้ดวงตาของเราได้รับผลกระทบน้อยนั่นเอง

2. ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวสวม ถุงมือชนิดไม่เปิดปลายนิ้วมือ รวมไปถึงควรสวมรองเท้าชนิดหุ้มข้อหรือรองเท้านิรภัย เพื่อป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

3. ในส่วนของเครื่องเชื่อมโลหะ ควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันหรือสวิทซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างเกินกำลัง

4. ตู้เชื่อมจะต้องต่อสายดินทุกเครื่อง

5. ห้ามใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์ตะกั่ว

6. สายไฟฟ้าควรจะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

7. ถังก๊าซและอุปกรณ์ควรจะได้มาตรฐานที่เหมาะที่ควรเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย

8. ถังก๊าซจะต้องตั้งหัวขึ้นและมีสายผูกยึดกันล้มกับสิ่งที่มั่นคง

9. ถังบรรจุก๊าซและถังผลิตก๊าชอะเซติลีนจะต้องมีเกจวัดความดันของก๊าซในถัง วาล์วควบคุมความดัน และเกจวัดความดันที่ใซ้งาน ที่อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย

10. ถังผลิตก๊าซอะเซติลีน จะต้องมีวาล์วนิรภัย

11. วาล์วท่อและอุปกรณ์ที่ใช้กับก๊าซออกซิเจนจะต้องไม่มีนํ้ามันไขหรือจาระบี รวมถึงจะต้องไม่ใช้ท่อทองแดงกับท่อนํ้าก๊าซอะเซติลีนหรือส่วนประกอบอื่น ๆ

12. หัวเชื่อมก๊าซและสายท่อนำก๊าซจะต้องอยู่ในสภาพดี

13. ต้องมีอุปกรณ์กันไฟกลับติดตั้งที่ท่อนํ้าก๊าซอะเซติลีนก่อนต่อเข้ากับชุดหัวเชื่อมก๊าซ

14. กังเก็บแคลเซียมคารไบค์ ต้องเป็นถังโลหะที่ป้องกันนํ้าเข้าได้ และตั้งอยู่บนพื้นที่ยกระดับอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

15. กากวัสดุเหลือใช้ ต้องมีภาชนะเก็บโดยเฉพาะและมีฝาปิดมิดชิด

อันตรายที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้ามากที่สุดคือข้อใด

แสงจากการเชื่อม เป็นอันตรายต่อดวงตาและอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้รังสีในห้องเชื่อมที่เป็นอันตรายจะอยู่ในช่วงความถี่ตามองไม่เห็น คือช่องรังสีใต้แดง (infrared) และรังสีเหนือม่วง (ultraviolet) รังสีทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาและผิวหนังได้อย่างรุนแรง คือ ดวงตาระคายเคืองถึงกับอักเสบและน้ำตาไหล ผิวหนังส่วนที่ได้รับ ...

โรคใดเกิดจากงานเชื่อมไฟฟ้า

นอกจากนี้ช่างเชื่อมยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ,โรค Pneumoconiosis ( ซึ่งเป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นอนุภาคเล็กเข้าไป) โรค Silicosis ( เกิดจากการสัมผัสกับสารซิลิกา)และ โรค Siderosis (เป็นโรคที่เกิดจากการสูดฝุ่นละอองเป็นฝุ่นเหล็ก ...

ควันเชื่อม อันตรายไหม

ควันเชื่อมสามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรง จะเห็นได้ชัดว่าการสูดดมควันเชื่อมก่อให้เกิดอันตราย และถ้าคุณยังไม่เชื่อ, อ่านบทความการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากและ รายงานซึ่งระบุว่า ควันเชื่อมก่อให้เกิดอาการทางกายภาพได้หลายประเภท และโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง,โรคหอบหืด และแม้กระทั่งอาการของโรคพาร์กินสัน

รังสีที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้าเป็นรังสีชนิดใด

1.3.2 รังสีอัลตร้าไวโอเลต (ULTRAVIOLET RAYS) การเชื่อมอาร์กซึ่งจะเกิดรังสีประเภทนี้ขึ้นจะทำอันตรายต่อผิวหนังและตาที่ไม่มีสิ่งป้องกันจะทำให้ผิวหนัง ถูกเผาไหม้และเกิดระคายเคืองในเบ้าตาคล้ายกับมีเม็ดทรายเข้าไปอยู่ในตารังสีอัลตร้าไวโอเลต ยังมีส่วนทำให้บริเวณที่มีการเชื่อมเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโอโซนบรรยากาศของออกซิเจน ...