ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

อากาศจัดเป็นของผสม โดยประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เช่น ไอน้ำ, เขม่า, ควันไฟ, และอนุภาคต่างๆ ปะปนกันอยู่ สำหรับอากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่เลย เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยเรียกว่า อากาศชื้น ส่วนผสมของอากาศในที่ต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามสถานที่และเวลา อีกทั้งส่วนประกอบของอากาศในดินไม่มีสัดส่วนที่คงที่เหมือนของบรรยากาศ เพราะในดินจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผันแปรตลอดเวลาตามกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดิน เช่น การสลายตัวของสารอินทรีย์โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ด้วยเหตุนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในดินจึงไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม, อุณหภูมิและความชื้นของดิน โดยดินที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงจะช่วยให้กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ในดินมีอัตราสูงขึ้นทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมามากขึ้นด้วย นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในดินจะทำให้เกิดกระบวนการดูดกลืนก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ทำให้ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของอากาศในดินมีความผันแปรสูง

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

Skip to content

อากาศเป็นส่วนผสมของแก๊สต่าง ๆ รวมทั้งไอน้ำที่ระเหยมาจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าอากาศปะปนไปด้วยสารแขวนลอยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นละอองของของเหลว และอนุภาคของของแข็ง เช่น อนุภาคของเกลือจากทะเลและมหาสมุทร ฝุ่นผง เขม่าและควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร และไอเสียจากเครื่องยนต์
นักวิทยาศาสตร์แบ่งอากาศออกเป็น 2 ชนิด คือ อากาศแห้ง หมายถึง อากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่ด้วย และอากาศชื้น หมายถึง อากาศที่มีไอน้ำอยู่ด้วย

     แก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ

     ปริมาณ (ร้อยละโดยประมาณ)

ไนโตรเจน

78

ออกซิเจน

21

อาร์กอน

0.93

คาร์บอนไดออกไซด์

0.03

แก๊สอื่น ๆ

0.04

โดยปกติแล้วจะไม่มีอากาศแห้งที่แท้จริง อากาศทั่วไปเป็นอากาศชื้น ถ้าอากาศชื้นมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ก็จะมีไอน้ำปนอยู่ประมาณ 40 กรัม ดังนั้นจำนวนส่วนผสมของแก๊สอื่นตามตารางข้างต้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ตามปกติในบรรยากาศมีไอน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 0 ถึง 4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากเนื่องจากไอน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดฝน พายุ ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง
รายละเอียดของแก๊สต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอากาศมีดังนี้
1. แก๊สไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ มีสมบัติเป็นแก๊สเฉื่อย มีประโยชน์คือ ช่วยเจือจางออกซิเจนในอากาศให้พอเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะนำไปใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ ไนโตรเจนยังเป็นธาตุที่เป็นอาหารของพืช โดยไนโตรเจนในดินจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ในปมรากของพืชตระกูลถั่วมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไรโซเบียม อาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศไปไว้ในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืช
2. แก๊สออกซิเจน (O2) เป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการหายใจเข้าไป เพื่อนำไปสันดาปกับอาหารภายในเซลล์ แล้วให้พลังงานออกมา ซึ่งจะถูกเซลล์นำไปใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้แก๊สออกซิเจนในอากาศยังช่วยในการสันดาปกับเชื้อเพลิง แล้วให้พลังงานความร้อนและแสงสว่างออกมา และแก๊สออกซิเจนบางส่วนในอากาศจะถูกเปลี่ยนไปเป็นแก๊สโอโซนเพื่อใช้ในการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์
3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งเป็นการสร้างอาหารของพืช โดยทำการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยอาศัยคลอโรฟิลล์ อาหารที่ได้จาก ส่วนหนึ่งพืชจะนำไปใช้ อีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ เมื่อสัตว์กินพืชเข้าไป อาหารที่เก็บไว้ก็จะกลายเป็นอาหารของสัตว์ต่อไป

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

 4. ไอน้ำ ไอน้ำในอากาศเกิดจากการระเหยของน้ำที่ผิวโลก โดยเฉพาะจากบริเวณ เช่น มหาสมุทร ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง โดยจะมีปริมาณมากหรือน้อยตามแต่สถานที่ การเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในอากาศเป็นสาเหตุให้เกิดเมฆ หมอก หิมะ ฝน และลูกเห็บ

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

นอกจากที่กล่าวมานี้ องค์ประกอบอื่น ๆ ในอากาศส่วนใหญ่จะเป็นพวกแก๊สเฉื่อย เช่น แก๊สอาร์กอน นีออน ฮีเลียม ไฮโดรเจน และสารแขวนลอยในอากาศ เช่น ควันไฟ เขม่า และฝุ่นผงต่าง ๆ ซึ่งสารแขวนลอยต่าง ๆ เหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเกิดมลพิษทางอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และการเกิดไฟป่า ทำให้สัดส่วนขององค์ประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไป

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

โจทย์ปัญหา

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่ คือ

  • ประถม
  • วิชาอื่น ๆ

ขอคำอธิบายอย่างละเอียดและรวดเร็วครับ

ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณไม่คงที่คือ คาร์บอนไดออกไซด์ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์จะมีการผันแปรตลอดเวลาขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลก เช่น การปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

    ยังไม่เข้าใจใช่ไหม?

    ลองถามคำถามกับคุณครู QANDA!