เหรียญกษาปณ์ ผลิต โดย หน่วยงาน ใด

อธิบดีกรมธนารักษ์เปิดเผยว่าได้รับหนังสือชี้แจงและขอโทษจาก La Monnaie de Paris แต่ยังเดินหน้าศึกษาหนทางฟ้องร้องโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศสฐานเปิดเผยแม่แบบของเหรียญกษาปณ์รุ่นใหม่ในรัชกาลที่ 10 โดยไม่ได้รับอนุญาต

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวกับบีบีซีไทย การจ้างโรงงานต่างชาติผลิตเหรียญกษาปณ์ เป็นเรื่องเกิดได้ในช่วงกำลัง การผลิตในประเทศของโรงกษาปณ์ รังสิต บนเนื้อที่ 128 ไร่ ไม่เพียงพอ

"ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ต้องดำเนินการตามเดิมในเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายจากเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" นายพชร กล่าว

จ้างต่างชาติเป็นเรื่องปกติ เมื่อกำลังผลิตไม่เพียงพอ

นายพชร กล่าวว่า การจ้างโรงกษาปณ์ในต่างประเทศเป็นเรื่องปกติสำหรับโรงกษาปณ์ทั่วโลก เพราะในบางครั้งกำลังการผลิตอาจไม่เพียงพอ ในช่วงเวลาที่ต้องการผลิตจึงต้องว่าจ้างโรงกษาปณ์ภายนอกดำเนินการแทน ที่โรงกษาปณ์ รังสิต มีเครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์ขนาดใหญ่ 2 เครื่อง และเครื่องเล็กอีกราว 10 เครื่อง โดยหน้าที่หลักคือการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในระบบการเงิน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกและผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ

"นอกจากโรงกษาปณ์ฝรั่งเศสแล้ว ที่ผ่านมากรมธนารักษ์เคยว่าจ้างผ่านการเปิดประมูลหลายรอบ โดยโรงกษาปณ์หลายแห่งในต่างประเทศ เช่น โปแลนด์ เกาหลีใต้"

  • - เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1,000 ล้านเหรียญ/ปี

  • - เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 50 ล้านเหรียญ/ปี

  • - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5 แสนสำรับ/ปี

  • - เหรียญที่ระลึกและผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ 4.7 ล้านชิ้น/ปี

คนแห่สะสมเหรียญกษาปณ์ ใน ร.9

อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวอีกว่า ในความเป็นจริงปัจจุบัน มีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราว 3 หมื่นล้านเหรียญ แต่ละปี เกิดการสูญหายหรือเสียหายชำรุดออกจากระบบไปบ้าง ประมาณ 5-10%

แต่ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประชาชนมีความต้องการเก็บสะสมเหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 9 เป็นที่ระลึกและบูชามากขึ้นทำให้มีเหรียญกษาปณ์หายออกจากระบบมากกว่าปกติ

"ขณะนี้กรมธนารักษ์กำลังรวบรวมข้อมูลว่า เหรียญกษาปณ์ที่หายไปจากระบบแล้วจำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะนี้กรมธนารักษ์ก็ได้สั่งให้เพิ่มกำลังผลิตในโรงกษาปณ์เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติราว 20%" นายพชรกล่าว

ที่มาของภาพ, www.royalthaimint.net

คำบรรยายภาพ,

โรงกษาปณ์ รังสิต

Cashless Society ความท้าทายใหม่

ความกังวลจากผลกระทบในเรื่องสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society กำลังกลายเป็นความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตเหรียญกษาปณ์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการชำระเงินใหม่ๆ ภายในแผน National E-Payment ด้วยการส่งเสริมให้คนไทยใช้จ่ายผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์มากขึ้น

กรมธนารักษ์ คาดการณ์ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้ความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ในระยะยาวลดลง

แต่ในความเห็นของอธิบดีกรมธนารักษ์ยืนยันว่า คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในต่างจังหวัดยังมีความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์นี้ต่อไป จึงทำให้การผลิตเหรียญกษาปณ์ยังคงจำเป็นต้องมีต่อไป ทางรอดของโรงกษาปณ์ก็คือต้องหารายได้จากการรับจ้างทำเหรียญที่ระลึกและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น เพื่อพยุงต้นทุนในการผลิต

วันที่ปรับปรุงล่าสุดชื่อย่อของหน่วยงานชื่อหน่วยงาน (ภาษาไทย)ชื่อหน่วยงาน (ภาษาอังกฤษ)ที่ตั้ง (ภาษาไทย)ที่ตั้ง (ภาษาอังกฤษ)หมายเลขโทรศัพท์  หมายเลขโทรสารโทรศัพท์มือถือ  พูดคุยออนไลน์อีเมล์  เว็บไซต์เว็บศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ  สังคมออนไลน์พิกัดที่ตั้งโครงสร้าง-แผนผังองค์กรอำนาจหน้าที่วิสัยทัศน์ / พันธกิจภารกิจ / วัตถุประสงค์ของหน่วยงานโครงการต่างๆ / แผนการดำเนินงานผู้ประสานงาน

กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าปรับปรุงกฎหมายการนำเข้าเหรียญตัวเปล่าโลหะที่นำมาใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนให้มีความสอดคล้องกับชนิดราคา ชนิดโลหะของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้ในปัจจุบัน

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดระเบียบการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และอำนวยความสะดวกทางการค้าของประเทศ กรมฯ ได้เดินหน้าปรับปรุงกฎหมายและมาตรการทางการค้าให้มีความความทันสมัยและทันสถานการณ์อยู่เสมอ โดยล่าสุดกรมฯ เตรียมยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำหนดประเภทของเหรียญตัวเปล่าโลหะที่นำมาใช้ในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ให้ตรงตามชนิดราคาและชนิดโลหะของเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้การยกร่างประกาศดังกล่าวอยู่ระหว่างประสานกรมศุลกากรเพื่อกำหนดพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของการออกอนุบัญญัติต่อไป

การยกร่างประกาศดังกล่าว เป็นการทบทวนและปรับปรุงจากประกาศกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 93) พ.ศ. 2536 ให้เหรียญตัวเปล่าโลหะเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้าภายใต้พระราชบัญญัติ การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเหรียญกษาปณ์ ซึ่งเหรียญตัวเปล่าโลหะเป็นวัตถุดิบสำคัญที่กรมธนารักษ์นำเข้ามาใช้ในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเพื่อใช้แลกเปลี่ยนสินค้าในประเทศ โดยในประกาศฉบับเดิมกำหนดประเภทของเหรียญตัวเปล่าโลหะที่มีลักษณะ ขนาด น้ำหนักและส่วนผสมใกล้เคียงกับเหรียญกษาปณ์ 5 ชนิดราคา ได้แก่ 10 บาท 5 บาท 1 บาท 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ และกำหนดอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะกระทรวงการคลังและผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังเท่านั้น

แต่ปัจจุบันเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ผลิตในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 9 ชนิดราคา ได้แก่ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ ซึ่งเหรียญกษาปณ์แต่ละชนิดราคาผลิตจากเหรียญตัวเปล่าที่มีชนิดโลหะและขนาดแตกต่างกัน เช่น เหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 5 บาท ผลิตจากเหรียญตัวเปล่าโลหะทองแดงผสมนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24 มิลลิเมตร และเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 บาท ผลิตจากเหรียญตัวเปล่าโลหะนิกเกิลชุบเคลือบไส้เหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 มิลลิเมตร เป็นต้น ดังนั้น กรมฯ จึงทบทวนประกาศฉบับเดิม โดยยกร่างประกาศฉบับใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

นายอดุลย์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ มุ่งมั่นในการส่งเสริมการค้า ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของไทย พร้อมนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับการให้บริการในการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับสากลได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอคำปรึกษาด้านการค้าต่างประเทศ ได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือที่กองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 3 กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 547 5124 หรือเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ

เหรียญกษาปณ์ ผลิตโดยอย่างไร

(1) หลอมโลหะส่วนผสมตามความต้องการและเทหล่อลงบนพิมพ์เป็นแท่ง (2) นำแท่งโลหะมารีดลดความหนาจนได้แผ่นโลหะที่มีความหนาตามที่กำหนด (3) นำแผ่นโลหะมาตัดตัว ให้ได้เหรียญตัวเปล่าที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนาและน้ำหนักตามที่กำหนด

เงินเหรียญผลิตโดยที่ใด

รัฐบาลมีนโยบายย้ายโรงกษาปณ์ออกไปอยู่นอกเมืองที่มีพื้นที่ กว้างขวางและห่างไกลชุมชน จึงมีมติเห็นชอบให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 ซึ่งสถานที่ก่อสร้างใหม่นี้อยู่ที่บริเวณโรงงาน ทอกระสอบเดิมของกระทรวงการคลัง ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 34 - 35 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ ประมาณ 126 ไร่

ใครผลิตเหรียญบาท

ในรัชกาลปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้ในระบบเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2493 เป็นต้นมา ซึ่งมีหลากรุ่น หลายแบบ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณะ ลวดลาย อัตราส่วนผสม และกรรมวิธีการผลิตเรื่อยมา เพื่อให้สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ตลอดจนมีขนาดน้ำหนักเหมาะสม สะดวกต่อการ ...

ธนาคารใดผลิตเหรียญกษาปณ์

เงินตรา ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร ซึ่งต่างก็มีผู้ทำหน้าที่ในการจัดทำและนำออกใช้ อันได้แก่ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหน่วยของเงินตรา คือ บาท กำหนดให้หนึ่งบาทมีหนึ่งร้อยสตางค์