ละครชาตรี ละครนอก ละครใน เกิดขึ้นในสมัยใด

กำเนิดของละครชาตรี

ใน พ.ศ. ๒๓๗๕ รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ  บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ยกทัพลงไประงับเหตุการณ์ร้ายทางหัวเมืองภาคใต้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นได้เกิดฝนแล้ง ราษฎรอดอยาก ทำให้ชาวเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา พากันอพยพติดตามกองทัพเข้ามายังกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเหล่านั้นเป็นไพร่หลวงเกณฑ์บุญ คือ เป็นแรงงาน เมื่อราชการมีงานบุญ และให้ตั้งบ้านเรือน ซึ่งในปัจจุบัน เป็นบริเวณถนนหลานหลวง และถนนดำรงรักษ์ นักแสดงโนราซึ่งติดตามมาด้วย ก็ตั้งเป็นคณะละครรับจ้างแสดงแบบเหมาทั้งคณะ จนเป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นสิ่งแปลกใหม่และยังมีการใช้คาถาอาคม ต่อมาคณะโนราได้ปรับรูปแบบการแสดงของตน ให้เข้ากับรสนิยมของผู้ชมในกรุงเทพฯ โดยการนำธรรมเนียมการแสดงของละครนอกมาผสมผสาน เช่น ดนตรี ปี่พาทย์ ทำนองเพลง การร้อง การรำ การแต่งกาย ในระยะแรกที่มีการผสมผสานกับละครนอกนั้น นักแสดงโนราที่เป็นผู้ชายเปลี่ยนมานุ่งผ้า เหมือนอย่างละครนอก แต่ยังคงรักษาแบบแผนของโนราคือ สวมเทริด สวมกำไลมือข้างละหลายอัน และสวมเล็บ แต่ไม่สวมเสื้อ

ละครชาตรี ละครนอก ละครใน เกิดขึ้นในสมัยใด

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงละครชาตรี ประกอบด้วย ระนาดเอก ตะโพน กลองตุ๊ก โทนชาตรี ฉิ่ง ฉาบเล็ก และกรับไม้ไผ่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ อนุญาตให้ผู้หญิงสามารถแสดงละครได้ทั่วไป ไม่หวงห้ามไว้เฉพาะละครผู้หญิงของหลวง เหมือนอย่างแต่ก่อน นักแสดงละครชาตรีจึงเปลี่ยนจากผู้ชายเป็นผู้หญิง ทำให้ต้องสวมเสื้อแบบละครนอก และเปลี่ยนเทริดเป็นชฎา เพราะรับกับใบหน้าของผู้หญิงทำให้ดูงดงามมากกว่า รวมทั้งนำเครื่องประดับของละครนอกมาใช้ จนครบเครื่องของละครนอกในที่สุด ส่วนการสวมเล็บก็ค่อยๆ หมดไป สำหรับการรำแบบโนราที่เป็นท่ารำของผู้ชายคือ มีวงและเหลี่ยมเปิดกว้างสุด ก็ปรับลดลง เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้หญิง โดยยังคงท่าทางแอ่นอกตึง ก้นงอน และย่ำเท้าเข้าจังหวะไว้ ไม่ใช้การกระทบจังหวะด้วยเข่าแบบละครนอก ส่วนเครื่องดนตรีมีระนาดเอก ตะโพน กลองตุ๊ก โทนชาตรีคู่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับไม้ไผ่ แต่ยกเลิกปี่ เพราะคนที่สามารถเป่าปี่ได้หายากขึ้น
ละครชาตรี ละครนอก ละครใน เกิดขึ้นในสมัยใด

การแสดงละครชาตรีของคณะวันดีนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นบุตรหลานของนายพูน  เรืองนนท์ แสดงประจำที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ เรื่องราวที่เป็นหลักฐานสำคัญที่อ้างถึงละครชาตรี มีอยู่ว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑ ได้กราบทูลขอพระราชานุญาต เสด็จกลับไปพยาบาลดูแลเจ้าจอมมารดานุ้ย (เล็ก) พระมารดาซึ่งเป็นธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์  ณ นคร) ทรงฝึกหัดละครผู้หญิงที่นครศรีธรรมราชขึ้นคณะหนึ่ง โดยจัดแสดงเรื่อง “อิเหนา” เมื่อเจ้าจอมมารดาถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงนำคณะละครผู้หญิงมาแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ปรับการแสดงเป็นแบบละครชาตรี ละครชาตรีของหลวงจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นมา
ละครชาตรี ละครนอก ละครใน เกิดขึ้นในสมัยใด

นายพูน  เรืองนนท์ ปัจจุบันมีละครแก้บนที่แสดงเป็นประจำทุกวันตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ ศาลพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพฯ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา และวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนตามวัดสำคัญๆ ในจังหวัดภาคกลาง ตามแต่เจ้าภาพจะจัดหาไปแสดง การแสดงแบ่งเป็นรำชุด เช่น ระบำเทพบันเทิง กฤดาภินิหาร หรือแสดงเป็นละคร ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกการแสดงแก้บนนี้ว่า “ละครชาตรี” แม้ว่าการแสดงละครชาตรีในปัจจุบัน จะเหมือนละครนอกเกือบทั้งหมด แต่ยังคงมีการแสดงละครชาตรีแบบดั้งเดิมเหลืออยู่บ้าง เช่น คณะนายพูน  เรืองนนท์ ที่ถนนหลานหลวง กรุงเทพฯ คณะละครชาตรีที่จังหวัดเพชรบุรีที่เรียกว่า ละครชาตรีเมืองเพชร ละครชาตรีคณะนายพูน  เรืองนนท์ สืบเชื้อสายมาจากโนราเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ โดยตั้งบ้านเรือน และคณะละครขึ้น ที่ถนนหลานหลวงจนถึงปัจจุบัน ต้นตระกูลเรืองนนท์ คือ พระศรีชุมพลเฉลิม (เรือง) ซึ่งรับราชการ ที่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นครูสอนโนรา มีคณะโนราชื่อ เรือเร่ หรือ เรือลอย นายนนท์บุตรของนายเรืองสืบทอดการแสดงต่อมา และฝึกสอนศิษย์จำนวนมาก จนมาถึงนายพูน บุตรของนายนนท์ก็เป็นนักแสดงละครชาตรีที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมาก เมื่อความนิยมละครชาตรีลดลง บุตรหลานของคณะนายพูน  เรืองนนท์ ก็พยายามสืบทอดคณะละครให้คงอยู่ต่อไป โดยยังแสดงตามสถานที่ต่างๆ เช่น คณะวันดีนาฏศิลป์ เป็นคณะละครและระบำแก้บน ซึ่งแสดงประจำที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ คณะละม่อมทิพโยสถ แสดงที่ศาลพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพฯ แต่แสดงเฉพาะรำชุดแก้บนเท่านั้น ส่วนรูปแบบการแสดงก็เป็นแบบละครนอกแทบทั้งสิ้น
ละครชาตรี ละครนอก ละครใน เกิดขึ้นในสมัยใด
การแสดงละครชาตรีที่ยังคงรักษาแบบแผนการแสดงละครชาตรีไว้ได้เป็นอย่างดี

ละครชาตรีเมืองเพชร เริ่มมาตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังพระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี (ปัจจุบันคือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี) มีคณะละครจากกรุงเทพฯ ไปแสดงที่เพชรบุรีหลายคณะ เช่น คณะละครผู้หญิงของหลวง คณะละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส คณะละครของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งไปปฏิบัติราชการที่เพชรบุรี ทำให้ชาวเพชรบุรีได้มีโอกาสชมละคร และเกิดความตื่นตัวจัดตั้งเป็นคณะละครเอกชนขึ้น เป็นการแสดงละครนอกซึ่งเรียกว่า ละครไทยรับจ้าง มีอยู่ทั้งหมด ๕ คณะ คือ คณะหลวงอภัยพลรักษ์ คณะหลวงทิพย์อาชญา คณะตาไปล่ คณะยายปุ้ย และคณะบางแก้ว ในเวลาต่อมา ผู้แสดงของคณะละครดังกล่าวได้ไปฝึกการแสดงละครชาตรีที่หลานหลวง แล้วจึงกลับไปถ่ายทอดต่อๆ กัน สำหรับคณะบางแก้วยังได้รับอิทธิพลโนราของจังหวัดชุมพร ทำให้ได้รับความนิยมมาก คณะละครเหล่านี้สามารถแสดงได้ ทั้งละครชาตรีและละครนอก จากการสำรวจ ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พบว่าคณะละครชาตรี ๒๘ คณะที่รับงานแสดง และมีการแสดงอยู่เนืองๆ ยังคงรักษาแบบแผนของการแสดงละครชาตรีไว้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น  คณะบุญยิ่ง (ศิษย์) ฉลองศรี คณะเทพพิมาน คณะพรหมสุวรรณ์ คณะยอดเยาวมาลย์ คณะละอองศรี คณะขวัญเมืองประดิษฐ์ศิลป์ คณะปทุมศิลป์ คณะชูศรีนาฏศิลป์ คณะประพร (ศิษย์) ฉลองศรี คณะมณีเทพ คณะขันนาคทัศนศิลป์ คณะสี่พี่น้อง ฯลฯ ในเวลานั้น นอกจากภาคเอกชนจะให้ความสนใจละครชาตรีแล้ว ภาครัฐก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ มีการอนุรักษ์และพัฒนาละครชาตรี เช่น กองการสังคีต กรมศิลปากร ได้จัดให้มีการแสดงละครชาตรีที่โรงละคอนศิลปากร ซึ่งได้มีการปรับปรุงใหม่ มี ๒ เรื่อง คือ เรื่อง “มโนราห์” จากสุธนชาดก ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และเรื่อง “รถเสน” จากรถเสนชาดก ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ละครชาตรีที่กรมศิลปากรจัดแสดงนี้ มีความงดงามตระการตา อาจเรียกว่า ละครชาตรีเครื่องใหญ่ เนื่องจากมีครบเครื่อง ทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เพลง การฟ้อนรำ และระบำต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฉาก การชักรอก แสงสี ซึ่งทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องมโนราห์ ฉากนางกินรีบินลงมาเล่นน้ำ ณ สระโบกขรณี ฉากนางมโนราห์รำบูชายัญและรำซัดชาตรี และฉากพระสุธนเลือกคู่ ล้วนใช้ฉากประกอบที่งดงามเป็นอมตะ นำมาใช้แสดงในหลายๆ โอกาสจนถึงปัจจุบัน ศิลปินชั้นครูของกองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ช่วยกันออกแบบงานศิลปะทุกแขนง เพื่อสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่ให้มีความงดงามตระการตา จนเห็นถึงความแตกต่างจากละครชาตรีแก้บนทั่วๆ ไป

เกิดละครชาตรี ละครนอก ละครใน และโขน เกิดขึ้นในสมัยใด

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ละครรำของไทยมี ๓ อย่างคือ ละครชาตรี ละครนอกและละครใน โดยละครชาตรีเป็นละครเดิม และเป็นพื้นฐานของละครอื่นๆ เช่น ละครนอกเมื่อสิ้นแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ครูละครหลวงได้กระจัดกระจายหนีหายจากภัยสงครามไปที่ต่างๆ ส่วนหนึ่งหนีไปอยู่ที่นครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัย

ละครใดพัฒนามาจากละครชาตรี *

2) ละครนอก เป็นละครรำ ที่พัฒนามาจากละครชาตรี มีการเพิ่มตัวละครตามเนื้อเรื่อง แต่ยังคงใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน เป็นการแสดงละครที่มีความสนุกสนาน ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถัน เรื่องการร่ายรำ มีการดำ เนินเรื่องที่รวดเร็ว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงปลายรัชกาลที่ 2 นางใน ราชสำ นักได้แสดงละครนอกแบบหลวง คือ ลักษณะการแสดงแบบละครนอก แต่ ...

ละครนอกเกิดขึ้นในรัชกาลใด

บทละครนอกแบบหลวงเป็นรูปแบบบทละครในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์โดยทรงนําบทละครนอกดั้งเดิมมาปรับปรุงใหม่สําหรับเล่นละคร ผู้หญิงของหลวง บทละครแม้จะดําเนินเรื่องอย่างรวดเร็วตามแบบแผนของละครนอก แต่มีการ พรรณนารายละเอียดรวมทั้งภาษาที่เลือกสรรให้เหมาะแก่เนื้อความ ส่งผลให้กระบวนการแสดง ...

ละครชาตรีนิยมแสดงในเรื่องใด

เรื่องที่แสดง ละครชาตรีนิยม แสดงเรื่อง มโนห์รา และรถเสน การแต่งกาย สมัยโบราณผู้แสดงเป็นชายล้วน แต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งสนับเพลา เชิงกรอมข้อเท้า นุ่งผ้าหยักรั้ง จีบโจงไว้หางหงส์ มีห้อยหน้า เจียระบาด รัดสะเอว สวมสังวาล กรองคอ ทับทรวง ศีรษะสวมเทริด(เซิด)