แอร์รถไม่เย็น มีแต่ลม คอม ทํา งาน

ร้อนๆ แบบนี้ ถ้ารถไม่มีแอร์คงแย่แน่ๆ แล้วถ้า แอร์รถไม่เย็น มีแต่ลม เกิดจากอะไรกันแน่ อย่ามัวแต่ทนร้อนแล้วปล่อยให้แอร์ไม่เย็นไปเรื่อยๆ เพราะอาจส่งผลเสียกว่าที่คิด มาหาสาเหตุของอาการแอร์รถที่มีแต่ลมแล้วมาแก้ไขกันก่อน

แอร์รถไม่เย็น มีแต่ลม เกิดจากน้ำยาแอร์

หากเปิดแอร์รถยนต์แล้วไม่เย็นฉ่ำเหมือนเช่นเคย เหมือนกับมีแต่ลม อาจมีสาเหตุมาจากน้ำยาแอร์ ลองเช็คดูว่าน้ำยาแอร์หมดหรือไม่ โดยการสตาร์ทเครื่องแล้วเปิดปุ่ม A/C แล้วลองส่องดูในช่องตรวจสอบน้ำยาที่อยู่ระหว่างแผงระบายความร้อนทางด้านหน้ารถ ถ้าเห็นเป็นฟองอากาศเล็กๆ สีขาวเกิดขึ้นมาก แสดงว่าน้ำยาแอร์ลดลง ต้องรีบไปเติมน้ำยา

แต่หากเช็คดูแล้วพบว่าน้ำยาแอร์ยังคงมีลักษณะใสและมีฟองอากาศเพียงเล็กน้อย แสดงว่ายังมีน้ำยาแอร์อยู่ มีความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น ใช้น้ำยาแอร์ผิดประเภท น้ำยาแอร์ปลอม ทำให้ปริสิทธิภาพในการทำงานของแอร์ลดลงและอาจส่งผลเสียต่อระบบแอร์ได้ แต่หากเช็คดูไม่เป็นหรือมองไม่เห็น ก็อาจจะเอาไปใช้ช่างดูแล้วทำการเติมน้ำยาแอร์ใหม่ โดยเลือกศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน โดยปกติแล้วน้ำยาแอร์จะมีอายุการทำงานอยู่ที่ประมาณ 2 ปี

เกิดจากระบบระบายความร้อน

ถ้าไม่ใช่สาเหตุมาจากน้ำยาแอร์ มาดูกันต่อที่ระบบระบายความร้อน ซึ่งอาจเป็นไปได้หลายสาเหตุ เช่น พัดลมระบายความร้อนที่อยู่ตรงหน้าแผงคอยล์ร้อนหยุดทำงานหรือหมุนเหมือนไม่มีแรง อาจเกิดจากการมีอะไรไปอุดตัน ทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนลดลง น้ำยาที่ส่งเข้าไปในคอยล์เย็นก็มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แอร์ไม่ทำงานตามปกติ

วิธีตรวจเช็คคือ เวลาที่เราขับรถแล้วรถเคลื่อนที่อยู่จะยังมีลมพัดเข้ามาทำให้ไม่ร้อนมาก แต่พอเวลาที่รถจอดนิ่งอยู่ จะมีการระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้รู้สึกร้อนขึ้น ต้องรีบเช็คว่ามีความสกปรก หรือมีอะไรชำรุดเสียหายหรือไม่ ให้รีบซ่อมแซม เปลี่ยนพัดลมใหม่ อย่าปล่อยให้ร้อนแบบนี้ไปเรื่อยๆ

เกิดจากของอุปกรณ์เสื่อมสภาพ

ภายในระบบแอร์ประกอบด้วยชิ้นส่วนอยู่หลายส่วน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างเสื่อมสภาพ หรือแตกหัก หรืออาจมีการรั่วซึม ทำให้การทำงานทำได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมีจุดที่ต้องเช็ค ดังนี้

  • ตู้แอร์รั่ว หรือข้อต่อรั่ว: เราจะตรวจสอบว่ามีรอยรั่วหรือไม่ สามารถตรวจเช็คเบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยการใช้สบู่หรือแชมพูผสมน้ำและตีให้เกิดฟอง แล้วทาตามรอยต่อต่างๆ ถ้าหากมีแรงดันที่ทำให้ฟองสบู่ลอยตัวขึ้นมา แสดงว่ามีรอยรั่วซึมเกิดขึ้นที่จุดนั้น ถ้าเกิดขึ้นที่ท่อแอร์ จะต้องเปลี่ยนท่อแอร์ใหม่ทั้งเส้น
  • ลูกสูบหลวม: ถ้าอาการเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง เช่น ตอนที่เปิดแอร์ใหม่ๆ แอร์ไม่เย็น แต่พอเร่งเครื่องแล้วกลับมาเย็นปกติ แสดงว่าลูกสูบคอมเพรสเซอร์หลวม ทำให้แรงดันน้ำยาแอร์มีไม่พอ แก้ไขด้วยการเปลี่ยนลูกสูบใหม่
  • วาล์ว และ ดรายเออร์ อุดตัน: ชิ้นส่วนทั้งสองนี้จะทำงานคู่กัน และการอุดตันของชิ้นส่วนสองชิ้นนี้ จะทำให้ไม่สามารถส่งน้ำยาแอร์เข้าแผงคอยล์ได้เต็มที่ การดูดจับความร้อนภายในรถจึงมีประสิทธิภาพลดลง สังเกตดูว่าอุณหภูมิภายในตัวรถไม่ค่อยเย็น และมีเสียงดังจากตู้แอร์หรือไม่ ถ้าพบปัญหาจากทั้งสองจุด ก็ให้เปลี่ยนทั้งคู่
  • คลัตช์คอมเพรสเซอร์ลื่น: เมื่อชิ้นส่วนนี้มีความลื่น จึงจับไม่สนิท หรือจับบ้างไม่จับบ้าง ทำให้ปริมาณจากกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้ามายังคลัตช์แม่เหล็กไม่เพียงพอ แอร์จึงมีการทำงานเย็นเป็นช่วงๆ ควรตรวจเช็คระบบสายไฟ ชุดสวิตซ์เซ็นเซอร์ และหน้าคลัทช์ ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
  • สายพานหย่อน: ลองสังเกตฟังเสียง ว่ามีเสียงสายพานดังขึ้นขณะที่คอมเพรสเซอร์แอร์เริ่มทำงานหรือไม่ ถ้ามีเสียงเกิดขึ้น เป็นเพราะสายพานคอมเพรสเซอร์หย่อนเกินไป ให้ปรับความตึงให้เหมาะสม และเพื่อความแน่ใจควรเช็คสภาพสายพานว่ามีรอยร้าวหรือแตกหักหรือไม่ หากมีให้เปลี่ยนสายพานใหม่

เช็คภายในระบบแอร์แล้ว อย่าลืมดูและระบบทำความเย็น หรือระบบระบายความร้อนในส่วนอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะระบบหม้อน้ำ และน้ำยาหล่อเย็น เพื่อให้รถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรถไม่ร้อนเร็ว

สำหรับการแตกรั่วซึมที่ท่อแอร์นั้น ต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น ซึ่งต้องไปที่ร้านซ่อมแอร์โดยเฉพาะ ในกรณีตู้คอยล์เย็นหรือแผงคอยล์รั่วซึมนั้น ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ซึ่งราคาไม่สามารถระบุได้ขึ้นอยู่กับร ุ่นของรถยนต์แต่ละรุ่น ถ้าเกิดมีการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ในห้องโดยสาร ต้องทำการซ่อมบำรุงในทันที เพราะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่เอง

  • ระบบระบายความร้อนบนแผงคอยล์ร้อน(Condenser) มีระบบระบายความร้อนไม่เพียงพอ(แอร์ไม่เย็น หรือเย็นเฉพาะตอนรถวิ่งหรือตอนกลางคืน)
    ในกรณีที่ระบบระบายความร้อนของแผงคอยล์ร้อนระบายความร้อนไ ม่เพียงพอ เป็นอาการที่เกิดจากพัดลมระบายความร้อนหน้าแผงคอยล์ร้อน ไม่มีการทำงานหรือมีการทำงานน้อย ทำให้ระบบระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอ ร์ ไม่มีการระบายความร้อนออกจากน้ำยาแอร์ หรือมีการระบายความร้อนออกน้อย ทำให้น้ำยาที่ส่งเข้าคอยล์เย็นมีอุณหภูมิสูง ทำให้แอร์ไม่เย็นได้

    ในกรณีนี้แอร์จะเย็นตลอดเมื่อรถยนต์มีการขับเคลื่อนรถยนต์ เท่านั้น เพราะมีลมพัดเข้ามาด้านหน้าแผงคอยล์ร้อน ช่วยระบายความร้อนของแผงคอยล์ร้อนได้ครับ แต่เมื่อในกรณีที่รถติดนานๆ ทำให้ไม่มีลมผ่านด้านหน้าแผงคอยล์ ทำให้แผงคอยล์ร้อนไม่สามารถระบายความร้อนได้เพียงพอ ทำให้แอร์ภายในรถยนต์ไม่เย็นได้

    การตรวจเช็คระบบระบายความร้อนแผงคอยล์ร้อนไม่ยุ่งยาก เพียงท่านเปิดฝากระโปรงด้านหน้า ติดเครื่องยนต์ พร้อมเปิดแอร์ เมื่อมีการทำงานของคอมเพรสเซอร์ พัดลมหน้าแผงคอยล์ร้อนจะทำงานพร้อมกัน ถ้าพัดลมหน้าแผงคอยล์ร้อนไม่ทำงาน หรือหมุนช้ามีเสียงดัง นั่นแสดงว่าพัดลมด้านหน้าแผงคอยล์ร้อนเสีย หรือเสื่อมสภาพแล้วต้องการเปลี่ยนใหม่

    แผงคอยล์ร้อนมีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำ ติดตั้งอยู่ติดกับหม้อน้ำ และจะมีพัดลมระบายความร้อนติดอยู่ ซึ่งจะมีพัดลม 1 หรือ 2 ตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ โดยปกติหลังจากการแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบแอร์ เราจะทำการทำความสะอาดคอนเดนเซอร์ เพื่อให้การระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบแอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ลูกสูบภายในคอมเพรสเซอร์หลวมไม่มีกำลังอัด - แอร์ไม่เย็น เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง
    ในกรณีที่ลูกสูบคอมเพรสเซอร์หลวม ทำให้ระดับแรงดันของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์มีน้ อย ทำให้แรงดังของน้ำยาแอร์ฉีดเข้าคอยล์เย็นมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะดูดซับความร้อนภายในห้องโดยสารได้ ทำให้ระบบแอร์ไม่เย็นได้

    ในกรณีนี้ สามารถสังเกตได้จากเมื่อติดเครื่องยนต์เปิดแอร์ แอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่มากนัก (พัดลมระบายความร้อน แผงคอยล์ร้อนทำงานปกติ แผงคอยล์ร้อนทำงานปกติ ระบบท่อน้ำยาแอร์ไม่รั่ว) แต่เมื่อเร่งเครื่องยนต์แล้วแอร์เย็น นั่นแสดงว่าลูกสูบคอมเพรสเซอร์หลวม ทางแก้ไขปัญหาคือ ให้เปลี่ยนลูกสูบใหม่หรือมือสอง(ไม่นิยมซ่อมเพราะราคาซ่อมพอๆกับการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ลูก ใหม่) ควรหาร้านที่น่าเชื่อถือที่สุด

  • ชุดวาล์ว และดรายเออร์อุดตัน หรือเสื่อมคุณภาพ - แอร์ไม่เย็น เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง
    ในกรณีที่วาล์ว และดรายเออร์อุดตันทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเ ซอร์ไหลผ่านเข้าคอยล์เย็นไม่สะดวก ทำให้น้ำยาแอร์ที่ฉีดไม่เพียงพอที่จะดูดซับความเย็นภายในห ้องโดยสารได้ ทำให้ระบบแอร์ภายในห้องโดยสารเย็นเป็นช่วงๆ หรือไม่เย็นได้ ตรวจเช็คได้โดยการติดเครื่องยนต์เปิดแอร์ (ต้องไม่ีมีการรั่วของระบบแอร์ คอมเพรสเซอร์สมบูรณ์ พัดลมระบายอากาศทำงานปกติ) แอร์มีระดับความเย็นไม่มากและมีเสียงดังอยู่ใกล้ตู้แอร์ หรือแอร์ไม่เย็นเลย แต่เมื่อเร่งเครื่องยนต์แล้วแอร์มีความเย็นนั่นแสดงว่า ชุดวาล์วและดรายเออร์เกิดการอุดตันแล้ว

    การแก้ไขปัญหา โดยถอดเปลี่ยนชุดวาล์วและดรายเออร์ใหม่ (ชุดวาล์วและดรายเออร์ควรที่จะเปลี่ยนพร้อมกัน เพราะดรายเออร์จะทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกจากน้ำยาแอร์ เมื่อวาล์วแอร์อุดตันนั่นแสดงว่าดรายเออร์ชำรุดแล้ว)

    ชุดวาล์วและดรายเออร์ (Valve and Drier) วาล์วมีหน้าที่ฉีดน้ำยาแอร์เข้าไปที่ตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น ส่วนดรายเออร์เป็นตัวกรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์ และดูดความชื้นออกจากน้ำยาแอร์ อุปกรณ์สองตัวนี้จะเสื่อมสภาพตามการใช้งาน และอาจจะเกิดการอุดตันได้ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาที่คอมเพรสเซอร์ หรือมีการเปิดระบบเพื่อทำการซ่อม สารตัวดูดความชื้นในดรายเออร์อาจจะเสื่อมสภาพ ดังนั้นดรายเออร์แนะนำให้เปลี่ยนทุกครั้งที่มีการซ่อมแอร์ รถยนต์ วาล์วและดรายเออร์ควรเป็นอุปกรณ์ใหม่ ไม่ควรใช้ของเก่าเพราะจะทำให้เกิดปัญหาอุดตันได้ง่าย

  • คลัตช์คอมเพรสเซอร์จับไม่สนิท(คลัตช์ลื่น) - แอร์ไม่เย็น เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง
    ปัญหาของคลัตช์คอมเพรสเซอร์จับไม่สนิท(คลัตช์ลื่น) นั่นเกิดจากกระแสไฟที่ส่งเข้ามายังคลัตช์แม่เหล็กมีปริมาณ น้อย ไม่เพียงพอที่จะทำให้คลัตช์คอมเพรสเซอร์ติดเข้ากับมูลเลย์ ได้ หรือสามารถติดได้แต่ไม่แน่น เกิดการฟรีในบางจังหวะ เมื่อคลัตช์คอมเพรสเซอร์มีการจับมูเลย์บ้างไม่จับบ้าง ก็เป็นสาเหตุให้คอมเพรสเซอร์ทำงานบ้าง ไม่ทำงานบ้าง จึงทำให้แอร์เย็นเป็นช่วงๆ หรือไม่เย็นเลย ในการแก้ไขปัญหาสามารถดูได้ 3 จุด
    1.  ระบบสายไฟที่ส่งมายังคลัตช์คอมเพรสเซอร์บกพร่อง
    2. ชุดสวิตช์ระดับเซ็นเซอร์ควบคุมความเย็น (Themostat) มีการเสื่อมสภาพ
    3. ทำการปรับแต่งหน้าคลัตช์ให้เรียบเสมอ และตั้งระยะคลัตช์ใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายสูง
  • สายพานคอมเพรสเซอร์หย่อนมากเกินไป
    การที่สายพานคอมเพรสเซอร์แอร์หย่อนมากเกินไป ทำให้ในเวลาที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน สายพานที่รับกำัลังจากเครื่องยนต์ เพื่อฉุดให้คอมเพรสเซอร์หมุนนั้นเกิดการฟรี ไม่สามารถที่จะฉุดให้คอมเพรสเซอร์หมุนได้ สามารถสังเกตได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานจะเกิดเสียงดังและแอร์ภายในรถยนต์จ ะไม่ค่อยเย็น

    การแก้ไขปัญหาคือการปรับระดับสายพานให้ตึงขึ้น ถ้าสายพานมีรอยแตกหรือฉีกขาดควรเปลี่ยนเส้นใหม่ทันที

  • การใช้น้ำยาแอร์ที่ผิดประเภท ไม่ถูกต้องตรงกับระบบเครื่อปรับอากาศรถยนต์ที่ติดตั้ง
    การใช้น้ำยาแอร์ที่ผิดประเภท หรือใช้น้ำยาแอร์ปลอมปนนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลงได้ โดยทั่วไปแล้วหากมีการปลอมปนของน้ำยาแอร์ ในระดับ 2-3% โดยน้ำหนักแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์มากนัก แต่ถ้าหากมีการปลอมปนของน้ำยาแอร์ที่มากกว่า 5% โดยน้ำหนักแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์แตกต่างกันไป ขึ้นกับลักษณะของการปลอมปน โดยหลักๆได้แก่

    ทำให้ความดันในระบบแอร์รถยนต์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุปกรณ์ในระบบแอร์รถยนต์ ไม่สามารถทนแรงดันซึ่งสูงกว่าที่บริษัทผู้ผลิตออกแบบไว้ เกิดความเสียหายหรือระเบิดขึ้น เมื่อความดันในระบบแอร์รถยนต์เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้คลัตช์ของคอมเพรสเซอร์มีความร้อนสูงและเสียหายไ ด้

    ทำให้การทำงานของคอยล์เย็น และเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วผิดปกติ ส่งผลให้แอร์ในรถไม่เย็นความเสียหายต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่อปกรณ์ต่างๆ จะค่อยๆเสียหายและหมดอายุการใช้งานก่อนกำหนด เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง