เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่

เวลาท้องถิ่น ( Local time )

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
เวลาท้องถิ่น คือเวลาที่กำหนดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ( เมือง จังหวัด หรือตำบล ) โดยถือตามลองติจูดหรือเส้นเมริเดียนที่ลากผานพื้นที่ของท้องถิ่นแห่งนั้น ท้องถิ่นแต่ละแห่งตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนต่างกัน ทำให้มีเวลาท้องถิ่นแตกต่างกัน โดยสรุป เป็นกฎว่าระยะลองติจูดห่างกัน 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที ตัวอย่างเช่น

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ลองติจูด 105 องศาตะวันออก มีเวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีเวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 6 ชั่วโมง 40 นาที

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
พื้นที่ทางด้านตะวันออกมีเวลาเร็วกว่าพื้นที่ด้านตะวันตก ( ตะวันออกเห็นพระอาทิตย์ก่อน ) ดังนั้นจังหวัดอุบลราชธานีจึงมีเวลาท้องถิ่นเร็วกว่ากรุงเทพ ฯ 20 นาที ( 105 - 100 = 5 5x 4 = 20 )

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
 เวลาท้องถิ่นในประเทศไทยจึงเเตกต่างกันตามที่ตั้ง ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง เเละความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของประเทศไทย ทางราชการจึงประกาศให้ประเทศไทย ใช้เวลามาตรฐานประเทศไทยแทนเวลาท้องถิ่นซึ่งเร็วกว่ากรีนิช 7 ชั่วโมง

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
https://sites.google.com/site/phumisatr110/wela-thxng-thin-local-time

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่
 

เวลามาตรฐานไทย

From Wikipedia, the free encyclopedia

ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานโดยนับจากเวลาสากลเชิงพิกัดแล้วเพิ่มไปอีก 7 ชั่วโมง เวลามาตรฐานไทยเป็นเวลาเดียวกับเวลามาตรฐานครัสโนยาสค์ (รัสเซีย) เวลามาตรฐานฮอฟด์ (มองโกเลีย) เวลามาตรฐานอินโดจีน (ลาว กัมพูชา เวียดนาม) เวลามาตรฐานอินโดนีเซียตะวันตก และเวลามาตรฐานเกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) ซึ่งประเทศไทยใช้เขตเวลาเดียวกันทั้งปีทั่วประเทศโดยไม่มีเวลาออมแสง

GMT เวลามาตรฐานสากล

 หลายท่านอาจจะเคยสงสัยว่าคำว่า GMT ที่ต่อหลังเวลามันคืออะไร ทำไมบางทีมี +7 บางที +8 ฯลฯ GMT ย่อมาจาก Greenwich Mean Time ซึ่งหมายถึงเวลาที่เมือง “กรีนิช” ซึ่งเป็นเขตการปกครองของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ 

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่

ดังนั้น การบอกเวลาที่มี GMT ต่อท้ายจะหมายถึง เวลาที่เร็วหรือช้ากว่าเวลาที่เมืองกรีนิชนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยอยู่ที่ GMT+7 หมายถึง เวลาของประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลาที่เมืองกรีนิช 7 ชั่วโมง สมมุติว่าที่กรีนิชเป็นเวลาเที่ยงคืนประเทศไทยจะเป็นเวลา 7 โมงเช้า เป็นต้น


GMT กับ AEC

ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีเขตเวลาที่แตกต่างกันอยู่หลายประเทศ ก่อนเดินทางไปติดต่อธุรกิจการงานก็ควรจะเช็คเวลาท้องถิ่นให้แน่นอนก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเวลาท้องถิ่นในกลุ่มประเทศ AEC มีดังนี้

     มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เวลาอยู่ที่ GMT+8

     ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เวลาอยู่ที่ GMT+7

     เมียนมาร์ เวลาอยู่ที่ GMT+6.5

     ส่วน อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่กว้างมาก มีพื้นที่ทอดเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก รวมระยะทางถึง 5,300 กิโลเมตร ทำให้มีเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่ GMT+9 ถึง GMT+7 โดยทางตะวันออกสุดเป็น GMT+9 ส่วนทางตะวันตกเช่นที่ กรุงจาการ์ตา เป็น GMT+7 ซึ่งเวลาจะเท่ากับที่ประเทศไทย 

เวลามาตรฐานประเทศไทย อยู่ที่

การแบ่งเส้นเวลาตามหลักภูมิศาสตร์

เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ซีกหนึ่งของโลกจึงเป็นกลางคืนในขณะที่อีกซีกหนึ่งเป็นกลางวัน ในปี 1884 โดยความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด 25 ประเทศได้มีการกำหนดเขตแบ่งเวลากันขึ้น หากเราลากเส้นแบ่งที่กึ่งกลางโลกไปบรรจบกันเป็นวงกลม เส้นนี้จะเรียกว่า อีเควเตอร์ (Equator) ที่ประชุมได้แบ่งจากเส้นนี้ ออกไปอีก 24 เส้นจากทั้งหมด 360 องศารอบโลก นั่นหมายความว่า แต่ละเส้นจะห่างจากเส้นที่อยู่ติดกัน 15 องศา (360หาร24 = 15) โดยเริ่มนับเส้นแรกจากเส้นเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษแต่ละเส้นจากทั้งหมด 24 เส้น จะเป็นการแสดงความแตกต่างของเวลาหนึ่งชั่วโมง

ประเทศไทย จะอยู่ในราวเส้นที่ 105 องศาตะวันออก หากหารด้วยสิบห้าก็จะได้เส้นแบ่งเวลาออกมาเป็นเส้นที่ 7 นั่นหมายความว่า เวลาในประเทศไทย จะล้ำหน้าเวลาในอังกฤษอยู่ 7 ชั่วโมงในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ จะมีการแบ่งเขตเวลาภายในประเทศออกเป็นสี่เขตด้วยกัน คือ ตะวันออก ภาคกลาง เทือกเขา และ แปซิฟิก (Eastern, Central, Mountain and Pacific) เช่น เวลา 7 p.m. เวลาตะวันออก จะเป็น 6 p.m. เวลาภาคกลาง เป็น 5 p.m.เวลาเทือกเขา และเป็นเวลา 4 p.m. เวลาแปซิฟิก

วันและเวลาของโลกปฏิสัมพันธ์กับเส้นลองจิจูด  โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เป็นมุม 360 องศา เอา 24 ไปหาร 360 จะได้ว่าโลกหมุนไปได้ชั่วโมงละ 15 องศา / นาทีละ 15 ลิปดา / วินาทีละ 15 ฟิลิปดา ดังนั้นค่าลองจิจูด หรือเส้นเมอริเดียนจะทำให้เราคำนวณเวลาทั้ง  24 เขตของโลก  การแบ่งเวลาของโลกโดยแบ่งออกเป็น 24 เขต แต่ละเขตมีความกว้าง 15 องศาลองจิจูด หรือ เวลา 1 ชั่วโมง โดยเขตแรกมีเส้นเมอริเดียนแรก หรือเมอริเดียน 0 องศา ผ่านเมืองกรีนิชเป็นแกนกลาง เขตเวลาของโลกจะนับตามลองจิจูดใดก็ตาม ถ้านับไปทางตะวันออก จะเร็วกว่าทางตะวันตก และถ้านับไปทางตะวันตกจะช้ากว่าเวลาทางตะวันออก

ประเภทของเวลา

1.  เวลามาตรฐานสากล(Greennich Mean Time) เวลาที่ลองจิจูด 0 องศา / เวลามาตรฐานกรีนิช

2.  เวลามาตรฐาน(Standard time)โดยแต่ละประเทศจะกำหนดเวลาประเทศของตน ยึดหลักตามลองจิจูดหลักของเขตเวลาของโลกที่ผ่านประเทศของตน เช่น ประเทศไทยกำหนดเวลามาตรฐานตามเวลาที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากล 7 ชั่วโมงการนับเวลามาตรฐานของประเทศจะเท่ากันทั่วประเทศ แต่สำหรับประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ก็มีเวลามาตรหลายเวลาตามแต่ละเขตพื้นที่ เช่น อเมริกา รัสเซีย เป็นต้น

3.  เวลาท้องถิ่น (Local time)เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านบริเวณนั้นจริงๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 7 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออกจึงมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 6 ชั่วโมง 40 นาที เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านจริงนี้ เรียกว่า เวลาท้องถิ่นเส้นที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่สำคัญเส้นแบ่งเขตวันสากล ( International Date Time) โดยกำหนดประมาณที่เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากลแต่มีการเลี่ยงให้เส้นเขตวันนี้ผ่านเฉพาะพื้นน้ำ เพื่อขจัดปัญหาการมี 2 วันบนเกาะเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตวันนี้จึงไม่เป็นเส้นตรงตามเส้นเมอริเดียน 180 ตลอดทั้งเส้น อีกอย่างถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันตกต้องนับวันลดลง 1 วัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันออกจะต้องนับวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน