ภูมิปัญญาไทย สมัยรัตนโกสินทร์

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ที่สืบทอดมาจากอดีต เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย คนรุ่นปัจจุบันควรภาคภูมิใจในความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย พร้อมทั้งช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด 
ส 4.3  ป.6/1  อธิบายพัฒนาการและภูมิปัญญาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์  โดยสังเขป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้
2. สืบทอดภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์จากอดีตมาสู่ปัจจุบันได้
3. ปฎิบัติตนตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
 

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาจากอดีตเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย คนรุ่นปัจจุบันควรภาคภูมิใจในความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย พร้อมทั้งช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด 
ส 4.3  ป.6/4  อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้
2. บอกวิธีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้
3. ปฎิบัติตนตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิดจากการปฏิบัติของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายและบรรพบุรุษที่ใช้แก้ปัญหา เพื่อให้มีชีวิตรอดและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข

        ภูมิปัญญาไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

           - สิ่งที่จับต้องได้ เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีด เรือ เกวียน

           - สิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความมีน้ำใจ ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ภูมิปัญญาไทย สมัยรัตนโกสินทร์

วิดีโอ YouTube


ภูมิปัญญาไทย สมัยรัตนโกสินทร์

 ภูมิปัญญาไทย

        ภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom) หมายถึง ความรู้ความสามารถ และทักษะของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนา

และถ่ายทอดมาเป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย

                  ภูมิปัญญาไทย คือ ความรู้ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตในสังคมไทย ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีมากมายหลายด้าน

ภูมิปัญญาบางด้านสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆหลายด้าน

ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านคติความเชื่อ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม

        2.3.1 ด้านการเมืองการปกครอง

      ภูมิปัญญาไทยในด้านการเมืองการปกครองมีหลายประการ เช่น

        1.ฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย      

ในสังคมต่างๆ จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์บังคับให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตาม เพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

        พระมหากษัตริย์ไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดและอยู่สูงสุดของสังคม เป็นจักรกลของความเคลื่อนไหวของสังคม โดยมีบทบาทสำคัญ คือ ความรับผิดชอบทั้งต่อการเมืองและสังคม 

         2.3.2 ด้านคติความเชื่อ

         ในแต่ละสังคมย่อมมีการสร้างระเบียบแบบแผน ในสังคมไทยภูมิปัญญาด้านความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมีอยู่

2 ความเชื่อ คือ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและคติความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ

               1. คติความเชื่อในพระพุทธศาสนา

คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติของสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน

พระพุทธศาสนาทำให้คนไทยมีกรอบความคิดและโลกทัศน์เป็นไปตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา

            -ด้านโลกทัศน์  คนไทยมองธรรมชาติตาหลักพระพุทธศาสนา คือ

สรรพสิ่งมีเกิด มีดับ มีความเสื่อม และมีความเจริญตามลำดับ

            -ด้านการเมืองการปกครอง 

คำสอนในด้านการปกครองของพระพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นหลักในการปกครองประเทศของพระมหากษัตริย์ โดยหลักคำสอนทั้งทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิวัตร 12

            -ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเกือบทุกด้าน ทั้งจารีตประเพณีซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรม

            -  ด้านการศึกษา

ในช่วงเวลาก่อนหน้าการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 สถาบันที่มีบทบาทในด้านการศึกษาสังคมไทยคือสถาบันพระพุทธศาสนา โดยเป็นแหล่งในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านการศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ

            - ด้านภาษาและวรรณคดี 

พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย ในด้านภาษา ได้แก่ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมใช้ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

            -ด้านสังคม

วัดในพระพุทธศาสนาดำรงฐานะเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยดำรงฐานะสำคัญสำหรับชุมชนในหลายด้าน

            -คติความเชื่อในพระพุทธศาสนา

เป็นภูมิปัญญาสำคัญที่สุดของสังคมไทย เนื่องจากเป็นรากฐานทางภูมิปัญญาที่ให้กำเนิดภูมิปัญญาด้านอื่นๆในสังคมไทย

               2. คติความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ คติความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณเป็นคติความเชื่อสำคัญที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ

ที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ คนไทยนับถือผีตั้งแต่ก่อนนับถือพระพุทธศาสนา ผีสามารถแบ่งได้เป็นผีฟ้าอยู่บนสวรรค์  เป็นที่นับถือในหมู่ชาวไทยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง  ผีเมืองเป็นผีที่ปกปักรักษาเมือง เป็นที่นับถือของคนไทยทุกภูมิภาค  ผีบรรพบุรุษของชนเผ่าต่างๆ

ผีบ้านเป็นบรรพบุรุษของหมู่บ้าน และผีเรือนเป็นผีที่สิงอยู่ในบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีผีชนิดอื่นๆอีก

                2.3.3 ด้านการดำเนินชีวิต

               ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตของคนไทยเกิดขึ้นจากการปรับตัวในการตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อมต่างๆ

และการแก้ปัญหาที่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวัน

               1. การสร้างบ้านแปลงเมือง      

การตั้งชุมชนเป็นปรากฏการณ์ในด้านพัฒนาการทางสังคมของคนไทย ซึ่งคนไทยเลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น

                2. ระบบการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค   

 ระบบการจัดการน้ำเป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยของการตั้งบ้านแปลงเมือง ดังที่ปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีตามชุมชนโบราณขนาดใหญ่หลายแห่ง

 มีการขุดคูน้ำและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค นอกจากเหตุผลด้านการป้องกันข้าศึกศัตรูแล้วยังเป็นแหล่งอาหารให้กับประชากรในชุมชนอีกด้วย

ผลสะท้อนอย่างหนึ่งจากการจัดการระบบน้ำแสดงวาชุมชนนั้นจะต้องมีการจัดระบบแรงงานไว้ระดับหนึ่งเช่นกัน

3. การรักษาโรค  

สภาพลักษณะทางภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของประเทศไทยได้ก่อให้เกิดความหลากหลายทางด้านชีวภาพ ซึ่งได้ก่อกำเนิดพืชที่มีคุณประโยชน์ในการรักษาโรค

คนไทยจึงได้สร้างภูมิปัญญาในการนำพืชต่างๆเหล่านี้มาผ่านกระบวนการรักษาโรคอย่างเป็นระบบมานานแล้ว ภูมิปัญญาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในความเข้าใจถึงลักษณะของธรรมชาติ

ภูมิปัญญาไทย สมัยรัตนโกสินทร์

4. การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผา 

 นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณปรากฏหลักฐานในการขุดพบซากโบราณวัตถุ ซึ่งมักจะมีเครื่องปั้นดินเผารวมอยู่ด้วย และที่มีหลักฐานชัดเจน  ได้แก่

ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวออุดรธานี เป็นภาชนะดินเผาที่ปั้นด้วยมือ

หรือใช้ไม้ตีผิวนอกให้ได้รูปตามต้องการ  เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมีรูปแบบและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  ต่อมาในสมัยประวิติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ

ชนิดที่เคลือบ เรียกว่า เครื่องสังคโลก  เครื่องสังคโลกสุโขทัยมีทั้งชนิดหนาและชนิดบาง

 สีมีทั้งสีเขียวไข่กากับสีน้ำตาล  การผลิตเครื่องปั้นดินเผามีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

              5. การประดิษฐ์เครื่องจักรสาน

คนไทยเรารู้จักนำวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิ

ภูมิปัญญาไทย สมัยรัตนโกสินทร์

  ที่มา http://historyland.exteen.com/20120110/entry

  ค้นเมื่อวันที่ 11.ก.พ.59

ภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาบางด้านสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านคติความเชื่อ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม.
การสร้างบ้านแปลงเมือง ... .
ระบบการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ... .
การรักษาโรค ... .
การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผา.

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมไทยกับศิลปกรรมตะวันตกในด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและการนิยมปั้นรูปมนุษย์เหมือนจริง เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดเบญจมบพิตร พระที่นั่งอนันตสมาคม อนุสาวรีย์รูปปั้นพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญ

ภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ศิลปะรัตนโกสินทร์.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
พระปรางค์วัดอรุณ.
วัดเทพธิดาราม สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม.
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท.
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์.
จิตรกรรมฝาผนังวัดไชยทิศ.
จิตรกรรมฝาผนังแห่งวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร.

ภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์คือวัดอะไร

- พระอัษฎามหาเจดีย์(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)