ภาษาไทย กับการ สื่อสาร สัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะ อะไร

ภาษาไทย กับการ สื่อสาร สัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะ อะไร

นาย ครูสุธะนะ พามนตรี ตำแหน่งครู ชำนาญการพิเศษ

เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ความสำคัญของภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข   และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า      ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ธรรมชาติ / ลักษณะเฉพาะ ของภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้สื่อสาร   เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความ รู้สึก คำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียง  รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่างๆ รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา    เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ และ ใช้อย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและมีคุณธรรม

วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงานทั้งส่วนตัว ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิด  ทักษะอย่างถูกต้อง    เหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้  และประสบการณ์ เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดี   และภูมิปัญญาทางภาษา ของบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ อันเป็นส่วนเสริมสร้างความงดงามในชีวิต

          การเรียนรู้ภาษาไทยย่อมเกี่ยวพันกับความคิดของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิดการเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหา และวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล  ขณะเดียวกันการใช้ภาษาอย่างมีเหตุผลใช้ในทางสร้างสรรค์และใช้ภาษาอย่างสละสลวยงดงาม ย่อมสร้างเสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ภาษาให้น่าเชื่อถือ   และ เชื่อภูมิด้วย

          ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ   ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร   การอ่าน การฟังเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้คำ เรียบเรียงความคิด  ความรู้  และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะ  บุคคล และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ ได้แก่ กฎเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้อง นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม  ซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรม  ภูมิปัญญาทางภาษา  ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม   ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต     และความงดงามของภาษา    ในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว  ร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง   ความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)

  คุณค่าภาษาไทยสรุปไว้  3 ด้าน คือ

            1. คุณค่าด้านการสื่อสาร   ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสาร ประสานความเข้าใจของคนในชาติ  ช่วยรักษาความเป็นกลุ่มชนชาติเดียวกันไว้มิให้แตกสลายเสื่อมสูญไป

            2. คุณค่าด้านวัฒนธรรม   ภาษาไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นภูมิปัญญาที่บรรพชนสร้างไว้และถ่ายทอดสืบสานมาจนถึงชั้นลูกหลาน การศึกษาภาษาไทยทำให้เราเข้าใจกำเนิดของชนชาติของตน และเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านภาษาไทยที่พัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาจนปัจจุบันและยังสามารถดำรงวัฒนธรรมอันดีงามของตนไว้ได้ยืนนานสืบไป

            3. คุณค่าทางด้านศาสตร์และศิลปะ   ภาษาไทยมีความงาม ประณีตไพเราะ ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ของคนไทย   บทกวี  วรรณคดีไทย  คือกระจกสะท้อนความงามของภาษาไทย  ช่วยกล่อมเกลาจิตใจคนไทยให้ละเมียดละไม อ่อนโยน  การใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารระหว่างกันย่อมอาศัยศิลปะเพื่อสื่อสารให้เกิดความรู้ที่งอกงาม เกิดความเข้าใจอันดี เป็นมิตรต่อกัน  และจรรโลงอารมณ์ให้เกิดความซาบซึ้ง  นอกจากนี้ภาษาเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์  ที่คนไทยต้องเรียนรู้และใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้น  จึงจะสามารถรักษาภาษาไทยไว้ได้ยาวนาน

  ภาษาย่อมสัมพันธ์กับกระบวนการสื่อสาร  

           เพราะภาษาเป็นพาหะนำสาร  ซึ่ง สาร หรือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีความหมายก็คือเครื่องมือสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารนั่นเอง  ในกระบวนการสื่อสาร มีปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปัจจัย  คือ    ผู้ส่งสาร (senders) จะส่งสาร (Messages)  ผ่านสื่อหรือช่องทาง (Channels)  ไปยังผู้รับสาร (Receivers)  และอาจเกิดปฏิกิริยาตอบกลับ(Feedback)  เป็นวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ (Two Way Communication) 

           การพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างใน Go to Know นี้ก็อยู่ในกระบวนการนี้เช่นกัน  สิ่งสำคัญคือเราต้องมี Feedback ต่อกันด้วย เพราะปฏิกิริยาตอบกลับนี้จะมีทั้งการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ความห่วงใย และเกิดความผูกพันขึ้นมา

          ภาษาที่เราใช้สื่อสารระหว่างกันนั้นแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ อวัจนภาษา  คือภาษาที่ใช้ถ้อยคำเป็นเสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่มีความหมาย กับอวัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นกิริยาท่าทางการแสดงออกของผู้ใช้ภาษา ตลอดรวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ จากภายนอกที่สามารถสื่อสารความหมายกันได้ รูปภาพ แสง สี เสียง วัตถุ ตราสัญลักษณ์ สัญญาณต่างๆ เป็นต้น

ภาษาย่อมสัมพันธ์กับความคิด  

        การพูดจาหรือเขียนเพื่อสื่อสารกันนั้น ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องรู้จักคิด  เพราะการคิดจะช่วยทำให้สารนั้น ชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสม ไม่เกิดปัญหาความเข้าใจระหว่างกัน

        การคิด ไม่ว่าจะคิดก่อนที่จะพูดหรือเขียน หรือคิดหลังจากการฟัง การอ่าน ต้องคิดให้ดี  การคิดดี มี 4 ลักษณะ ด้วยกันดังนี้

                1.คิดให้ตรงประเด็น หมายความว่าคิดได้ตรงจุดประสงค์ของสารภายนอกที่รับเข้ามาจากการฟัง ดู อ่าน  สามารถจับความคิดหลัก ความคิดย่อยของสารได้ ไม่คิดฟุ้งซ่านออกไปจนเบลอ

                  2.คิดอย่างมีระเบียบ  หมายความว่า สามารถจัดลำดับเรื่องราวได้อย่างมีระบบระเบียบ เช่นจัดลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง  จัดลำดับตามเหตุและผลที่สัมพันธ์กันจัดลำดับตามสถานที่ที่เกิดเรื่องราว  จัดลำดับจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อยหรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นต้น  

                 3. คิดอย่างมีเหตุผล  หมายความว่า การหาเหตุผลมาพิจารณาสารที่รับเข้ามาว่ามีจุดมุ่งหมาย ที่มาอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น สารนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ และมีข้อมูลหรือทฤษฎีอะไรสนับสนุนหรือขัดแย้ง การคิดประกอบด้วยเหตุผลเช่นนี้จะช่วยให้เข้าใจสารได้อย่างชัดแจ้ง ไม่หลงเชื่อโดยง่าย

                 4.คิดอย่างถูกต้อง  หมายความว่า สามารถบอกได้ว่าสารภายนอกนั้นถูกต้องตามหลักแห่งความเป็นจริงตามธรรมชาติหรือไม่ เป็นไปตามหลักการ ทฤษฎี  ทางวิชาการหรือศีลธรรมจรรยาหรือไม่อย่างไร  ไม่ใช่คิดโดยมีอคติ หรือยึดอารมณ์ความพึงพอใจส่วนตัวเป็นหลัก การคิดอย่างถูกต้องยังรวมการคิดอย่างละเอียด รอบคอบ ทุกแง่มุมเอาไว้ด้วย

มีคำกล่าวหนึ่งที่น่าคิดว่า  “ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด  เมื่อพูดแล้วคำพูดนั้นเป็นนายเรา”  น่าจะทำให้เราได้ตระหนักในเรื่องการคิดกับการใช้ภาษาได้

ภาษาย่อมมีหน้าที่และระดับ

         ภาษามีหน้าที่สำคัญเหมือนกันทุกภาษาในโลก นั่นคือ

1. ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ หรือภูมิปัญญาไปยังบุคคลอื่น

2. ถ่ายทอดความคิดต่างๆ  เพื่อให้บุคคลอื่นได้ทราบและเข้าใจ

3. ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อบอกความต้องการ  หรือสร้างความเข้าใจระหว่างกัน

 4. เพื่ออบรมสั่งสอน ชี้แนะแนวทางปฏิบัติ เพื่อสืบทอด ความรู้ ภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง

5. เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี  ตำราสำหรับการศึกษาเรียนรู้ของคนในสังคมและของอนุชน

 6. เพื่อเป็นเครื่องถ่ายทอดความบันเทิงเริงรมย์  สร้างความสุขของคนในสังคม ในรูปวรรณกรรม หรือสื่อบันเทิงต่างๆ

        ส่วนระดับของภาษานั้น หากพิจารณาจากภาษาไทยจะพบว่า ภาษาไทยมีระดับการใช้ไปตามโอกาส และฐานะของบุคคล  เราไม่ได้แบ่งชนชั้นด้วยภาษา แต่หากเกิดจากความเหมาะสมในการใช้ตามวัฒนธรรมที่เรามีมาแต่ครั้งโบราณ เรามีสถาบันกษัตริย์ เราย่อมใช้ภาษายกย่อง เทิดพระเกียรติท่านในฐานะทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ เรานับถือผู้ใหญ่ ผู้ที่มีคุณวุฒิ ชาติวุฒิที่สูงกว่า เช่น พระภิกษุสงฆ์ เราย่อมมีภาษาที่เหมาะสมกับฐานะนั้นๆ นอกจากนี้ เรายังใช้ภาษาในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ หรือภาษาราชการ   ภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการ  ภาษาที่ใช้จึงมีลักษณะแตกต่างกันตามโอกาสนั้นๆ ด้วย

         อย่างไรก็ตาม  การใช้ภาษาควรคำนึงถึงความเป็นสุภาพชน เพราะแม้เราจะมีภาษาระดับต่ำ หรือภาษาปากที่หยาบคาย รุนแรง ใช้สื่อสารในขณะแสดงอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ เราก็ไม่ควรใช้  เพราะการใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความรังเกียจเคียดแค้น ไม่ใช่วัฒนธรรมอันดีงามนัก หากจะต้องทะเลาะวิวาท ด่าทอ โต้ตอบเสียดสีกันด้วยคำหยาบคาย และทำให้ถึงขั้นแตกความสามัคคี ย่อมส่งผลเสียหายแก่สังคมโดยรวมครับ

    อุปสรรคในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

            การสื่อสารภาษาย่อมเกิดอุปสรรค ปัญหา เสมอๆ  ไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยใดๆ ในกระบวนการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สื่อ หรือตัวสาร  ความบกพร่องที่เกิดขึ้นเช่น ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร มีฐานะแตกต่างกันมาก  มีความบกพร่องในอวัยวะที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น หูพิการ ตาพิการ สมองพิการ ปากพิการ หรือสื่อที่ใช้นำสารไม่มีประสิทธิภาพ  ไปจนถึงตัวสาร(ภาษา)ที่อาจไม่มีความชัดเจน กำกวม ออกเสียงไม่ถูกต้อง เรียงลำดับสับสน หรือเป็นภาษาที่หยาบคาย ส่อเสียด ก่อความรังเกียจเคียดแค้น ชิงชัง เป็นต้น  อุปสรรคเหล่านี้ต้องได้รับกาแก้ไข ต้องศึกษาเรียนรู้วิธีการใช้ภาษา ได้แก่ อักขรวิธี (วิธีพูด วิธีเขียน)  การรู้จักอ่าน รู้จักฟัง มารยาทการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ ลงความว่า การใช้ภาษาไทยที่ดี ไม่เกิดอุปสรรคในการสื่อสารมี 5 ประการคือ

          1. ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา

          2. ใช้ภาษาถูกกาลเทศะและบุคคล

          3. ใช้ภาษาให้ประณีต ไพเราะ

          4. ใช้ภาษาไม่บิดเบือนสารเพื่อประโยชน์ตนในทางไม่ชอบ

          5. ใช้ภาษาถูกต้องตามกฎหมาย และเหมาะสมกับวัฒนธรรมขนบประเพณีอันดีงาม

ภาษากับการสื่อสารมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ของภาษากับการสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์ โดยใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปยังผู้อื่น ... ภาษาเกิดจากการเรียนรู้ เลียนแบบ ถ่ายทอดจากบุคคลในสังคมเดียวกัน ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร

ภาษาไทยมีความสําคัญกับการสื่อสารอย่างไร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงานทั้งส่วนตัว ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิด ทักษะอย่างถูกต้อง เหมาะสมในการสื่อสาร ...

ภาษากับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ภาษากับสังคมต้องเกี่ยวพันกันอยู่ตลอดเวลาและมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ภาษาของคนในสังคมแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ เพศ อาชีพและกลุ่มสนใจ สถานภาพทางสังคมหรือชนชั้น และถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังมีลักษณะการแบ่ง ของภาษาตามปริบทหรือสถานการณ์ทางสังคม การที่จะใช้ภาษาให้ถูกต้องหรือเหมาะสมกับบริบทจะต้องคำนึงถึงปัจจัย หลายประการ ...

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

ทำงานเกี่ยวกับอะไร กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย, อาจารย์สอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ, พนักงานต้อนรับ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เลขานุการ, นักเขียน, นักแปล/ล่าม, เจ้าหน้าที่สถานทูต/สถานกงสุลต่างประเทศ, มัคคุเทศก์ ฯลฯ