Territorial privacy หมายถึง

คำว่า “ความเป็นส่วนตัว” หมายถึง “สิทธิของแต่ละบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรในการตัดสินใจว่า ข้อมูลข่าวสารของตนเองนั้นจะถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่น เมื่อใด อย่างไร และมีขอบเขตมากน้อยเพียงใด”

2. “ความเป็นส่วนตัว” ในด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงสิทธิต่างๆ หลายประการ อย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความเป็นส่วนตัวในด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล   เป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงสิทธิต่างๆ หลายประการ อาทิ 

(1) ความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล (Information Privacy) เป็นการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

(2) ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย (Bodily Privacy) เป็นการให้ความคุ้มครองในชีวิตร่างกายของบุคคลในทางกายภาพที่จะไม่ถูกดำเนินการใดๆ อันละเมิดความเป็นส่วนตัว อาทิ การทดลองทางพันธุกรรม การทดลองยา เป็นต้น

(3)ความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (Communication Privacy)  เป็นการให้ความคุ้มครองในความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารทางจดหมาย โทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการติดต่อสื่อสารอื่นใด ที่ผู้อื่นจะล่วงรู้มิได้


(4)ความเป็นส่วนตัวในเคหสถาน (Territorial Privacy) เป็นการกำหนดขอบเขตหรือข้อจำกัดที่บุคคลอื่นจะบุกรุกเข้าไปในสถานที่ส่วนตัวมิได้ ทั้งนี้ รวมทั้งการติดกล้องวีดิโอ และการตรวจสอบรหัสประจำตัวบุคคล (ID checks)


3. จงบอกรูปแบบของการให้ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัว มาพอสังเขป


รูปแบบของการให้ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัว โดยมีวิธีการที่สำคัญพอสังเขป ดังนี้

(1) บัญญัติเป็นกฎหมายทั่วไป
            หลายประเทศส่วนใหญ่มีการบัญญัติกฎหมายโดยเป็นกฎหมายที่
วางหลักการทั่วไปครอบคลุมการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทั้งของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และมีหน่วยงานกลางดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งการที่ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาจกำหนดหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อใช้บังคับกันเอง และมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว วิธีการในรูปแบบนี้เป็นวิธีการที่ประเทศส่วนใหญ่นำไปใช้

(2) บัญญัติเป็นกฎหมายคุ้มครองแต่ละเรื่องไว้โดยเฉพาะ
       วิธีการนี้เป็นวิธีการที่บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ดำเนินอยู่ กล่าวคือ การหลีกเลี่ยงการบัญญัติกฎหมายที่เป็นการวางหลักการทั่วไป แต่มีกฎหมายคุ้มครองแต่ละเรื่องไว้เป็นการเฉพาะ เช่น การเก็บบันทึกข้อมูลการเช่า-ยืมวีดิโอ หรือข้อมูลทางการเงิน ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายในรูปแบบนี้ต้องอาศัยกลไกหลายประการร่วมกัน นอกจากนี้อุปสรรคที่สำคัญสำหรับการบัญญัติกฎหมายในรูปแบบนี้ คือต้องมีการบัญญัติกฎหมายใหม่เพื่อรองรับให้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งเป็นเรื่องยาก และไม่มีหน่วยงานที่ดูแลชัดเจน

(3) การกำกับดูแลตนเอง
                ในทางทฤษฎีนั้น การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจทำได้โดยกลไกการกำกับดูแลตนเอง (self-regulation) กล่าวคือ การที่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจกำหนดประมวลจริยธรรมของตนเองขึ้น และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกันเองไม่มีหน่วยงานกลางกำกับดูแล ซึ่งการดำเนินการในรูปแบบนี้ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ประมวลจริยธรรมให้ความคุ้มครองเพียงพอหรือไม่ และการนำไปใช้มีประสิทธิผลเพียงพอหรือไม่


4. จงอธิบายความหมายของ "ข้อมูลส่วนบุคคล" ในมาตราที่ 4 ของ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 


มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
  “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม


5. หมวดที่ 1 การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่ 7 ของ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีความว่าอย่างไร


หมวด การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา 7 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อบันทึกหรือพิมพ์เผยแพร่จะกระทำมิได้ เว้นแต่     

(1) เป็นการเก็บรวบรวมภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของผู้เก็บรวบรวม  

ข้อใด หมายถึง ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย (Bodily Privacy)

(2) ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย (Bodily Privacy) เป็นการให้ความคุ้มครองในชีวิตร่างกายของบุคคลในทางกาย ภาพที่จะไม่ถูกดำเนินการใดๆ อันละเมิดความเป็นส่วนตัว อาทิ การทดลองทางพันธุกรรม การทดลองยา เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาคุ้มครองความเป็นส่วนตัวประกอบด้วยอะไรบ้าง

แนวทางการพัฒนาคุ้มครองความเป็นส่วนตัว – ข้อมูลส่วนตัว ควรจะได้รับการตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล – ข้อมูลควรมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความทันสมัย แฟ้มข้อมูลควรทำให้บุคคลสามารถเข้าถึง (ข้อมูลของตน) และตรวจสอบความถูกต้องได้

สิทธิความเป็นส่วนตัวมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ