เทคนิค สีอะ ค รี ลิ ค บนผ้าใบ

สีลงพื้น จะช่วยควบคุมสภาพพื้นผิว การดูดซับสีที่ดีบนพื้นภาพ เราจึงควรใช้สีรองพื้น คุณภาพดีเพื่อรองรับสีที่มีคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ภาพเขียนมีความคงทนถาวร

สีกันพื้น

สำหรับงานช่างทั่วไปแล้ว สีรองพื้นหรือสีพื้นอาจไม่เหมาะสม เนื้อไม้ใหม่อาจลงสีกันพื้น ช่วยการดูดซับสีด้วยสื่อผสมอะครีลิคด้านก็จะช่วยให้ได้พื้นภาพที่ดี

พื้นผิวผิดปกติ

พื้นภาพที่แปลกแตกต่างออกไป เช่น ปลาสเตอร์ อิฐ ดินเผา หนัง สามารถใช้สี อะครีลิคระบาย ได้อย่างดี

สีพื้นภาพสีน้ำมัน

สีอะครีลิคสามารถใช้ระบายเป็นสีรองพื้นบนผ้าใบขึงบนกรอบไม้ อาจใช้ระบายรองพื้นให้หนาบน แคนวาสบอร์ด สำหรับใช้เขียนภาพสีน้ำมัน

สีพื้นฐาน
การใช้สีในช่วงแรกควรใช้สีที่หลากหลายคล้ายสีรุ้ง สมดุลระหว่างสีโปร่งใสและสีทึบแสง และ ระหว่างสีเข้มและสีอ่อน ควรคำนึงถึงสีคงทน ราคาไม่สูงเกินไป โดยทั่วไปแล้วใช้ประมาณสิบสองสี และเพิ่มขึ้นในกรณีที่ต้องการใช้สีพิเศษเฉพาะสีใดสีหนึ่งสีเพิ่มเติม สำหรับการสร้างสรรค์ที่พิเศษมากยิ่งขึ้นเมื่อต้องการเลือกสีเพิ่มขึ้น คู่มือชาร์ทสี(แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน) และคู่มือวัสดุอุปกรณ์จะมีมากมาย

สื่อผสมสีอะครีลิค

สื่อผสมใช้สำหรับช่วยสร้างสรรค์กลวิธีต่างๆ บนภาพเขียน และยังช่วยผสมสีในกรณีที่ต้องการ สีบางและจางเป็นพิเศษ

เปลี่ยนความเข้มข้น

เราสามารถใช้สีอะครีลิคให้มีความเข้มข้นหลากหลายลักษณะจากสีเหลวเจือจางจนถึงสีข้นหนา และความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นั้นยังสามารถ เลือกสีด้านหรือมันได้อีกด้วย เป้าหมายทั่วไป สื่อผสมอะครีลิคด้าน หรือสื่อผสมอะครีลิคมัน ช่วยให้เกิดความเข้มข้นของสีที่ลื่นไหลและโปร่งใส สีที่ผสมกับสื่อผสมจะมีความคงทน

การระบายสีหนา

พู่กันด้านยาว มีความแข็งแรงที่จะใช้ระบายสีหนาและพื้นผ้าใบผิวหยาบ ระบายด้วยเทคนิควิธีการ
เดียวกับสีน้ำมัน ขนพู่กันที่มีรูปทรงต่างกันจะทำให้เกิดรอยพู่กันที่ต่างกัน พู่กันขนสั้นได้รับความนิยม
มาก ช่วยให้ระบายครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในการระบายสี

การแห้งช้า

หากรู้สึกว่าสีอะครีลิคแห้งเร็วเกินไป ใช้อะคลีลิครีทาร์เดอร์ หรือสื่อผสมชะลอการแห้ง ผสมกับสี จะช่วยให้สีแห้งช้าและมีเวลาระบายสีมากขึ้น ทั้งบนจานสีและบนพื้นภาพชะลอ การแห้งของสีบนจานสีได้นานขึ้น

สร้างพื้นผิว

คุณสมบัติของสีอะครีลิค ที่แห้งเร็วและเหนียวเป็นธรรมชาติของสี ช่วยให้สามารถสร้างชั้นสีได้ดี การใช้สื่อผสมช่วยสร้างพื้นผิวมีผลดียิ่งขึ้น อาจผสมทรายหรือผงวัสดุอื่นๆ ก็ช่วยสร้างพื้นผิวที่หยาบละเอียดและโปร่งใส สามารถสร้างภาพภูมิทัศน์ให้มีพื้นผิวได้อย่างน่าสนใจ

หลีกเลี่ยงสีเจือจางเกินไป

หากเราใช้น้ำช่วยผสมสีอะครีลิคให้เจือจางและใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ระบายสี การผสมน้ำในสี อะครีลิคมากเกินไปจะทำให้สีเจือจางเกินไป และขาดความเข้มข้นของสื่อ ขาดการยึดสี สีจะด้าน ไม่แข็งแรง และสีอาจหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น

การเคลือบภาพเขียน

น้ำมันวาร์นิช ใช้สำหรับเคลือบภาพเขียนเพื่อป้องกันรักษาภาพไม่ให้ติดฝุ่นผง และ คราบไขต่างๆ วาร์นิชสำหรับเคลือบภาพควรเช็ดออกได้ในกรณีที่ตัวมันเองสกปรกแม้วาร์นิชสำหรับสีน้ำมันในปัจจุบัน ใช้ทาเคลือบภาพสีอะครีลิคได้ แต่วาร์นิชสำหรับสีอะครีลิคจะเช็ดล้างออกได้ง่ายกว่า วาร์นิชสำหรับ สีอะครีลิคมีทั้งแบบชนิดด้านและมัน และสามารถผสมเข้าด้วยกันตามที่ชอบได้

จานสีอะครีลิค
ตามปกติแล้วสีอะครีลิคจะแห้งเร็ว จานสีอะครีลิค จะใช้รักษาสีหลายวันในกรณีที่ระบายสีทุกวัน ช่วยให้ประหยัดการใช้สีไม่ต้องล้างทิ้งทุกวัน จริงอยู่จานสีชั่วคราวหรือจานสีแบบเก่าก็สามารถใช้ได้แต่ต้องล้างทิ้งทุกครั้ง

พู่กันสำหรับสีอะครีลิค
ศิลปินสีอะครีลิคมักใช้พู่กันขนหมูและพู่กันขนนุ่ม พู่กันขนหมูซึ่งเป็นพู่กันขนแข็งมักใช้ระบายสีหนา ส่วนสีน้ำ และการเขียนภาพขนาดเล็กนิยมใช้พู่กันสเกปเตอร์โกลด์ (ซึ่งเป็นพู่กันขนเซเบิลผสมเส้นใยสังเคราะห์ ) เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พู่กันขนสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ได้รับการผลิตขึ้นมาใช้สำหรับสีอะครีลิค พู่กันโพลีเอสเตอร์แกเลอเรียแข็งแรงยืดหยุ่นและดีดตัวได้ดี เหมาะกับการระบายสี อะครีลิค แต่จะไม่นุ่มในน้ำเหมือนพู่กันขนหมู

การทำความสะอาดพู่กัน

ถ้าพู่กันได้รับการดูแลอย่างดีก็จะมีอายุยืนยาว ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการระบายสี อย่าใส่ปลาย
พู่กันลงในภาชนะใส่น้ำ ล้างพู่กันให้สะอาดทั่วถึงเมื่อเลิกเขียนในแต่ละวัน
1.ล้างพู่กันในน้ำสะอาด (ควรเป็นน้ำอุ่นๆ)
2.ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่ ค่อยๆล้างเบาๆ ล้างจนกระทั่งหมดคราบรอยสีที่เกาะพู่กันอยู่
3.จัดขนพู่กันให้เป็นแนวยาว-จัดปลายให้แหลม เช็ดด้ามให้แห้ง และเสียบด้ามลงในภาชนะใส่พู่กัน

ขั้นตอนการวาดภาพสีอะครีลิค

1. ร่างภาพที่เราต้องการวาด สำหรับมือใหม่แนะนำให้ร่างภาพให้ละเอียด เพราะจะมีผลตอนลงสี ถ้าไม่ละเอียด หรือร่างภาพเบาไปเวลาลงสีภาพที่ร่างไว้จะหายไป

2.ลงสีเพื่อคลุมโทนภาพ ให้ดูภาพต้นแบบว่าโทนภาพสีอะไร แล้วลงสีตามนั้น ขั้นตอนนี้ให้ละลายสีอะคลีลิคให้จางๆเพราะถ้าลงสีเข้ม ภาพที่ร่างไว้จะหายไป เมือเรียบร้อยแล้วก็เกลี่ยสีให้เสมอ วิธีนี้ช่วยทำให้ภาพที่ออกมาดู ซอฟ และเป็นธรรมชาติ

3.เมื่อลงสีพื้นเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มลงสีในส่วนของรายละเอียดของภาพในส่วนต่างๆ เช่นใบหญ้าสีเขียว หยดน้ำ ลงสีแค่ให้รู้ว่าตรงไหนสีอะไร แล้วค่อยมาเก็บมิติ ความลึกตื้นของภาพภายหลัง จะทำให้สีสม่ำเสมอ ไม่มากไปหรือน้อยไป

4.เมื่อเราลงสีในส่วยต่างๆ ของภาพเรียบร้อย ก็เริ่มเก็บรายละเอียดในส่วนรายละเอียดของภาพ เมื่อเรียบร้อยก็เริ่มลงสีในส่วนของบรรยากาศ

5. หลายคนมักลงสีในส่วนของบรรยากาศก่อน อันนั้นก็ไม่ผิด แต่การวาดภาพบรรยากาศภายหลังวาดภาพหลักมักทำให้ภาพดูสมจริงมากขึ้น เพราะตามความเป็นจริงแล้ว บรรยากาศครอบคลุมสรรพสิ่ง

6.เกลี่ยสีของบรรยากาศในส่วนต่างๆ ไล่สีให้กลมกลืนกับสีในส่วนสว่าง ซึ่งเป็นสีที่เราระบายคลุมโทนเอาไว้ในตอนแรก จะเห็นได้ว่า ถ้าเราไม่ระบายคลุมโทนไว้แต่ต้น ขั้นตอนนี้จะทำได้ยากมากมาก อาจต้องใช้เวลา และสีก็มักจะดูไม่เป็นธรรมชาติ

7.เมื่อลงสีของบรรยากาศเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเก็บรายละเอียดของภาพอีกครั้ง เพื่อคัดให้ภาพโดดเด่นขึ้น เช่น ภาพของหยดน้ำค้างที่ต้องแสงอาทิตย์ ซึ่งขั้นตอนพวกนี้เรามักทำภายหลัง เพราะต้องการความสดของสี เพื่อเน้นให้เกิดความโดดเด่น สวยงาม