โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

Powerd by OCEAN LIFE INSURANCE
“Love Empowers Your Life”

ข้อควรทราบ
โปรแกรมคำนวณภาษีนี้ใช้ข้อมูลของปีภาษี 2565 ที่เป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น บริษัทฯ ขอไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูลและผลลัพธ์ ทั้งนี้รายการลดหย่อนเพิ่มเติมในปี 2565 กรุณาตรวจสอบเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร


แบบคำนวณภาษี

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

ดาวน์โหลดแบบคำนวณภาษี

ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบคำนวณภาษีได้ที่ลิ้งค์ข้อมูลด้านล่าง และสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ทดลองคำนวณ SCBAM โปรแกรมคำนวณภาษีแบบง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเตรียมตัววางแผนเรื่องภาษีได้ดียิ่งขึ้น โดยในโปรแกรมสามารถใสค่าลดหย่อนต่างๆได้ เช่น ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ซื้อประกันชีวิต หรือลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ SSF หรือ RMF ลองตรวจสอบกันดูว่าปีนี้เราต้องเสียภาษีเท่าไร

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

แบบคำนวณภาษีปี 64 / เงื่อนไขการสับเปลี่ยนต่าง บลจ.

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเป็นผู้ที่มีเงินได้ในระหว่างปีที่ผ่านมาคือ “การเสียภาษี” และเมื่อครบ 1 ปีภาษี ประชาชนที่มีเงินได้ มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ สำหรับปีภาษี 2565 จะมีรายละเอียดและวิธีคำนวณภาษี รวมถึงลดหย่อนอะไรได้บ้าง FINNOMENA สรุปมาให้คุณแล้ว!

บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบภาษีเมื่อไร?

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้ ปกติการยื่นแบบแสดงรายการ จะยื่นปีละ 1 ครั้ง (ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป) แต่ถ้าเงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี (สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของทุกปี)

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

บุคคลธรรมดาต้องมีเงินได้เท่าไร ถึงจะต้องเสียภาษี

เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ “ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี” แบ่งเป็นสำหรับคนโสดและคนที่สมรสแล้ว

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

หลักการคำนวณภาษี แบบสรุปสั้น ๆ คือ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยเงินได้สุทธิ สามารถหาได้จากการนำรายได้ทั้งหมดมารวมกัน พร้อมหาค่าลดหย่อนต่าง ๆ (เช่น ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน) และนำมาหักออกจากรายได้ทั้งหมด เหลือเท่าไรคือเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี

การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

ขั้นตอนที่หนึ่ง

คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีคิดอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันได

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได

  1. เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)
    ภาษี = 0
  2. เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
    ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000
  8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)
    ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000

ขั้นตอนที่สอง

กรณีที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีคิดแบบเหมา คือต่อเมื่อมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน หากรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภทเงินเดือน) x 0.005

โดยวิธีนี้มีข้อควรระวังคือ

  • จะคำนวณจากรายได้ทางอื่น ๆ ทุกทางยกเว้นเงินเดือน
  • หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

ขั้นตอนที่สาม

เปรียบเทียบและสรุป โดยให้เทียบกันระหว่าง 2 วิธีนี้ คือ วิธีคิดแบบขั้นบันได กับ วิธีคิดแบบเหมา โดยวิธีใดคำนวณแล้วเสียภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

ลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง?

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

  • ลดหย่อนผู้มีเงินได้
  • ลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีเงินได้)
  • ลดหย่อนบุตร
  • ค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตร
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)

กลุ่มที่ 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐ

  • ค่าลดหย่อนพิเศษในปีภาษี เช่น โครงการช้อปดีมีคืน 2565

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป
  • เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม สาธารณประโยชน์ และสถานพยาบาลรัฐ
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

วางแผนลดหย่อนภาษีจากการออมและการลงทุน

หากเราพอจะรู้แล้วว่า เงินได้ของเราในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณเท่าไร อยู่ขั้นบันไดไหนและต้องเสียภาษีในอัตราภาษีกี่เปอร์เซ็นต์ จะสามารถนำมาวางแผนลดหย่อนได้ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ควรจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ที่สามารถวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ดังนี้

ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน

จากประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพตัวเองและบิดามารดา ประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยแต่ละประเภทจะลดหย่อนได้ไม่เท่ากัน

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) โดยกองทุนแต่ละแบบจะลดหย่อนได้แบบละไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี เช็กได้จาก เครื่องคำนวณ SSF RMF

หากต้องการเปรียบเทียบดูความแตกต่างระหว่างการลดหย่อนภาษีจากประกันและกองทุนรวม ว่าแบบไหนเหมาะกับเราและลดหย่อนได้เท่าไรบ้าง แนะนำให้อ่านบทความนี้เพิ่มเติม ประกัน VS กองทุนรวม

สำหรับใครที่ลงทุนในหุ้น และได้รับเงินปันผลด้วย แนะนำให้อ่านบทความภาษีเงินปันผลเพิ่มเติม ได้ที่

เครดิตภาษีเงินปันผล คืออะไร? แล้วเราต้องยื่นไหม? I TAX เพื่อนๆ EP4

หากพร้อมแล้วสามารถเข้าไปยื่นภาษีแบบออนไลน์ ได้ที่ https://rdserver.rd.go.th

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

FINNOMENA Admin

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

ผู้เขียน

โปรแกรมคํานวณภาษี 2565 กรมสรรพากร

FINNOMENA

FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง