ตาราง ค่า t-test dependent

             การทดสอบที (t - test) เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจ านวนน้อย (n < 30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S. Gosset

การใช้t-test แบบ Independent

เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ข้อมูลที่รวบรวมได้  อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน ใช้สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t - test for Independent

การใช้t- test แบบ dependent

            เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ได้แก่สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t - test for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่

ตาราง ค่า t-test dependent

รู้จักกับ t-test dependent

t-test dependent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูล 2 ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เช่น ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 1 ห้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน หรือการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาด้านการศึกษา

วิธีการคำนวณ t-test dependent ด้วย Microsoft Excel

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel ขึ้นมา เตรียมข้อมูลคะแนนสอบก่อน-หลัง เรียนให้เรียบร้อย

2. ติดตั้ง Add-ins โดยไปที่เมนู “File” > “Options” จะมีหน้าต่าง Excel Options ขึ้นมา เลือกที่แท็บ “Add-ins” แล้วคลิกที่ปุ่ม “Go…

ตาราง ค่า t-test dependent

3. คลิกเลือก “Analysis ToolPak” คลิกปุ่ม “OK”

ตาราง ค่า t-test dependent

4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว สังเกตที่แท็บ “Data” ถ้ามี “Data Analysis” ขึ้นมาแสดงว่าพร้อมใช้งาน

ตาราง ค่า t-test dependent

5. เริ่มต้นวิเคราะห์ “Data Analysis” เพื่อเปิด Add-ins ขึ้นมา แล้วเลือก “t-test: Paired Two Sample for Means” แล้วคลิกปุ่ม “OK”

ตาราง ค่า t-test dependent

6. เลือกส่วนของข้อมูลดังนี้

6.1 ในส่วน Input “Variable 1 Range:” เลือกส่วนข้อมูลก่อนเรียน และ “Variable 2 Range:” เลือกส่วนข้อมูลหลังเรียน

6.2 ในช่อง Hypothesized Mean Difference ให้ใส่เลข 0 (ค่าความแตกต่างของ สมมุติฐานของ Mean ของกลุ่มตัวอย่าง โดยปกติ เรามักจะกำหนด ให้เป็น 0 คือไม่แตกต่างกัน)

6.3 ในช่อง Labels ให้คลิกเลือก เนื่องจากในช่วงที่กำหนด มีชื่อหัวแถว จึงต้องคลิกเครื่องหมายถูก เพื่อบอกว่ามีชื่อหัวแถว (ในตัวอย่าง ขั้นตอน 6.1 เลือกแอดมินไม่ได้เลือกส่วนหัว จึงไม่ได้คลิกเลือก)

6.4 ในช่อง Alpha ให้ระบุค่าระดับความเชื่อมั่น ปกติคือ 0.05 หรือ 0.01

6.5 ในส่วน output option ให้คลิกเลือกตรง Output Range หลังจากนั้นเอาเมาท์ไปที่ สเปรดชีตหรือเวิร์กบุ๊ก แล้วคลิกตรงช่องว่างในตำแหน่งที่ต้องการให้แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตาราง ค่า t-test dependent

7. จะได้ข้อมูลที่พร้อมให้เราวิเคราะห์

ตาราง ค่า t-test dependent