สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ใน “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 อันมีผลให้ “สถาบันราชภัฏ” เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังความปลาบปลื้มยินดีแก่ชาวราชภัฏทุกคน

และในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547” ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นชาวราชภัฏทั้ง 41 แห่ง จึงร่วมใจพิธีถวายราชสดุดี เฉลิมฉลองนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” พร้อมกัน ในวันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เวลา 09.09 น. พร้อมกันทั่วประเทศ

การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในอนาคต

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ดีที่สุดในประเทศไทย อันดับที่ 3 รองจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตามลำดับ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2552
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ “วิทยาเขตเวียงบัว” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จะทำการย้ายไปตั้งที่ “วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก” อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่ 7,400 ไร่ ถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้มีแผนการพัฒนาที่จะเปิดคณะต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์และรัฐศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้เทียบเท่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ของไทย

หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ

สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาและพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก

สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎกลุ่มภาคเหนือ ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารเอนกประสงค์ขนาด 2,800 ที่นั่ง ที่มีความสมบูรณ์สำหรับใช้เป็นสถานที่จัดพิธีเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรทุกประการ เป็นห้องประชุมและประทับรับรอง หรือให้บริการหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามหอประชุมแห่งนี้ว่า ” ทีปังกรรัศมีโชติ ” ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ อย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และหอประชุมแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญาบัตรแก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ 8 แห่งเป็นประจำทุกปี โดยบัณฑิตที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏดังต่อไปนี้…

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
    • ตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า “CHIANG MAI RAJABHAT UNIVERSITY” ตรานี้มี 5 สี มีความหมายดังนี้…
      • ██ สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” อันแปลว่า “นักปราชญ์แห่งพระราชา”
      • ██ สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
      • ██ สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
      • ██ สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      • ██ สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

    สัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

    ศาลาพระพุทธรูปจตุรทิศ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นที่เคารพบูชาของบุคลากร และนักศึกษาทุกคน

    • พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระพุทธมหาคุณากร ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาพระพุทธจตุรทิศ
    • สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งปัญญา
    • ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดอกเสี้ยวขาว บางที่เรียกว่า ชงโคดอกขาว
    • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นหูกวาง หรือ ต้นกระโดน
    • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีดำ-เหลือง
    • เข็ม-เนคไทนักศึกษาประจำมหาวิทยาลัย
      • เข็ม : เป็นเหรียญโลหะรูปตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลัดที่เสื้อนักศึกษาหญิงตรงอกด้านซ้าย
      • เนคไท : เป็นผ้าสีกรมท่า มีเข็มตุ้งติ้งรูปตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ติดตรงกึ่งกลางของเนคไท ใช้ผูกในเครื่องแบบของนักศึกษาชาย
    • ครุยวิทยฐานะมหาวิทยาลัย ทำด้วยผ้าแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือเข่าพอประมาณ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด แขนเสื้อยาวตกข้อมือ ตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่สีดำ ขลิบด้วยเชือกเกลียวสีทอง พับปลายแถบเป็นมุมแหลม (ครุยดุษฎีบัณฑิต จำนวน 3 แถบ ครุยมหาบัณฑิต จำนวน 2 แถบ และครุยบัณฑิต จำนวน 1 แถบ) เรียงไว้ตอนกลางของแขนเสื้อทั้งสองข้าง และให้มีผ้าคล้องคอ ด้านในทำด้วยผ้าต่วนสีเหลืองทอง ด้านนอกทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเช่นเดียวกับตัวเสื้อ ด้านหน้าเย็บเป็นมุมแหลม มีแถมผ้าต่วนสีเหลืองทองเย็บติดที่ริมทั้งสองข้าง ระหว่างผ้าต่วนสีเหลืองทองทั้งสองข้างมีแถบกะมะหยี่สีประจำสาขาวิชา สีประจำสาขาวิชามีดังต่อไปนี้…
      • สาขาวิชาการบัญชี : สีฟ้าเทา
      • สาขาวิชาการศึกษา : สีฟ้า
      • สาขาวิชานิติศาสตร์ : สีขาว
      • สาขาวิชานิเทศศาสตร์ : สีน้ำเงิน
      • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ : สีชมพู
      • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ : สีน้ำตาล
      • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ : สีเหลือง
      • สาขาวิชาศิลปศาสตร์ : สีแสด
      • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ : สีเขียวหัวเป็ด
      • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ : สีชมพูส้ม

    ด้านหลังเย็บเป็นสี่เหลี่ยม มีแถบผ้าต่วนสีเหลืองทองเย็บติดด้านบนและด้านล่าง ด้านซ้ายแล้วด้านขวาพับเป็นจีบซ้อนกัน จำนวนสองทบ มีเชือกเกลียวสีทอง ผูกด้วยเงื่อนพิรอดตรงกลางแผ่นหลัง และมีพู่ห้อยสีทอง มีตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยทำด้วยผ้า และปักด้วยด้ายสีตามตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยติดบนผ้าต่วนสีเหลืองทองรูปวงรี ปิดทับรอยต่อของผ้าคล้องคอด้านหน้าและด้านหลังทั้งสองข้าง

    คณะราชภัฏเชียงใหม่มีอะไรบ้าง

    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
    คณะครุศาสตร์.
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศษสตร์.
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
    คณะวิทยาการจัดการ.
    คณะเทคโนโลยีการเกษตร.
    วิทยาลัยนานาชาติ.
    วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน.

    สีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือสีอะไร

    สีทอง แทนความรุ่งเรืองทางปัญญา สีส้ม แทนความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สีขาว แทนความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มีอายุครบกี่ปี

    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 โดยได้มีการพัฒนา และปรับเปลี่ยนสถาบันมาโดยลำดับเป็นระยะเวลา 96 ปี

    CMRU มหาลัยอะไร

    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ : Chiang Mai Rajabhat University.