การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

การแสดงความคิดเห็น คือ การพูดข้อเท็จจริงในเชิงอธิบายแนวความคิด หลักการ ข้อวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ ข้อสันนิษฐาน หรือเหตุผล เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการนำความคิดเห็นเหล่านั้นไปคิดวิเคราะห์ หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรต่อไป

แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่างๆ ภายในที่ทำงานจะเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมี แต่ก็มิใช่ว่าจะแสดงความคิดเห็นสุ่มสี่สุ่มห้าได้ จำเป็นต้องคำนึงถึงมารยาทในการแสดงความคิดเห็นด้วย

การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

©pixels.com

UndubZapp ขอแนะ 5 มารยาทขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆ ภายในองค์กร ตามหลักการสื่อสารอย่างสันติ เพื่อให้เพื่อนๆ รวมถึงเหล่าน้องใหม่ในบริษัท นำไปใช้ในการแสดงความคิดเห็นระหว่างการให้สัมภาษณ์ การประชุม การสัมมนา การอภิปราย การบรรยาย รวมถึงการเขียนแสดงความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้อย่างเหมาะสม

มารยาทในการพูดแสดงความคิดเห็น

  1. ภาษาในการพูดแสดงความคิดเห็นต้องเป็นคำที่ถูกต้องตามกาลเทศะ ควรใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจน ตรงประเด็นตามที่ผู้พูดต้องการสื่อ ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรใช้คำกำกวม คําสองแง่สองง่าม ซึ่งอาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
  2. ควบคุมกิริยาท่าทางและอารมณ์ขณะพูดเสมอ พยายามแสดงออกถึงความสุภาพนอบน้อม ไม่วางท่าทียกตนข่มท่าน ไม่แสดงตัวว่าเป็นผู้รู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ต้องถ่อมตนจนถึงขั้นเหมือนคนไม่รู้เรื่องรู้ราว ควรใช้น้ำเสียงโทนสุภาพเรียบร้อย แต่ไม่จำเป็นต้องดัดเสียงจนไม่เป็นตัวของตัวเอง และไม่ต้องรีบพูดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ฟังรับสารผิดพลาดได้
  3. ผู้พูดต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดแสดงความคิดเห็นอย่างถ่องแท้ อาจนำข้อมูลหรือหลักฐานที่สมเหตุสมผลมาใช้ประกอบในการแสดงความคิดเห็น เพื่อแสดงให้ผู้ฟังประจักษ์ว่าข้อมูลที่ผู้พูดกล่าวถึงเป็นเรื่องจริง มิใช่ข้อมูลเท็จด้วยก็ได้
  4. การแสดงความคิดเห็นต้องยึดเหตุผลเป็นสำคัญ ปราศจากอคติหรือความลำเอียง ไม่พูดเพื่อเอาชนะ ดูถูก ข่มขู่ พูดด้วยความคึกคะนอง หรือพาดพิงผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย หัวข้อในการแสดงความคิดเห็นควรเรียงลำดับ ดังนี้

สาระสำคัญ → จุดประสงค์ → ข้อเท็จจริง → ความคิดเห็น

  1. เคารพกฎกติกา มติ และเวลาของสถานที่นั้นๆ ใช้เวลาแสดงความคิดเห็นอย่างพอเหมาะพอควร อย่าผูกขาดเวลาไว้เพียงคนเดียว ควรเผื่อเวลาให้ผู้อื่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นด้วย

การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

©pixels.com

มารยาทในการเขียนแสดงความคิดเห็น

  1. ภาษาในการเขียนแสดงความคิดเห็นต้องเป็นคำที่เหมาะแก่กาลเทศะ เขียนด้วยลายมือที่เห็นได้ชัดเจน อ่านออกง่าย ไม่เขียนหวัด เขียนตัวใหญ่ หรือเขียนตัวเล็กจนเกินไป ไม่ใช้คำแสลง รวมถึงคำที่รู้ความหมายเฉพาะภายในกลุ่ม ป้องกันไม่ให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิด
  2. เรียบเรียงความคิดเห็นเป็น mind map ในจินตภาพให้เป็นลำดับต่อเนื่อง ก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียนแสดงความคิดเห็นลงไปในหน้ากระดาษจริงๆ เพื่อให้ความคิดเห็นไม่ออกนอกประเด็น ผู้อ่านจะได้สามารถทำความเข้าใจตามลำดับขั้นตอนได้โดยง่าย
  3. การเขียนแสดงความคิดเห็นที่ดี ควรมีการเรียงลำดับ ดังนี้
  • ที่มา ความจำเป็น หรือปัจจัยที่ทำให้ผู้เขียนต้องการแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าว
  • ข้อเท็จจริง ข้อสนับสนุน หรือหลักการที่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการแสดงความคิดเห็น
  • ข้อสรุป ข้อเสนอแนะ ข้อสันนิษฐาน หรือการประเมินผล ให้ผู้อ่านนำไปใช้พิจารณาในการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาในภายภาคหน้า
  1. ผู้เขียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนแสดงความคิดเห็นโดยแท้จริง ห้ามนำข้อมูลเท็จ ข่าวโคมลอย หรือแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงโดยเด็ดขาด เนื่องจากความคิดเห็นดังกล่าวอาจนำไปสู่ข้อพิพาท และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
  2. คำนึงถึงประโยชน์ของการแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ กล่าวคือ การแสดงความคิดเห็นต้องเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลดี มีประโยชน์ ไม่ส่งผลในเชิงลบ หรือสร้างความเสื่อมเสีย ฉะนั้น ไม่ควรเขียนแสดงความคิดเห็นจากความชอบส่วนตัว ความลำเอียง และอคติโดยเด็ดขาด

Featured image ©pixels.com

หน่วยที่ ๘ การพูดแสดงความคิดเห็น

การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

๘.๑ ความหมายของดารพูดแสดงความคิดเห็น

                การพูดแสดงความคิดเห็น  คือ  การพูดในเชิงอธิบายเหตุผล  ข้อเท็จจริง  หลักการหรือแนวความคิดเห็นของผู้พูด  เพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตาม  เชื่อถือ  ยอมรับหรือเห็นด้วยกับผู้พูดและสามารถแนวคิดเหล่านั้นไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปได้

๘.๒ ความสำคัญของการพูดแสดงความคิดเห็น

                ๑)ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าหลายๆ  หน่วยงานมีการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม  ฉะนั้นการพูดแสดงความคิดเห็นจึงถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยหาทางออกให้กับปัญหาได้

                ๒)การพูดแสดงความคิดเห็นเป็นการเปิดโอกาสหรือเปิดพื้นที่ทางความคิดของบุคคลที่มีแนวคิดหลากหลายได้มาพบปะพูดคุยกัน  เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

                ๓) การพูดแสดงความคิดเห็นทำให้สังคมได้รับรู้ร่วมกันว่า  ในขณะนี้ได้เกิดอะไรขึ้นและจะต้องปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์นั้นๆ  กันอย่างไร เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติในด้านอื่นๆ  ผู้คนจะได้เตรีมความพร้อมรับสถานการณ์

                ๔) การพูดแสดงความคิดเห็นช่วยให้หาข้อยุติของเรื่องหรือกรณีต่างๆ ที่ยังไม่สามารถพูดคุยตกลงกันได้ในเบื้องต้น  จึงต้องนำมาหารือเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดที่มีความเป็นไปได้ที่ทุกฝ่ายจะเกิดการยอมรับ

ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น

การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

                ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น  แบ่งเป็น  ๒  ลักษณะ

                ๑) ความคิดเห็นในทางบวก

                ๒) ความคิดเห็นในทางลบ

                ๘.๔ ประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็น

                การพูดแสดงความคิดเห็น เกิดขึ้นได้ในหลายโอกาส มีความแตกต่างทั้งด้านลักษณะและสามารถแบ่งแยกประเภทออกได้ ดังนี้

                ๑. ความคิดเห็นเชิงสนับสนุน

                ๒. ความคิดเห็นเชิงขัดแย้ง

                ๓. ความคิดเห็นเชิงวิจารณ์

                ๔. ความคิดเห็นเชิงแนะนำ

                ๕. ความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกต

                ๘.๕ โอกาสที่มีการพูดแสดงความคิดเห็น

                การแสดงความคิดเห็นสามารถเกิดขึ้นได้ในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในสถานที่ที่เป็นที่ประชุมหรือในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ดังโอกาสต่อไปนี้

                ๑) โอกาสที่มีการเสนอแนวคิดในการประชุม

                ๒) โอกาสที่มีการสัมภาษณ์บุคคล

                ๓) โอกาสที่มีการสัมภาษณ์งาน

                ๔) โอกาสที่มีการเสวนาต่อที่ประชุมชน

                ๕) โอกาสที่มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น

                ๘.๖ หลักการพูดแสดงความคิดเห็น

                หลักการพูดแสดงความคิดเห็น ควรปฏิบัติดังนี้

                ๑) เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ

                ๒) มีข้อมูลหลักฐานประกอบที่สมเหตุสมผล

                ๓) ใช้คำสรรพนามแทนตัวให้เหมาะสมกับโอกาส

                ๔) พูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพและมีมารยาทในการพูด

                ๕) แสดงความคิดเห็นโดยยึดหลักประโยชน์ส่วนรวม

                ๖) พูดโดยปราศจากอคติหรือความลำเอียง

                ๘.๗ มารยาทในการแสดงความคิดเห็น

                ๑) ก่อนพูดแสดงความคิดเห็นควรกล่าวคำขออนุญาตพูด

                ๒) ไม่ใช้คำพูดเสียดสีหรือพาดพิงให้ผู้อื่นเสียหาย

                ๓) ไม่ผูกขาดการพูดเสนอความเห็นไว้เพียงคนเดียว

                ๔) ใช้เวลาในการเสนอความเห็นอย่างเหมาะสม

                ๕) เคารพกฎกติกาหรือมติของที่ประชุมชน

                ๖) แสดงกิริยาวาจาที่สุภาพ ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล

                ๘.๘ การใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น

                ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่คนเราจะสามารถใช้แสดงออกในการแสดงความคิด ฉะนั้นในการแสดงความคิดเห็นผู้พูดจะต้องรู้จักวิธีการใช้ภาษา ดังนี้

                ๑) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่กำกวม

                ๒) พูดลำดับความคิดอย่างเป็นระบบ

                ๓) ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ ประกอบกับคำกริยาแสดงการเสนอแนวคิด

                ๔)  ใช้ถ้อยคำที่บ่งชี้ว่าเป็นการตั้งข้อสังเกต

                ๕) ใช้ถ้อยคำที่เชื่อโยงในการอ้างความคิดเห็นที่มีผู้เสนอมาก่อนแล้ว

                ๖) ใช้ถ้อยคำเชิงสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลดี

                ๗) ใช้ภาษาให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล

                ๘.๙ ข้อควรระวังในการพูดเสนอความเห็น

                ๑) ไม่พูดจาวกวน ออกนอกเรื่อง ทำให้เสียเวลา

                ๒) ไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์ในการแสดงความคิดเห็น

                ๓) ไม่โอ้อวด ยกตนข่มท่าน หรืออวดว่าเป็นผู้รู้

                ๔) ไม่ใช้อคติหรืออารมณ์ส่วนตัวมาประกอบการแสดงความเห็น

                ๕) ไม่กล่าวตำหนิ หรือทำให้ผู้อื่นเกิดความเสื่อมเสีย

                ๖) ไม่ประชดประชัน ไม่พูดก้าวร้าวเสียดสี หรือมีเจตนาไม่ดี

การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนหมายถึงอะไร

การพูดแสดงความคิดเห็นในลักษณะดังกล่าว เป็นการพูดเพื่อ สนับสนุนความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้พูดอาจจะพิจารณาแล้วว่า ความคิดเห็น ที่ตนสนับสนุนมีสาระและประโยชน์ต่อหน่วยงานและส่วนรวม หรือถ้าเป็นการ แสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ จะต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นองค์ความรู้ สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่ก าลังพูดกันอยู่ ทั้งในระหว่างบุคคล ...

การพูดแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอแนวคิดคืออะไร

การพูดแสดงความคิดเห็น คือ การพูดแสดงความรู้สึก ความเห็นของตนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากการอ่าน การดู การฟัง เป็นการพูดที่ผู้พูดต้องพูดอย่างมีเหตุมีผล ข้อควรปฏิบัติในการพูดแสดงความคิดเห็น - ฟัง อ่าน หรือดูเรื่องที่ต้องพูดแสดงความคิดเห็นอย่างตั้งใจ

การพูดแสดงความคิดเห็นมีกี่ประเภท

การพูดแสดงความคิดเห็น มี 4 ประเภท ดังนี้ 1. การพูดในเชิงสนับสนุน เป็นการพูดสนับสนุนความคิดของผู้อื่น ที่เรามีความคิดไปในทางเดียวกัน หรือตรงกัน ความเห็นเชิงสนับสนุนต้องมีประโยชน์ไปในทางสร้างสรรค์ ถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ จะต้องเป็นความคิดเห็นที่สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่กำลังพูดกันอยู่ 2. การพูดในเชิงคัดค้าน

การใช้ถ้อยคำในการพูดแสดงความคิดเห็นมีอะไรบ้าง

๑. ใช้ถ้อยคำให้กะทัดรัดมีความหมายชัดเจน เรียงเนื้อความตามลำดับไม่สับสน ๒. ใช้ถ้อยคำภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของการแสดงความคิดเห็น เช่น การใช้คำสรรพนามบุรุษที่ ๑ ประกอบกับคำกริยาหรือกลุ่มคำกริยา ที่ระบุว่าเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นเป็นต้นว่า ดิฉันเห็นว่า ผมคิดว่า ดิฉันเข้าใจว่า ผมใคร่ขอสรุปว่า ที่ประชุมมีมติว่า เราจึงขอเสนอ ...