สมัยสุโขทัย มีการบริหารจัดการน้ำอย่างไร

          ���ͧ�ҡ��Ҿ��鹷�����dz���ͧ��⢷�����§�Ҵ���������ö�纹�����������ҵ� ��駾�鹷������Դ���� ���繵�ͧ�Ѳ�������纹��������Ĵ���� �����⢷�����¹�鹨֧��Ѳ�ҡ���纡ѡ����¡�����ҧ��ҧ�纹�� �ӹ����ͤѹ�Թ ���ҧ�觹�����ͷ��ش���繷���ѧ��š ���¡��� ��;����ǧ �觹������㹵�����ͧ���͢ѧ�����й���˭����������� ����Т�Ҵ�˭�㹡�ᾧ���ͧ���ͷ�����¡��� ��оѧ �� ��оѧ�ͧ ��оѧ�Թ ��оѧ�� �ա�âش��͹�ӡ���԰�ӹǹ�ҡ ������鹷������ͧ��⢷�����Ҵ�Ź��� �ա�êŻ�зҹ���͡���ɵ÷��������ö��Ե�ת�ѹ���ѭ��������ش�����ó� �ѧ����㹨��֡������

บรรพบุรุษของเราแต่โบราณใช้ความเข้มแข็งต่อสู้เพื่อรักษา เพื่อขยายดินแดน สร้างบ้านแปลงเมืองมาได้ แต่กับภัยธรรมชาติ อย่างอุทกภัย แทนที่จะปะทะหักหาญ ท่านจัดการด้วยความโอนอ่อนผ่อนปรน

ในหนังสืออยุธยามาจากไหน? (สำนักพิมพ์นาตาแฮก ส.ค.2561) สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนไว้ในหัวข้อที่ 3 สร้างบ้านแปลงเมือง...ว่า อยุธยาน้ำท่วม สุโขทัยน้ำแล้ง

คนโบราณมีวิธีจัดการกับน้ำด้วยการวางผังเมืองต่างกัน อยุธยาเมืองลุ่ม น้ำท่วมหนักจึงต้องขุดคลองไล่น้ำไหลให้ลดเร็วที่สุด บนเกาะเมืองอยุธยาจึงต้องมีคลองจำนวนมาก

สุโขทัยเมืองดอน น้ำแล้ง ต้องขุดสระ (เรียกตระพัง) เก็บกักน้ำใช้ยามแล้ง

จึงพบสระจำนวนมากทั้งในเมืองและนอกเมือง

เรื่องของคลองในอยุธยา สุจิตต์ วงษ์เทศ บอกว่า คลองในเกาะเมืองมีตามธรรมชาติเดิมอยู่แล้วแต่ไม่มากนัก และไม่ตัดตรงเป็นระเบียบ

เมื่อชุมชนบนเกาะเมืองขยายกว้างออกไป ทางราชการจึงขุดแปลงคลองในเมืองทั้งแนวนอนด้านตะวันตก ด้านตะวันออก และคลองแนวตั้งทั้งด้านเหนือด้านใต้เป็นเส้นตรงตัดกันไปมาราวกับใยแมงมุม

คลองเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หนึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ สองชักน้ำเข้าใช้ในเมือง สามระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก

ผมอ่านถึงตรงนี้ก็เห็นว่าน้ำมีคุณอเนกอนันต์ ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา

ย้อนไปเรื่อง สุโขทัยเมืองดอน หนึ่งในเกียรติประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่สร้างไว้ในสุโขทัยก็คือ นโยบายขุดสระหรือตระพังเอาไว้ใช้ในยามแล้ง

บางประโยคในศิลาจารึก...น้ำในตระพังสีใสกินดี ดั่งน้ำโขงเมื่อแล้ง...แสดงว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพิ่งมานึกถึงกันในวันนี้ เล่าขานยกย่องกันมาตั้งแต่สมัยนั้น

ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัยขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง...ผู้รู้มากมายในสมัยใหม่คงบอกได้ว่า ก็ทำเขื่อน ทำฝาย ฯลฯ กักเก็บน้ำ ขุดคลอง ฯลฯ กันไว้มากต่อมากนักต่อนักแล้ว

ปัญหาของเขื่อนของฝาย เมื่อน้ำน้อยก็ไม่พอใช้ เหมือนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา...เกิดแล้งกลางฤดูฝน...และตอนนี้พายุใหญ่มาก

น้ำมากก็ต้องหาทางระบายจนบ่าท่วมบ้านเมือง

ไม่ว่าปัญหาน้ำแล้งหรือปัญหาน้ำท่วม นายกฯประยุทธ์แวะเวียนไปเยี่ยมเยียนแล้ว ทั้งอีสานเหนือ ปัญหาเฉพาะหน้ามีอะไรช่วยได้ก็ช่วยกันไป เป็นภาพที่คุ้นเคยชินตา

แต่คำเดียว...ที่ผมอยากได้ยินจากปากทุกฝ่าย ผู้นำ ผู้รู้เรื่องน้ำ ชาวบ้าน ฯลฯ ก็คือ

เมื่อน้ำมามากๆ น้ำที่เราขาดแคลนกันนักเมื่อแล้ง...บ่าท่วมมาถึงตรงหน้า

ทำไมเราไม่หาวิธีกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้

เมื่อยังสร้างเขื่อน สร้างฝายไม่ได้ หรือสร้างไว้ไม่พอ สิ่งที่ทำได้ง่ายก็คือ การขุดสระแบบตระพังเหมือนสมัยพ่อขุนรามคำแหง แทนที่จะปล่อยให้น้ำท่วมไหลผ่านไปต่อหน้าต่อตา

หนึ่งในเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร...

ทรงย้ำแล้วย้ำอีกก็คือ ทุกสวนทุกไร่ต้องขุดบ่อน้ำไว้สำรองใช้

ตอนแล้งในฤดูฝนที่ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ผมดูข่าวชาวบ้านขุดหลุมเล็กๆ เป็นช่องทางให้น้ำฝนหรือน้ำท่วมซึมลงไปเก็บไว้ใต้ดิน เมื่อแล้งน้ำก็สูบขึ้นมาใช้แบบน้ำบาดาล นี่คือความพยายามหนึ่ง

ประสิทธิผลของการฝากน้ำไว้ใต้ดินมีมากน้อยแค่ไหน ผมยังไม่เคยได้ยินผลงานวิจัย

ถ้าใช้ได้ผลจริง...เราก็จะมีน้ำสำรองไว้อีกแห่ง...ดีกว่ารอฟ้าฝนประทานเหมือนอย่างที่เคยรอๆกันมา.

กิเลน ประลองเชิง

กรณี “สุโขทัย ไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย” ผมไม่มีเจตนาจะเขียนต่อเนื่องยืดยาวและยืดยาด อย่างที่ทำมาหลายวัน แล้วจะทำต่อไปอีกเรื่อยๆ

ดังนั้น จึงไม่มีอะไรใหม่หรือก้าวหน้ากว่าที่เคยเรียบเรียงพิมพ์เป็นเล่มขายดีเมื่อนานมากแล้ว (นักวิชาการอย่ามาหวังอะไรจากตรงนี้ เพราะที่นี่ไม่ใช่นักวิชาการ ขอให้พิจารณาตัวเองกับพวกเดียวกันเองว่ามีอะไรใหม่บ้าง?)

ยิ่งกว่านั้น ยังอาจหลงลืมเองว่าผมเคยเขียนไว้แล้ว พิมพ์เป็นเล่มขายหมดนานแล้ว หากผู้ใดพบผิดปกติแบบนี้ก็ไม่ต้องสงสัย ผมลืมไปเอง (เพราะเป็นผู้รู้น้อย และเหลือเวลาไม่มาก)

เหตุที่ต้องมาทำต่อเนื่องเรื่องรัฐสุโขทัย โดยทบทวนของเก่ามาเล่าใหม่ ก็เพราะการไม่ทำหน้าที่ของครูบาอาจารย์นักวิชาการโบราณคดีทางการ (ทั้งในมหาวิทยาลัย และในกระทรวง ทบวง กรม กองต่างๆ) เมื่อสังคมเจ็บท้องข้องใจสงสัย แต่พวกเขาไม่อธิบายแบ่งปันข้อมูลข่าวสารใดๆ ทั้งนั้น

หนักข้อกว่านั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย (เลื่อมใสอำนาจนิยมเรียกหาเผด็จการ) แทนที่จะทักท้วงถกเถียงด้วยหลักฐานและเหตุผลทางวิชาการประวัติศาสตร์โบราณคดี กลับทำอย่างที่เรียกว่า “มือไม่พาย” เสือกเอา “ส้นตีนราน้ำ” กล่าวร้ายป้ายสีการเสนอข่าววิชาการเรื่องสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกว่า “เสี้ยม” ให้เกิดขัดแย้งแตกแยกต่างๆ นานา

ซึ่งผมคิดตรงข้ามว่านี่คือข่าวที่มีคุณค่ามหาศาล ก่อให้เกิดการงอกเงยและงอกงามทางวิชาความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่พวกอำนาจนิยมสมคบกันปกปิดครอบงำสังคมไทยมาเกือบ 100 ปี ว่าแท้จริงแล้วสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย

สุโขทัย “รัฐในอุดมคติ”

เมื่อวาน (จันทร์ 25 สิงหาคม 2559) ผมเล่าเรื่องสุโขทัย เมืองแล้งน้ำในหน้าแล้ง เมืองน้ำล้นในหน้าฝน เกี่ยวกับระบบการจัดการน้ำโดยรวมๆ

วันนี้จะเล่าถึงรายละเอียดการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ในเมืองจนถึงนอกเมืองสุโขทัย โดยยกจากหนังสือ แคว้นสุโขทัย “รัฐในอุดมคติ” พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

เล่มนี้ผมเรียบเรียงจากงานวิจัยของ อ. ศรีศักร วัลลิโภดม เรื่อง เมืองโบราณ             ในอาณาจักรสุโขทัย เสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2530 (งานวิจัยนี้ต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่มวางขายไม่ทั่วไป โดยสถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2532, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ครั้งที่ สอง พ.ศ. 2552)

การบริหารจัดการน้ำรอบๆ เมืองสุโขทัย เป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าในยุคนั้น แต่ถูกสังคมยุคนี้มองข้ามไปให้ความสำคัญแต่วัดวาอารามกับลอยกระทงเท่านั้น

เกือบ 30 ปีที่แล้ว ถ้อยคำภาษาและความคิดย่อมขาดตกบกพร่องไม่น้อย กรุณาอ่านด้วยเมตตาผู้น้อย แล้วอย่าเชื่อ

สุโขทัยระบบน้ำก้าวหน้า เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำ

เมืองสุโขทัย เป็นเมืองที่มีผู้เชี่ยวชาญการจัดผังเมืองอย่างมีระเบียบแบบแผนชัดเจน และเป็นเมืองที่มีผู้ชำนาญการจัดระบบน้ำในการบริโภคอุปโภค

ผังเมืองของเมืองสุโขทัยจึงเกี่ยวข้องกับระบบชักน้ำและระบายน้ำ ที่เชื่อมโยงกันได้หมดทั้งนอกเมืองและในเมือง

เมืองสุโขทัยจึงมีผังเมืองแตกต่างไปจากบรรดาบ้านเมืองใหญ่ๆ ที่อื่นๆ ในดินแดนสยาม ทั้งในสมัยก่อนหน้าและสมัยหลังๆ เพราะระบบชักน้ำและระบายน้ำของเมืองสุโขทัยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมีขนาดใหญ่โตมากกว่าบ้านเมืองอื่นๆ

เหตุที่ระบบน้ำก้าวหน้าและใหญ่โตมากกว่าที่อื่นๆ ก็เพราะเมืองสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่สูงเชิงเขาห่างจากลำน้ำยมประมาณ 12 กิโลเมตร จึงอาศัยน้ำจากลำน้ำยมไม่ได้

ฤดูฝนมีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากเทือกเขามากเกินต้องการ และมักรุนแรงจนทำลายเหย้าเรือนเรือกสวนไร่นา

ฤดูร้อนก็แล้งน้ำและร้อนระงม

ซ้ำมิหนำน้ำซึมน้ำซับจากใต้ดินก็อยู่ลึกลงไปเกินบาดาล

เมื่อคราวแรกที่เริ่มศึกษาสภาพแวดล้อมของเมืองสุโขทัย เพื่อปรับปรุงให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาพยายามขุดเจาะลงไปใต้ดินเพื่อสำรวจหาแหล่งน้ำ ก็ปรากฏว่าแหล่งน้ำใต้ดินอยู่ลึกมากจนเกินกำลังที่จะขุดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ (ศรีศักร วัลลิโภดม : ผลการวิจัยฯ 2530)

สมัยเมืองสุโขทัยก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกันคือหวังพึ่งน้ำใต้ดินไม่ได้

มีหนทางเดียวเท่านั้นที่จะมีน้ำใช้ตลอดปีคือกว้านเอาน้ำมาเก็บกักไว้

กว้านน้ำจากที่ไหน?

ก็น้ำฝนน้ำป่าที่ไหลบ่าลงมาจากเทือกเขาในฤดูฝนจนมากเกินต้องการนั่นแล

ด้วยเหตุนี้ ชาวเมืองสุโขทัยสมัยโบราณจึงสร้างสรรค์และหยิบยืมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาจัดระบบน้ำไว้ใช้บริโภคอุปโภค คือ ขุดตระพังหรือสระน้ำไว้กักเก็บน้ำ และพูนคันดินขึ้นมาเป็นแนวชักน้ำระบายน้ำใส่ตระพัง

จะสังเกตเห็นความแตกต่างว่าบ้านเมืองในยุคเดียวกันที่อยู่ริมแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องขวนขวายจัดระบบน้ำ เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำ และบ้านเมืองบริเวณน้ำท่วมถึงเช่นพระนครศรีอยุธยาไม่ต้องขุดตระพังหรือสระน้ำไว้เก็บกักน้ำ เพราะมีน้ำใช้เหลือเฟือจนเกินต้องการเมืองพระนครศรีอยุธยาจึงต้องขุดคลองเพื่อระบายน้ำในเมืองทิ้งไปให้เร็วและให้มากที่สุด

เพราะฉะนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดระบบน้ำของเมืองสุโขทัยจึงมิได้เกี่ยวข้องกับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ “พลังน้ำ” เพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพดังที่มักสรุปกัน

แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความแห้งแล้งและความโหยหิว

คือ – หิวน้ำ

ระบบน้ำสมัยแรก ที่วัดพระพายหลวง

บริเวณที่เรียกวัดพระพายหลวงคือเมืองสุโขทัยสมัยแรก

คูน้ำล้อมรอบวัดพระพายหลวงจึงเป็นคูเมืองสุโขทัยสมัยแรก ทุกวันนี้ชาวบ้านเรียกคูน้ำหรือคูเมืองนี้ว่า “ห้วยแม่โจน”

คูน้ำห้วยแม่โจนที่เป็นคูเมืองสมัยแรกนี้ก็คือ การจัดระบบน้ำสมัยแรกด้วย

ที่มุมคูเมืองด้านทิศเหนือต่อกับด้านทิศตะวันตกมีแนวคันดินและร่องน้ำ

แนวคันดินและร่องน้ำสายนี้ตัดพุ่งออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทางมากกว่า 2 กิโลเมตร เพื่อชักน้ำป่ามากักเก็บไว้ในห้วยแม่โจน

ถ้ามีน้ำเหลือใช้จากการบริโภคและอุปโภค ก็จะมีทางน้ำไขไปลงลำน้ำแม่ลำพันทางด้านทิศตะวันออก

ระบบน้ำขนาดใหญ่ คูน้ำกำแพงเมืองตรีบูร

การจัดระบบน้ำที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น ก็คือคูเมืองสุโขทัยสมัยที่สองที่มีกำแพงเมืองลักษณะ “ตรีบูร”

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายไว้ว่า เมืองสุโขทัยมีกำแพงดินล้อม 3 ชั้น และมีคูน้ำล้อม 3 ชั้นเช่นกัน โดยเฉพาะคูน้ำชั้นที่สามอยู่ด้านในกำแพงเมืองชั้นที่สามแตกต่างไปจากเมืองอื่นๆ

น้ำป่าที่มีคันดินและร่องน้ำชักมาจากเทือกเขาด้านตะวันตกจะไหลผ่านคูเมืองแต่ละชั้นเข้าไปพักอยู่คูเมืองด้านในสุดซึ่งอยู่ภายในกำแพงเมืองชั้นที่สาม

ต่อจากนั้นจะมีร่องน้ำชักน้ำเข้าไปกลางเมือง อันเป็นบริเวณที่มีวัดสำคัญและมีตระพังขนาดใหญ่ๆ รออยู่มากมายหลายแห่ง

ระบบน้ำในเมือง ตระพังและคูน้ำรอบวัด

ภายในเมืองสุโขทัยมีวัดวาอารามสำคัญๆ หลายวัด

แต่ละวัดมักมีคูน้ำล้อมรอบ และเกือบทุกวัดมีตระพังหรือสระน้ำขนาดใหญ่เล็กต่างกันไปตามฐานะของวัด

คูน้ำและตระพังในเมืองจะผันน้ำต่อมาจากคูเมืองด้านในสุดโดยมีทางน้ำชักน้ำเข้าไป

ทางน้ำกลางเมืองจะแยกเป็น 2 สาย คือ สายเหนือและสายตะวันออก

สายเหนือ ชักน้ำไปเข้าตระพังวัดสระศรี แล้วระบายไปตระพังอื่นๆ ทางด้านเหนือ เช่นตระพังสอ เป็นต้น ถ้าน้ำมากเกินไปก็จะล้นไปออกคูเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วผันน้ำจากคูเมืองลงลำน้ำแม่ลำพันออกทุ่งราบด้านตะวันออกหรือลงลำน้ำยมส่งไปเลย

สายตะวันออก ชักน้ำเข้าตระพังเงินและคูน้ำล้อมวัดมหาธาตุ รวมทั้งวัดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง แล้วผ่านน้ำไปลงตระพังทองด้านตะวันออก ถ้าน้ำมากเกินไปก็จะล้นลงคูเมือง แล้วผันทิ้งไปลำน้ำแม่ลำพันเหมือนสายเหนือ

วัดในเมืองบางวัดอยู่นอกเส้นทางน้ำก็จะฝังท่อน้ำดินเผาไปเชื่อมกับทางน้ำ แล้วชักน้ำไปเข้าคูล้อมรอบวัดได้สบายมาก

บ่อน้ำกรุอิฐของชุมชนในเมือง

ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย มีย่านที่อยู่อาศัยหรือชุมชนอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ

ในย่านนี้มีบ่อน้ำจำนวนมาก เป็นรูปกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ทุกๆ บ่อกรุด้วยอิฐ

บ่อน้ำกรุอิฐเหล่านี้คอยรับน้ำซึมจากบรรดาคูน้ำวัด ตระพังกลางเมือง และทางน้ำที่ชักน้ำออกไปนอกเมือง ทำให้บ่อน้ำเหล่านี้มีน้ำเต็มทั้งปี

ผู้คนที่อยู่ในกำแพงเมืองจึงมีฐานะทางสังคมสูงพอสมควร เพราะได้กินน้ำบ่อกรุอิฐที่จืดสนิทและเย็นยะเยือก

[พรุ่งนี้อ่านรัฐสุโขทัย จัดการควบคุมน้ำป่ากักเก็บไว้ใช้ในเมือง]

ระบบการจัดการน้ำสมัยสุโขทัยคือข้อใด

สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง คือวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของ สุโขทัย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ได้ให้คำอธิบายว่า สรีดภงส์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ทำนบ ซึ่งในการสำรวจของกรมศิลปากรพบซากทำนบโบราณ 2 แห่ง คือ สรีดภงส์ 1 และ สรีดภงส์ 2 ตั้งอยู่ห่างจากกำแพงเมือง 3 กิโลเมตร และ 7.6 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นคันดิน ...

สิ่งใดที่มีความสำคัญในการจัดระบบการจัดการน้ำของชาวสุโขทัย

สรีดภงส์ หรือ ศรีดภงส์, สรีดภงค์, สรีดภงษ์, ทำนบพระร่วง คือ ทำนบกั้นน้ำหรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่าเขื่อน ที่มีลักษณะเป็นเขื่อนดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อทำการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรมและใช้สอยในเมืองสมัยสุโขทัย

ทำไมสุโขทัยจัดการน้ำได้ดี

กรุงสุโขทัยเป็นเมืองที่อยู่บนพื้นที่เป็นที่ราบกว้างขวาง และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแหล่งน้ำสายสำคัญ คือ น้ำแม่รำพัน ที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวเมืองสุโขทัยให้มีความอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองสงบร่มเย็น ชุมชนเจริญเติบโตแผ่ขยายในพื้นที่ราบ มีประชากรประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน ดังนั้น จึงได้มีการคิดหาวิธีกักเก็บน้ำไว้บริโภคด้วยความชาญ ...

ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยในเรื่องการเก็บกักน้ำไว้ใช้มีอะไรบ้าง

เนื่องจากสภาพพื้นที่บริเวณเมืองสุโขทัยเอียงลาดจนไม่สามารถเก็บน้ำได้ตามธรรมชาติ ทั้งพื้นที่อยู่ติดภูเขา จำเป็นต้องพัฒนาแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ชาวสุโขทัยสมัยนั้นจึงได้พัฒนาการเก็บกักน้ำโดยการสร้างอ่างเก็บน้ำ ทำนบหรือคันดิน ลำรางส่งน้ำหรือที่ขุดพบเป็นท่อสังคโลก เรียกว่า ท่อพระร่วง ส่งน้ำเข้าไปในตัวเมืองเพื่อขังเก็บใน ...