เศรษฐกิจ พอ เพียง มี เหตุผล

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม”

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

บทสรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ส่วนคำถามที่ว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ คืออะไร

                

เศรษฐกิจ พอ เพียง มี เหตุผล

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ
3 ห่วง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้
(เงื่อนไขความรู้ 3 ร รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง)
(เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ)
สมดุล 4 มิติ
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม (กิจ ล้อม สัง วัฒนธรรม)

หลักความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก
จิตใจ ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญา
รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง
สังคม ประกอบอาชีพสุจริต
ทรัพยากร เลิกแก่งแย่งผลประโยชน์
เทคโนโลยี ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและแบ่งปัน
เศรษฐกิจ ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุข

เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากระดับ
ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ (ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับหลักธรรม สัปปุริสธรรม 7
1.(ความพอประมาณ)
มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน
2. (ความมีเหตุผล)
ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
3.(การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว)
กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ชุมชน
ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อัญเชิญมาครั้งแรกใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การสร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อใดเรียงลำดับ หลักการสร้างภูมิคุ้มกันกับเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ชั้น
จัดการตน – รวมกลุ่ม – เครือข่าย
หลักสมดุลของปรัชญาเศรษฐกิจข้อใดสำคัญที่สุดในวิสัยทัศน์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1
เศรษฐกิจ
ตาม ROAD MAP พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของ สพฐ. ควรจัดให้มีการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสำหรับชั้นใดโดยเฉพาะ ม.1-3

“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ


เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หนึ่งในคุณลักษณะของการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความมีเหตุผล แต่คำถามที่ยังอยู่ในใจลึกๆ ของคนบางคน ก็คือ แล้วความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างจากความมีเหตุผลในกรณีทั่วๆ ไปหรือไม่ อย่างไร เพราะเพียงแค่คำในภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมีเหตุผล หลักๆ ก็มีอยู่ถึง 3 คำ ได้แก่ Rationality, Reasonableness และ Cause and Effect

ความมีเหตุผล หมายถึง การพิจารณาที่จะดำเนินงานใดๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

Rationality ก็ไม่ใช่
ความมีเหตุผลแบบ Rationality ที่อธิบายโดยวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เป็นการให้ตรรกะในฐานะที่มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เน้นการแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองเป็นหลัก โดยมนุษย์มีเหตุผลที่จะเสพหรือบริโภคเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด ฉะนั้น การที่มนุษย์ดำเนินการแสวงหาปัจจัยเพื่อการบริโภค มีการแข่งขันกันเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์สูงสุด จึงเป็นเรื่องที่มีเหตุผล

ความมีเหตุผลในกรณีนี้ ขาดมิติของการคำนึงถึงผู้อื่น เพราะการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขของตนเอง ในที่สุด จะนำไปสู่ความขัดแย้งหรือความทุกข์ มากกว่าความสุข ถ้าหากทุกคนต่างมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง และยังไร้กลไกจัดสรรที่เป็นธรรม (เพราะเจ้าหน้าที่รัฐผู้คอยดูแลกำกับกลไกของสังคมต่างก็คิดถึงแต่ประโยชน์ตัวเอง) สังคมก็ขาดความสงบสุข และแต่ละคนในสังคมจะมีความสุขไปไม่ได้เลย

Reasonableness ก็ไม่เชิง
ความมีเหตุผลแบบ Reasonableness จะหมายถึง การมีเหตุผลที่เหมาะสมต่อการกระทำใดๆ ความมีเหตุผลแบบนี้ปรากฏได้ แม้จะไม่ได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านในทุกแง่ทุกมุม เพราะเส้นทางของการกระทำที่ถูกเลือก อาจมาจากการพิจารณาเพียงบางด้านบางมุม และมีเหตุผลรองรับการกระทำนั้นอยู่เช่นกัน

แม้หากการดำเนินงานใดๆ ไม่ได้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม ความมีเหตุผลตามความหมายของ Reasonableness ก็ยังคงมีอยู่ (Exist) ได้ตามตรรกะที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น อาจแสดงให้เห็นได้ด้วยว่าถูกต้องดีงาม โดยการอ้างอิงการยอมรับจากกลุ่มคนส่วนหนึ่งหรือจากกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนตน

หลายกรณีที่เกิดขึ้น มาจากการลงมือทำก่อนและค่อยหาเหตุผลรองรับ บ่อยครั้งที่ทำไปด้วยอารมณ์หรือด้วยแรงจูงใจอย่างอื่น เช่น ความชอบความชังหรืออคติส่วนตัว โดยเมื่อทำไปแล้ว เกิดมีผู้อื่นมาถามว่า ทำอย่างนั้นไปเพราะอะไร ก็จำเป็นต้องหาเหตุผลที่รู้สึกว่าน่าเชื่อถือน่าฟังให้ แต่จริงๆ แล้ว เกิดจากการตัดสินใจโดยขาดเหตุผลรองรับ ทำไปด้วยความรู้สึก ครั้นพอมีการตรวจสอบหรือมีการสอบถาม เลยต้องมีเหตุผลมาให้ ความมีเหตุผลในกรณีนี้ จึงไม่ครบถ้วน

Cause and Effect คือ การพิจารณาทั้งเหตุและผล
ความมีเหตุผลแบบ Cause and Effect จะหมายถึง การพิจารณาเลือกเส้นทางของการดำเนินงานโดยคำนึงถึงเหตุและปัจจัยทั้งหมด ส่งผลเป็นการกระทำที่ถูกต้องดีงาม ตามหลักของเหตุและผล ความมีเหตุผลแบบนี้ จึงมีฐานมาจากความรอบคอบระมัดระวังในการตัดสินใจเลือกเส้นทางของการกระทำโดยให้พิจารณาอย่างรอบด้าน

ความมีเหตุผลแบบ Cause and Effect นี้ เปิดโอกาสให้มนุษย์ดำเนินตามตรรกะของธรรมชาติ ตามสภาพที่ถูกต้องดีงามจริงแท้ ด้วยการละเว้นการกระทำในทางไม่ดีหรือในทางเสื่อมที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือด้วยการแก้ไขการกระทำดังกล่าวที่กำลังดำเนินอยู่นั้น ให้กลับมาอยู่ในสภาพถูกต้องดีงามตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้รับผลที่พึงปรารถนา โดยไม่มีความจำเป็นต้องแข็งขืนหาเหตุผลมาสนับสนุนการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีงามนั้น เพื่อให้ดำเนินต่อไปได้ตามตรรกะที่ตนเองสร้างขึ้น

ถ้าหากมนุษย์ยังแข็งขืนที่จะดำเนินกิจกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีงามนั้น ความมีเหตุผลแบบ Cause and Effect ซึ่งมีเค้าความหมายตรงกับคำว่า อิทัปปัจจยตา ในทางพุทธธรรม ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาจากการกระทำนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พื้นฐานการตัดสินใจบนความมีเหตุผลตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การกระทำที่ปราศจากการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งในระดับความคิด ไปจนถึงคำพูดและความประพฤติ คนส่วนใหญ่มักจะใช้ความมีเหตุผลในแบบ Reasonableness อยู่แล้ว แต่อาจจะพิจารณาไม่ครบถ้วนรอบด้าน ความมีเหตุผลในแบบ Cause and Effect จึงต้องถูกคำนึงถึงให้มาก คือ ต้องคิดทุกกรณีทุกทางเลือกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หลังจากนั้นจึงตัดสินใจเลือกดำเนินงานจากกรณีเหล่านั้นอย่างถี่ถ้วน การพิจารณาเช่นที่ว่านี้ได้ บุคคลจำเป็นต้องใช้ความพยายามสูง ด้วยเหตุนี้เอง ในนิยามของความมีเหตุผล นอกจากความถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว จึงได้มีคำว่า ไม่ย่อท้อ อยู่ด้วย

มีข้อที่น่าพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับความมีเหตุผลอีก 2 ประการ ข้อพิจารณาประการแรก คือ โดยธรรมชาติแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาหนึ่งอย่างจะมาจากเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน (คำว่าเหตุหรือสาเหตุ ได้แก่ Cause และปัจจัยหรือเงื่อนไข ได้แก่ Condition) ในลักษณะ Many-to-One มิใช่มีเหตุเดียวผลเดียว ตามหลักการนี้ หากต้องการไม่ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น จะมีทางเลือกสองทาง คือ กำจัดเหตุ (ที่เป็น Principle Condition) หรือ กำจัดปัจจัย (ที่เป็น Condition) สิ่งนั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้น

ข้อพิจารณาประการที่สอง คือ เหตุหนึ่งอย่างอาจให้ผลหลายอย่าง ในลักษณะ One-to-Many โดยปกติ เป็นการยากที่จะสามารถติดตามปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ผลหลายอย่าง หรือจากผลที่ได้อย่างหนึ่ง ก็ยากที่จะสืบสาวไปถึงปัจจัยได้ครบทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้ เมื่อบุคคลต้องการได้ผลอย่างหนึ่ง ก็เลยพยายามสร้างปัจจัยเงื่อนไขทั้งหมดที่รู้ เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ แต่บุคคลนั้นไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า อาจมีผลอีกหลายอย่างเกิดขึ้นติดตามมาด้วย นอกเหนือจากผลที่ได้รับ โดยเฉพาะผลเสียที่ไม่คาดคิดซึ่งยากแก่การเยียวยาแก้ไขได้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว

หนทางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงผลเสียเหล่านี้ ก็คือ การใช้ความรอบคอบระมัดระวัง (ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในเงื่อนไขด้านคุณธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) ในการใช้หลักเหตุและผล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข


[Original Link]