โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน 2563

โครงการ                       เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 สนองกลยุทธ์ที่   5       ส่งเสริมและพัฒนามาตรการส่งเสริมตามนโยบาย แนวทางปฏิรูปการศึกษา  

                                    สอดคล้องมาตรฐานที่ 15 การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางปฏิรูปการศึกษา

ลักษณะโครงการ          ต่อเนื่อง

ผู้รับผิดชอบ                 นางสาวธนพร  เมฆา           

ระยะเวลาดำเนินการ     พฤษภาคม 2558 มีนาคม 2559

…………………………………………………………………………………………………………….

1.หลักการและเหตุผล

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณ พอมีพอกิน พอมีพอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวางรากฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับทุกคนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งนโยบายในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 (..2552 – 2561) ซึ่งมุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น จากหลักการดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น

2. วัตถุประสงค์

                1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

  2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

  3. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น

3. เป้าหมาย

3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1 นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

3.1.2 นักเรียน ร้อยละ 80 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

3.1.3 นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงในระดับดีขึ้นไป

3.1.4 นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ 70 ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี   เขต 1เป็นแหล่งเรียนรู้

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

3.2.2 นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.3.3 นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 เป็นแหล่งเรียนรู้                                

4. กิจกรรมและการดำเนินงาน

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน

งบประมาณ

ผู้รับผิดชอบ

1

ขออนุมัติโครงการ

พ.ค.58

-

ครูธนพร

2

ประชุมคณะครูวางแผนการปฏิบัติงาน

พ.ค.58

-

ผอ.

3

ประชุมนักเรียนเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์

พ.ค.58

-

ครูธนพร

4

การปลูกผักบุ้งจีน

พ.ค.58- มี.ค.59

300

ครูสมยา/พจมาน

5

การปลูกมะพริก/มะเขือ

พ.ค.58- มี.ค.59

800

ครูธนพร/ครูอรทัย

6

การเพาะเห็ด

พ.ค.58- มี.ค.59

3,000

ครูศิริรัตน์

7

การปลูกมะนาว/มะลิ

พ.ค.58 มี.ค.59

400

ครูอัมไพ

8

การทำปุ๋ยชีวภาพ

พ.ค.58- มี.ค.59

400

ครูปรีชา

9

การทำน้ำยาล้างจาน

พ.ค.58 มี.ค.59

400

ครูธนพร

10

ประเมินโครงการ

ต.ค.58-มี.ค.59

-

ครูธนพร

11

การสรุป/รายงาน

มี.ค.59

-

ครูธนพร

5.รายละเอียดการใช้งบประมาณ

ที่

กิจกรรม/รายการ

เงินงบประมาณ

เงินนอกงบประมาณ

    รวม

งบประมาณ

ตอบแทน

ใช้สอย

วัสดุ

รวม

1

การปลูกผักบุ้งจีน

-

-

300

300

-

300

2

การปลูกมะเขือ/พริก

-

-

300

300

-

300

3

การเพาะเห็ด

-

-

3,000

3,000

-

3,000

4

การปลูกมะนาว/มะลิ

-

-

800

800

-

800

5

การทำปุ๋ยชีวภาพ

-

-

400

400

-

400

6

การทำน้ำยาล้างจาน

-

-

400

400

-

400

รวม

-

-

6,000

6,000

-

6,000

6.การประเมินผล

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีการประเมิน

เครื่องมือที่ใช้

1.นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- แบบทดสอบ

2.นักเรียน ร้อยละ 80 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

การประเมินการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แบบประเมิน

3. นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงในระดับดีขึ้นไป

-การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง

4. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 เป็นแหล่งเรียนรู้

-การบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้

-ความพึงพอใจในการใช้แหล่งเรียนรู้

-แบบบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้

-แบบสอบถามความพึงพอใจ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

              1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

2. นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 เป็นแหล่งเรียนรู้

ลงชื่อ............ธนพร  เมฆา....   ผู้เสนอโครงการ           ลงชื่อ ............สมเกียรติ  ศรีสุขใส................ผู้อนุมัติโครงการ

           (นางสาวธนพร  เมฆา)                                                           (นายสมเกียรติ  ศรีสุขใส)

        ครูโรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก                                       ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนยี่กรอก